คุณลักษณะ ที่ทำบรรดา ซีอีโอ ประสบความสำเร็จ คือ คุณลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า CEO ส่วนใหญ่มี แล้วทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 คุณลักษณะหลักๆ

แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาล

คุณลักษณะอะไร ที่ทำ CEO ทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ

ที่มา: Elena Lytkina Botelho, Kim Rosenkoetter Powell,  Stephen Kincaid, Dina Wang; What Sets Successful CEOS Apart,  Harvard Business Review, May-June 2017, pgs 70-77

แปลโดย  ดร.  สุมณฑา ตันวงศ์วาล (Sumontha Tonvongval)*  

เรื่องราว ที่ทำให้ CEO ไม่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้

ตั้งแต่ปี พศ 2543-2556 ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร (ซีอีโอ) จำนวนสูงถึง 25% ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง (the Conference Board) จากการศึกษาในปี  2557 จากบริษัทใหญ่ๆ 2,500 แห่งของ บริษัท ไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์ (PWC)  พบว่าเมื่อมีการเลิกจ้างผู้บริหารสูงสุดก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ผู้ถือหุ้นเนื่องจากมูลค่าหุ้นในตลาดลดลงถึง112,000  ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี นี่ทำให้ผู้ที่จะแต่งตั้งผู้บริหารคนใหม่คิดหนักมากและต้องการแก้ไขปัญหานี้

อะไรเป็นสาเหตุให้ ซีอีโอเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งใหม่นี้

สาเหตุหลักที่พบมาจากความแตกต่างและไม่ตรงกันในคุณสมบัติที่บอร์ดใช้ในการพิจารณาแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่  กับคุณลักษณะของซีอีโอที่มีผลงานดีและประสบความสำเร็จ

จากการศึกษาข้อมูลของบริษัทจำนวน 17,000 แห่งมีซีอีโอจำนวน 2,000 คน พบว่าซีอีโอที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ มีคุณลักษณะ หลัก 4 ประการที่สำคัญที่ทำให้มีผลงานดีหรือประสบความสำเร็จในตำแหน่งใหม่คือ

  1. เป็นตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความเชื่อมั่น
  2. การมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้น และบอร์ด ซึ่งมีผลกระทบต่อความสำเร็จของซีอีโอ
  3. มีการปรับตัวเองได้รวดเร็ว
  4. มีความน่าเชื่อถือโดยเฉพาะผลงานที่ดีสม่ำเสมอ

ผู้ศึกษาเรื่อง 4 คุณลักษณะ ที่ CEO ประสบความสำเร็จ นี้ ได้พบว่า

  • ผู้ที่เข้ารอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกเป็นซีอีโอจากบอร์ดทุกคนเคยทำผิดพลาดอย่างมีผลเสียหายต่อองค์กรมาก่อน
  • 45% ของผู้เข้ารอบเพื่อคัดเลือกเหล่านี้เคยถูกให้ออกจากงาน เปลี่ยนอาชีพหรือทำให้องค์กรเสียหายมาก่อนและมีจำนวนมากถึง 78% ในกลุ่มนี้ที่ได้รับเลือกและแต่งตั้งเป็นซีอีโอ
  • จากการศึกษายังพบว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่ผู้ผ่านเข้ารอบจบมานั้นไม่มีนัยสัมพันธ์เลยกับผลงาน มีเพียง 7% ของซีอีโอเท่านั้นที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และ มีจำนวนมากถึง 8% ที่ไม่ได้จบปริญญาเลย
  • บุคลิกภาพของผู้เข้ารอบคัดเลือกเป็น ซีอีโอที่ดีที่บอร์ดชอบกลับไม่มีผลหรือสัมพันธ์กับผลงานเลย

จากการศึกษาหากบอร์ดคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณลักษณะที่ดี 4 ประการและกระบวนการพัฒนามีผลต่อการ คัดเลือกซีอีโอใหม่ได้อย่างถูกต้อง

แม้จะเป็นการยากที่ผู้บริหารจะมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ จากการศึกษาผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับแต่งตั้งเกินครึ่งของผู้สมัครเป็นซีอีโอคนใหม่นั้น มีคุณสมบัติ  มากกว่า 1 อย่างใน 4 อย่างดังกล่าวข้างต้น เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกมีเพียง 5% เท่านั้นที่มีคุณสมบัติดังกล่าว

คุณลักษณะ 4 ประการ CEO ที่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้

1.การตัดสินใจที่รวดเร็วและมั่นใจ

จากการศึกษาพบว่า ซีอีโอที่มีผลงานดี ไม่ได้ตัดสินใจได้ดีทุกเรื่อง แต่เป็นซีอีโอที่ตัดสินใจต่างหากโดย มีการตัดสินใจก่อน ด้วยความรวดเร็วและด้วยความเชื่อมั่น และทำอย่างสม่ำเสมอแม้ในยามสถานการณ์คลุมเครือ มีข้อมูลไม่ครบและไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนก็ตาม

จากการศึกษาพบว่าผู้บริหารที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บริหารที่กล้าตัดสินใจนั้นจะเป็นผู้บริหารที่มีผลงานดีกว่าถึง 12 เท่า  จากประสบการณ์ของผู้เขียนเป็นที่น่าสนใจมากที่ ซีอีโอ ที่มีไอคิวสูงมาก ยังประสบปัญหาในการตัดสินใจแม้ผลการตัดสินใจจะดีเนื่องจากพยายามแก้ปัญหาให้สมบูรณ์แบบที่สุดซึ่งแน่นอนเขาเหล่านั้นใช้เวลานานเกินไป

ผู้บริหารที่ชาญฉลาดแต่ไม่กล้าตัดสินใจกลายเป็นอุปสรรค (ตัวถ่วงเสียเอง) ทำให้ทีมงานท้อแท้ (ซึ่งอาจทำให้พนักงานบางคนลาออก) หรือเป็นผู้บริหารที่ระมัดระวังเกินไปจนไม่กล้าตัดสินใจ

ซีอีโอที่มีผลงานดี เข้าใจดีว่าการตัดสินใจที่ผิด ยังดีกว่าไม่ตัดสินใจ การตัดสินใจที่ผิดยังดีกว่าการไม่ให้ทิศทางหรือจะให้พนักงานทำอย่างไรต่อ ซึ่งการตัดสินใจทุกเรื่องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องเรียนรู้ว่าควรใช้เวลาในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพียงใด

เมื่อดูผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารที่มีการตัดสินใจไม่ดีมีเพียง 6% เท่านั้นที่ตัดสินใจเร็วเกินไป  ผู้บริหารจำนวนมากถึง 94% มีการตัดสินใจไม่ดีเนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจหรือมีการตัดสินใจน้อยมาก และยังช้าอีก

ซีอีโอของบริษัท Vi-Jon ชื่อ Mr. Jerry Bowe กล่าวว่า   ผู้บริหารที่ดีคือผู้ที่กล้าตัดสินใจไม่รอจนมีข้อมูลครบสมบูรณ์ แล้วค่อยตัดสินใจ สำหรับเขา เขาจะตัดสินใจเมื่อมีข้อมูลเพียง 65%ของคำตอบที่ต้องการเท่านั้น  จะช่วยได้หากผู้บริหารปรึกษากับที่ปรึกษาเพื่อหาทางเลือกหลายๆทางหรือช่วยในการตัดสินใจ

คุณ Bowe กล่าวว่าใน การตัดสินใจของเขา เขาจะตั้งคำถาม ถามตัวเองเพียง 2 คำถามคือ

1) จะมีผลอะไรหากตัดสินใจผิด

2) หากไม่ตัดสินใจจะทำให้อะไรต้องหยุด สะดุดหรือรอคอย

ซึ่งลูกน้องของเขาก็ใช้วิธีตั้งคำถามนี้ในการตัดสินใจและสามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสอบถามความเห็นจากเขา ผู้บริหารควรใช้เวลาตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆมากกว่าเรื่องการปฏิบัติงานประจำๆ

เช่นเดียวกัน ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จรู้ว่าเมื่อไรเขาไม่ควรตัดสินใจ นาย สตีเฟ่น คอฟแมน  ซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัท Arrow Electronics กล่าวว่าในบางครั้งผู้บริหารควรหยุดคิดสักครู่ว่า เขาควร ตัดสินใจ หรือควรเป็นหน้าที่ของลูกน้องเขาที่ควรเป็นคนตัดสินใจและหากจะช้าไปสักหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน น่าจะมีข้อมูลที่สำคัญๆเพิ่มขึ้นแล้วค่อยตัดสินใจจะไม่เกิดความเสียหายได้

นาย Art Collins ประธานและผู้บริหารบริษัท Medtronic กล่าวว่า เมื่อผู้บริหารตัดสินใจโดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วต้องมุ่งมั่นเดินหน้าทำให้ได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจบ่อยๆพนักงานจะหมดศรัทราในตัวผู้บริหาร  จาก ประสบการ การที่ผู้บริหารตัดสินใจผิดไม่ก่อผลเสียหายร้ายแรงถึงเสียชีวิต จากสถิติพบว่า 1 ใน 3 ของผู้บริหารที่ถูกให้ออกจากงานเนื่องจากตัดสินใจยอดแย่ นอกนั้นถูกให้ออกจากงานเพราะไม่ตัดสินใจ

2.การมีส่วนร่วมเพื่อก่อให้เกิดพลังทางบวก

ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งสูงถึง 75% เข้าใจความต้องการของผู้ถือหุ้นและบอร์ดได้ดีและ จัดทำกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนพนักงานเพื่อทำผลงานให้ได้ตามที่ผู้ถือหุ้นคาดหวัง (Delivering business results)

ผู้บริหารโรงพยาบาลแห่งหนึ่งกล่าวว่า ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ เขาจะเขียนแผนว่าผู้ถือหุ้นหรือ บอร์ดคนใด สนับสนุนและไม่เห็นด้วย หากไม่เห็นด้วยเขาก็จะพยายามทำความเข้าใจว่าทำไมผู้บริหาร นั้นไม่เห็นด้วย มีข้อกังวลด้านใดและพยายามแก้ความกังวลนั้นเพื่อลดแรงต่อต้าน เสียดทาน

การที่ผู้ถือหุ้นหรือบอร์ดมีความเห็นด้วยกับการตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่ประสบความสำเร็จ

ผู้บริหารท่านนี้ยังแนะนำต่อว่า ในการติดต่อประสานงานผู้บริหารต้องทราบหรือสังเกตเห็นถึง อารมณ์ (Mood) และการแสดงออกทางกายของผู้ถือหุ้นและบอร์ดด้วย

ซึ่งอารมณ์นั้นเหมือนเชื้อโรคที่ลามติดต่อกันได้ระหว่างบอร์ด ดังนั้นผู้บริหารต้องระมัดระวังต้องเก็บอารมณ์และไม่แสดงออกทางสีหน้า เพราะผู้บริหารในห้องจะมองเห็นและขยายเรื่องการชักสีหน้าให้เป็นเรื่องใหญ่โต  

ผู้บริหารต้องอยู่ในความสงบในขณะนำเสนองาน เก็บอารมณ์ไม่แสดงออกทางสีหน้าให้เห็น

ซีอีโอที่มีผลงานดีมักไม่หวั่นหรือเสียกำลังใจที่ต้องบริหารงานต่อไปแม้จะเกิดความขัดแย้งกับบอร์ดบางคน คุณสมบัติที่ผู้บริหารที่เก่งประสบความสำเร็จมีคือ การไม่ย่อท้อ ทำงานต่อแม้จะเกิดการขัดแย้งขึ้นก็ตาม มีการบริหารความขัดแย้งได้ดี (Conflict management)

เมื่อมีการโต้เถียงเกิดขึ้นผู้บริหารที่มีผลงานดีมักให้ทุกคนพูดออกความเห็นแต่จะไม่ให้มีการโวตเพื่อตัดสินใจ ซึ่งการโวตหรือลงประชามตินั้นดี แต่เสียเวลาและในบางครั้งสิ่งที่ชนะในการโวตนั้นเป็นทางเลือกที่ไม่ดีเลย

ซีอีโอบางท่านอาจเลือกที่จะพูดคุยกับ พนักงานกลุ่มมีศักยภาพ (Talent) และเป็นแกนหลักขององค์กร 20 คนจาก 30 คนก่อนตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆทุกครั้งก่อนเสมอ  

งานของซีอีโอจะยั่งยืนหรืออยู่ต่อได้นั้นก็เพราะผลงาน และซีอีโอที่ถูกไล่ออกจากงานมักจะเกิดขึ้น หลังจากธุรกิจหลุดพ้นวิกฤตแล้ว รวมทั้ง พนักงาน ผู้ถือหุ้น บอร์ดไม่สนับสนุนเขาแล้ว

ซีอีโอที่สามารถนำพาองค์กรก้าวผ่านวิกฤติได้นั้น อยู่ในตำแหน่งเพียง 2-3 ปีเท่านั้นเมื่อแก้ปัญหาใน    องค์กรได้เสร็จก็ต้องออกจากตำแหน่งไป

3.การปรับตัวอย่างรวดเร็ว

จากการศึกษาพบว่า ซีอีโอที่ปรับตัวได้เร็วมักประสบความสำเร็จมากกว่า 6.7 เท่า  การปรับตัวได้   รวดเร็วเป็นทักษะที่สำคัญมาก  ซีอีโอที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในตำแหน่งใหม่ได้แบ่งเวลาในการ บริหารโดยให้เวลามากถึง 50% ในการวางแผนระยะยาว ซึ่งการใส่ใจในแผนระยะยาวจะช่วยให้   ผู้บริหารปรับตัวเรียนรู้ได้เร็ว ซีอีโอที่ปรับตัวได้เร็วมักค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจากที่ต่างๆ แม้ในเบื้องต้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนักก็ตาม จึงทำให้ซีอีโอสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงและปรับ   กลยุทธ์เพื่อได้เปรียบทางธุรกิจก่อนคนอื่น  

ผู้บริหารต้องรู้ว่าบางครั้งผลงานไม่ได้เติบโตตามคาดหวัง เกิดความผิดพลาดในการบริหารซึ่งผู้บริหาร   ต้องเรียนรู้ว่า ความล้มเหลวเป็นการเรียนรู้ด้วย

จากการศึกษาพบว่า ผู้บริหารจำนวน 50% ที่เชื่อว่าความผิดพลาดเป็นความล้มเหลวนั้นไม่ สามารถ กลับมามีผลงานดีได้  ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดและทำเพิ่มหรือทำให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลงานโดยเร็ว ซีอีโอที่มีทัศนคติหรือแรงบันดาลใจเช่นนี้  มักประสบความสำเร็จก้าวเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร    

จากการศึกษา90%ของผู้บริหารที่เก่งประสบความสำเร็จมีทักษะความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับความ  ล้มเหลว และการมีแรงบันดาลใจสูงที่จะแก้ไขทำให้ดีขึ้น

4.มีผลงานดีสม่ำเสมอเป็นที่เชื่อถือ

ความสามารถในการทำผลงานอย่างสม่ำเสมอเป็นทักษะที่สำคัญมากใน 4 ประการของคุณลักษณะ ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จและมีผลงาน   ผู้สมัครตำแหน่งผู้บริหารที่มีคุณสมบัตินี้มีโอกาสได้รับเลือก มากกว่า 2 เท่าและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในตำแหน่งสูงถึง 15 เท่า เนื่องจากบอร์ด ผู้ถือหุ้น ต้องการเห็นผู้นำที่สร้างการเติบโตให้องค์กรได้อย่างต่อเนื่องและคาดเดาได้ (ไม่มี surprise)

เคยมีเหตุการณ์ที่ผู้สมัครคนหนึ่งสามารถสร้างผลงานมากกว่าปีก่อนถึง 150% แต่บอร์ดไม่เลือก  ผู้สมัครคนนี้แต่กลับไปเลือกผู้สมัครที่มีผลงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าแต่ต่อเนื่องกันทุกปี นั่นคือ บอร์ดพอใจ ในผู้บริหารที่สามารถสร้างผลงานได้ต่อเนื่อง คาดเดาหรือพยากรณ์ได้แน่นอนต่างหาก

สิ่งที่ผู้บริหารใหม่เรียนรู้คือ ทักษะในการบริหารความคาดหวัง โดยไม่ยอมรับเป้าในสัปดาห์แรกที่มา  เริ่มทำงาน ผู้บริหารเหล่านี้จะศึกษาข้อมูล ตัวเลขและจะพบกับบอร์ด พนักงาน และลูกค้าเพื่อทราบ ความต้องการหรือความคาดหวังจากพวกเขาและจัดทำกลยุทธ์และเป้าที่สามารถทำได้จริงจากข้อมูลที่  ได้มาอย่างรวดเร็วแล้วเท่านั้น

ซีอีโอที่มีทักษะด้านความน่าเชื่อถือสูงจะมียุทธวิธีในการทำงานหลากหลายโดย 3ใน 4 ของผู้บริหาร เหล่านี้มีทักษะในการวางแผนและการจัดการองค์กรได้ดีโดยการสร้างระบบการบริหารซึ่งมี การ  ประชุม มีตารางตัววัดผล ความรับผิดชอบของพนักงานที่ชัดเจน และหลากหลายวิธีในการติดตาม ผลงาน

มีผู้บริหารจำนวนมากถึง 60% ที่ทำผิดตั้งแต่เริ่มต้นในตำแหน่งซีอีโอใหม่ ที่ยินยอมรับเป้า ยอดขาย และยังขาดทีมงานที่ดีหรือจำนวนไม่พอเพียงแต่เริ่มต้น ซีอีโอบางคนเลือกคนเก่งมาทำงานโดย ผู้บริหารบางคนเลื่อนตำแหน่งพนักงานที่มีอยู่อย่างพิถีพิถันด้วยการตั้งเป้าหรือผลงานที่สูงให้และ ติดตามผลงานตามตำแหน่งใหม่ มีผู้บริหารบางคนเลื่อนตำแหน่งพนักงานโดยพิจารณา จากการมีความผูกพันกับองค์กร (อยู่นาน) หรือพนักงานชอบงาน ซึ่งเกณฑ์ในการเลื่อนตำแหน่งโดยดูจากการทำงานนานและพนักงานชอบนั้นเป็นการตัดสินใจที่ไม่ดี      

โดยสรุปไม่มีสูตรผสมของคุณสมบัติ 4 ประการสำหรับผู้บริหารมือใหม่ สภาวะของแต่ละอุตสาหกรรมและองค์กรจะเป็นตัวกำหนดว่าคุณลักษณะและทักษะอะไรที่จำเป็นและสำคัญที่สุด  ในอุตสาหกรรมที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่น ด้านเทคโนโลยี แน่นอนองค์กรต้องการผู้บริหารที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและการทักษะการปรับตัวนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับกิจการที่ไม่หวือหวาหรือเติบโตไปอย่างช้าๆ 

ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาล

ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาล (Sumontha Tonvongval)

นักวิชาการ อิสระด้านทรัพยากรมนุษย์

ช่องการการติดต่อ-StepPlus Training
หลักสูตรอบรม เทคนิคการขายที่ดีที่สุด
รวมหลักสูตรอบรม การเจรจาต่อรองที่ดีที่สุด
ลงทะเบียนอบรม StepPlus Training
รวมหลักสูตรอบรมการเป็นวิทยากร ที่ดีที่สุด
รวมหลักสูตร เทคนิคการนำเสนอ ที่ดีที่สุด Effective Presentation

บทความน่าอ่านเพิ่มเติม

เทคนิค ABCDE เปลี่ยน ทัศนคติของ พนักงานขาย ให้ขายเชิงรุก

เทคนิค ABCDE เปลี่ยน ทัศนคติของ พนักงานขาย ให้ขายเชิงรุก

12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่เป็น วิธีการบริหาร ทีมงานแบบใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการมือใหม่ ต้องนำมาใช้ในการบริหารพนักงานในทีมให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ซึ่งจะมีวิธีการบริหาร (ใหม่ล่าสุด) เพื่อความสำเร็จของทีมงานที่ยั่งยืนเทคนิค ABCDE...

15 คำพูด ที่มีอิทธิพล ต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ

15 คำพูด ที่มีอิทธิพล ต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ

15 คำพูด ที่มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ เป็น การสื่อสารด้วยการใช้ คำพูด เพื่อโน้มน้าวใจพนักงาน ทำให้พนักงานมีความยินดีที่จะทำให้งานให้ สนับสนุน เพื่อสร้างความสำเร็จไปด้วยกัน15 คำพูด ที่มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ15 คำพูด...

140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย เพื่อได้พนักงานขายที่ดีที่สุด

140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย เพื่อได้พนักงานขายที่ดีที่สุด

140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย เพื่อได้พนักงานขายที่ดีที่สุด เป็น คำถาม ที่ใช้ในการสัมภาษณ์พนักงานขาย ด้วยการกำหนดเป้าหมาย ด้วยวิธีการตั้งคำถาม ช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายขายหาพนักงานขายอย่างที่ต้องการ ไม่ใช่การถามไปเรื่อย ๆ ไร้จุดหมาย140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย...

12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่

12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่

12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่เป็น วิธีการบริหาร ทีมงานแบบใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการมือใหม่ ต้องนำมาใช้ในการบริหารพนักงานในทีมให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ซึ่งจะมีวิธีการบริหาร (ใหม่ล่าสุด) เพื่อความสำเร็จของทีมงานที่ยั่งยืน 12 เคล็ดลับ...

5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย

5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย

5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย เป็น การพัฒนาความคิด Growth Mindset สำหรับพนักงานขาย ทำให้มีความคิดเชิงรุก ที่แตกต่างจากการขายแบบเดิม ๆ เข้าหาลูกค้า สร้างความพอใจให้ลูกค้า ทำให้เพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้เพิ่มมากขึ้น5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ...

6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย แบบ Win-Win ทุกครั้ง

6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย แบบ Win-Win ทุกครั้ง

6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย แบบ Win-Win เป็น แนวทาง ในการนำเทคนิคการเจรจาต่อรอง เพื่อพนักงานฝ่ายขาย สามารถนำมาใช้ เจรจาต่อรอง กับ พนักงานจัดซื้อ ที่มี เทคนิคการเจรจาต่อรองเพื่องานจัดซื้อ ทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกพึงพอใจแบบ Win-Win6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย...

21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง

21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง

21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง เป็น แนวทางการให้บริการลูกค้า ที่เหนือความคาดหวัง  ตอบสนองต่อความพึงพอใจให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง และ ลดข้อขัดแย้งที่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจ21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง วิทยากร สอน...

250 คำคม คิดบวก เพื่อสร้างกำลังใจ

250 คำคม คิดบวก เพื่อสร้างกำลังใจ

250 คำคม คิดบวก เพื่อสร้างกำลังใจ เป็น คำพูดง่าย ๆ เพื่อใช้ระตุ้นตนเอง หรือ คนรอบข้าง เพื่อให้มีกำลังใจ ในการสู้ชีวิต จากความคิดบวก เป็นการพัฒนาความคิดบวก เพื่อทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ที่จะทำงานต่อไป เพื่อสร้างผลงานและความสำเร็จ ให้ตนเอง  หรือ คนรอบข้าง250 คำคม คิดบวก...

10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขาย

10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขาย

10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขาย เป็น ขั้นตอนที่ต้องใช้ในการพัฒนาทักษะ ของพนักงานขาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขาย ทำให้เพิ่มโอกาสในการขาย ด้วย ขั้นตอนการขายอย่างนักขายมืออาชีพ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความยั่งยืนให้องค์กร10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขายเขียนโดย...

เทคนิคการเขียน Job Description เพื่อ ผู้จัดการฝ่ายขาย

เทคนิคการเขียน Job Description เพื่อ ผู้จัดการฝ่ายขาย

เทคนิคการเขียน Job Description เพื่อ ผู้จัดการฝ่ายขาย เป็น ขั้นตอนการเขียน คำบรรยายลักษณะงาน เพื่อผู้จัดการฝ่ายขาย สามารถนำไปใช้ในการสรรหา สัมภาษณ์ และสร้างความเข้าใจระหว่างผู้จัดการฝ่ายขายและผู้บริหาร ยังสามารถใช้เป็นมาตรฐานการสัมภาษณ์ผู้สมัคร ตำแหน่ง...

30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณี

30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณี

30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณี เป็น การรวบรวมเทคนิคการปิดการขาย ที่หลากหลาย ซึ่งนักขายมืออาชีพ มักนำมาใช้กับลูกค้าเพื่อปิดการขาย โดยเน้นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในการซื้อ30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณีเขียนโดย วิทยากร สอนการขาย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย...

3 ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขาย

3 ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขาย

ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขาย เป็น กระบวนการในการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อพนักงานขาย ให้มีแนวทางในการขายแบบใหม่ ๆ ในการกระตุ้นยอดขาย ทำให้องค์กรเติบโตอย่างต่่อเนื่อง3 ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขายดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย        ...

15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for Service) อย่างมืออาชีพ

15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for Service) อย่างมืออาชีพ

15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for Service) อย่างมืออาชีพ เป็น แนวทางการสร้างมาตรฐานการให้บริการที่เป็นเลิศ ทำให้ขจัดความสับสนในการให้บริการลูกค้า และตอบสนองต่อความพึงพอใจให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for...

14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ

14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ

14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ เป็น วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างความพึงพอใจในการสื่อสาร ทั้งคนส่งสารและคนรับสาร ซึ่งเป็น ทักษะการสื่อสารที่ไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้ทุกคนนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ได้ทันที14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร...

5 ขั้นตอน ฝึกการคิดบวก  ทำอย่างไร?

5 ขั้นตอน ฝึกการคิดบวก ทำอย่างไร?

5 ขั้นตอน การฝึกคิดบวกได้  เป็น วิธีการฝึกคิดบวกให้ตนเอง ด้วยการนำเทคนิคการคิดบวก เพื่อสร้างความสำเร็จให้ตนเอง ซึ่งวิธีการฝึกการคิดบวกต่อไปนี้ ไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้ทุกคนมีกระบวนการคิดบวกที่ทุกคนทำได้ทันที 5 ขั้นตอน ฝึกการคิดบวก  ทำอย่างไร? 5 Steps of ...

230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุด

230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุด

230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุด คือ คำถามที่มีวัตถุประสงค์ของการถามที่ชัดเจน มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของผู้สมัครงาน ไม่ใช่การถามไปเรื่อย ๆ ไร้จุดหมาย ทำให้การสัมภาษณ์ไม่สามารถวัดผลอะไรได้230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุดวิทยากร สอนหลักสูตร...

10 ขั้นตอน การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ใน ปี 2024

10 ขั้นตอน การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ใน ปี 2024

ขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน เป็น ขั้นตอนพื้นฐานของกระบวนการสรรหาพนักงาน เพื่อให้ได้พนักงานที่ใช่ ได้พนักงานที่ชอบ เข้ามาทำงานให้กับองค์กร ความสำเร็จในการสัมภาษณ์งานมีหลายแง่มุม แต่เป้าหมายเดียวกัน คือได้คนที่ใช่ ให้มาทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรต่อไป...

ทักษะการเป็นหัวหน้างาน ปี 2024 คือ ทักษะอะไร?

ทักษะการเป็นหัวหน้างาน ปี 2024 คือ ทักษะอะไร?

ทักษะการเป็นหัวหน้างาน คือ ทักษะความรู้ที่จำเป็นสำหรับ หัวหน้างานที่ต้องนำมาใช้ในการบริหารทีมงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ซึ่ง ทักษะต่าง ๆ จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญของ หัวหน้างานทักษะการเป็นหัวหน้างาน ปี 2024 คือ ทักษะอะไร?ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย...

สร้างคน ให้ประสบความสำเร็จอย่าง Lenovo ทำได้อย่างไร?

สร้างคน ให้ประสบความสำเร็จอย่าง Lenovo ทำได้อย่างไร?

การสร้างคน อย่าง Lenovo คือ การพัฒนาให้พนักงานทำงานได้ตามที่องค์กรคาดหวัง ซึ่งก็คือปรัชญาการทำงาน กลยุทธ์การทำธุรกิจ และการบริหารคนของ บริษัท เลอโนโว (Lenovo) จากประเทศ จีนที่เติบโตเป็นที่ 4 ของโลก แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาลสร้างคน ให้ประสบความสำเร็จอย่าง Lenovo...

9 ความจำเป็นที่ธุรกิจต้อง วางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปี 2024

9 ความจำเป็นที่ธุรกิจต้อง วางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปี 2024

การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ  คือ แนวทางกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อกำหนดทิศทางให้องค์กรมีทิศทางที่ชัดเจน ในการทำธุรกิจการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปี 2024 คืออะไรการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อความสำเร็จขององค์กร มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในทุกองค์กร...

สอนหล้กสูตร เทคนิคการเจรจาต่อรอง
ดร.สุรชัย-โฆษิตบวรชัย-Surachai-Kositbovornchai
ลงทะเบียน StepPlus Training

Contact Us

02 349 1788 ,

083 276 8877

Address

1991/157 ถ.อ่อนนุช แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10250

LineOA:@stepplustraining

คล๊ก หรือ สแกน QR Code ได้เลยคร้า

Copyright © 2024 ฺBusiness and Consultant and Development. All Rights Reserved.

Loading

UA-75256908-1