คุณลักษณะ ที่ทำบรรดา ซีอีโอ ประสบความสำเร็จ คือ คุณลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า CEO ส่วนใหญ่มี แล้วทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 คุณลักษณะหลักๆ
แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาล
คุณลักษณะอะไร ที่ทำ CEO ทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ
ที่มา: Elena Lytkina Botelho, Kim Rosenkoetter Powell, Stephen Kincaid, Dina Wang; What Sets Successful CEOS Apart, Harvard Business Review, May-June 2017, pgs 70-77
แปลโดย ดร. สุมณฑา ตันวงศ์วาล (Sumontha Tonvongval)*
เรื่องราว ที่ทำให้ CEO ไม่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้
ตั้งแต่ปี พศ 2543-2556 ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร (ซีอีโอ) จำนวนสูงถึง 25% ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง (the Conference Board) จากการศึกษาในปี 2557 จากบริษัทใหญ่ๆ 2,500 แห่งของ บริษัท ไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์ (PWC) พบว่าเมื่อมีการเลิกจ้างผู้บริหารสูงสุดก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ผู้ถือหุ้นเนื่องจากมูลค่าหุ้นในตลาดลดลงถึง112,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี นี่ทำให้ผู้ที่จะแต่งตั้งผู้บริหารคนใหม่คิดหนักมากและต้องการแก้ไขปัญหานี้
อะไรเป็นสาเหตุให้ ซีอีโอเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งใหม่นี้
สาเหตุหลักที่พบมาจากความแตกต่างและไม่ตรงกันในคุณสมบัติที่บอร์ดใช้ในการพิจารณาแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ กับคุณลักษณะของซีอีโอที่มีผลงานดีและประสบความสำเร็จ
จากการศึกษาข้อมูลของบริษัทจำนวน 17,000 แห่งมีซีอีโอจำนวน 2,000 คน พบว่าซีอีโอที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ มีคุณลักษณะ หลัก 4 ประการที่สำคัญที่ทำให้มีผลงานดีหรือประสบความสำเร็จในตำแหน่งใหม่คือ
- เป็นตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความเชื่อมั่น
- การมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้น และบอร์ด ซึ่งมีผลกระทบต่อความสำเร็จของซีอีโอ
- มีการปรับตัวเองได้รวดเร็ว
- มีความน่าเชื่อถือโดยเฉพาะผลงานที่ดีสม่ำเสมอ
ผู้ศึกษาเรื่อง 4 คุณลักษณะ ที่ CEO ประสบความสำเร็จ นี้ ได้พบว่า
- ผู้ที่เข้ารอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกเป็นซีอีโอจากบอร์ดทุกคนเคยทำผิดพลาดอย่างมีผลเสียหายต่อองค์กรมาก่อน
- 45% ของผู้เข้ารอบเพื่อคัดเลือกเหล่านี้เคยถูกให้ออกจากงาน เปลี่ยนอาชีพหรือทำให้องค์กรเสียหายมาก่อนและมีจำนวนมากถึง 78% ในกลุ่มนี้ที่ได้รับเลือกและแต่งตั้งเป็นซีอีโอ
- จากการศึกษายังพบว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่ผู้ผ่านเข้ารอบจบมานั้นไม่มีนัยสัมพันธ์เลยกับผลงาน มีเพียง 7% ของซีอีโอเท่านั้นที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และ มีจำนวนมากถึง 8% ที่ไม่ได้จบปริญญาเลย
- บุคลิกภาพของผู้เข้ารอบคัดเลือกเป็น ซีอีโอที่ดีที่บอร์ดชอบกลับไม่มีผลหรือสัมพันธ์กับผลงานเลย
จากการศึกษาหากบอร์ดคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณลักษณะที่ดี 4 ประการและกระบวนการพัฒนามีผลต่อการ คัดเลือกซีอีโอใหม่ได้อย่างถูกต้อง
แม้จะเป็นการยากที่ผู้บริหารจะมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ จากการศึกษาผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับแต่งตั้งเกินครึ่งของผู้สมัครเป็นซีอีโอคนใหม่นั้น มีคุณสมบัติ มากกว่า 1 อย่างใน 4 อย่างดังกล่าวข้างต้น เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกมีเพียง 5% เท่านั้นที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
คุณลักษณะ 4 ประการ CEO ที่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้
1.การตัดสินใจที่รวดเร็วและมั่นใจ
จากการศึกษาพบว่า ซีอีโอที่มีผลงานดี ไม่ได้ตัดสินใจได้ดีทุกเรื่อง แต่เป็นซีอีโอที่ตัดสินใจต่างหากโดย มีการตัดสินใจก่อน ด้วยความรวดเร็วและด้วยความเชื่อมั่น และทำอย่างสม่ำเสมอแม้ในยามสถานการณ์คลุมเครือ มีข้อมูลไม่ครบและไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนก็ตาม
จากการศึกษาพบว่าผู้บริหารที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บริหารที่กล้าตัดสินใจนั้นจะเป็นผู้บริหารที่มีผลงานดีกว่าถึง 12 เท่า จากประสบการณ์ของผู้เขียนเป็นที่น่าสนใจมากที่ ซีอีโอ ที่มีไอคิวสูงมาก ยังประสบปัญหาในการตัดสินใจแม้ผลการตัดสินใจจะดีเนื่องจากพยายามแก้ปัญหาให้สมบูรณ์แบบที่สุดซึ่งแน่นอนเขาเหล่านั้นใช้เวลานานเกินไป
ผู้บริหารที่ชาญฉลาดแต่ไม่กล้าตัดสินใจกลายเป็นอุปสรรค (ตัวถ่วงเสียเอง) ทำให้ทีมงานท้อแท้ (ซึ่งอาจทำให้พนักงานบางคนลาออก) หรือเป็นผู้บริหารที่ระมัดระวังเกินไปจนไม่กล้าตัดสินใจ
ซีอีโอที่มีผลงานดี เข้าใจดีว่าการตัดสินใจที่ผิด ยังดีกว่าไม่ตัดสินใจ การตัดสินใจที่ผิดยังดีกว่าการไม่ให้ทิศทางหรือจะให้พนักงานทำอย่างไรต่อ ซึ่งการตัดสินใจทุกเรื่องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องเรียนรู้ว่าควรใช้เวลาในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพียงใด
เมื่อดูผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารที่มีการตัดสินใจไม่ดีมีเพียง 6% เท่านั้นที่ตัดสินใจเร็วเกินไป ผู้บริหารจำนวนมากถึง 94% มีการตัดสินใจไม่ดีเนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจหรือมีการตัดสินใจน้อยมาก และยังช้าอีก
ซีอีโอของบริษัท Vi-Jon ชื่อ Mr. Jerry Bowe กล่าวว่า ผู้บริหารที่ดีคือผู้ที่กล้าตัดสินใจไม่รอจนมีข้อมูลครบสมบูรณ์ แล้วค่อยตัดสินใจ สำหรับเขา เขาจะตัดสินใจเมื่อมีข้อมูลเพียง 65%ของคำตอบที่ต้องการเท่านั้น จะช่วยได้หากผู้บริหารปรึกษากับที่ปรึกษาเพื่อหาทางเลือกหลายๆทางหรือช่วยในการตัดสินใจ
คุณ Bowe กล่าวว่าใน การตัดสินใจของเขา เขาจะตั้งคำถาม ถามตัวเองเพียง 2 คำถามคือ
1) จะมีผลอะไรหากตัดสินใจผิด
2) หากไม่ตัดสินใจจะทำให้อะไรต้องหยุด สะดุดหรือรอคอย
ซึ่งลูกน้องของเขาก็ใช้วิธีตั้งคำถามนี้ในการตัดสินใจและสามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสอบถามความเห็นจากเขา ผู้บริหารควรใช้เวลาตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆมากกว่าเรื่องการปฏิบัติงานประจำๆ
เช่นเดียวกัน ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จรู้ว่าเมื่อไรเขาไม่ควรตัดสินใจ นาย สตีเฟ่น คอฟแมน ซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัท Arrow Electronics กล่าวว่าในบางครั้งผู้บริหารควรหยุดคิดสักครู่ว่า เขาควร ตัดสินใจ หรือควรเป็นหน้าที่ของลูกน้องเขาที่ควรเป็นคนตัดสินใจและหากจะช้าไปสักหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน น่าจะมีข้อมูลที่สำคัญๆเพิ่มขึ้นแล้วค่อยตัดสินใจจะไม่เกิดความเสียหายได้
นาย Art Collins ประธานและผู้บริหารบริษัท Medtronic กล่าวว่า เมื่อผู้บริหารตัดสินใจโดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วต้องมุ่งมั่นเดินหน้าทำให้ได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจบ่อยๆพนักงานจะหมดศรัทราในตัวผู้บริหาร จาก ประสบการ การที่ผู้บริหารตัดสินใจผิดไม่ก่อผลเสียหายร้ายแรงถึงเสียชีวิต จากสถิติพบว่า 1 ใน 3 ของผู้บริหารที่ถูกให้ออกจากงานเนื่องจากตัดสินใจยอดแย่ นอกนั้นถูกให้ออกจากงานเพราะไม่ตัดสินใจ
2.การมีส่วนร่วมเพื่อก่อให้เกิดพลังทางบวก
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งสูงถึง 75% เข้าใจความต้องการของผู้ถือหุ้นและบอร์ดได้ดีและ จัดทำกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนพนักงานเพื่อทำผลงานให้ได้ตามที่ผู้ถือหุ้นคาดหวัง (Delivering business results)
ผู้บริหารโรงพยาบาลแห่งหนึ่งกล่าวว่า ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ เขาจะเขียนแผนว่าผู้ถือหุ้นหรือ บอร์ดคนใด สนับสนุนและไม่เห็นด้วย หากไม่เห็นด้วยเขาก็จะพยายามทำความเข้าใจว่าทำไมผู้บริหาร นั้นไม่เห็นด้วย มีข้อกังวลด้านใดและพยายามแก้ความกังวลนั้นเพื่อลดแรงต่อต้าน เสียดทาน
การที่ผู้ถือหุ้นหรือบอร์ดมีความเห็นด้วยกับการตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่ประสบความสำเร็จ
ผู้บริหารท่านนี้ยังแนะนำต่อว่า ในการติดต่อประสานงานผู้บริหารต้องทราบหรือสังเกตเห็นถึง อารมณ์ (Mood) และการแสดงออกทางกายของผู้ถือหุ้นและบอร์ดด้วย
ซึ่งอารมณ์นั้นเหมือนเชื้อโรคที่ลามติดต่อกันได้ระหว่างบอร์ด ดังนั้นผู้บริหารต้องระมัดระวังต้องเก็บอารมณ์และไม่แสดงออกทางสีหน้า เพราะผู้บริหารในห้องจะมองเห็นและขยายเรื่องการชักสีหน้าให้เป็นเรื่องใหญ่โต
ผู้บริหารต้องอยู่ในความสงบในขณะนำเสนองาน เก็บอารมณ์ไม่แสดงออกทางสีหน้าให้เห็น
ซีอีโอที่มีผลงานดีมักไม่หวั่นหรือเสียกำลังใจที่ต้องบริหารงานต่อไปแม้จะเกิดความขัดแย้งกับบอร์ดบางคน คุณสมบัติที่ผู้บริหารที่เก่งประสบความสำเร็จมีคือ การไม่ย่อท้อ ทำงานต่อแม้จะเกิดการขัดแย้งขึ้นก็ตาม มีการบริหารความขัดแย้งได้ดี (Conflict management)
เมื่อมีการโต้เถียงเกิดขึ้นผู้บริหารที่มีผลงานดีมักให้ทุกคนพูดออกความเห็นแต่จะไม่ให้มีการโวตเพื่อตัดสินใจ ซึ่งการโวตหรือลงประชามตินั้นดี แต่เสียเวลาและในบางครั้งสิ่งที่ชนะในการโวตนั้นเป็นทางเลือกที่ไม่ดีเลย
ซีอีโอบางท่านอาจเลือกที่จะพูดคุยกับ พนักงานกลุ่มมีศักยภาพ (Talent) และเป็นแกนหลักขององค์กร 20 คนจาก 30 คนก่อนตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆทุกครั้งก่อนเสมอ
งานของซีอีโอจะยั่งยืนหรืออยู่ต่อได้นั้นก็เพราะผลงาน และซีอีโอที่ถูกไล่ออกจากงานมักจะเกิดขึ้น หลังจากธุรกิจหลุดพ้นวิกฤตแล้ว รวมทั้ง พนักงาน ผู้ถือหุ้น บอร์ดไม่สนับสนุนเขาแล้ว
ซีอีโอที่สามารถนำพาองค์กรก้าวผ่านวิกฤติได้นั้น อยู่ในตำแหน่งเพียง 2-3 ปีเท่านั้นเมื่อแก้ปัญหาใน องค์กรได้เสร็จก็ต้องออกจากตำแหน่งไป
3.การปรับตัวอย่างรวดเร็ว
จากการศึกษาพบว่า ซีอีโอที่ปรับตัวได้เร็วมักประสบความสำเร็จมากกว่า 6.7 เท่า การปรับตัวได้ รวดเร็วเป็นทักษะที่สำคัญมาก ซีอีโอที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในตำแหน่งใหม่ได้แบ่งเวลาในการ บริหารโดยให้เวลามากถึง 50% ในการวางแผนระยะยาว ซึ่งการใส่ใจในแผนระยะยาวจะช่วยให้ ผู้บริหารปรับตัวเรียนรู้ได้เร็ว ซีอีโอที่ปรับตัวได้เร็วมักค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจากที่ต่างๆ แม้ในเบื้องต้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนักก็ตาม จึงทำให้ซีอีโอสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงและปรับ กลยุทธ์เพื่อได้เปรียบทางธุรกิจก่อนคนอื่น
ผู้บริหารต้องรู้ว่าบางครั้งผลงานไม่ได้เติบโตตามคาดหวัง เกิดความผิดพลาดในการบริหารซึ่งผู้บริหาร ต้องเรียนรู้ว่า ความล้มเหลวเป็นการเรียนรู้ด้วย
จากการศึกษาพบว่า ผู้บริหารจำนวน 50% ที่เชื่อว่าความผิดพลาดเป็นความล้มเหลวนั้นไม่ สามารถ กลับมามีผลงานดีได้ ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดและทำเพิ่มหรือทำให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลงานโดยเร็ว ซีอีโอที่มีทัศนคติหรือแรงบันดาลใจเช่นนี้ มักประสบความสำเร็จก้าวเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
จากการศึกษา90%ของผู้บริหารที่เก่งประสบความสำเร็จมีทักษะความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับความ ล้มเหลว และการมีแรงบันดาลใจสูงที่จะแก้ไขทำให้ดีขึ้น
4.มีผลงานดีสม่ำเสมอเป็นที่เชื่อถือ
ความสามารถในการทำผลงานอย่างสม่ำเสมอเป็นทักษะที่สำคัญมากใน 4 ประการของคุณลักษณะ ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จและมีผลงาน ผู้สมัครตำแหน่งผู้บริหารที่มีคุณสมบัตินี้มีโอกาสได้รับเลือก มากกว่า 2 เท่าและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในตำแหน่งสูงถึง 15 เท่า เนื่องจากบอร์ด ผู้ถือหุ้น ต้องการเห็นผู้นำที่สร้างการเติบโตให้องค์กรได้อย่างต่อเนื่องและคาดเดาได้ (ไม่มี surprise)
เคยมีเหตุการณ์ที่ผู้สมัครคนหนึ่งสามารถสร้างผลงานมากกว่าปีก่อนถึง 150% แต่บอร์ดไม่เลือก ผู้สมัครคนนี้แต่กลับไปเลือกผู้สมัครที่มีผลงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าแต่ต่อเนื่องกันทุกปี นั่นคือ บอร์ดพอใจ ในผู้บริหารที่สามารถสร้างผลงานได้ต่อเนื่อง คาดเดาหรือพยากรณ์ได้แน่นอนต่างหาก
สิ่งที่ผู้บริหารใหม่เรียนรู้คือ ทักษะในการบริหารความคาดหวัง โดยไม่ยอมรับเป้าในสัปดาห์แรกที่มา เริ่มทำงาน ผู้บริหารเหล่านี้จะศึกษาข้อมูล ตัวเลขและจะพบกับบอร์ด พนักงาน และลูกค้าเพื่อทราบ ความต้องการหรือความคาดหวังจากพวกเขาและจัดทำกลยุทธ์และเป้าที่สามารถทำได้จริงจากข้อมูลที่ ได้มาอย่างรวดเร็วแล้วเท่านั้น
ซีอีโอที่มีทักษะด้านความน่าเชื่อถือสูงจะมียุทธวิธีในการทำงานหลากหลายโดย 3ใน 4 ของผู้บริหาร เหล่านี้มีทักษะในการวางแผนและการจัดการองค์กรได้ดีโดยการสร้างระบบการบริหารซึ่งมี การ ประชุม มีตารางตัววัดผล ความรับผิดชอบของพนักงานที่ชัดเจน และหลากหลายวิธีในการติดตาม ผลงาน
มีผู้บริหารจำนวนมากถึง 60% ที่ทำผิดตั้งแต่เริ่มต้นในตำแหน่งซีอีโอใหม่ ที่ยินยอมรับเป้า ยอดขาย และยังขาดทีมงานที่ดีหรือจำนวนไม่พอเพียงแต่เริ่มต้น ซีอีโอบางคนเลือกคนเก่งมาทำงานโดย ผู้บริหารบางคนเลื่อนตำแหน่งพนักงานที่มีอยู่อย่างพิถีพิถันด้วยการตั้งเป้าหรือผลงานที่สูงให้และ ติดตามผลงานตามตำแหน่งใหม่ มีผู้บริหารบางคนเลื่อนตำแหน่งพนักงานโดยพิจารณา จากการมีความผูกพันกับองค์กร (อยู่นาน) หรือพนักงานชอบงาน ซึ่งเกณฑ์ในการเลื่อนตำแหน่งโดยดูจากการทำงานนานและพนักงานชอบนั้นเป็นการตัดสินใจที่ไม่ดี
โดยสรุปไม่มีสูตรผสมของคุณสมบัติ 4 ประการสำหรับผู้บริหารมือใหม่ สภาวะของแต่ละอุตสาหกรรมและองค์กรจะเป็นตัวกำหนดว่าคุณลักษณะและทักษะอะไรที่จำเป็นและสำคัญที่สุด ในอุตสาหกรรมที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่น ด้านเทคโนโลยี แน่นอนองค์กรต้องการผู้บริหารที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและการทักษะการปรับตัวนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับกิจการที่ไม่หวือหวาหรือเติบโตไปอย่างช้าๆ
บทความน่าอ่านเพิ่มเติม
ทำอย่างไร? เมื่อต้องขายแข่งกับ Brand ดัง
ทำอย่างไร? เมื่อต้องขายแข่งกับ Brand ดัง ตัวแทนจำหน่าย(ยี่ปั้ว ซาปั้ว) หรือที่ในปัจจุบัน จะเรียกว่า เป็นการขายในลักษณะ B2B ซึ่งก็ย่อมาจากคำว่า Business to Business กลไกการขายประเภทนี้ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้านั้นมีวัตถุประสงค์ของการซื้อเพื่อจัดจำหน่าย...
ทำอย่างไร..ให้มีเวลาขายเพิ่มมากขึ้น
ทำอย่างไร..ให้มีเวลาขายเพิ่มมากขึ้น ทำไมพนักงานขายส่วนใหญ่ทำงานไม่ทัน หมายถึงไม่สามารถไปเยี่ยมลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ พอถูกถาม ก็มีเหตุผลมากมายที่จะอธิบายถึงสาเหตุว่าตนเองนั้นทำงานไม่ทัน และเป็นอย่างนั้นทุกเดือน...
อยากเป็นนักธุรกิจบ้าง..ต้องทำอย่างไรดี..
อยากเป็นนักธุรกิจบ้าง..ต้องทำอย่างไรดี.. ในช่วงของวิกฤติเศรษฐกิจเป็นพิษ งานประจำที่เคยทำก็จะรู้สึกอึดอัดขึ้นมา เพราะมีแรงกดดันต่าง ๆ นานาเข้ามามากมาย ที่เคยได้ ก็ไม่ได้ หรือได้ยากขึ้น มีขั้นตอน มีระบบเข้ามากระทบมากมาย ฟังแล้วก็รู้สึกเหนื่อย...
หากลุ่มเป้าหมายอย่างไร ได้ใจ ได้งาน
หากลุ่มเป้าหมายอย่างไร ได้ใจ ได้งาน สำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาผู้มุ่งหวังได้จำนวนมากๆ เพราะมีความเข้าใจผิดบ้างในการค้นหาผู้มุ่งหวัง เพราะนักขายต่าง ๆ มุ่งที่จะค้นหาผู้มุ่งหวังจำนวนมาก ๆ เข้าไว้...
ทำอย่างไรให้ทีมงานยอมรับเมื่อเป็นหัวหน้าทีม!
ทำอย่างไรให้ทีมงานยอมรับเมื่อเป็นหัวหน้าทีม! มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นหัวหน้าทีมแล้วเจอปัญหา คือเพื่อร่วมงานก็ไม่ขยัน และไม่ตั้งใจเท่าไหร่ มีแต่ความเป็นผู้อาวุโส และเมื่อไม่ได้รับเลื่อนขั้น ก็ทำการตีรวน เรียกได้ว่า ทำให้แกว่งไปหมด เมื่อเราคิดจะไปด้านซ้าย...
ขายเพราะข้อมูล ข้อมูล “ที่ไม่มากเกินไป”
ขายเพราะข้อมูล ข้อมูล “ที่ไม่มากเกินไป” มีพนักงานขายทั้งมือใหม่และมือเก่าจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน จนทำให้หลายคนถึงกับยอมถอดใจล้มเลิกความตั้งใจเป็นพนักงานขายเลยทีเดียว ขอให้ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน...
มันแปลกดีนะ! ขายมาหลายปี แต่กลับขายได้น้อยลง
มันแปลกดีนะ! ขายมาหลายปี แต่กลับขายได้น้อยลง เป็นปัญหาแม่แบบที่เกิดกับพนักงานขายหลายๆ คน จึงคิดว่าน่าจะนำมาลงเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้เพื่อนพนักงานขายได้สังเกตุตนเองว่ามีปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งมีทิศทางสวนกระแสคือยิ่งเวลาผ่านไปมากขึ้น...
ลูกค้า ชอบถามเรื่องค่าคอมมิชชั่น ตอบอย่างไรดี?
ลูกค้า ชอบถามเรื่องค่าคอมมิชชั่น ตอบอย่างไรดี? นักขายหลาย ๆ คนอาจจะประสบปัญหาเช่นกัน การควบคุมสถานการณ์ของผู้ขาย จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้กระทบกระเทือนถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวกับลูกค้า แต่ก่อนอื่น อยากให้ทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของอาชีพก่อนว่า...
สัญญาณการซื้อ..เป็นไฉน?
สัญญาณการซื้อ..เป็นไฉน? สัญญาณการซื้อ(Buying Signal) เป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการขายและสามารถมีขึ้นได้ทุกขณะ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นหลังจากนักขายนำเสนอ บางครั้งก่อน บางครั้งหลัง ปัญหามีอยู่ว่าจะทำอย่างไร นักขายถึงจะทราบได้ว่า มีสัญญาณการซื้อ และเป็นสัญญาณจริง...
เป้าหมายการขายที่สูงขึ้น จากการขายให้ผู้บริหาร
เป้าหมายการขายที่สูงขึ้น จากการขายให้ผู้บริหาร มีนักขายหลายคนมักบอกว่าการขายก็เพื่อให้ตนเองนั้นได้ยอดขายที่สูง จำนวนการสั่งซื้อที่มากๆ ต้องขายให้กับผู้บริหารระดับสูง และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในปัจจุบันนั้นพบว่าคำถามเช่นนี้มีเพิ่มมากขึ้น...
อะไรคือข้อมูลที่สำคัญ เพื่อช่วยการขาย
อะไรคือข้อมูลที่สำคัญ เพื่อช่วยการขาย ต้องขอบอกก่อนว่า เรื่องของข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการขาย มีความซับซ้อนและมีเรื่องของความรู้สึก ความผูกพันมาเกี่ยวข้องด้วยนอกเหนือจากเนื้อหาของการหาข้อมูล ซึ่งการค้นหาข้อมูลนั้นเป็นส่วนหนึ่ง...
บ่อยครั้งที่ลูกค้าชอบถามราคาก่อน ควรบอกเลยหรือไม่?
บ่อยครั้งที่ลูกค้าชอบถามราคาก่อน ควรบอกเลยหรือไม่? เรื่องการบอกราคากับลูกค้า ว่าควรบอกดีหรือไม่ เมื่อผู้ขายถูกรุกให้บอกราคา เรื่องของการบอกราคานั้นเป็นเสมือนดาบสองคม ในบางครั้งผู้ขายยืนกรานไม่บอกราคาสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทราบ...
ทำอย่างไร? เมื่อ นักขาย ถูกมองว่าชอบ “โกหก”…
ทำอย่างไร? เมื่อ นักขาย ถูกมองว่าชอบ “โกหก”... ประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีจากการตอบสนองของลูกค้า หรือ “กลุ่มผู้มุ่งหวัง” ที่ทำให้รู้สึกว่าพวกตนเอง (หมายถึงพนักงานขาย) เป็นพวกที่ใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีความจริงใจ ชอบโกหก ใครที่มีประสบการณ์เช่นนี้...
จริงหรือ? ที่ว่าไม้ตายการขาย คือ “ลูกอ้อน”
จริงหรือ? ที่ว่าไม้ตายการขาย คือ “ลูกอ้อน” เป็นเสียงสะท้อนได้ดีให้ผู้ที่ทำงานขายนั้นตระหนักรู้ถึงกระบวนการของการขายของตนเอง ถึงวิธีการหรือสิ่งที่นักขายแสดงออกไป และจะมีผลกระทบต่อผู้ฟังอย่างไร หนักๆเข้าอาจจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในตัวผู้ขายไปเลยก็มี ...
เรียนรู้ความสำเร็จเพื่อตนเองจะประสบความสำเร็จ
เรียนรู้ความสำเร็จเพื่อตนเองจะประสบความสำเร็จ เรียนรู้ความสำเร็จเพื่อตนเองจะประสบความสำเร็จ เชื่อว่าผู้ถามจะเป็นอีกผู้หนึ่งที่จะเดินบนเส้นทางของการขายได้อย่างสง่างาม เพราะว่ามีนักขายจำนวนไม่มากที่จะพยายามวิเคราะห์ตนเองตลอดเวลา...
แก้เรื่องปวดหัว กับนักขายชอบลาออก!
แก้เรื่องปวดหัว กับนักขายชอบลาออก! เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจไม่น้อยสำหรับผู้ที่ต้องทำงานในตำแหน่งหัวหน้าและต้องดูแลฝ่ายขาย ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีความละเอียดอ่อนมาก เพราะนักขายนั้นเป็นผู้ที่ต้องติดต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง...
เป็นเรื่อง..เมื่อนักขายต้องวิ่งตามเก็บเงินลูกค้าด้วย
เป็นเรื่อง..เมื่อนักขายต้องวิ่งตามเก็บเงินลูกค้าด้วย อาจมีสาเหตุจากความเข้าใจผิดระหว่างผู้บริหารและนักขาย เนื่องจากนักขายและบริษัทไม่ได้มีการพูดคุยให้ชัดเจนในเรื่องของขอบเขตการทำงาน หรือที่เรียกว่า Scope of Work ทำให้มีความเข้าใจผิดกันบ้าง...
อย่างไร?…คือ การขายสายพันธ์ใหม่
อย่างไร?...คือ การขายสายพันธ์ใหม่ รู้สึกอยู่อย่างหนึ่งว่างานขายเริ่มเหมือนงานที่เขาเรียกว่างาน Routine เข้าทุกวันคือ มีการติดต่อลูกค้าทุกวัน พยายามเข้าพบ เพื่อนำเสนอสินค้า และก็พยายามปิดการขายในที่สุด บางครั้ง รู้สึกเบื่อๆ เพราะเริ่มจำเจ หรือเป็นเพราะทำซ้ำๆ...
มุมมอง วิธีการขาย ของนักขายรุ่นใหม่
มุมมอง วิธีการขาย ของนักขายรุ่นใหม่ ขอทำความเข้าใจกับงาน Routine ซึ่งหมายถึงงานที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน เช่นงานในสำนักงาน เป็นมุมมองที่น่าสนใจเพราะคนส่วนใหญ่จะมองว่าพนักงานขายไม่ซ้ำซากและจำเจ อาจจะมาจากการมองกระบวนการขายที่ต้องทำอยู่เป็นประจำ...
สร้างความยั่งยืนของยอดขายจากการสร้างแฟนพันธ์แท้
สร้างความยั่งยืนของยอดขายจากการสร้างแฟนพันธ์แท้ กระบวนการแบบใหม่ที่ใช้กันมากในการขายยุคปัจจุบัน เพื่อสร้างลูกค้าที่จะใช้สินค้าเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า “แฟนพันธ์แท้ นั่นเอง” การขายในปัจจุบันมีการนำหลักการตลาด (Marketing Concept) มาใช้...
Address
1991/157 ถ.อ่อนนุช แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10250