คุณลักษณะ ที่ทำบรรดา ซีอีโอ ประสบความสำเร็จ คือ คุณลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า CEO ส่วนใหญ่มี แล้วทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 คุณลักษณะหลักๆ
แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาล
คุณลักษณะอะไร ที่ทำ CEO ทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ
ที่มา: Elena Lytkina Botelho, Kim Rosenkoetter Powell, Stephen Kincaid, Dina Wang; What Sets Successful CEOS Apart, Harvard Business Review, May-June 2017, pgs 70-77
แปลโดย ดร. สุมณฑา ตันวงศ์วาล (Sumontha Tonvongval)*
เรื่องราว ที่ทำให้ CEO ไม่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้
ตั้งแต่ปี พศ 2543-2556 ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร (ซีอีโอ) จำนวนสูงถึง 25% ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง (the Conference Board) จากการศึกษาในปี 2557 จากบริษัทใหญ่ๆ 2,500 แห่งของ บริษัท ไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์ (PWC) พบว่าเมื่อมีการเลิกจ้างผู้บริหารสูงสุดก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ผู้ถือหุ้นเนื่องจากมูลค่าหุ้นในตลาดลดลงถึง112,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี นี่ทำให้ผู้ที่จะแต่งตั้งผู้บริหารคนใหม่คิดหนักมากและต้องการแก้ไขปัญหานี้
อะไรเป็นสาเหตุให้ ซีอีโอเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งใหม่นี้
สาเหตุหลักที่พบมาจากความแตกต่างและไม่ตรงกันในคุณสมบัติที่บอร์ดใช้ในการพิจารณาแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ กับคุณลักษณะของซีอีโอที่มีผลงานดีและประสบความสำเร็จ
จากการศึกษาข้อมูลของบริษัทจำนวน 17,000 แห่งมีซีอีโอจำนวน 2,000 คน พบว่าซีอีโอที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ มีคุณลักษณะ หลัก 4 ประการที่สำคัญที่ทำให้มีผลงานดีหรือประสบความสำเร็จในตำแหน่งใหม่คือ
- เป็นตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความเชื่อมั่น
- การมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้น และบอร์ด ซึ่งมีผลกระทบต่อความสำเร็จของซีอีโอ
- มีการปรับตัวเองได้รวดเร็ว
- มีความน่าเชื่อถือโดยเฉพาะผลงานที่ดีสม่ำเสมอ
ผู้ศึกษาเรื่อง 4 คุณลักษณะ ที่ CEO ประสบความสำเร็จ นี้ ได้พบว่า
- ผู้ที่เข้ารอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกเป็นซีอีโอจากบอร์ดทุกคนเคยทำผิดพลาดอย่างมีผลเสียหายต่อองค์กรมาก่อน
- 45% ของผู้เข้ารอบเพื่อคัดเลือกเหล่านี้เคยถูกให้ออกจากงาน เปลี่ยนอาชีพหรือทำให้องค์กรเสียหายมาก่อนและมีจำนวนมากถึง 78% ในกลุ่มนี้ที่ได้รับเลือกและแต่งตั้งเป็นซีอีโอ
- จากการศึกษายังพบว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่ผู้ผ่านเข้ารอบจบมานั้นไม่มีนัยสัมพันธ์เลยกับผลงาน มีเพียง 7% ของซีอีโอเท่านั้นที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และ มีจำนวนมากถึง 8% ที่ไม่ได้จบปริญญาเลย
- บุคลิกภาพของผู้เข้ารอบคัดเลือกเป็น ซีอีโอที่ดีที่บอร์ดชอบกลับไม่มีผลหรือสัมพันธ์กับผลงานเลย
จากการศึกษาหากบอร์ดคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณลักษณะที่ดี 4 ประการและกระบวนการพัฒนามีผลต่อการ คัดเลือกซีอีโอใหม่ได้อย่างถูกต้อง
แม้จะเป็นการยากที่ผู้บริหารจะมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ จากการศึกษาผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับแต่งตั้งเกินครึ่งของผู้สมัครเป็นซีอีโอคนใหม่นั้น มีคุณสมบัติ มากกว่า 1 อย่างใน 4 อย่างดังกล่าวข้างต้น เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกมีเพียง 5% เท่านั้นที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
คุณลักษณะ 4 ประการ CEO ที่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้
1.การตัดสินใจที่รวดเร็วและมั่นใจ
จากการศึกษาพบว่า ซีอีโอที่มีผลงานดี ไม่ได้ตัดสินใจได้ดีทุกเรื่อง แต่เป็นซีอีโอที่ตัดสินใจต่างหากโดย มีการตัดสินใจก่อน ด้วยความรวดเร็วและด้วยความเชื่อมั่น และทำอย่างสม่ำเสมอแม้ในยามสถานการณ์คลุมเครือ มีข้อมูลไม่ครบและไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนก็ตาม
จากการศึกษาพบว่าผู้บริหารที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บริหารที่กล้าตัดสินใจนั้นจะเป็นผู้บริหารที่มีผลงานดีกว่าถึง 12 เท่า จากประสบการณ์ของผู้เขียนเป็นที่น่าสนใจมากที่ ซีอีโอ ที่มีไอคิวสูงมาก ยังประสบปัญหาในการตัดสินใจแม้ผลการตัดสินใจจะดีเนื่องจากพยายามแก้ปัญหาให้สมบูรณ์แบบที่สุดซึ่งแน่นอนเขาเหล่านั้นใช้เวลานานเกินไป
ผู้บริหารที่ชาญฉลาดแต่ไม่กล้าตัดสินใจกลายเป็นอุปสรรค (ตัวถ่วงเสียเอง) ทำให้ทีมงานท้อแท้ (ซึ่งอาจทำให้พนักงานบางคนลาออก) หรือเป็นผู้บริหารที่ระมัดระวังเกินไปจนไม่กล้าตัดสินใจ
ซีอีโอที่มีผลงานดี เข้าใจดีว่าการตัดสินใจที่ผิด ยังดีกว่าไม่ตัดสินใจ การตัดสินใจที่ผิดยังดีกว่าการไม่ให้ทิศทางหรือจะให้พนักงานทำอย่างไรต่อ ซึ่งการตัดสินใจทุกเรื่องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องเรียนรู้ว่าควรใช้เวลาในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพียงใด
เมื่อดูผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารที่มีการตัดสินใจไม่ดีมีเพียง 6% เท่านั้นที่ตัดสินใจเร็วเกินไป ผู้บริหารจำนวนมากถึง 94% มีการตัดสินใจไม่ดีเนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจหรือมีการตัดสินใจน้อยมาก และยังช้าอีก
ซีอีโอของบริษัท Vi-Jon ชื่อ Mr. Jerry Bowe กล่าวว่า ผู้บริหารที่ดีคือผู้ที่กล้าตัดสินใจไม่รอจนมีข้อมูลครบสมบูรณ์ แล้วค่อยตัดสินใจ สำหรับเขา เขาจะตัดสินใจเมื่อมีข้อมูลเพียง 65%ของคำตอบที่ต้องการเท่านั้น จะช่วยได้หากผู้บริหารปรึกษากับที่ปรึกษาเพื่อหาทางเลือกหลายๆทางหรือช่วยในการตัดสินใจ
คุณ Bowe กล่าวว่าใน การตัดสินใจของเขา เขาจะตั้งคำถาม ถามตัวเองเพียง 2 คำถามคือ
1) จะมีผลอะไรหากตัดสินใจผิด
2) หากไม่ตัดสินใจจะทำให้อะไรต้องหยุด สะดุดหรือรอคอย
ซึ่งลูกน้องของเขาก็ใช้วิธีตั้งคำถามนี้ในการตัดสินใจและสามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสอบถามความเห็นจากเขา ผู้บริหารควรใช้เวลาตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆมากกว่าเรื่องการปฏิบัติงานประจำๆ
เช่นเดียวกัน ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จรู้ว่าเมื่อไรเขาไม่ควรตัดสินใจ นาย สตีเฟ่น คอฟแมน ซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัท Arrow Electronics กล่าวว่าในบางครั้งผู้บริหารควรหยุดคิดสักครู่ว่า เขาควร ตัดสินใจ หรือควรเป็นหน้าที่ของลูกน้องเขาที่ควรเป็นคนตัดสินใจและหากจะช้าไปสักหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน น่าจะมีข้อมูลที่สำคัญๆเพิ่มขึ้นแล้วค่อยตัดสินใจจะไม่เกิดความเสียหายได้
นาย Art Collins ประธานและผู้บริหารบริษัท Medtronic กล่าวว่า เมื่อผู้บริหารตัดสินใจโดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วต้องมุ่งมั่นเดินหน้าทำให้ได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจบ่อยๆพนักงานจะหมดศรัทราในตัวผู้บริหาร จาก ประสบการ การที่ผู้บริหารตัดสินใจผิดไม่ก่อผลเสียหายร้ายแรงถึงเสียชีวิต จากสถิติพบว่า 1 ใน 3 ของผู้บริหารที่ถูกให้ออกจากงานเนื่องจากตัดสินใจยอดแย่ นอกนั้นถูกให้ออกจากงานเพราะไม่ตัดสินใจ
2.การมีส่วนร่วมเพื่อก่อให้เกิดพลังทางบวก
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งสูงถึง 75% เข้าใจความต้องการของผู้ถือหุ้นและบอร์ดได้ดีและ จัดทำกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนพนักงานเพื่อทำผลงานให้ได้ตามที่ผู้ถือหุ้นคาดหวัง (Delivering business results)
ผู้บริหารโรงพยาบาลแห่งหนึ่งกล่าวว่า ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ เขาจะเขียนแผนว่าผู้ถือหุ้นหรือ บอร์ดคนใด สนับสนุนและไม่เห็นด้วย หากไม่เห็นด้วยเขาก็จะพยายามทำความเข้าใจว่าทำไมผู้บริหาร นั้นไม่เห็นด้วย มีข้อกังวลด้านใดและพยายามแก้ความกังวลนั้นเพื่อลดแรงต่อต้าน เสียดทาน
การที่ผู้ถือหุ้นหรือบอร์ดมีความเห็นด้วยกับการตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่ประสบความสำเร็จ
ผู้บริหารท่านนี้ยังแนะนำต่อว่า ในการติดต่อประสานงานผู้บริหารต้องทราบหรือสังเกตเห็นถึง อารมณ์ (Mood) และการแสดงออกทางกายของผู้ถือหุ้นและบอร์ดด้วย
ซึ่งอารมณ์นั้นเหมือนเชื้อโรคที่ลามติดต่อกันได้ระหว่างบอร์ด ดังนั้นผู้บริหารต้องระมัดระวังต้องเก็บอารมณ์และไม่แสดงออกทางสีหน้า เพราะผู้บริหารในห้องจะมองเห็นและขยายเรื่องการชักสีหน้าให้เป็นเรื่องใหญ่โต
ผู้บริหารต้องอยู่ในความสงบในขณะนำเสนองาน เก็บอารมณ์ไม่แสดงออกทางสีหน้าให้เห็น
ซีอีโอที่มีผลงานดีมักไม่หวั่นหรือเสียกำลังใจที่ต้องบริหารงานต่อไปแม้จะเกิดความขัดแย้งกับบอร์ดบางคน คุณสมบัติที่ผู้บริหารที่เก่งประสบความสำเร็จมีคือ การไม่ย่อท้อ ทำงานต่อแม้จะเกิดการขัดแย้งขึ้นก็ตาม มีการบริหารความขัดแย้งได้ดี (Conflict management)
เมื่อมีการโต้เถียงเกิดขึ้นผู้บริหารที่มีผลงานดีมักให้ทุกคนพูดออกความเห็นแต่จะไม่ให้มีการโวตเพื่อตัดสินใจ ซึ่งการโวตหรือลงประชามตินั้นดี แต่เสียเวลาและในบางครั้งสิ่งที่ชนะในการโวตนั้นเป็นทางเลือกที่ไม่ดีเลย
ซีอีโอบางท่านอาจเลือกที่จะพูดคุยกับ พนักงานกลุ่มมีศักยภาพ (Talent) และเป็นแกนหลักขององค์กร 20 คนจาก 30 คนก่อนตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆทุกครั้งก่อนเสมอ
งานของซีอีโอจะยั่งยืนหรืออยู่ต่อได้นั้นก็เพราะผลงาน และซีอีโอที่ถูกไล่ออกจากงานมักจะเกิดขึ้น หลังจากธุรกิจหลุดพ้นวิกฤตแล้ว รวมทั้ง พนักงาน ผู้ถือหุ้น บอร์ดไม่สนับสนุนเขาแล้ว
ซีอีโอที่สามารถนำพาองค์กรก้าวผ่านวิกฤติได้นั้น อยู่ในตำแหน่งเพียง 2-3 ปีเท่านั้นเมื่อแก้ปัญหาใน องค์กรได้เสร็จก็ต้องออกจากตำแหน่งไป
3.การปรับตัวอย่างรวดเร็ว
จากการศึกษาพบว่า ซีอีโอที่ปรับตัวได้เร็วมักประสบความสำเร็จมากกว่า 6.7 เท่า การปรับตัวได้ รวดเร็วเป็นทักษะที่สำคัญมาก ซีอีโอที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในตำแหน่งใหม่ได้แบ่งเวลาในการ บริหารโดยให้เวลามากถึง 50% ในการวางแผนระยะยาว ซึ่งการใส่ใจในแผนระยะยาวจะช่วยให้ ผู้บริหารปรับตัวเรียนรู้ได้เร็ว ซีอีโอที่ปรับตัวได้เร็วมักค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจากที่ต่างๆ แม้ในเบื้องต้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนักก็ตาม จึงทำให้ซีอีโอสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงและปรับ กลยุทธ์เพื่อได้เปรียบทางธุรกิจก่อนคนอื่น
ผู้บริหารต้องรู้ว่าบางครั้งผลงานไม่ได้เติบโตตามคาดหวัง เกิดความผิดพลาดในการบริหารซึ่งผู้บริหาร ต้องเรียนรู้ว่า ความล้มเหลวเป็นการเรียนรู้ด้วย
จากการศึกษาพบว่า ผู้บริหารจำนวน 50% ที่เชื่อว่าความผิดพลาดเป็นความล้มเหลวนั้นไม่ สามารถ กลับมามีผลงานดีได้ ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดและทำเพิ่มหรือทำให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลงานโดยเร็ว ซีอีโอที่มีทัศนคติหรือแรงบันดาลใจเช่นนี้ มักประสบความสำเร็จก้าวเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
จากการศึกษา90%ของผู้บริหารที่เก่งประสบความสำเร็จมีทักษะความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับความ ล้มเหลว และการมีแรงบันดาลใจสูงที่จะแก้ไขทำให้ดีขึ้น
4.มีผลงานดีสม่ำเสมอเป็นที่เชื่อถือ
ความสามารถในการทำผลงานอย่างสม่ำเสมอเป็นทักษะที่สำคัญมากใน 4 ประการของคุณลักษณะ ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จและมีผลงาน ผู้สมัครตำแหน่งผู้บริหารที่มีคุณสมบัตินี้มีโอกาสได้รับเลือก มากกว่า 2 เท่าและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในตำแหน่งสูงถึง 15 เท่า เนื่องจากบอร์ด ผู้ถือหุ้น ต้องการเห็นผู้นำที่สร้างการเติบโตให้องค์กรได้อย่างต่อเนื่องและคาดเดาได้ (ไม่มี surprise)
เคยมีเหตุการณ์ที่ผู้สมัครคนหนึ่งสามารถสร้างผลงานมากกว่าปีก่อนถึง 150% แต่บอร์ดไม่เลือก ผู้สมัครคนนี้แต่กลับไปเลือกผู้สมัครที่มีผลงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าแต่ต่อเนื่องกันทุกปี นั่นคือ บอร์ดพอใจ ในผู้บริหารที่สามารถสร้างผลงานได้ต่อเนื่อง คาดเดาหรือพยากรณ์ได้แน่นอนต่างหาก
สิ่งที่ผู้บริหารใหม่เรียนรู้คือ ทักษะในการบริหารความคาดหวัง โดยไม่ยอมรับเป้าในสัปดาห์แรกที่มา เริ่มทำงาน ผู้บริหารเหล่านี้จะศึกษาข้อมูล ตัวเลขและจะพบกับบอร์ด พนักงาน และลูกค้าเพื่อทราบ ความต้องการหรือความคาดหวังจากพวกเขาและจัดทำกลยุทธ์และเป้าที่สามารถทำได้จริงจากข้อมูลที่ ได้มาอย่างรวดเร็วแล้วเท่านั้น
ซีอีโอที่มีทักษะด้านความน่าเชื่อถือสูงจะมียุทธวิธีในการทำงานหลากหลายโดย 3ใน 4 ของผู้บริหาร เหล่านี้มีทักษะในการวางแผนและการจัดการองค์กรได้ดีโดยการสร้างระบบการบริหารซึ่งมี การ ประชุม มีตารางตัววัดผล ความรับผิดชอบของพนักงานที่ชัดเจน และหลากหลายวิธีในการติดตาม ผลงาน
มีผู้บริหารจำนวนมากถึง 60% ที่ทำผิดตั้งแต่เริ่มต้นในตำแหน่งซีอีโอใหม่ ที่ยินยอมรับเป้า ยอดขาย และยังขาดทีมงานที่ดีหรือจำนวนไม่พอเพียงแต่เริ่มต้น ซีอีโอบางคนเลือกคนเก่งมาทำงานโดย ผู้บริหารบางคนเลื่อนตำแหน่งพนักงานที่มีอยู่อย่างพิถีพิถันด้วยการตั้งเป้าหรือผลงานที่สูงให้และ ติดตามผลงานตามตำแหน่งใหม่ มีผู้บริหารบางคนเลื่อนตำแหน่งพนักงานโดยพิจารณา จากการมีความผูกพันกับองค์กร (อยู่นาน) หรือพนักงานชอบงาน ซึ่งเกณฑ์ในการเลื่อนตำแหน่งโดยดูจากการทำงานนานและพนักงานชอบนั้นเป็นการตัดสินใจที่ไม่ดี
โดยสรุปไม่มีสูตรผสมของคุณสมบัติ 4 ประการสำหรับผู้บริหารมือใหม่ สภาวะของแต่ละอุตสาหกรรมและองค์กรจะเป็นตัวกำหนดว่าคุณลักษณะและทักษะอะไรที่จำเป็นและสำคัญที่สุด ในอุตสาหกรรมที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่น ด้านเทคโนโลยี แน่นอนองค์กรต้องการผู้บริหารที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและการทักษะการปรับตัวนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับกิจการที่ไม่หวือหวาหรือเติบโตไปอย่างช้าๆ
บทความน่าอ่านเพิ่มเติม
การจัดลำดับความสำคัญของลูกค้า
เมื่อเราประเมินความสามารถของธุรกิจคุณ สำหรับการจะเริ่มใช้โปรแกรมการตลาดแบบเน้นความสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การคิดถึงประเด็นการตลาดแบบตัวต่อตัวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางธุรกิจของบริษัทมากที่สุด ( หรือน้อยที่สุด ) ทั้งนี้ก็เพื่อการจัดลำดับความสำคัญ...
จริยธรรมผู้ประกอบการ
1. หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการทุกท่านต้องการกำไร แต่การทำผลกำไรอย่างไร โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นไม่เพียงพอ เพราะการที่ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า...
โอกาส กับ ความพร้อม อะไรเกิดก่อนกัน ?
หลายคนคอยคิดอยู่เสมอว่าตัวเองโชคไม่ดี ไม่มีโอกาสดี ๆ เหมือนคนอื่นเลย ทำให้ไม่สามารถประสบความสำเร็จ ในการทำธุรกิจ ในการทำอาชีพนักขาย หรืออาชีพอื่น ๆ แต่เขาเหล่านั้นอาจลืมไปว่ามีโอกาสผ่านเข้ามาแล้วหลายครั้งแต่เนื่องจากเราเองต่างหากที่ขาดความพร้อมเลยไม่สามารถ...
ปรัชญาการจัดการทางการตลาด
1.แนวความคิดมุ่งการผลิต Production conceptเป็นแนวความคิดที่ใช้ในยุคแรกๆ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการผลิตให้ดียิ่งขึ้น ลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำลง เพื่อขายสินค้าให้ได้ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง รวมทั้ง ทำให้การจำหน่ายจ่ายแจกมีประสิทธิผลดีที่สุด ทั้งนี้ภายใต้ข้อสมมติที่ว่า...
ช่างคิด ช่างทำ ช่างจำ ช่างลอก
ไม่ต้องแปลกใจที่สินค้า – บริการและศักยภาพของผู้บริหารไปจนถึงทีมงานของแต่ละองค์กร มีความสำเร็จหรือ ล้มเหลวที่แตกต่างกัน ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดผลแตกต่างดังกล่าว แต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญ อยู่ที่ผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรว่ามีศักยภาพในการคิด...
Viral Marketing กลยุทธ์การตลาด แบบปากต่อปาก
Viral Marketing คืออะไรในปัจจุบันต้องยอมรับว่า สื่อออนไลน์ หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า Social Network เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากพอสมควร ซึ่งก็เข้าทางการตลาดแบบ Viral ที่อาศัยการบอกต่อโดยใช้สื่อที่เรียกว่า Social Network นี้เองในการเป็นสื่อกลาง...
ถ้อยคำในการรับโทรศัพท์
ผู้ใช้โทรศัพท์ทุกคนจะมีบทบาทที่สำคัญในการใช้โทรศัพท์ในแต่ละครั้ง ผู้ใช้โทรศัพท์จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์นั้น จะต้องทำหน้าที่เป็น - ผู้สื่อสารหรือติดต่อ - ผู้ให้การแนะนำ - ผู้แก้ปัญหา - ผู้ให้ความรู้ - ผู้ทำการประชาสัมพันธ์ -...
ข้อควรระวังจุดเริ่มต้นแห่งความล้มเหลว
ในการทำธุรกิจ มีบ้างที่ว่าประสบความสำเร็จหรือบางครั้งล้มเหลวเสียตั้งแต่เริ่มต้น ทำธุรกิจทั้งลงทุน ลงแรง แต่ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสแม้กระทั่งบรรยากาศแห่งความสำเร็จ 浦汇 ก็ต้องล้มเหลวตั้งแต่กลางคัน ทั้งนี้ยังมีธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและจะเรียกว่าน่าสงสารก็ได้...
การพัฒนาทีมงาน
ปัญหาในการพัฒนาทีมงาน อาจจะเแบ่งออกกว้างๆ ได้ 5 ประการด้วยกัน1. การสรรหาว่าจ้างที่ไม่สมเหตุสมผล : บางครั้งฝ่ายบุคคล คัดเลือกคนลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่เพียงเพราะอัตราการจ่ายผลตอบแทนที่ตกลงกันได้ แต่กลับไม่เลือกคนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม...
ภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
Kotler (Kotler,2000:296) ได้กล่าวถึงภาพลักษณ์ในปริบทของการตลาดไว้ว่า ภาพลักษณ์ (Image) เป็นวิถีที่ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการภายใต้การควบคุมของธุรกิจ...
การสร้างความเชื่อมั่น
ดำเนินการตามหลักการ PDCA เพื่อสร้างความเชื่อมั่น P = Plan คือ การวางแผนการดำเนินงาน เป็นการหาข้อมูล การกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายของงานที่ชัดเจนถูกต้องตรงกันทั้งองค์กร เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมที่จะเดินไปในทิศทางเดียวกัน...
เคล็ดลับการหาลูกค้าใหม่
ส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ธุรกิจมีกำไรและเจริญก้าวหน้า คือ การทุ่มเทให้กับการ พัฒนาธุรกิจ แม้ว่าคุณจะมีการ ผสมผสานระหว่างงาน ลูกค้า และพนักงานอย่างลงตัวแล้วก็ตาม คุณจำเป็นต้องติดตามโอกาสทางการขายใหม่ๆ ในการดำเนินการดังกล่าว โดยไม่ต้องผละออกจากลูกค้าปัจจุบัน...
มนุษย์พันธุ์เถ้าแก่ (Nanosoft Marketing Series)
คุณอยากรวยไหม ? คำตอบของคนส่วนใหญ่ คือ อยาก “เป็นลูกจ้างเขาไม่มีวันรวย ต้องเป็นเถ้าแก่เอง ถึงจะมีโอกาสรวย” หลายคนเชื่อแบบนี้ และจะออกจากชีวิตลูกจ้างมาเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งบางคนก็เป็นเถ้าแก่ที่ทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จรวยจริง ๆ ตามที่ตั้งใจ ขณะที่อีกหลายๆ...
ธนาคารเวลา
บทความนี้ เมื่อท่านอ่านจบ ให้ถามตัวเองว่า” สิ่งไหนที่สำคัญ สิ่งนั้นทำแล้วหรือยัง ? ”” คนไหนที่เรารัก ทำดีกับเค้าแล้วหรือยัง ? ”ลองจินตนาการว่ามีธนาคารแห่งหนึ่งเข้าบัญชีให้คุณทุกเช้า เป็นเงิน 86,400 บาท...
วิธีหาแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นทำธุรกิจ
แรงบันดาลใจหาได้ง่ายๆ ใกล้ๆตัวคุณหลายๆคนที่ต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรสักอย่าง คำถามแรกสุด น่าจะเป็น “จะทำอะไรดี?” บางคนใช้เวลาหาเป็นปีๆ เพื่อที่จะได้คำตอบ ผมมีวิธีดีๆมานำเสนอสำหรับคนที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจครับมองดูตัวเองสิ่งแรกที่ควรทำคือ...
จะทำอย่างไรเมื่อพนักงานลาออกบ่อย?
การดึงคนให้อยู่กับองค์กรให้ได้นั้น มีตัวแปรอยู่หลายปัจจัย แต่ที่แน่ๆ คือมิใช่เรื่องเงินอย่างเดียวแน่นอน ซึ่งควรทำการประเมินและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาให้ได้เสียก่อน จึงจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ สำหรับสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้พนักงานลาออกนั้น โดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้ 1. ...
รู้จักบุคลิกภาพของคนทั้ง 5 มิติ
ผู้บริหารมากมายว่าจ้างพนักงานใหม่โดยพิจารณาแต่เรื่องทักษะการทำงานเป็นหลัก แต่แล้วก็ต้องเสียใจในภายหลัง การที่พนักงานจะมีประสิทธิภาพการทำงานยอดเยี่ยมได้นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างด้วย บุคลิกภาพที่มีความแตกต่างกันก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง...
การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
การสนทนา เพื่อพื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรุ้ ดังนั้นควรที่จะเห็นประโยชน์ของแนวคิดนี้ ไปใช้ในการสร้างภูมิปัญญาขององค์กร ลดความขัดแย้งของทีมงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานอีกด้วย ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการสนทนา ผู้นำต้องลดบทบาททั้งด้านเผด็จการ การลงโทษ...
เทคนิคการเลื่อนขั้นแบบทันใจ
ความปรารถนาของคนทำงานทุกคนย่อมต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต้องการเติบโต ในตำแหน่งงานที่สูงขึ้นไป มีความมั่นคงมั่งคั่งมากขึ้น มีอำนาจเพิ่มขึ้น ได้รับความเคารพนับถือ มากขึ้น นำมาซึ่งความสุข ความสำเร็จในชีวิต แต่กว่าจะถึงจุดนั้นที่ทุกคนปรารถนา ต้องมีการแข่งขัน...
ทำไม? “ทีม”ไม่ “เวิร์ค
คำว่า “ทีมเวิร์ค” มาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งกำลังกลายเป็นภาษาไทยไปแล้ว เรามาดูคำแรก “ทีม” (Team) หมายถึงกอง, หน่วย, คณะ, หรือความหมายที่กว้างออกไปคือ รวมกันเป็นกลุ่มหรือหน่วย ประสานงานกัน หรือการขับรถไปด้วยกันหลายคัน เป็นต้นส่วนคำว่า “เวิร์ค” (Work) หมายถึงงาน, การงาน,...
Address
1991/157 ถ.อ่อนนุช แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10250