กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คืออะไร?
กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คือ แนวทางการนำกลยุทธ์ ทาง Bench-Marking มาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ ทางการตลาด ทำให้ความแตกต่างระหว่างตนเอง กับคู่แข่งได้ชัดเจน
การจัดทำกลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด
ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
ทุกวันนี้หลายค่าย หลาบบริษัทต่างมุ่งเน้นการทำ Bench-Marking เพราะการแข่งขันทางธุรกิจทุกวันนี้มีความรุนแรง และ รวดเร็ว มากกว่าอดีตแบบก้าวกระโดด ในทุกวงการธุรกิจ ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ ความพร้อม และมีการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง จึงจะอยู่ได้ในโลกที่แคบลงด้วยการสื่อสาร “ยุคดิจิตัล” ประสิทธิภาพสูงในปัจจุบัน
Benchmarking คือ กระบวนการค้นหาการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best Practices) เชิง“เปรียบเทียบ” ในบรรดาคู่แข่งขันทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การหาวิธีการปฏิบัติเสมือนผู้นำ ที่ทำดีที่สุดในเรื่องนั้นๆ
ประเภทของ Benchmarking สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.แบ่งตามวัตถุประสงค์
-Performance Benchmarking
เป็นการเปรียบเทียบเฉพาะผลการปฏิบัติงาน ที่เป็นผลลัพธ์หรือกระบวนการ เช่น ยอดขาย ผลกำไร ส่วนแบ่งตลาด อัตราการเติบโต เป็นต้น โดยการนำผลของคู่เปรียบเทียบที่ทำได้ดีที่สุดในตลาดมาเป็นตัวตั้งเพื่อเปรียบเทียบ
-Process Benchmarking
เป็นการเปรียบเทียบกระบวนการทำงาน หรือวิธีปฏิบัติงาน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ผู้ที่ทำดีที่สุดในกระบวนการทำงานนั้น เช่น ประหยัด รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงสุด ว่าทำอย่างไร
-Product Benchmarking
สินค้า โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ว่ามีสิ่งใดนำเสนอใหม่สู่ตลาด เพื่อที่เราจะได้นำมาแก้เกม โดยการพัฒนาที่หาจุดเด่นและปิดจุดด้อยของสินค้าที่ดีที่สุดนั้นๆ
-Strategy Benchmarking
เป็นการให้ผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ภาพรวมของคู่เปรียบเทียบที่มีประสิทธิภาพ ว่ามี วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ระดับต่างๆทั้งองค์กรอย่างไร
2.แบ่งตามผู้ที่เราไปเปรียบเทียบด้วย
-Internal Benchmarking
เป็นการเปรียบเทียบกันเองภายในองค์กร เช่น ฝ่ายขาย เปรียบเทียบกับฝ่ายบัญชี ในการจัดระบบเอกสารงาน ที่ทำได้ดีที่สุดในองค์กร เป็นต้น
-Competitive Benchmarking
เป็นการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน ที่อาจเปรียบเทียบผู้นำในตลาดโดยตรง (Direct Competitor) เช่น เราทำธุรกิจ Smart Phone ก็เปรียบเทียบกับผู้นำในตลาด ณ ขณะนั้น หรือการเปรียบเทียบกับธุรกิจที่ใกล้เคียง (Related Competitor) เช่น เปรียบเทียบกับธุรกิจที่เป็นสินค้าเทคโนโลยีเหมือนกัน เป็นต้น
-Cooperative Benchmarking
เป็นการร่วมกันพัฒนาหาวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานต่างๆกับพันธมิตรทางธุรกิจ
ขั้นตอนการทำ Bench-marking อย่างมืออาชีพ
ดร.กฤษฎา ตันเปาว์
การทำ Bench-Marking นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญของทุกองค์กร เพราะถ้าไม่เข้าใจขั้นตอนการจัดทำ Bench-Marking อาจะทำให้ผลที่ได้รับนั้นไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตนเองอยากได้รับเท่ากับว่าไม่ตอบโจทย์องค์กร ก็ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้ อุตส่าห์ลงทุนลงแรงไปมากมาย อย่างนี้ก็น่าเสียดาย ขั้นตอนการทำ Bench-Marking มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.การวางแผน (Planning)
– เป็นขั้นในการกำหนด หัวข้อเรื่อง วัตถุประสงค์ ประเด็นที่ต้องการเปรียบเทียบ ว่าองค์ประกอบใดที่ต้องการเปรียบเทียบเพื่อพัฒนา
– การกำหนดองค์การที่ต้องการเปรียบเทียบ ว่าจะเปรียบเทียบกับใคร ภายใน คู่แข่งภายนอก หรือพันธมิตรธุรกิจ
– กำหนดวิธีการเก็บข้อมูล โดยการตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูล แบบใด เชิงปริมาณ หรือ เชิงคุณภาพ เป็นแบบสอบถาม หรือ การสัมภาษณ์อย่างไร
2.การวิเคราะห์ (Analysis)
– วิเคราะห์ช่วงห่าง (Gap Analysis) ระหว่างส่วนที่จะเปรียบเทียบของเรา กับคู่เปรียบเทียบ
– คาดคะเน และการตั้งเป้าหมายความห่างในอนาคต ตามระยะเวลาที่กำหนด เป็น เดือน ปี
3.การบูรณาการ (Integration)
– การสื่อสารผลการทำ Benchmarking ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ เช่น ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ลูกค้า พนักงาน หรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างๆ
– การตั้งเป้าหมาย เป็นการระดมสมองของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาส่วนที่ดำเนินการนั้น ให้สัมฤทธิ์ผล
4.การนำไปปฏิบัติ (Imprementation)
– การจัดทำแผนดำเนินการ การทำตารางคุมการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ
– การนำแผนสู่การปฏิบัติ เป็นขั้นการทำงาน ที่คอยควบคุมให้เป็นตามแผน
– การสอบทวนผลกับผู้ที่ดีที่สุด/ ผู้ที่เราเปรียบเทียบ โดยการเปรียบเทียบต่อเนื่องและตั้งบรรทัดฐานในการพัฒนาต่อไป
บทความน่าอ่านเพิ่มเติม
วิธีการสร้างพันธมิตร
ในปัจจุบันธุรกิจผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้านเพื่อรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงความพร้อมอีกด้านหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีเพื่อธุรกิจไปรอด คือ พวกพ้องเพื่อนฝูง หรือเรียกว่า “ พันธมิตรทางธุรกิจ ” IronFX เพราะเพื่อนฝูงทางธุรกิจ...
การจัดลำดับความสำคัญของลูกค้า
เมื่อเราประเมินความสามารถของธุรกิจคุณ สำหรับการจะเริ่มใช้โปรแกรมการตลาดแบบเน้นความสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การคิดถึงประเด็นการตลาดแบบตัวต่อตัวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางธุรกิจของบริษัทมากที่สุด ( หรือน้อยที่สุด ) ทั้งนี้ก็เพื่อการจัดลำดับความสำคัญ...
จริยธรรมผู้ประกอบการ
1. หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการทุกท่านต้องการกำไร แต่การทำผลกำไรอย่างไร โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นไม่เพียงพอ เพราะการที่ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า...
โอกาส กับ ความพร้อม อะไรเกิดก่อนกัน ?
หลายคนคอยคิดอยู่เสมอว่าตัวเองโชคไม่ดี ไม่มีโอกาสดี ๆ เหมือนคนอื่นเลย ทำให้ไม่สามารถประสบความสำเร็จ ในการทำธุรกิจ ในการทำอาชีพนักขาย หรืออาชีพอื่น ๆ แต่เขาเหล่านั้นอาจลืมไปว่ามีโอกาสผ่านเข้ามาแล้วหลายครั้งแต่เนื่องจากเราเองต่างหากที่ขาดความพร้อมเลยไม่สามารถ...
ปรัชญาการจัดการทางการตลาด
1.แนวความคิดมุ่งการผลิต Production conceptเป็นแนวความคิดที่ใช้ในยุคแรกๆ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการผลิตให้ดียิ่งขึ้น ลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำลง เพื่อขายสินค้าให้ได้ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง รวมทั้ง ทำให้การจำหน่ายจ่ายแจกมีประสิทธิผลดีที่สุด ทั้งนี้ภายใต้ข้อสมมติที่ว่า...
ช่างคิด ช่างทำ ช่างจำ ช่างลอก
ไม่ต้องแปลกใจที่สินค้า – บริการและศักยภาพของผู้บริหารไปจนถึงทีมงานของแต่ละองค์กร มีความสำเร็จหรือ ล้มเหลวที่แตกต่างกัน ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดผลแตกต่างดังกล่าว แต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญ อยู่ที่ผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรว่ามีศักยภาพในการคิด...
Viral Marketing กลยุทธ์การตลาด แบบปากต่อปาก
Viral Marketing คืออะไรในปัจจุบันต้องยอมรับว่า สื่อออนไลน์ หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า Social Network เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากพอสมควร ซึ่งก็เข้าทางการตลาดแบบ Viral ที่อาศัยการบอกต่อโดยใช้สื่อที่เรียกว่า Social Network นี้เองในการเป็นสื่อกลาง...
ถ้อยคำในการรับโทรศัพท์
ผู้ใช้โทรศัพท์ทุกคนจะมีบทบาทที่สำคัญในการใช้โทรศัพท์ในแต่ละครั้ง ผู้ใช้โทรศัพท์จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์นั้น จะต้องทำหน้าที่เป็น - ผู้สื่อสารหรือติดต่อ - ผู้ให้การแนะนำ - ผู้แก้ปัญหา - ผู้ให้ความรู้ - ผู้ทำการประชาสัมพันธ์ -...
ข้อควรระวังจุดเริ่มต้นแห่งความล้มเหลว
ในการทำธุรกิจ มีบ้างที่ว่าประสบความสำเร็จหรือบางครั้งล้มเหลวเสียตั้งแต่เริ่มต้น ทำธุรกิจทั้งลงทุน ลงแรง แต่ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสแม้กระทั่งบรรยากาศแห่งความสำเร็จ 浦汇 ก็ต้องล้มเหลวตั้งแต่กลางคัน ทั้งนี้ยังมีธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและจะเรียกว่าน่าสงสารก็ได้...
การพัฒนาทีมงาน
ปัญหาในการพัฒนาทีมงาน อาจจะเแบ่งออกกว้างๆ ได้ 5 ประการด้วยกัน1. การสรรหาว่าจ้างที่ไม่สมเหตุสมผล : บางครั้งฝ่ายบุคคล คัดเลือกคนลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่เพียงเพราะอัตราการจ่ายผลตอบแทนที่ตกลงกันได้ แต่กลับไม่เลือกคนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม...
ภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
Kotler (Kotler,2000:296) ได้กล่าวถึงภาพลักษณ์ในปริบทของการตลาดไว้ว่า ภาพลักษณ์ (Image) เป็นวิถีที่ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการภายใต้การควบคุมของธุรกิจ...
การสร้างความเชื่อมั่น
ดำเนินการตามหลักการ PDCA เพื่อสร้างความเชื่อมั่น P = Plan คือ การวางแผนการดำเนินงาน เป็นการหาข้อมูล การกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายของงานที่ชัดเจนถูกต้องตรงกันทั้งองค์กร เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมที่จะเดินไปในทิศทางเดียวกัน...
เคล็ดลับการหาลูกค้าใหม่
ส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ธุรกิจมีกำไรและเจริญก้าวหน้า คือ การทุ่มเทให้กับการ พัฒนาธุรกิจ แม้ว่าคุณจะมีการ ผสมผสานระหว่างงาน ลูกค้า และพนักงานอย่างลงตัวแล้วก็ตาม คุณจำเป็นต้องติดตามโอกาสทางการขายใหม่ๆ ในการดำเนินการดังกล่าว โดยไม่ต้องผละออกจากลูกค้าปัจจุบัน...
มนุษย์พันธุ์เถ้าแก่ (Nanosoft Marketing Series)
คุณอยากรวยไหม ? คำตอบของคนส่วนใหญ่ คือ อยาก “เป็นลูกจ้างเขาไม่มีวันรวย ต้องเป็นเถ้าแก่เอง ถึงจะมีโอกาสรวย” หลายคนเชื่อแบบนี้ และจะออกจากชีวิตลูกจ้างมาเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งบางคนก็เป็นเถ้าแก่ที่ทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จรวยจริง ๆ ตามที่ตั้งใจ ขณะที่อีกหลายๆ...
ธนาคารเวลา
บทความนี้ เมื่อท่านอ่านจบ ให้ถามตัวเองว่า” สิ่งไหนที่สำคัญ สิ่งนั้นทำแล้วหรือยัง ? ”” คนไหนที่เรารัก ทำดีกับเค้าแล้วหรือยัง ? ”ลองจินตนาการว่ามีธนาคารแห่งหนึ่งเข้าบัญชีให้คุณทุกเช้า เป็นเงิน 86,400 บาท...
วิธีหาแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นทำธุรกิจ
แรงบันดาลใจหาได้ง่ายๆ ใกล้ๆตัวคุณหลายๆคนที่ต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรสักอย่าง คำถามแรกสุด น่าจะเป็น “จะทำอะไรดี?” บางคนใช้เวลาหาเป็นปีๆ เพื่อที่จะได้คำตอบ ผมมีวิธีดีๆมานำเสนอสำหรับคนที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจครับมองดูตัวเองสิ่งแรกที่ควรทำคือ...
จะทำอย่างไรเมื่อพนักงานลาออกบ่อย?
การดึงคนให้อยู่กับองค์กรให้ได้นั้น มีตัวแปรอยู่หลายปัจจัย แต่ที่แน่ๆ คือมิใช่เรื่องเงินอย่างเดียวแน่นอน ซึ่งควรทำการประเมินและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาให้ได้เสียก่อน จึงจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ สำหรับสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้พนักงานลาออกนั้น โดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้ 1. ...
รู้จักบุคลิกภาพของคนทั้ง 5 มิติ
ผู้บริหารมากมายว่าจ้างพนักงานใหม่โดยพิจารณาแต่เรื่องทักษะการทำงานเป็นหลัก แต่แล้วก็ต้องเสียใจในภายหลัง การที่พนักงานจะมีประสิทธิภาพการทำงานยอดเยี่ยมได้นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างด้วย บุคลิกภาพที่มีความแตกต่างกันก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง...
การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
การสนทนา เพื่อพื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรุ้ ดังนั้นควรที่จะเห็นประโยชน์ของแนวคิดนี้ ไปใช้ในการสร้างภูมิปัญญาขององค์กร ลดความขัดแย้งของทีมงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานอีกด้วย ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการสนทนา ผู้นำต้องลดบทบาททั้งด้านเผด็จการ การลงโทษ...
เทคนิคการเลื่อนขั้นแบบทันใจ
ความปรารถนาของคนทำงานทุกคนย่อมต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต้องการเติบโต ในตำแหน่งงานที่สูงขึ้นไป มีความมั่นคงมั่งคั่งมากขึ้น มีอำนาจเพิ่มขึ้น ได้รับความเคารพนับถือ มากขึ้น นำมาซึ่งความสุข ความสำเร็จในชีวิต แต่กว่าจะถึงจุดนั้นที่ทุกคนปรารถนา ต้องมีการแข่งขัน...