ในปัจจุบันธุรกิจผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้านเพื่อรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงความพร้อมอีกด้านหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีเพื่อธุรกิจไปรอด คือ พวกพ้องเพื่อนฝูง หรือเรียกว่า “ พันธมิตรทางธุรกิจ ” IronFX เพราะเพื่อนฝูงทางธุรกิจ จะช่วยกิจการของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น บอกแหล่งวัตถุดิบที่มีราคาถูกให้หรือขายสินค้าให้ในราคาย่อมเยา เป็นต้น ในโลกยุคใหม่ธุรกิจที่คิดว่าตัวเองแน่ ! หรือข้ามาคนเดียวหรือเดี่ยวทรนงควรเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ได้แล้ว !
ทำไมต้องมีพันธมิตรทางธุรกิจ
– เพื่อขยายตลาดและเพิ่มฐานลูกค้า เช่น การเป็นพันธมิตรธุรกิจยักษ์ใหญ่ระหว่าง “ดังกิ้นโดนัท” กับ “ซีพี” ทำให้ดังกิ้นโดนัทสามารถวางขายสินค้า อยู่ในร้านเซเว่นได้ และทั้งสองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ เพราะดังกิ้นโดนัทจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มช่องทางการขาย ในทางตรงข้ามกัน ร้านเซเว่น เอง ก็จะได้กลุ่มลูกค้าของดังกิ้นโดนัท หรือผู้ที่ต้องการขายอาหารเบา ๆ กินพออยู่ท้องเข้ามาเลือกซื้อสินค้าอื่น ๆ เพิ่มด้วย
– เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน เพราะบางครั้ง การเป็นเพื่อนร่วมธุรกิจจะทำให้สามารถซื้อขายสินค้าของกันละกันในราคาถูกและมีคุณภาพ
– เพื่อสร้างน้ำหนักในการต่อรอง การดำเนินธุรกิจเพียงลำพังอาจไม่มีอำนาจในการต่อรอง แต่เมื่อได้เข้าร่วมเป็นกลุ่มพันธมิตรอำนาจการต่อรองก็จะมากขึ้น
– เพื่อตามคู่แข่งให้ทัน เช่น การจัดตั้งชมรมผู้ค้าปลีกขนาดกลางและผู้ค้าปลีกท้องถิ่นขึ้นมา ทำให้สมาชิกชมรมได้สินค้าที่มีราคายุติธรรมและมีคุณภาพดี พร้อมกันนี้ สมาชิกชมรมยังสามารถแลกเปลี่ยนความคิดกันเพื่อเพิ่มเทคนิคการค้า วิธีการดังกล่าว ทำให้ธุรกิจของผู้ค้าปลีกยืนหยัดอยู่ได้ ท่ามกลางคู่แข่งยักษ์ใหญ่ที่มีทุนหนา ไม่ยากเกินกว่าที่คิด ถ้าจะมีพันธ์มิตรที่ดี
– เลือกสรรเพื่อนร่วมธุรกิจ ผู้ที่คิดจะรวมกลุ่มพันธมิตรจำเป็นต้องศึกษากันและกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันว่าการเป็นพันธมิตรครั้งนี้จะช่วยเหลือ เอื้อประโยชน์ให้กันอย่างไร
– วิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมในการรวมกลุ่มธุรกิจ เช่น ลักษณะการดำเนินการคล้ายคลึงกันหรือไม่ และรูปแบบใดมีความเหมาะสมก่อนจะเข้าร่วม พันธมิตร
– รับฟังความคิดเห็นและความเห็นชอบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งหมายถึงทั้งระดับผู้บริหารและพนักงานว่าเมื่อเป็นพันธมิตรธุรกิจแล้วจะมี ข้อดี-ข้อเสีย ด้านใดบ้างและข้อเสียจะสามารถแก้ไขได้อย่างไร
– กำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์แผนธุรกิจให้เหมาะสมและเสมอภาคระหว่างพันธมิตรด้วยกันเอง
– สัญญาที่เป็นผลผูกพันทางกฎหมายเพื่อให้พันธมิตรปฎิบัติตาม เช่น การทำสัญญาให้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งตามความรับผิดชอบว่าใครมีหน้าที่อะไร ผลประโยชน์ที่ได้ดำเนินการจัดสรรปันส่วนแบบใด เพื่อไม่ให้เกิดเหลี่ยมล้ำได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันและกัน
บริหารพันธมิตรเพื่อชัยชนะ
– เนื่องจากรูปแบบของทางธุรกิจมีความหลากหลายและมีการดำเนินงานแตกต่างกัน ดังนั้น การร่วมเป็นพันธมิตรจำเป็นต้องปรับเป้าหมายวิสัยทัศน์ และหลักการปฎิบัติงานให้มีความชัดเจนและเป็นไปแนวทางเดียวกัน
– ดำเนินงานด้วความโปร่งใส ซื่อสัตย์และยุติธรรม
– จัดระบบงานและสารสนเทศใหม่ ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการรวมตัวเป็นพันธมิตร
– เสริมสร้างแลรักษาความไว้ใจซึ่งกันและกัน
– เรียนรู้แบบแผนการจัดการองค์กรและพันธมิตรด้วยกันเองอย่างมีประสิทธิภาพแต่ละฝ่ายอาจต้องยอมถ่ายทอด เคล็ดวิธีการผลิต การดำเนินงานการตลาด ให้กันและกันบ้างแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้ในเบื้องต้น
– ประเมินผลการรวมตัวเป็นพันธมิตรว่าสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร ถ้าล้มเหลวจะจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
อุปสรรคขวางกั้นพันธมิตรทางธุรกิจ
– ความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายต่างกลัวว่าตนจะเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์
– ต่างฝ่ายต่างคิดว่าไม่ใช้หน้าที่ของตนที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนงานตามการดำเนินงานของกลุ่มส่งผลให้กลุ่มพันธมิตรไม่สามารถดำเนินขั้นตอนอื่น ๆ ต่อไป
– การให้ความสำคัญกับฝ่ายสมาชิกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากจนเกินไป จนเกิดการพึ่งพา เช่น การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรด้านอุปกรณ์สื่อสารระหว่าง บริษัท ก. และบริษัท ข. แต่การวางนโยบายดำเนินงาน การคิดค้นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มักจะเกิดจากบริษัท ก แยกตัวออกไป บริษัท ข. ก็ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง เนื่องจากบริษัท ข. ไม่เคยเรียนรู้กลยุทธ์การดำเนินงานจากบริษัท ก. เพื่อนำมาใช้พัฒนาองค์กรของตนเองเลย