เทคนิคการเป็นวิทยากร หน้าที่หลักของวิทยากร
หัวใจการเป็นวิทยากร หน้าที่หลักของวิทยากร
ขึ้นอยู่กับว่า ตัววิทยากรนั้นจะหนักแน่นเพียงใด
ที่จะเดินเคียงข้างไปกับผู้เรียน
บนเส้นทางที่ถูกต้อง
เทคนิคการเป็นวิทยากร สำรวจว่าคุณพร้อมที่จะเป็นวิทยากรหรือไม่?..
ลองสำรวจว่า คุณพร้อมที่จะเป็นวิทยากรหรือไม่ หรือคุณเป็นวิทยากรแล้วหรือยัง?
ความเหมือนและความแตกต่างของครู ผู้ให้ กับวิทยากร แทบจะไม่แตกต่างกัน เพราะเป้าหมายหลักคือการถ่ายทอดความรู้ที่มีให้กับผู้เรียน ซึ่งในความจริง ผู้เรียนก็อาจถูกเรียกได้หลายอย่าง เช่น ลูกศิษย์ สมาชิก ผู้เรียน เป็นต้น
ทั้งหมดอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันคือ ส่งมอบความรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนนำกลับไปใช้พัฒนาตนเอง พัฒนาความรู้ และท้ายสุดคือ..นำไปปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลผลิตหรือความสำเร็จในการทำงาน
“เมื่อเส้นทางการเรียนรู้ไม่เคยโรยด้วยกลีบกุหลาบฉันใด”
การพัฒนาตนเองก็เช่นกัน จึงเป็นเรื่องยากมาก..ที่ผู้เรียนบางคนจะฝ่าฟันไปได้ ถึงแม้จะมีคำกล่าวว่า “เป้าหมายมีไว้พุ่งชน”
แต่คนบางคนกลับกลัว ไม่มั่นใจ ทำให้ท้อบ้าง ไม่ตั้งใจบ้าง หรือล้มเลิกเป้าหมายหลักของชีวิตไป อย่างน่าเสียดาย
ถ้าคุณเรียกตัวเองว่าครู หรือ วิทยากร ซึ่งมีภาระหน้าที่เหมือนเรือจ้างที่จะต้องส่งลูกเรื่อทุกคนให้ถึงฝั่ง ถึงแม้จะมีคลื่นลมที่แรงก็ตาม..ก็ต้องทำให้ได้ ในใจจะพูดเช่นนี้ตลอดเวลา..
หัวใจการเป็นวิทยากร หน้าที่หลักของวิทยากร จึงขึ้นอยู่กับว่า ตัววิทยากรนั้นจะหนักแน่นเพียงใด ที่จะเดินเคียงข้างไปกับผู้เรียน คอยช่วยเหลือ แนะนำ ให้คำปรึกษา บนเส้นทางที่ถูกต้อง..
ถึงแม้จะยากลำบากซักเพียงใด..แต่นั่นก็คือความภาคภูมิใจของเรือจ้างลำนี้
ความภูมิใจในชีวิตการเป็นวิทยากร จึงอยู่ที่ว่า มองเห็นความสำเร็จของผู้เรียน ไม่ว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็ว
ด้วยความคิดจากห้วงหัวใจการเป็นวิทยากร คือ “ถึงจะยากอย่างไร ก็จะช่วยผู้เรียนให้ฝ่าฟันไปให้ได้” โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น
เป็นกำลังให้กันและกันตลอดไป..
#CertifiedTrainer,#TraineTheTrainer,#อบรมวิทยากร#สถาบันพัฒนาวิทยากร,#เทคนิคการเป็นวิทยากร
สำหรับ หลักสูตร เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ ทุกท่านนะครับ
“ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย” StepPlus Training