กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คืออะไร?
กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คือ แนวทางการนำกลยุทธ์ ทาง Bench-Marking มาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ ทางการตลาด ทำให้ความแตกต่างระหว่างตนเอง กับคู่แข่งได้ชัดเจน
การจัดทำกลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด
ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
ทุกวันนี้หลายค่าย หลาบบริษัทต่างมุ่งเน้นการทำ Bench-Marking เพราะการแข่งขันทางธุรกิจทุกวันนี้มีความรุนแรง และ รวดเร็ว มากกว่าอดีตแบบก้าวกระโดด ในทุกวงการธุรกิจ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ความพร้อม และมีการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง จึงจะอยู่ได้ในโลกที่แคบลงด้วยการสื่อสาร “ยุคดิจิตัล” ประสิทธิภาพสูงในปัจจุบัน
Benchmarking คือ กระบวนการค้นหาการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best Practices) เชิง“เปรียบเทียบ” ในบรรดาคู่แข่งขันทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การหาวิธีการปฏิบัติเสมือนผู้นำ ที่ทำดีที่สุดในเรื่องนั้นๆ
ประเภทของ Benchmarking สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.แบ่งตามวัตถุประสงค์
-Performance Benchmarking
เป็นการเปรียบเทียบเฉพาะผลการปฏิบัติงาน ที่เป็นผลลัพธ์หรือกระบวนการ เช่น ยอดขาย ผลกำไร ส่วนแบ่งตลาด อัตราการเติบโต เป็นต้น โดยการนำผลของคู่เปรียบเทียบที่ทำได้ดีที่สุดในตลาดมาเป็นตัวตั้งเพื่อเปรียบเทียบ
-Process Benchmarking
เป็นการเปรียบเทียบกระบวนการทำงาน หรือวิธีปฏิบัติงาน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ผู้ที่ทำดีที่สุดในกระบวนการทำงานนั้น เช่น ประหยัด รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงสุด ว่าทำอย่างไร
-Product Benchmarking
สินค้า โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ว่ามีสิ่งใดนำเสนอใหม่สู่ตลาด เพื่อที่เราจะได้นำมาแก้เกม โดยการพัฒนาที่หาจุดเด่นและปิดจุดด้อยของสินค้าที่ดีที่สุดนั้นๆ
-Strategy Benchmarking
เป็นการให้ผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ภาพรวมของคู่เปรียบเทียบที่มีประสิทธิภาพ ว่ามี วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ระดับต่างๆทั้งองค์กรอย่างไร
2.แบ่งตามผู้ที่เราไปเปรียบเทียบด้วย
-Internal Benchmarking
เป็นการเปรียบเทียบกันเองภายในองค์กร เช่น ฝ่ายขาย เปรียบเทียบกับฝ่ายบัญชี ในการจัดระบบเอกสารงาน ที่ทำได้ดีที่สุดในองค์กร เป็นต้น
-Competitive Benchmarking
เป็นการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน ที่อาจเปรียบเทียบผู้นำในตลาดโดยตรง (Direct Competitor) เช่น เราทำธุรกิจ Smart Phone ก็เปรียบเทียบกับผู้นำในตลาด ณ ขณะนั้น หรือการเปรียบเทียบกับธุรกิจที่ใกล้เคียง (Related Competitor) เช่น เปรียบเทียบกับธุรกิจที่เป็นสินค้าเทคโนโลยีเหมือนกัน เป็นต้น
-Cooperative Benchmarking
เป็นการร่วมกันพัฒนาหาวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานต่างๆกับพันธมิตรทางธุรกิจ
ขั้นตอนการทำ Bench-marking อย่างมืออาชีพ
ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
การทำ Bench-Marking นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญของทุกองค์กร เพราะถ้าไม่เข้าใจขั้นตอนการจัดทำ Bench-Marking อาจะทำให้ผลที่ได้รับนั้นไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตนเองอยากได้รับเท่ากับว่าไม่ตอบโจทย์องค์กร ก็ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้ อุตส่าห์ลงทุนลงแรงไปมากมาย อย่างนี้ก็น่าเสียดาย ขั้นตอนการทำ Bench-Marking มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.การวางแผน (Planning)
– เป็นขั้นในการกำหนด หัวข้อเรื่อง วัตถุประสงค์ ประเด็นที่ต้องการเปรียบเทียบ ว่าองค์ประกอบใดที่ต้องการเปรียบเทียบเพื่อพัฒนา
– การกำหนดองค์การที่ต้องการเปรียบเทียบ ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ภายใน คู่แข่งภายนอก หรือพันธมิตรธุรกิจ
– กำหนดวิธีการเก็บข้อมูล โดยการตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูล แบบใด เชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณภาพ เป็นแบบสอบถาม หรือ การสัมภาษณ์อย่างไร
2.การวิเคราะห์ (Analysis)
– วิเคราะห์ช่วงห่าง (Gap Analysis) ระหว่างส่วนที่จะเปรียบเทียบของเรา กับคู่เปรียบเทียบ
– คาดคะเน และการตั้งเป้าหมายความห่างในอนาคต ตามระยะเวลาที่กำหนด เป็น เดือน ปี
3.การบูรณาการ (Integration)
– การสื่อสารผลการทำ Benchmarking ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เช่น ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ลูกค้า พนักงาน หรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างๆ
– การตั้งเป้าหมาย เป็นการระดมสมองของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาส่วนที่ดำเนินการนั้น ให้สัมฤทธิ์ผล
4.การนำไปปฏิบัติ (Imprementation)
– การจัดทำแผนดำเนินการ การทำตารางคุมการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ
– การนำแผนสู่การปฏิบัติ เป็นขั้นการทำงาน ที่คอยควบคุมให้เป็นตามแผน
– การสอบทวนผลกับผู้ที่ดีที่สุด/ ผู้ที่เราเปรียบเทียบ โดยการเปรียบเทียบต่อเนื่องและตั้งบรรทัดฐานในการพัฒนาต่อไป
บทความน่าอ่านเพิ่มเติม
นักขายลาออก! จัดการอย่างไร ให้ไม่กระทบยอดขาย
นักขายลาออก! จัดการอย่างไร ให้ไม่กระทบยอดขาย เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจไม่น้อยสำหรับผู้ที่ต้องทำงานในตำแหน่งหัวหน้าและต้องดูแลฝ่ายขาย ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีความละเอียดอ่อนมาก เพราะนักขายนั้นเป็นผู้ที่ต้องติดต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง...
ทำอย่างไร? เมื่อต้องขายแข่งกับ Brand ดัง
ทำอย่างไร? เมื่อต้องขายแข่งกับ Brand ดัง ตัวแทนจำหน่าย(ยี่ปั้ว ซาปั้ว) หรือที่ในปัจจุบัน จะเรียกว่า เป็นการขายในลักษณะ B2B ซึ่งก็ย่อมาจากคำว่า Business to Business กลไกการขายประเภทนี้ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้านั้นมีวัตถุประสงค์ของการซื้อเพื่อจัดจำหน่าย...
ทำอย่างไร..ให้มีเวลาขายเพิ่มมากขึ้น
ทำอย่างไร..ให้มีเวลาขายเพิ่มมากขึ้น ทำไมพนักงานขายส่วนใหญ่ทำงานไม่ทัน หมายถึงไม่สามารถไปเยี่ยมลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ พอถูกถาม ก็มีเหตุผลมากมายที่จะอธิบายถึงสาเหตุว่าตนเองนั้นทำงานไม่ทัน และเป็นอย่างนั้นทุกเดือน...
อยากเป็นนักธุรกิจบ้าง..ต้องทำอย่างไรดี..
อยากเป็นนักธุรกิจบ้าง..ต้องทำอย่างไรดี.. ในช่วงของวิกฤติเศรษฐกิจเป็นพิษ งานประจำที่เคยทำก็จะรู้สึกอึดอัดขึ้นมา เพราะมีแรงกดดันต่าง ๆ นานาเข้ามามากมาย ที่เคยได้ ก็ไม่ได้ หรือได้ยากขึ้น มีขั้นตอน มีระบบเข้ามากระทบมากมาย ฟังแล้วก็รู้สึกเหนื่อย...
หากลุ่มเป้าหมายอย่างไร ได้ใจ ได้งาน
หากลุ่มเป้าหมายอย่างไร ได้ใจ ได้งาน สำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาผู้มุ่งหวังได้จำนวนมากๆ เพราะมีความเข้าใจผิดบ้างในการค้นหาผู้มุ่งหวัง เพราะนักขายต่าง ๆ มุ่งที่จะค้นหาผู้มุ่งหวังจำนวนมาก ๆ เข้าไว้...
ทำอย่างไรให้ทีมงานยอมรับเมื่อเป็นหัวหน้าทีม!
ทำอย่างไรให้ทีมงานยอมรับเมื่อเป็นหัวหน้าทีม! มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นหัวหน้าทีมแล้วเจอปัญหา คือเพื่อร่วมงานก็ไม่ขยัน และไม่ตั้งใจเท่าไหร่ มีแต่ความเป็นผู้อาวุโส และเมื่อไม่ได้รับเลื่อนขั้น ก็ทำการตีรวน เรียกได้ว่า ทำให้แกว่งไปหมด เมื่อเราคิดจะไปด้านซ้าย...
ขายเพราะข้อมูล ข้อมูล “ที่ไม่มากเกินไป”
ขายเพราะข้อมูล ข้อมูล “ที่ไม่มากเกินไป” มีพนักงานขายทั้งมือใหม่และมือเก่าจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน จนทำให้หลายคนถึงกับยอมถอดใจล้มเลิกความตั้งใจเป็นพนักงานขายเลยทีเดียว ขอให้ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน...
มันแปลกดีนะ! ขายมาหลายปี แต่กลับขายได้น้อยลง
มันแปลกดีนะ! ขายมาหลายปี แต่กลับขายได้น้อยลง เป็นปัญหาแม่แบบที่เกิดกับพนักงานขายหลายๆ คน จึงคิดว่าน่าจะนำมาลงเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้เพื่อนพนักงานขายได้สังเกตุตนเองว่ามีปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งมีทิศทางสวนกระแสคือยิ่งเวลาผ่านไปมากขึ้น...
ลูกค้า ชอบถามเรื่องค่าคอมมิชชั่น ตอบอย่างไรดี?
ลูกค้า ชอบถามเรื่องค่าคอมมิชชั่น ตอบอย่างไรดี? นักขายหลาย ๆ คนอาจจะประสบปัญหาเช่นกัน การควบคุมสถานการณ์ของผู้ขาย จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้กระทบกระเทือนถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวกับลูกค้า แต่ก่อนอื่น อยากให้ทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของอาชีพก่อนว่า...
สัญญาณการซื้อ..เป็นไฉน?
สัญญาณการซื้อ..เป็นไฉน? สัญญาณการซื้อ(Buying Signal) เป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการขายและสามารถมีขึ้นได้ทุกขณะ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นหลังจากนักขายนำเสนอ บางครั้งก่อน บางครั้งหลัง ปัญหามีอยู่ว่าจะทำอย่างไร นักขายถึงจะทราบได้ว่า มีสัญญาณการซื้อ และเป็นสัญญาณจริง...
เป้าหมายการขายที่สูงขึ้น จากการขายให้ผู้บริหาร
เป้าหมายการขายที่สูงขึ้น จากการขายให้ผู้บริหาร มีนักขายหลายคนมักบอกว่าการขายก็เพื่อให้ตนเองนั้นได้ยอดขายที่สูง จำนวนการสั่งซื้อที่มากๆ ต้องขายให้กับผู้บริหารระดับสูง และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในปัจจุบันนั้นพบว่าคำถามเช่นนี้มีเพิ่มมากขึ้น...
อะไรคือข้อมูลที่สำคัญ เพื่อช่วยการขาย
อะไรคือข้อมูลที่สำคัญ เพื่อช่วยการขาย ต้องขอบอกก่อนว่า เรื่องของข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการขาย มีความซับซ้อนและมีเรื่องของความรู้สึก ความผูกพันมาเกี่ยวข้องด้วยนอกเหนือจากเนื้อหาของการหาข้อมูล ซึ่งการค้นหาข้อมูลนั้นเป็นส่วนหนึ่ง...
บ่อยครั้งที่ลูกค้าชอบถามราคาก่อน ควรบอกเลยหรือไม่?
บ่อยครั้งที่ลูกค้าชอบถามราคาก่อน ควรบอกเลยหรือไม่? เรื่องการบอกราคากับลูกค้า ว่าควรบอกดีหรือไม่ เมื่อผู้ขายถูกรุกให้บอกราคา เรื่องของการบอกราคานั้นเป็นเสมือนดาบสองคม ในบางครั้งผู้ขายยืนกรานไม่บอกราคาสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทราบ...
ทำอย่างไร? เมื่อ นักขาย ถูกมองว่าชอบ “โกหก”…
ทำอย่างไร? เมื่อ นักขาย ถูกมองว่าชอบ “โกหก”... ประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีจากการตอบสนองของลูกค้า หรือ “กลุ่มผู้มุ่งหวัง” ที่ทำให้รู้สึกว่าพวกตนเอง (หมายถึงพนักงานขาย) เป็นพวกที่ใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีความจริงใจ ชอบโกหก ใครที่มีประสบการณ์เช่นนี้...
จริงหรือ? ที่ว่าไม้ตายการขาย คือ “ลูกอ้อน”
จริงหรือ? ที่ว่าไม้ตายการขาย คือ “ลูกอ้อน” เป็นเสียงสะท้อนได้ดีให้ผู้ที่ทำงานขายนั้นตระหนักรู้ถึงกระบวนการของการขายของตนเอง ถึงวิธีการหรือสิ่งที่นักขายแสดงออกไป และจะมีผลกระทบต่อผู้ฟังอย่างไร หนักๆเข้าอาจจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในตัวผู้ขายไปเลยก็มี ...
เรียนรู้ความสำเร็จเพื่อตนเองจะประสบความสำเร็จ
เรียนรู้ความสำเร็จเพื่อตนเองจะประสบความสำเร็จ เรียนรู้ความสำเร็จเพื่อตนเองจะประสบความสำเร็จ เชื่อว่าผู้ถามจะเป็นอีกผู้หนึ่งที่จะเดินบนเส้นทางของการขายได้อย่างสง่างาม เพราะว่ามีนักขายจำนวนไม่มากที่จะพยายามวิเคราะห์ตนเองตลอดเวลา...
แก้เรื่องปวดหัว กับนักขายชอบลาออก!
แก้เรื่องปวดหัว กับนักขายชอบลาออก! เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจไม่น้อยสำหรับผู้ที่ต้องทำงานในตำแหน่งหัวหน้าและต้องดูแลฝ่ายขาย ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีความละเอียดอ่อนมาก เพราะนักขายนั้นเป็นผู้ที่ต้องติดต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง...
เป็นเรื่อง..เมื่อนักขายต้องวิ่งตามเก็บเงินลูกค้าด้วย
เป็นเรื่อง..เมื่อนักขายต้องวิ่งตามเก็บเงินลูกค้าด้วย อาจมีสาเหตุจากความเข้าใจผิดระหว่างผู้บริหารและนักขาย เนื่องจากนักขายและบริษัทไม่ได้มีการพูดคุยให้ชัดเจนในเรื่องของขอบเขตการทำงาน หรือที่เรียกว่า Scope of Work ทำให้มีความเข้าใจผิดกันบ้าง...
อย่างไร?…คือ การขายสายพันธ์ใหม่
อย่างไร?...คือ การขายสายพันธ์ใหม่ รู้สึกอยู่อย่างหนึ่งว่างานขายเริ่มเหมือนงานที่เขาเรียกว่างาน Routine เข้าทุกวันคือ มีการติดต่อลูกค้าทุกวัน พยายามเข้าพบ เพื่อนำเสนอสินค้า และก็พยายามปิดการขายในที่สุด บางครั้ง รู้สึกเบื่อๆ เพราะเริ่มจำเจ หรือเป็นเพราะทำซ้ำๆ...
มุมมอง วิธีการขาย ของนักขายรุ่นใหม่
มุมมอง วิธีการขาย ของนักขายรุ่นใหม่ ขอทำความเข้าใจกับงาน Routine ซึ่งหมายถึงงานที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน เช่นงานในสำนักงาน เป็นมุมมองที่น่าสนใจเพราะคนส่วนใหญ่จะมองว่าพนักงานขายไม่ซ้ำซากและจำเจ อาจจะมาจากการมองกระบวนการขายที่ต้องทำอยู่เป็นประจำ...