ผู้จัดการหรือผู้บริหารจะแก้ไขอย่างไร เมื่อผลประเมินพนักงานต่ำกว่าเกณฑ์ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

มีผู้จัดการหรือผู้บริหารจำนวนไม่น้อยที่พอถึงเทศกาลการประเมินผลงานพนักงาน ก็จะออกอาการทำอย่างไรดี ไม่ใช่เรื่องการประเมิน เพราะในหลายบริษัทนั้นได้วางแนวทางในการประเมินคือแบบฟอร์มให้เรียบร้อยแล้ว หรือบางคนเข้าอบรมในหลักสูตรอบรม สัมมนา ที่มีมากมาย ที่เขาจะแจกแบฟอร์มก็ทำให้ทำงานไม่ยาก ในการนำไปใช้ในการประเมินผลงานพนักงาน จึงไม่ใช่เรื่องยากนักสำหรับคนที่เป็นผู้บริหารหรือผู้จัดการที่จะทำการประเมิน แต่ปัญหาของผู้จัดการหรือผู้บริหารอยู่ที่ว่า การประเมินในครั้งนั้น ๆ ถ้าผลงานออกมาดีก็มีเฮกันตาม ๆ ไป แต่ถ้าผลงานออกมาไม่ดีล่ะ..คงเป็นหน้าที่ของผู้จัดการหรือผู้บริหารที่จะต้องคิดว่าจะต้องทำอย่างไรดีที่จะแก้ปัญหาหรือจัดการ ซึ่งเรื่องนี้ถึงแม้จะเข้าอบรมในหลักสูตรอบรม สัมมนาต่าง ๆ อาจจะช่วยไม่ได้มากนัก เพราะในหลักสูตรอบรม สัมมนา จะบอกเพียงกว้าง ๆ ในวิธีการจัดการ ซึ่งไม่ลงรายละเอียดมากนัก คราวนี้อยากให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการนั้นกับวิเคราะห์ถึง สาเหตุแห่งปัญหาที่ทำให้พนักงานของเรานั้นไม่มีผลงาน ทำงานได้ไม่ดี ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่การทำงาน การประเมินของผู้บริหารหรือผู้จัดการจะกี่ครั้งก็ได้เท่านี้ ทำได้เท่านี้ ดีแค่นี้ อย่างไรก็ตามอยากจะบอกให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการนั้นใจเย็น ๆ วิเคราะห์อย่างมีเหตุผลถึงแก่นแท้ของปัญหา ว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นคืออะไร มาจากไหนแล้วค่อย ๆ แก้ไป ถ้าไม่ดีจริงหรือแก้ไขไม่ได้จริง ๆ ค่อยตัดสินใจ แต่ถ้าแก้ไขได้นั้น ผู้จัดการหรือผู้บริหารต้องเร่งที่จะแก้ไข โดยการเข้าอบรมหลักสูตรอบรม สัมมนา ในหัวข้อหรือวีการที่เกี่ยวข้องก็จะทำให้ตนเองนั้นเข้าใจและแก้ปัญหาในการบริหารจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับเหตุแห่งปัญหานั้นมีมากมายหลายประเด็น เช่นอาจจะมาจากทัศนคติของพนักงานเอง อาจจะมาจากสภาพร่างกายที่ไม่เอื้ออำนวย อาจจะมาจากความกังวลใจอะไรบางอย่าง อาจจะมาจากความรู้ความสามารถที่ไม่สามารถพัฒนาได้จริง ๆ อาจจะมาจากนิสัยส่วนตัว หรือความไม่ชอบคือไม่ชอบในเนื้องานนั้น ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้บริหารหรือผู้จัดการต้องให้ความสำคัญที่จะเฝ้าสังเกตออย่างจริงจังเพื่อนำกลับว่าวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่ทำให้พนักงานนั้นไม่มีความสามารถและไม่รับผิดชอบต่อการทำงาน

สำหรับการแก้ไขที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารพึงจะรับรู้ได้แก่ การคิดจากเรื่องดีไปหาเรื่องที่ไม่ดี คือมองพนักงานที่ตัวเขาก่อน เขาอาจจะอยากทำงานแต่ข้อจำกัดบางประการเช่นความกังวลส่วนตัว ปัญหาส่วนตัวเช่นเรื่องของสุขภาพ ปัญหาความไม่ถนัดในงาน ดังนั้น ขั้นตอนในการพัฒนานั้น ควรที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารควรที่จะเริ่มต้นที่ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ(Effective Communication) การเข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดของพนักงาน ทำความเข้าใจและประการสุดท้ายคือการพัฒนาศักยภาพ เช่นส่งเข้าอบรมในหลักสูตรอบรม สัมมนามากมายที่จะทำให้เขาเหล่านั้นได้พัฒนา โดยการเลือกหลักสูตรอบรม สัมมนา ที่ตรงกับความสนใจของเขาก่อน และค่อย ๆ ข้ามไปในหลักสูตรที่เราต้องการให้เขาเป็น

การพัฒนาพนักงานให้ได้ดังใจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้จัดการหรือผู้บริหาร ไม่มีหลักสูตรอบรม สัมมนา ใดที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ทั้งหมด แต่ก็ต้องมีกำลังใจที่จะพัฒนาแก้ไขเขาให้ได้ดั่งใจ..ถึงจะนานาเท่าใด..ก็จะรอ..เพราะพนักงานนั้นเป็นเสมือนทุนมนุษย์คือทุนขององค์กร..นั่นแล

Loading

UA-75256908-1