คุณลักษณะ ที่ทำบรรดา ซีอีโอ ประสบความสำเร็จ คือ คุณลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า CEO ส่วนใหญ่มี แล้วทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 คุณลักษณะหลักๆ
แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาล
คุณลักษณะอะไร ที่ทำ CEO ทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ
ที่มา: Elena Lytkina Botelho, Kim Rosenkoetter Powell, Stephen Kincaid, Dina Wang; What Sets Successful CEOS Apart, Harvard Business Review, May-June 2017, pgs 70-77
แปลโดย ดร. สุมณฑา ตันวงศ์วาล (Sumontha Tonvongval)*
เรื่องราว ที่ทำให้ CEO ไม่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้
ตั้งแต่ปี พศ 2543-2556 ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร (ซีอีโอ) จำนวนสูงถึง 25% ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง (the Conference Board) จากการศึกษาในปี 2557 จากบริษัทใหญ่ๆ 2,500 แห่งของ บริษัท ไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์ (PWC) พบว่าเมื่อมีการเลิกจ้างผู้บริหารสูงสุดก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ผู้ถือหุ้นเนื่องจากมูลค่าหุ้นในตลาดลดลงถึง112,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี นี่ทำให้ผู้ที่จะแต่งตั้งผู้บริหารคนใหม่คิดหนักมากและต้องการแก้ไขปัญหานี้
อะไรเป็นสาเหตุให้ ซีอีโอเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งใหม่นี้
สาเหตุหลักที่พบมาจากความแตกต่างและไม่ตรงกันในคุณสมบัติที่บอร์ดใช้ในการพิจารณาแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ กับคุณลักษณะของซีอีโอที่มีผลงานดีและประสบความสำเร็จ
จากการศึกษาข้อมูลของบริษัทจำนวน 17,000 แห่งมีซีอีโอจำนวน 2,000 คน พบว่าซีอีโอที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ มีคุณลักษณะ หลัก 4 ประการที่สำคัญที่ทำให้มีผลงานดีหรือประสบความสำเร็จในตำแหน่งใหม่คือ
- เป็นตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความเชื่อมั่น
- การมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้น และบอร์ด ซึ่งมีผลกระทบต่อความสำเร็จของซีอีโอ
- มีการปรับตัวเองได้รวดเร็ว
- มีความน่าเชื่อถือโดยเฉพาะผลงานที่ดีสม่ำเสมอ
ผู้ศึกษาเรื่อง 4 คุณลักษณะ ที่ CEO ประสบความสำเร็จ นี้ ได้พบว่า
- ผู้ที่เข้ารอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกเป็นซีอีโอจากบอร์ดทุกคนเคยทำผิดพลาดอย่างมีผลเสียหายต่อองค์กรมาก่อน
- 45% ของผู้เข้ารอบเพื่อคัดเลือกเหล่านี้เคยถูกให้ออกจากงาน เปลี่ยนอาชีพหรือทำให้องค์กรเสียหายมาก่อนและมีจำนวนมากถึง 78% ในกลุ่มนี้ที่ได้รับเลือกและแต่งตั้งเป็นซีอีโอ
- จากการศึกษายังพบว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่ผู้ผ่านเข้ารอบจบมานั้นไม่มีนัยสัมพันธ์เลยกับผลงาน มีเพียง 7% ของซีอีโอเท่านั้นที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และ มีจำนวนมากถึง 8% ที่ไม่ได้จบปริญญาเลย
- บุคลิกภาพของผู้เข้ารอบคัดเลือกเป็น ซีอีโอที่ดีที่บอร์ดชอบกลับไม่มีผลหรือสัมพันธ์กับผลงานเลย
จากการศึกษาหากบอร์ดคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณลักษณะที่ดี 4 ประการและกระบวนการพัฒนามีผลต่อการ คัดเลือกซีอีโอใหม่ได้อย่างถูกต้อง
แม้จะเป็นการยากที่ผู้บริหารจะมีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ จากการศึกษาผู้ที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับแต่งตั้งเกินครึ่งของผู้สมัครเป็นซีอีโอคนใหม่นั้น มีคุณสมบัติ มากกว่า 1 อย่างใน 4 อย่างดังกล่าวข้างต้น เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกมีเพียง 5% เท่านั้นที่มีคุณสมบัติดังกล่าว
คุณลักษณะ 4 ประการ CEO ที่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้
1.การตัดสินใจที่รวดเร็วและมั่นใจ
จากการศึกษาพบว่า ซีอีโอที่มีผลงานดี ไม่ได้ตัดสินใจได้ดีทุกเรื่อง แต่เป็นซีอีโอที่ตัดสินใจต่างหากโดย มีการตัดสินใจก่อน ด้วยความรวดเร็วและด้วยความเชื่อมั่น และทำอย่างสม่ำเสมอแม้ในยามสถานการณ์คลุมเครือ มีข้อมูลไม่ครบและไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนก็ตาม
จากการศึกษาพบว่าผู้บริหารที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บริหารที่กล้าตัดสินใจนั้นจะเป็นผู้บริหารที่มีผลงานดีกว่าถึง 12 เท่า จากประสบการณ์ของผู้เขียนเป็นที่น่าสนใจมากที่ ซีอีโอ ที่มีไอคิวสูงมาก ยังประสบปัญหาในการตัดสินใจแม้ผลการตัดสินใจจะดีเนื่องจากพยายามแก้ปัญหาให้สมบูรณ์แบบที่สุดซึ่งแน่นอนเขาเหล่านั้นใช้เวลานานเกินไป
ผู้บริหารที่ชาญฉลาดแต่ไม่กล้าตัดสินใจกลายเป็นอุปสรรค (ตัวถ่วงเสียเอง) ทำให้ทีมงานท้อแท้ (ซึ่งอาจทำให้พนักงานบางคนลาออก) หรือเป็นผู้บริหารที่ระมัดระวังเกินไปจนไม่กล้าตัดสินใจ
ซีอีโอที่มีผลงานดี เข้าใจดีว่าการตัดสินใจที่ผิด ยังดีกว่าไม่ตัดสินใจ การตัดสินใจที่ผิดยังดีกว่าการไม่ให้ทิศทางหรือจะให้พนักงานทำอย่างไรต่อ ซึ่งการตัดสินใจทุกเรื่องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องเรียนรู้ว่าควรใช้เวลาในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพียงใด
เมื่อดูผลการศึกษาพบว่าผู้บริหารที่มีการตัดสินใจไม่ดีมีเพียง 6% เท่านั้นที่ตัดสินใจเร็วเกินไป ผู้บริหารจำนวนมากถึง 94% มีการตัดสินใจไม่ดีเนื่องจากไม่กล้าตัดสินใจหรือมีการตัดสินใจน้อยมาก และยังช้าอีก
ซีอีโอของบริษัท Vi-Jon ชื่อ Mr. Jerry Bowe กล่าวว่า ผู้บริหารที่ดีคือผู้ที่กล้าตัดสินใจไม่รอจนมีข้อมูลครบสมบูรณ์ แล้วค่อยตัดสินใจ สำหรับเขา เขาจะตัดสินใจเมื่อมีข้อมูลเพียง 65%ของคำตอบที่ต้องการเท่านั้น จะช่วยได้หากผู้บริหารปรึกษากับที่ปรึกษาเพื่อหาทางเลือกหลายๆทางหรือช่วยในการตัดสินใจ
คุณ Bowe กล่าวว่าใน การตัดสินใจของเขา เขาจะตั้งคำถาม ถามตัวเองเพียง 2 คำถามคือ
1) จะมีผลอะไรหากตัดสินใจผิด
2) หากไม่ตัดสินใจจะทำให้อะไรต้องหยุด สะดุดหรือรอคอย
ซึ่งลูกน้องของเขาก็ใช้วิธีตั้งคำถามนี้ในการตัดสินใจและสามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสอบถามความเห็นจากเขา ผู้บริหารควรใช้เวลาตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆมากกว่าเรื่องการปฏิบัติงานประจำๆ
เช่นเดียวกัน ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จรู้ว่าเมื่อไรเขาไม่ควรตัดสินใจ นาย สตีเฟ่น คอฟแมน ซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัท Arrow Electronics กล่าวว่าในบางครั้งผู้บริหารควรหยุดคิดสักครู่ว่า เขาควร ตัดสินใจ หรือควรเป็นหน้าที่ของลูกน้องเขาที่ควรเป็นคนตัดสินใจและหากจะช้าไปสักหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน น่าจะมีข้อมูลที่สำคัญๆเพิ่มขึ้นแล้วค่อยตัดสินใจจะไม่เกิดความเสียหายได้
นาย Art Collins ประธานและผู้บริหารบริษัท Medtronic กล่าวว่า เมื่อผู้บริหารตัดสินใจโดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วต้องมุ่งมั่นเดินหน้าทำให้ได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจบ่อยๆพนักงานจะหมดศรัทราในตัวผู้บริหาร จาก ประสบการ การที่ผู้บริหารตัดสินใจผิดไม่ก่อผลเสียหายร้ายแรงถึงเสียชีวิต จากสถิติพบว่า 1 ใน 3 ของผู้บริหารที่ถูกให้ออกจากงานเนื่องจากตัดสินใจยอดแย่ นอกนั้นถูกให้ออกจากงานเพราะไม่ตัดสินใจ
2.การมีส่วนร่วมเพื่อก่อให้เกิดพลังทางบวก
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งสูงถึง 75% เข้าใจความต้องการของผู้ถือหุ้นและบอร์ดได้ดีและ จัดทำกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนพนักงานเพื่อทำผลงานให้ได้ตามที่ผู้ถือหุ้นคาดหวัง (Delivering business results)
ผู้บริหารโรงพยาบาลแห่งหนึ่งกล่าวว่า ในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ เขาจะเขียนแผนว่าผู้ถือหุ้นหรือ บอร์ดคนใด สนับสนุนและไม่เห็นด้วย หากไม่เห็นด้วยเขาก็จะพยายามทำความเข้าใจว่าทำไมผู้บริหาร นั้นไม่เห็นด้วย มีข้อกังวลด้านใดและพยายามแก้ความกังวลนั้นเพื่อลดแรงต่อต้าน เสียดทาน
การที่ผู้ถือหุ้นหรือบอร์ดมีความเห็นด้วยกับการตัดสินใจเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานที่ประสบความสำเร็จ
ผู้บริหารท่านนี้ยังแนะนำต่อว่า ในการติดต่อประสานงานผู้บริหารต้องทราบหรือสังเกตเห็นถึง อารมณ์ (Mood) และการแสดงออกทางกายของผู้ถือหุ้นและบอร์ดด้วย
ซึ่งอารมณ์นั้นเหมือนเชื้อโรคที่ลามติดต่อกันได้ระหว่างบอร์ด ดังนั้นผู้บริหารต้องระมัดระวังต้องเก็บอารมณ์และไม่แสดงออกทางสีหน้า เพราะผู้บริหารในห้องจะมองเห็นและขยายเรื่องการชักสีหน้าให้เป็นเรื่องใหญ่โต
ผู้บริหารต้องอยู่ในความสงบในขณะนำเสนองาน เก็บอารมณ์ไม่แสดงออกทางสีหน้าให้เห็น
ซีอีโอที่มีผลงานดีมักไม่หวั่นหรือเสียกำลังใจที่ต้องบริหารงานต่อไปแม้จะเกิดความขัดแย้งกับบอร์ดบางคน คุณสมบัติที่ผู้บริหารที่เก่งประสบความสำเร็จมีคือ การไม่ย่อท้อ ทำงานต่อแม้จะเกิดการขัดแย้งขึ้นก็ตาม มีการบริหารความขัดแย้งได้ดี (Conflict management)
เมื่อมีการโต้เถียงเกิดขึ้นผู้บริหารที่มีผลงานดีมักให้ทุกคนพูดออกความเห็นแต่จะไม่ให้มีการโวตเพื่อตัดสินใจ ซึ่งการโวตหรือลงประชามตินั้นดี แต่เสียเวลาและในบางครั้งสิ่งที่ชนะในการโวตนั้นเป็นทางเลือกที่ไม่ดีเลย
ซีอีโอบางท่านอาจเลือกที่จะพูดคุยกับ พนักงานกลุ่มมีศักยภาพ (Talent) และเป็นแกนหลักขององค์กร 20 คนจาก 30 คนก่อนตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆทุกครั้งก่อนเสมอ
งานของซีอีโอจะยั่งยืนหรืออยู่ต่อได้นั้นก็เพราะผลงาน และซีอีโอที่ถูกไล่ออกจากงานมักจะเกิดขึ้น หลังจากธุรกิจหลุดพ้นวิกฤตแล้ว รวมทั้ง พนักงาน ผู้ถือหุ้น บอร์ดไม่สนับสนุนเขาแล้ว
ซีอีโอที่สามารถนำพาองค์กรก้าวผ่านวิกฤติได้นั้น อยู่ในตำแหน่งเพียง 2-3 ปีเท่านั้นเมื่อแก้ปัญหาใน องค์กรได้เสร็จก็ต้องออกจากตำแหน่งไป
3.การปรับตัวอย่างรวดเร็ว
จากการศึกษาพบว่า ซีอีโอที่ปรับตัวได้เร็วมักประสบความสำเร็จมากกว่า 6.7 เท่า การปรับตัวได้ รวดเร็วเป็นทักษะที่สำคัญมาก ซีอีโอที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในตำแหน่งใหม่ได้แบ่งเวลาในการ บริหารโดยให้เวลามากถึง 50% ในการวางแผนระยะยาว ซึ่งการใส่ใจในแผนระยะยาวจะช่วยให้ ผู้บริหารปรับตัวเรียนรู้ได้เร็ว ซีอีโอที่ปรับตัวได้เร็วมักค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจากที่ต่างๆ แม้ในเบื้องต้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนักก็ตาม จึงทำให้ซีอีโอสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงและปรับ กลยุทธ์เพื่อได้เปรียบทางธุรกิจก่อนคนอื่น
ผู้บริหารต้องรู้ว่าบางครั้งผลงานไม่ได้เติบโตตามคาดหวัง เกิดความผิดพลาดในการบริหารซึ่งผู้บริหาร ต้องเรียนรู้ว่า ความล้มเหลวเป็นการเรียนรู้ด้วย
จากการศึกษาพบว่า ผู้บริหารจำนวน 50% ที่เชื่อว่าความผิดพลาดเป็นความล้มเหลวนั้นไม่ สามารถ กลับมามีผลงานดีได้ ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดและทำเพิ่มหรือทำให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลงานโดยเร็ว ซีอีโอที่มีทัศนคติหรือแรงบันดาลใจเช่นนี้ มักประสบความสำเร็จก้าวเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กร
จากการศึกษา90%ของผู้บริหารที่เก่งประสบความสำเร็จมีทักษะความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับความ ล้มเหลว และการมีแรงบันดาลใจสูงที่จะแก้ไขทำให้ดีขึ้น
4.มีผลงานดีสม่ำเสมอเป็นที่เชื่อถือ
ความสามารถในการทำผลงานอย่างสม่ำเสมอเป็นทักษะที่สำคัญมากใน 4 ประการของคุณลักษณะ ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จและมีผลงาน ผู้สมัครตำแหน่งผู้บริหารที่มีคุณสมบัตินี้มีโอกาสได้รับเลือก มากกว่า 2 เท่าและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในตำแหน่งสูงถึง 15 เท่า เนื่องจากบอร์ด ผู้ถือหุ้น ต้องการเห็นผู้นำที่สร้างการเติบโตให้องค์กรได้อย่างต่อเนื่องและคาดเดาได้ (ไม่มี surprise)
เคยมีเหตุการณ์ที่ผู้สมัครคนหนึ่งสามารถสร้างผลงานมากกว่าปีก่อนถึง 150% แต่บอร์ดไม่เลือก ผู้สมัครคนนี้แต่กลับไปเลือกผู้สมัครที่มีผลงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าแต่ต่อเนื่องกันทุกปี นั่นคือ บอร์ดพอใจ ในผู้บริหารที่สามารถสร้างผลงานได้ต่อเนื่อง คาดเดาหรือพยากรณ์ได้แน่นอนต่างหาก
สิ่งที่ผู้บริหารใหม่เรียนรู้คือ ทักษะในการบริหารความคาดหวัง โดยไม่ยอมรับเป้าในสัปดาห์แรกที่มา เริ่มทำงาน ผู้บริหารเหล่านี้จะศึกษาข้อมูล ตัวเลขและจะพบกับบอร์ด พนักงาน และลูกค้าเพื่อทราบ ความต้องการหรือความคาดหวังจากพวกเขาและจัดทำกลยุทธ์และเป้าที่สามารถทำได้จริงจากข้อมูลที่ ได้มาอย่างรวดเร็วแล้วเท่านั้น
ซีอีโอที่มีทักษะด้านความน่าเชื่อถือสูงจะมียุทธวิธีในการทำงานหลากหลายโดย 3ใน 4 ของผู้บริหาร เหล่านี้มีทักษะในการวางแผนและการจัดการองค์กรได้ดีโดยการสร้างระบบการบริหารซึ่งมี การ ประชุม มีตารางตัววัดผล ความรับผิดชอบของพนักงานที่ชัดเจน และหลากหลายวิธีในการติดตาม ผลงาน
มีผู้บริหารจำนวนมากถึง 60% ที่ทำผิดตั้งแต่เริ่มต้นในตำแหน่งซีอีโอใหม่ ที่ยินยอมรับเป้า ยอดขาย และยังขาดทีมงานที่ดีหรือจำนวนไม่พอเพียงแต่เริ่มต้น ซีอีโอบางคนเลือกคนเก่งมาทำงานโดย ผู้บริหารบางคนเลื่อนตำแหน่งพนักงานที่มีอยู่อย่างพิถีพิถันด้วยการตั้งเป้าหรือผลงานที่สูงให้และ ติดตามผลงานตามตำแหน่งใหม่ มีผู้บริหารบางคนเลื่อนตำแหน่งพนักงานโดยพิจารณา จากการมีความผูกพันกับองค์กร (อยู่นาน) หรือพนักงานชอบงาน ซึ่งเกณฑ์ในการเลื่อนตำแหน่งโดยดูจากการทำงานนานและพนักงานชอบนั้นเป็นการตัดสินใจที่ไม่ดี
โดยสรุปไม่มีสูตรผสมของคุณสมบัติ 4 ประการสำหรับผู้บริหารมือใหม่ สภาวะของแต่ละอุตสาหกรรมและองค์กรจะเป็นตัวกำหนดว่าคุณลักษณะและทักษะอะไรที่จำเป็นและสำคัญที่สุด ในอุตสาหกรรมที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่น ด้านเทคโนโลยี แน่นอนองค์กรต้องการผู้บริหารที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและการทักษะการปรับตัวนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับกิจการที่ไม่หวือหวาหรือเติบโตไปอย่างช้าๆ
บทความน่าอ่านเพิ่มเติม
เทคนิคการขายกับ 4 แนวคิดที่นักขายรุ่นใหม่ต้องรู้
เทคนิคการขายกับ 4 แนวคิดที่นักขายรุ่นใหม่ต้องรู้ โดย ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณ และ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย แนวคิดของเทคนิคการขายที่นักขายต้องรู้และเข้าใจ ซึ่งในหลักสูตรการขายในปัจจุบันนั้นอาจจะไม่ได้พูดถึงแนวคิดเช่นนี้ที่นักขายพึงจะต้องมี...
หลักสูตรการขาย ตอนเจรจาต่อรอง
หลักสูตรการขาย ตอน "เทคนิคการเจรจาต่อรอง" โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจที่นักขายหลายคนเข้า "อบรมหลักสูตรการขาย" แต่ยังไม่สามารถเจรจาต่อรองและปิดการขายได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมีนักขายหลายคนนั้นกลัวการเจรจาต่อรอง...
ผู้จัดการหรือผู้บริหาร ทำอย่างไร เมื่อผลประเมินพนักงานต่ำ
ผู้จัดการหรือผู้บริหารจะแก้ไขอย่างไร เมื่อผลประเมินพนักงานต่ำกว่าเกณฑ์ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย มีผู้จัดการหรือผู้บริหารจำนวนไม่น้อยที่พอถึงเทศกาลการประเมินผลงานพนักงาน ก็จะออกอาการทำอย่างไรดี ไม่ใช่เรื่องการประเมิน...
เทคนิคการขาย:ใครผิด ใครถูก ใครได้ ใครเสีย
ใครผิด ใครถูก ใครได้ ใครเสีย โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย มีนักขายหลายคน เข้าอบรมหลักสูตรการขายหลายครั้งมักมีข้อสงสัยในเรื่องของความผิดหรือถูกระหว่างนักขายกับลูกค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงอยากจะนำมาเขียนเพื่อจะทำความเข้าใจโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในงานขาย ในคำถามถามในทำนอง...
จัดการอย่างไร เมื่อผู้บริหารหรือผู้จัดการไม่ชอบพัฒนาตนเอง
จัดการอย่างไร เมื่อผู้บริหารหรือผู้จัดการไม่ชอบพัฒนาตนเอง? stepplus training.com เป็นเรื่องที่หน้าประหลาดใจที่ปัจจุบันมีหลักสูตรผู้บริหารหรือหลักสูตรผู้จัดการดี ๆ มากมายแต่ผู้จัดการกลับไม่ชอบที่จะเข้าร่วมหรือพัฒนาตนเอง...
การประยุกต์ Bench-Marking ไปใช้
การประยุกต์ Bench-marking ไปใช้ คืออะไร? การประยุกต์ Bench-marking ไปใช้ คือการนำเครื่องมือเทคนิคที่ได้จากการอบรมเรือง Bench-marking มาใช้ในการทำงาน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ ตรงกับเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้ ซึ่งในการทำ Bench-marking ที่ดี ต้องมีขั้นตอนอย่างมืออาชีพ...
ขั้นตอนการทำ Bench-marking อย่างมืออาชีพ
Bench-marking คืออะไร? "การประยุกต์ Bench-Marking ไปใช้ คือ การนำกระบวนการจัดทำ Bench-marking ที่ได้รับความรู้มา เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำ Bench-marking ภายในองค์กร ทำให้พนักงานทุกคน มีเครื่องมือในการจัดทำ Bench-marking ได้ตรงกับเป้าหมายที่องค์กรต้องการ" ขั้นตอนการทำ...
Strategic Benchmarking for Marketer
กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คืออะไร? กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คือ แนวทางการนำกลยุทธ์ ทาง Bench-Marking มาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ ทางการตลาด ทำให้ความแตกต่างระหว่างตนเอง กับคู่แข่งได้ชัดเจนการจัดทำกลยุทธ์ทาง Bench-Marking...
ต้นทุน ขยับสูงขึ้น…ทำอย่างไร? ให้ธุรกิจอยู่รอด
ต้นทุน ขยับสูงขึ้น...ทำอย่างไร? ให้ธุรกิจอยู่รอด เป็นที่ทราบกันดีว่าในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้ ต้นทุนของสินค้าต่างขยับขึ้นเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมันขึ้นราคา ค่าแรงเพิ่ม ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นทุนของสินค้า...
เทคนิคการนำเสนอให้ดี ก็ไม่พอ ถ้าต้องการขายให้ได้
เทคนิคการนำเสนอ ให้ดี ก็ไม่พอ ถ้าต้องการขายให้ได้ ในการขายนั้นบ่อยครั้งที่นักขายจะเจอเหตุการณ์เช่นนี้คือ ลูกค้าบอกให้ไปนำเสนอขาย พนักงานขาย ก็นำ เทคนิคการนำเสนอ มากมาย แต่ทำไมเมื่อนำเสนอสินค้าแล้วลูกค้าไม่ซื้อ บางครั้งทำให้รู้สึกเสียกำลังใจเหมือนกัน ทำให้เบื่อ ๆ...
ลูกค้าทำท่าว่าสั่งปริมาณมาก เพื่อเจรจาต่อรองราคา แต่สั่งซื้อน้อย..!
ลูกค้าทำท่าว่าสั่งปริมาณมาก เพื่อเจรจาต่อรองราคา แต่สั่งซื้อน้อย..! ในการขายนั้นบางครั้งต้องขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ซึ่งตัวแทนจำหน่ายชอบใช้ปริมาณการสั่งซื้อเพื่อมาต่อรองด้านราคา หรือบางครั้งก็ใช้ราคาคู่แข่งมาอ้างอิงเพื่อต่อราคา โดยใช้ราคาที่ต่ำมาก กับปริมาณการสั่งซื้อ...
เพิ่มผลงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ..ในเวลาที่จำกัด..
เพิ่มผลงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ..ในเวลาที่จำกัด.. มีคำพูดยอดนิยมของคนทำงานที่มักพูดกันบ่อย ๆ ว่า “ทำงานไม่ทัน” ซึ่งหมายถึงไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ พอถูกถาม ก็มีเหตุผลมากมายที่จะอธิบายถึงสาเหตุว่าตนเองนั้นทำงานไม่ทันและเป็นเช่นนี้ทุกเดือน...
เทคนิคการขายแบบ B2B
เทคนิคการขายแบบ B2B มีนักขายหลายคนต้องขายสินค้าเพื่อให้ผู้อื่นนำไปขายต่อ ที่เรียกว่า เป็นตัวแทนจำหน่าย(ยี่ปั้ว ซาปั้ว) หรือที่ในปัจจุบัน จะเรียกว่า เป็นการขายในลักษณะ B2B ซึ่งก็ย่อมาจากคำว่า Business to Business คือเป็นการติดต่อระหว่งธุรกิจกับธุรกิจ...
The Super Manager
How to improve your organization productivities? (8 Modules of the Principle of Management) หมายเหตุ: หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ประยุกต์มาจากหลักสูตรการบริหารจัดการ (Management Program) จาก The Japan Industrial Training (JITA) และ The Oversea Human Resource and...
Miller Heiman
Miller Heiman Miller Heiman: Strategic Selling® Program กลยุทธ์การขายแบบองค์รวมเพื่อชัยชนะในการขายที่ซับซ้อน (Complex Sales) การขายเชิงกลยุทธ์ ® ทำให้เห็นภาพการขายที่ชัดเจนในทุกโอกาสของการขายด้วยเครื่องมือของโปรแกรมเพื่อใช้ในการวางแผน ที่เรียกว่า บลูชีท (Blue...
กลยุทธ์สุดท้ายของการเจรจาต่อรองแบบ Negotiation Strategy for Win-Win
กลยุทธ์สุดท้ายของการเจรจาต่อรองแบบ Negotiation Strategy for Win-Win โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย ผู้อำนวยการหลักสูตรNegotiation Strategy for Win-Win: StepPlus ความจริงเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองที่ว่า..คนส่วนใหญ่ “ยอมแพ้” ทั้งที่ “ยังไม่เริ่มต้น” แล้วคุณล่ะ?...
Public Training
Hello world!
Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!
Address
1991/157 ถ.อ่อนนุช แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10250