“พนักงานขายที่หมดไฟ
ก็ไม่แตกต่างอะไรกับมีขอนไม้ผุ ๆ
ที่ทำประโยชน์ไมได้ให้องค์กร”
10 เทคนิคปลุกพนักงาน “หมดไฟ” ให้ทำงานดีเหมือนเดิม
ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
เชื่อว่าพนักงานทุกคน รวมถึงผู้จัดการเมื่อมาทำงานในวันแรก ต่างคนต่างมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้งานที่ตนเองรับผิดชอบประสบความสำเร็จ และองค์กรมีความก้าวหน้า สมกับที่ได้รับเราเข้าเป็นพนักงาน เรียได้ว่าพลังในการทำงานเป็นแบบไฟลุก แต่น่าเสียดายที่พนักงานจำนวนมากไม่สามารถทำให้ตนเองไปถึงฝั่งที่คาดหวังได้ เพราะตกอยู่ในสภาพของการหมดไฟในการทำงาน ทั้ง ๆ ที่ตอนเริ่มต้นพนักงานบางคนมีโอกาสที่จะก้าวหน้าในอาชีพที่ตนเองทำงานมาก ๆ ทั้งคุณวุฒิ ความสามารถหรือแม่แต่วัยวุฒิ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเท่าที่ควรเพราะหมดไฟในการทำงาน
สภาวะการหมดไฟในการทำงานนี้เกิดกับคนทำงานมากกว่าร้อยละ 95% ซึ่งหมายความว่า พนักงาน 100 คน เมื่อเวลาผ่านไปจะมีคนรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้จนบางคนไม่อยากทำงานถึง 95 คน และมีเพียง 5 คนที่ยังคงรักษาสภาพจิตใจให้อยากทำงานทำผลงานให้ตนเองแบบเสมอต้นเสมอปลาย..แล้วผู้จัดการที่เป็นหัวหน้าโดยตรงจะโชคดีเจอพนักงานแบบ 5 เปอร์เซ็นต์นี้หรือไม่??
จึงเป็นหน้าที่ของผู้จัดการที่จะคอยปลุกไฟให้พนักงานรวมถึงปลุกไฟในตนเองให้ลุกพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าวิเคราะห์ทางจิตวิทยาการบริหารงาน พบว่าคนทุกคนที่ต้องทำงาน ในการทำงานจะต้องเผชิญ 2 สิ่งสลับกันไป หรือบางคนอาจจะเจอทั้ง 2 สิ่งในเวลาเดียวกัน คือมีทั้งความสุขและความทุกข์ ในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา ทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องงาน หรือเรื่องสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลก โดยเฉพาะเรื่องของสังคม พบว่าพนักงานบางคนเสพสื่อ ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป ทำให้ตนเองอินเข้าไปในเหตุการณ์นั้นส่งผลให้มีอารมณ์ร่วม เช่นพระเอกจะโกรธนางเอก พนักงานคนนั้นก็จะสงสารนางเอกจับใจ หรือ ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่เข้ามา พบว่าข่าวที่ทำให้คนวิตกมากเป็นพิเศษเช่นข่าวเศรษฐกิจที่ตก ย่ำแย่ ทำให้พนักงานรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่อยากขยันทำงานอีกต่อไป ซึ่งการเสพข่าวเช่นนี้ ทำให้พนักงานที่ขาดการตระหนักคิด ก็จะทำให้ไม่ได้พิจารณาถึงรายละเอียดอย่างถ้วนถี่ เช่น ขาดการพิจารณาว่าข่าวเศรษฐกิจไม่ได้เป็นเช่นนี้ตลอด ก็มีข่าวเศรษฐกิจแย่ทำนองนี้ทุกยุค ทุกสมัย แต่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจก็ยังคมมีเพิ่มอยู่เป็นระยะๆ มีการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นถ้ามีเรื่องที่เป็นบวกหรือเรื่องที่ดีเข้ามาพนักงานก็จะมีแนวโน้มที่จะมีความสุขอยากทำงานให้ดีๆ แต่ในทางกลับกันถ้ามีเรื่องที่เป็นด้านลบเข้ามา ก็จะนำมาซึ่งความ เศร้าใจ ไม่พอใจ เสียใจ เบื่อหน่าย และไม่อยากทำงาน อาการเช่นนี้บางคนเป็น ๆ หาย ๆ เป็นช่วง ๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ก็จะไม่ส่งผลมากต่อประสิทธิภาพในการทำงาน เรียกว่าเป็นอาการขึ้น ๆ ลง ๆ ของอารมณ์ เมื่อความเศร้าหายไป ก็อยากกลับมาฮึดสู้เหมือนเดิม ในองค์กรต่าง ๆ จึงมีระบบการพักร้อนเหมือนให้พนักงานไปชาร์ตแบตให้ตนเองและพร้อมที่จะมาทำงานแบบขยันขันแข็งเช่นเดิมหลังการพักร้อน แต่ถ้าพนักงานคนใด มีสิ่งไม่ดีคาใจ ขาดแรงจูงใจถาวร หรือบางคนมีทัศนคติที่เป็นลบ จนกลายเป็นอคติตลอดเวลา คิดทุกเรื่องแต่เรื่องไม่ดี เรื่องลบ วนไป วนมา ตลอดเวลา จะทำให้เกิดอาการ “หมดไฟ ในการทำงาน” (Burnout Syndrome)” ของพนักงานได้ ในปี 1975 (Marlynn Wei, 2016) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาได้ให้คำจำกัดความว่า คำว่า “Burnout” ว่าเป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์เรื้อรังต่องานที่ทำในรูปแบบคือ มีอารมณ์อ่อนเพลียหรือรู้สึกไม่มีอารมณ์ที่จะทำงาน เกิดภาวะขาดความสนุกในการทำงาน ขาดแรงจูงใจในงานที่ทำ เบื่อหน่าย ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงานนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์และร่างกายหลายอย่าง เช่น มีการนอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เบื่อหน่าย ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นสาเหตุนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต อาทิ โรคซึมเศร้า วิตกกังวล บางรายมีพฤติกรรมติดพึ่งสารเสพติด ซึ่งภาวะเครียดเรื้อรังนำไปสู่ปัญหาทางกายเป็นโรคเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ และเบาหวาน กว่า 60-80% จะต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ ในสังคมมการทำงาน การหมดไฟในการทำงานเป็นต้นเหตุของการหมดใจให้กับงานของพนักงาน วิธีการสังเกตง่าย ๆ ใช้ได้ทั้งกับผู้จัดการเองและพนักงาน คือลองสังเกตว่าตอนเช้าที่ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกอย่างไรที่วันนี้ต้องไปทำงาน บางคนกระตือรือร้นที่จะไปทำงาน ตื่นขึ้น ยืดแข้ง ยืดขา กระโดดขึ้นจากเตียงพร้อมที่จะไปทำงาน แต่บางคนไม่อยากที่จะลุกขึ้นเพื่อไปทำงาน หรือบางคนแค่คิดถึงเรื่องงานก็รู้สึกเศร้าแล้ว ใครเป็นเช่นนี้ให้เข้าใจได้เลยว่า คุณกำลังหมดไฟในการทำงาน เรื่องการหมดไฟในการทำงาน เป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้จัดการอัจฉริยะต้องรับรู้ ถึงขนาดองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ขึ้นทะเบียบเป็นโรคใหม่ ที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ถ้าพนักงานคนไหนเป็นมาก ๆ จำเป็นต้องใช้การรักษาทางการแพทย์เข้าช่วยคือไปหาหมอรักษานั่นเอง ดังนั้นผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคอยสังเกตพนักงานของตนและตัวผู้จัดการเองว่ามีอาการหมดไฟในการทำงานหรือไม่ จะได้ป้องกันเหตุที่ไม่น่าจะเกิด ทำให้สถานการณ์ไม่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น หน้าที่ของผู้จัดการอัจฉริยะไม่ใช่แค่คอยสังเกตว่าพนักงานว่าหมดไฟในการทำงานหรือไม่ แต่ยังต้องปลุกไฟให้กับพนักงานสม่ำเสมอ ให้ไฟลุกในการทำงาน เพื่อให้งานเดินไปข้างหน้า และนำความสำเร็จในการทำงานกับความสุขของพนักงานเป็นที่ตั้ง
“หลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ”
จิตวิทยาเรื่องการบริหารคน อธิบายได้ว่า พนักงานทุกคนจะมีอารมณ์ต่อข้อมูลข่างสารที่เข้ากระทบแตกต่างไปตามช่วงเวลาและอารมณ์ โดยมากถ้ามีเรื่องที่เป็นบวกต่อเรา ก็จะมีแนวโน้มแห่งความสุขและรักงาน แต่ในทางตรงกันข้ามที่เป็นด้านลบ ก็จะนำมาซึ่งความไม่พอใจ เสียใจ หรือ เบื่อหน่ายได้ ถ้าเป็นแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆผ่านไปแล้ว อารมณ์ความรู้สึกก็จะกลับมาเป็นปกติ หากแต่เป็นสิ่งที่ติดอยู่ในใจ หรือสิ่งลบนั้นกลับมาวนอยู่ตลอด อาจนำซึ่งอาการ “หมดใจ หรือ หมดไฟ ” หรือ “หมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)” ของคนทำงานได้
ใครก็ตามที่เป็นผู้จัดการอัจฉริยะต้องเข้าใจถึงผลเสียที่เกิดขึ้น ถ้ามีพนักงานที่หมดไปในการทำงาน หรือ ต้องทำงานท่ามกลางคนที่หมดไฟในการทำงานไปแล้ว บรรยากาศจะน่าเบื่อขนาดไหน เพราะทำอะไรก็ไม่สนุก เช่นเวลามีงานหรือโครงการใหม่ ๆ เข้ามา แทนที่ทุกคนอยากจะช่วยกันทำให้ประสบความสำเร็จ กลับเป็นการผลักภาระงานให้คนอื่น แล้วตัวเองไม่อยากทำงานอะไร เพราะไม่มีไฟอีกต่อไป สำหรับผลเสียที่สรุปได้ง่าย ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานและองค์กรถ้าพนักงานหมดไปในการทำงานมีดังนี้
- สภาพร่างกายไม่พร้อมทำงาน จะมีอาการป่วยบ่อย หยุดงาน ไม่สนใจคุณภาพของงาน ไม่พร้อมที่จะทำงาน เพราะสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมนั่นเอง
- สภาพจิตใจที่ไม่พร้อมทำงาน จะมีอาการนั่งเงียบ ๆ ซึม ๆ ไม่อยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทีมงานจัดให้ บางคนเป็นหนักถึงกับนั่งร้องไห้ก็มี บางคนเป็นโรคซึมเศร้า
- ส่งผลถึงคุณภาพของงาน การทำงานแบบไม่ตั้งใจ ทำให้คุณภาพงานลดลงเพราะประสิทธิภาพในการทำงานลด ปริมาณเวลาที่ทำต่อผลผลิตก็ลดลง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เบื่อหน่ายต่องานใหม่ ๆ ที่เข้ามา พบปะผู้คนและสื่อสารน้อยลง มองเวลาเลิกงานบ่อย ๆ เหม่อลอย ทำแต่งานที่ตนเองรับผิดชอบและลดการมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีม ขาดงานบ่อย หรือบางคนลาออกจากงาน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีงานอื่นรองรับ
- ถ้าคุณเป็นผู้จัดการอัจฉริยะ รู้สึกอย่างไร ถ้าพนักงานกำลังหมดไฟในการทำงาน?
- ถ้าคุณตอบว่าไม่รู้สึกอะไร ให้รีบกลับมาเช็คตนเองอย่างด่วน ว่าตัวผู้จัดการก็ตกอยู่ในอารมณ์การหมดไฟในการทำงานเช่นกันหรือไม่ เพราะในห้องอบรมสัมนาหลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ The Super Manager มักนำเรื่องพนักงานหมดไฟในการทำงานนี้มาปรึกษากันเป็นประจำ ถึงแนวทางแก้ไขเพื่อกระตุ้นให้พนักงานกลับมาขยันและตั้งใจทำงานเหมือนเช่นเดิมที่เคยเป็น ผู้จัดการอัจฉริยะส่วนใหญ่คิดว่าการที่จะพัฒนาพนักงานให้มีความรู้จนสามารถทำงานได้ต้องลงทุน ลงแรงเป็นจำนวนมาก แล้วถ้าพนักงานอยู่ในอาการหมดไฟ เท่ากับสิ่งที่ลงทุนลงแรงไป เสียเปล่า ไม่มีประโยชน์อะไร ในห้องอบรมหลักสูตรผู้จัดการอัจฉริยะจึงนำเรื่องนี้มาปรึกษาถึงวิธีการกระตุ้นไฟในการทำงานให้กับพนักงานของตนเอง และสามารถวินิจฉัยการแสดงออกคนพนักงานที่หมดไฟในการทำงานได้ 3 อาการที่แสดงออกดังนี้
- มีทัศนคติเป็นลบต่อการทำงาน ต่อเพื่อนร่วมงาน มีจิตริษยา ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก
- ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไม่ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพ ไม่อยากติดต่อกับใคร หรือขอความช่วยเหลือคนอื่นเมื่องานมีปัญหา
- เบื่อหน่าย อ่อนล้า หมดอารมณ์ที่จะทำงาน ท้อแท้ หรือ ป่วยบ่อย ทำให้หยุดงานบ่อย
ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องสังเกตอาการณ์ของพนักงานของตนเอง เพื่อจับสัญญาณทางอารมณ์ว่าพนักงานเป็นอย่างไรในการทำงาน หรือ พนักงานเข้าสู่โหมดหมดไฟในการทำงานหรือไม่ ซึ่งการสังเกตสามารถทำได้ 3 สิ่งดังนี้
- ความคิด
วิธีที่ผู้จัดการอัจฉริยะจะใช้สังเกตพนักงานของตน สังเกตได้จากการแสดงออกของพนักงาน เช่นการประชุม การระดมสมอง พนักงานคนนี้มีการแสดงออกทางความคิดอย่างไร เช่น มองคนในแง่ร้าย ความผิดเกิดจากคนอื่นทั้งที่เป็นสิ่งที่ตนเองทำขึ้น ระแวงว่าเพื่อนร่วมงานจะกลั่นแกล้ง หรือผู้จัดการไม่ชอบหน้าตนเอง ไม่ยอมรับเรื่องรางต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ ไม่เชื่อมั่นว่าตนเองจะทำงานให้สำเร็จได้ทั้ง ๆ ที่เป็นงานง่าย ๆ
- วุฒิภาวะทางอารมณ์
ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องสังเกตว่า พนักงานคนนี้มีอารมณ์เป็นเช่นไร เช่นฉุนฉียวบ่อยหรือไม่ เมื่อก่อนอารมณ์ดี แต่ปัจจุบันอารมณ์ฉุนเฉียวบ่อยขึ้น นอนไม่หลับ หรือ นอนหลับยาก หรือสึกหมดหวังต่อการทำงาน มีอารมณ์ขึ้นลงทำให้เข้าใจยาก มองเรื่องงานเป็นเรื่องที่ไม่น่าพอใจ ทั้งงานและคนที่ทำงานด้วย รวมถึงไม่พอใจผู้จัดการซึ่งเป็นผู้บริหารสายตรงเช่นกัน
- การแสดงออก
ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องสังเกตปริมาณงานและคุณภาพของงานที่มอบหมายให้พนักงานทำ มีการผลัดวันปประกันพรุ่ง งานหม่เสร็จทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่งานยาก แต่ใช้เวลานานในการทำงาน ไม่กระตือรือร้น มาทำงานสายลงทุกวัน ไม่สนใจต่อการให้ข้อมูลย้อนกลับ หรือ คำเตือนต่าง ๆ ขาดการบริหารจัดการงานทำใหงานไม่คืบหน้าเช่นไม่มีการบริหารเวลา ไม่มีการตั้งเป้าหมายของความสำเร็จ บางคนถึงกับต้องการลาออกจากงาน เสียสมาธิกับเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ สีหน้าแววตาแสดงได้ถึงการไม่มีความสุขในการทำงาน บางคนเหนื่อยล้าปวดหัวหรือปวดเมื่อยบ่อย ๆ
พนักงานคนไหนมีโอกาสการเกิดภาวะหมดไฟ ให้ผู้จัดการอัจฉริยะหมั่นตรวจสอบ ลักษณะดังต่อไปนี้
- ได้รับการมอบหมายงานที่หนักเกินไปทั้งปริมาณงานมากและความยากของมีความซับซ้อนหรือความเร่งด่วนของงานที่ต้องทำ
- ไม่ได้รับอำนาจให้ตัดสินใจในงานที่ตนเองรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่รู้งานมากกว่าคนอื่น
- งานไม่มากแต่ขาดทักษะในการจัดลำดับความสำคัญของงาน ทำให้งานเสร็จล่าช้า
- ขาดแรงจูงใจที่ดี ไม่มีรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ตนเองทุ่มเทให้กับงาน รู้สึกทำงานเหนื่อยเปล่า
- ขาดการยอมรับทั้งกับผู้จัดการและเพื่อนร่วมงานเหมือนไม่มีตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม พูดไปก็ไม่มีคนสนใจ
- ผู้จัดการลำเอียง ทำให้รู้สึกไม่ยุติธรรมในการทำงาน ขาดความเชื่อมั่นในการบริหารงาน ทำให้ไม่เปิดใจยอมรับผลงานกัน
- แนวทางการทำงานขัดแย้งต่อแนวทางของตนเอง อึกอัด ไม่ชอบ หรือต้องไปทำงานที่ตนเองไม่ชอบ ทำให้ขัดต่อคุณค่าและจุดมุ่งหมายในชีวิตของพนักงาน
ขั้นตอนการสำรวจพนักงานและตัวผู้จัดการว่ากำลังหมดไฟในการทำงานหรือไม่ ด้วยการตั้งคำถามที่ต้องค้นหาคำตอบให้ได้ ดังนี้
- ตื่นเช้าขึ้นมารู้สึกไม่อยากไปทำงานหรือไม่?
- หวาดผวาเมื่อมีโทรศัพท์จากผู้จัดการหรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่
- กังวลเรื่องงาน ทั้ง ๆ ที่ไม่อยู่ในเวลาทำงาน หรือ อยู่ที่บ้านหรือไม่?
- รู้สึกว่างานทุกงานยากไปหมด คิดไม่ออก ทั้งที่เมื่อก่อนทำได้ง่ายหรือไม่?
- เครียดอย่างรุนแรง บางครั้งไม่มีสาเหตุ มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หวาดผวา อ่อนล้า จากการทำงานหรือไม่
- รู้สึกมีคนมองในแง่ลบ ไม่เชื่อถือ สบประมาท เหยียดหยาม หรืออยากอยู่ห่างกับเพื่อนร่วมงานหรือไม่?
- ปัญหาสุขภาพร่างกายมากขึ้น ปวดหัวมากขึ้น ท้องเสียบ่อยขึ้นหรือไม่?
เมื่อไรก็ตามที่พบอาการเหล่านี้ 1 ใน 6 ข้อ ที่เป็นบ่อย ๆ แสดงว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอาการของความเหนื่อยหน่ายงานหรือหมดไฟในการทำงาน แต่ถ้าพบ 2 ข้อขึ้นไป แสดงว่าเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
สำหรับแนวทางในการแก้ไขมี 10 เทคนิคที่ผู้จัดการอัจฉริยะต้องนำมาใช้ปลุกไฟในการทำงานให้พนักงาน ได้แก่
- เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นการจัดสำนักงานใหม่บ้าง เคยมีบริษัทหนึ่งเข้ามาอบรมหลักสูตรผู้จัดการอัจฉริยะ และให้ข้อมูลว่า บริษัทของเขาตั้งอยู่ ถ.พัฒนาการ จะมีการย้ายสำนักงาน ทุก ๆ 5 ปี เพราะผู้บริหารระดับสูงเชื่อว่า บรรยากาศในการทำงานเปลี่ยนไปจะเป็นตัวกระตุ้นให้พนักงานขยันในการทำงาน หรือองค์กรต่างประเทศที่พยายามให้ผู้บริหารจะดับสูงที่เข้ามาบริหารองค์กรมีการโยกย้ายทุก 5 ปี เพื่อทำให้ได้รับบรรยากาศใหม่ ๆ ในการทำงาน เป็นการปลุกไฟในการทำงานเช่นกัน
- ในองค์กรแบบญี่ปุ่มมักมีสโลแกนว่า Work Hark, Play Hard ซึ่งมีความหมายว่า ทำงานจริงจัง เล่นก็ปล่อยตัวสุดชีวิตเช่นกัน ในบางองค์กรจึงจัดให้มีการรับประทานอาหารร่วมกันบ้าง มีการพบปะสังสรรค์นอกสถานที่บ้าง มีกิจกรรมนอกงานกับเพื่อนร่วมงานบ้าง เช่นไป แฮงค์เอาท์กันตามที่ต่าง ๆ หรือบางองค์กรจัดให้มีการพักทานอาหารกลางวันร่วมกัน ชักชวนให้ทุกคนคิดบวก สุดท้ายคนที่คิดลบ ก็จะกลับมาคิดบวกเช่นกัน วิธีนี้เป็นการลดช่องว่างในการทำงาน
- ยังจำได้ว่าขณะที่เรียนหนังสือในระดับมัธยมหรือมหาวิทยาลัย จะมีการจัดตั้งชมรมต่าง ๆ ขึ้นมาตามความชอบของนักเรียน ซึ่งเกิดประโยชน์มากมาย เพราะหลังจากเลิกเรียนหนัก ก็จะกลับมาอยู่ที่ชมรมเพื่อพูดคุยในสิ่งที่ตนเองสนใจ เช่นการทำค่ายอาสา การถ่ายรูป การเข้าร่วมกลุ่มที่อาจจะช่วยให้ความรู้สึกพนักงานดีขึ้น ไม่โดดเดี่ยว ทำให้ชีวิตมีความหมายมากขึ้น และในองค์กรใหญ่ ๆ ใช้วิธีจัดตั้งชมรมจะทำให้พนักงานได้รู้จักคนใหม่ด้วย แนวคิดเช่นนี้จะการให้หรือช่วยเหลือผู้อื่น จะมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้สึกตัวเองมีประโยชน์ มีความหมาย ได้ความปลื้มใจและลดความเครียดที่มีอยู่
- ฝึกการมองต่างมุม ลองใช้การเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว เช่นเมื่อไรก็ตามที่รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการทำงาน ลองมองคนที่ลำบากกมากว่า ไม่ว่าจะเป็นคนที่ต้องแบกหาม หรือทำงานช่วงกลางคืน จะทำให้ตนเองรับรู้ว่างานที่ทำ นั้นง่ายกว่าคนอื่นมาก จงภูมิใจในการที่ทำ และทำให้ดีที่สุด เทคนิคนี้เป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองต่องานที่ทำ มองหาคุณค่าในงานที่ทำ พยายามทำให้งานให้ดีที่สุด และใช้เวลให้มีสมดุล ก็จะเพิ่มไฟในการทำงานเช่นกัน
- ภาวะที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย หมดไฟในการทำงานแบบถาวรคือการหนีสังคม ไม่เข้ากลุ่ม ไม่ไปทานอาหารด้วย ไม่มีการเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นต้องพยายามที่จะปรับตัวเข้ากลุ่ม พูดคุยในเรื่องที่กลุ่มสนใจ ก็จะช่วยลดความเครียดในการทำงาน ทำให้ทุกคนอยากช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีโอกาสทำงานได้ผลดีขึ้น ทำให้ทุกคนรับรู้ว่าจะผ่านเวลาที่ยากลำบากไปด้วยกัน จะส่งผลในการทำงานให้ดีขึ้น คือการทำงานเป็นทีมนั่นเอง
- การหยุดงานเพื่อไปพักผ่อนจะทำให้พนักงานเปลี่ยนบรรยากาศจากการทำงาน ไปยังที่อื่นที่รู้สึกผ่อนคลาย แต่ให้เป็นการพักงานจริง ๆ ไม่ใช่หอบงานไปทำต่อที่บ้าน การหยุดพักงานบ้างเช่นการพักร้อนบ้าง พาตัวออกจากสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น ในองค์กรชั้นนำจึงมีการออกกฏที่จะให้พนักงานทุกคนต้องพักร้อนและห้ามเก็บวันพักร้อนสะสม หรือได้รับเงินตอบแทนถ้าไม่ไปพักร้อน เพื่อเป็นการบังคับให้พนักงานไปพักร้อน เป็นการจุดไฟในการทำงานอีกครั้งนั่นเอง
- พักผ่อนนอนหลับ ให้มากขึ้น พยายามนอนให้หลับมากขึ้น ฟังเพลงที่ทำให้หลับลึก ซึ่งหาได้ตาม สื่อต่าง ๆทั่วไป เพราะการนอนน้อยเกินไป เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเหนื่อย ทำให้ไม่อยากทำงานเพราะเหนื่อยหน่าย การนอนหลับที่สนิทขึ้น จะทำให้ร่างกายคนเราฟื้นตัวจากความอ่อนล้า เครียด เหนื่อยหน่ายและพร้อมที่จะกลับไปทำงานให้ไฟลุกเช่นเคย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่าการออกกำลังกายที่พอเหมาะ จะทำให้ร่างกายสดชื่น การออกกำลังกายที่ดี คือการบริหารหัวใจและหลอด ใครที่ไม่อยากวิ่งก็ใช้การเดิน เดินให้เร็ว ๆ เดินให้มาก ๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีตัวช่วยมากมาย เช่น นาฬิกาวัดจำนวนก้าว หรือ สมาร์ทวอช ที่สามารถวัดการออกกำลังกายในแต่วันได้ว่าถึงระดับออกกำลังหัวใจและหลอดเลือด เป็นอย่างไร
- การฝึกจิตให้มีสมาธิ เป็นการปล่อยวางปัญหา ละทิ้งความเครียดชั่วคาว ทำให้สมองไม่ล้า การทำสมาธิเป็นฝึกสติ ที่ได้รับการพิสูจน์ทั้งทางการแพทย์ว่าสามารถช่วยให้ทุกคนรับมือกับปัญหาได้ในทุกสถานการณ์หรือนักกีฬาจำนวนมากจะมีการทำสมาธิก่อนการลงแข่งขั้นเพื่อให้ตนเองมีสติที่ดีพอในการแข่งขัน วิธีง่ายการฝึกสมาธิเพียง 10 นาทีต่อวัน ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและจิตใจ ทำให้หลายองค์กรให้มีการนั่งสมาธิก่อนการทำงาน เพื่อส่งผลให้พนักงานมีจิตใจที่พร้อมจะทำงานเพื่อเป็นการปลุกไฟในการทำงานนั่นเอง
- เคยสังเกตหรือไม่ว่าช่วงใกล้ปีใหม่จะรู้สึกอย่างไรต่อ สถานที่ต่าง ๆ ที่มีการประดับประดาให้สวยงาม เช่นมีต้นคริสต์มาส มีสีสันต่าง ๆ ทำให้เกิดการตื่นตัวเมื่อได้พบเห็น การตกแต่งสำนักงานในช่วงเทศกาลต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการปลุกไฟให้พนักงานอยากทำงานมากขึ้น บริษัทจึงควรจัดงบประมาณเพื่อการตกแต่งเพราะผลลัพธ์ที่ได้จะคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้พนักงานกลับมามีไฟที่โชติช่วงในการทำงานอีกครั้ง
ในห้องอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ หรือ The Super Manager บรรดาผู้จัดการอัจฉริยะต่างลงความเห็นว่าเป็นหน้าที่สำคัญของคนเป็นผู้จัดการที่จะต้องคอยเติมเชื้อเพลิงให้กับพนักงานให้ลุกตลอดเวลา เพราะในทุกองค์กรต่างมีเป้าหมายที่สูงขึ้นทุกปี แต่ถ้าพนักงานหมดไฟในการทำงาน การทำงานก็จะถดถอย ถึงแม้รับพนักงานมาเป็นกองทัพ ก็ไม่มีประโยช์อะไร เพราะพนักงานทุกคนไม่มีไฟในการทำงาน มีจำนวนพนักงานที่มาก ก็จะกลายเป็นภาระให้กับผู้จัดการ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแบบไม่มีผลลัพธ์ในการทำงานออกมา องค์กรไหนที่มีพนักงานหมดไฟ ก็ต้องเตรียมตัวปิดได้ เพราะขาดทุนแน่นอน..ผู้จัดการอัจฉริยะจึงต้องเร่งปลุกไฟในตัวพนักงานให้ลุกโชติช่วงตลอดเวลาก่อนที่จะสายเกินแก้..นะจะบอกให้
การสร้างแรงจูงใจนั้น มันเป็นการปลุกไฟให้เราต่อสู้ในการทำงานในทุกๆวันเพื่อความสำเร็จในงาน เพื่อทำให้ สร้างแรงบันดาลใจให้ทั้งตัวเองและให้เพื่อนร่วมงานให้ทำงานได้มีดีขึ้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ถือว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ทุกวันถ้าสำหรับทราย ทรายคิดว่า แรงบันดาลใจของทรายในการไปทำงานกับลูกค่ะ ผู้ชายคิดเสมอว่า ลูกเราต้องสบาย ทรายจะต้องทำให้เขา มีความสุขในทุกวันและพร้อมที่จะ เติบโตต่อไป ในวันข้างหน้า
สรุป 10 เทคนิคปลุกพนักงานหมดไฟให้กลับมาทำงานดีเหมือนเดิม
พนักงานทุกคนล้วนมีไฟตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลายคนเริ่มหมดไฟ (Burnout) จนกระทบต่อคุณภาพงาน องค์กร และสุขภาพจิตของพนักงาน
อาการของพนักงานหมดไฟ
รู้สึกหมดพลัง ขาดแรงจูงใจ
ขาดความกระตือรือร้น เบื่องาน ขาดสมาธิ
ประสิทธิภาพการทำงานลดลง หลีกเลี่ยงงานเป็นทีม
สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ป่วยบ่อย เครียด นอนไม่หลับ
10 เทคนิคปลุกไฟให้พนักงาน
เปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน
– ปรับสภาพแวดล้อม โต๊ะทำงาน หรือจัดกิจกรรมสร้างความสดชื่น
ให้พนักงานมีส่วนร่วมตัดสินใจ
– เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ทำให้รู้สึกมีคุณค่า
ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นไปได้
– ลดความรู้สึกว่างานหนักเกินไป
ให้รางวัลและการยอมรับ
– คำชมเชย โบนัส หรือสิ่งตอบแทนเล็กๆน้อยๆช่วยเพิ่มกำลังใจ
ส่งเสริมการพัฒนาตัวเอง
– จัดอบรม หรือให้โอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
จัดการปริมาณงานให้เหมาะสม
– ไม่ให้ภาระหนักเกินไป ลดความเครียดจากงานล้นมือ
ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
– สร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร ไม่แข่งขันกันจนเครียด
สนับสนุน Work-Life Balance
– อนุญาตให้ทำงานยืดหยุ่น หรือให้เวลาพักผ่อนเพียงพอ
รับฟังปัญหาและช่วยแก้ไข
– หัวหน้าต้องคอยสังเกตและให้คำปรึกษาเมื่อลูกน้องมีปัญหา
ปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
– สร้างแรงบันดาลใจและทำให้พนักงานเห็นความสำคัญของงาน
การหมดไฟเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่สามารถป้องกันและแก้ไขได้ หากองค์กรและผู้จัดการให้ความสำคัญในการดูแลพนักงานอย่างเหมาะสม
10 เทคนิคปลุกพนักงานหมดไฟ ให้ทำงานดีเหมือนเดิม
ในการทำงานจะต้องเจอ 2สิ่งในในเวลาเดียวกัน ทั้งความสุขและความทุกข์
การ”หมดไฟในการทำงาน” เกิดจากภาวะขาดความสนุกกับงาน ขาดแรงจูงใจ เบื่อหน่ายงาน อาจจะนำไปสู่ปัณหาทางอารมณ์และร่างกายได้
เทคนิคในการปลุกไฟ
-จัดโต๊ะทำงานให้น่าทำงานอยู่เสมอ
-work Hark จัดกิจกรรมทำร่วมกัน ออกไปหาอะไรกินอร่อยไปกัน
-พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน
-หาเวลาไปเที่ยวหรือพักผ่อนบ้าง
-ให้การยอมรับ คำชมเชย
-การสร้างแรงจูงใจ
-ตั้งเป้าหมายในแต่ล่ะวัน
-รักษาสุขภาพ
สำหรับเทคนิค หรือวิธีการสังเกตคนที่กำลังหมดไฟ ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ สามารถนำมาปรับ มาประยุกต์ใช้ มาปรับใช้ได้
อย่าคิดว่าเป็นงานหนัก คิดบวก มองการทำงานให้เป็นเรื่องสนุก และหาความท้าทายใหม่ เราต้องคอยเติมเชื้อเพลิงให้กันและกันเสมอ เพราะถ้าเราหมดไฟในการทำงาน การทำงานก็จะถดถอย ถ้าเรามีไฟในการทำงาน การทำงานเราก็จะมีประสิทธิภาพ และมีความสุขกับงาน
สรุปบทความ 10 เทคนิคปลุกพนักงาน “หมดไฟ” ให้ทำงานดีเหมือนเดิม
ภาวะหมดไฟในการทำงานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งหน้าที่ของผู้จัดการควรหมั่นสังเกตและตรวจสอบพนักงานอยู่เสมอ เพราะถ้าหากพนักงานหมดไฟในการทำงานก็ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ส่งผลเสียทั้งต่อตนเองและองค์กร โดยมีแนวทางในการแก้ไขการหมดไฟในหารทำงาน 10 เทคนิคดังนี้
1. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นการจัดสำนักงานใหม่บ้าง เพื่อทำให้ได้รับบรรยากาศใหม่ ๆ ในการทำงาน
2. จัดให้มีการรับประทานอาหารร่วมกัน มีการพบปะสังสรรค์นอกสถานที่ มีกิจกรรมนอกงานกับเพื่อนร่วมงาน ชักชวนให้ทุกคนคิดบวก สุดท้ายคนที่คิดลบ ก็จะกลับมาคิดบวกเช่นกัน วิธีนี้เป็นการลดช่องว่างในการทำงาน
3. ใช้วิธีจัดตั้งชมรมจะทำให้พนักงานได้รู้จักคนใหม่ๆ และได้ช่วยเหลือผู้อื่น จะมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้สึกตัวเองมีประโยชน์ มีความหมาย ได้ความปลื้มใจและลดความเครียดที่มีอยู่
4. ฝึกการมองต่างมุม ลองใช้การเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว มองหาคุณค่าในงานที่ทำ พยายามทำให้งานออกมาดีที่สุด และใช้เวลาให้มีความสมดุล ก็จะเพิ่มไฟในการทำงานเช่นกัน
5. ภาวะที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย หมดไฟในการทำงานแบบถาวรคือการหนีสังคม ไม่เข้ากลุ่ม ไม่มีการเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นต้องพยายามที่จะปรับตัวเข้ากลุ่ม พูดคุยในเรื่องที่กลุ่มสนใจ ก็จะช่วยลดความเครียดในการทำงาน
6. การหยุดงานเพื่อไปพักผ่อนจะทำให้พนักงานเปลี่ยนบรรยากาศจากการทำงาน ไปยังที่อื่นที่รู้สึกผ่อนคลาย
7. พักผ่อนนอนหลับให้มากขึ้น ฟังเพลงที่ทำให้หลับลึก เพราะการนอนน้อยเกินไป เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเหนื่อย ทำให้ไม่อยากทำงานเพราะการนอนหลับที่สนิทขึ้น จะทำให้ร่างกายคนเราฟื้นตัวจากความอ่อนล้า เครียด เหนื่อยหน่าย และพร้อมที่จะกลับไปทำงาน
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่าการออกกำลังกายที่พอเหมาะ จะทำให้ร่างกายสดชื่น
9. การฝึกจิตให้มีสมาธิ เป็นการปล่อยวางปัญหา ละทิ้งความเครียดชั่วคราว ทำให้สมองไม่ล้า การฝึกสมาธิเพียง 10 นาทีต่อวัน ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและจิตใจได้
10. การตกแต่งสำนักงานในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญในการปลุกไฟให้พนักงานอยากทำงานมากขึ้น บริษัทจึงควรจัดงบประมาณเพื่อการตกแต่งเพราะผลลัพธ์ที่ได้จะคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้พนักงานกลับมามีไฟที่โชติช่วงในการทำงานอีกครั้ง
สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ : ได้ทบทวนตัวเองและสังเกตเพื่อนร่วมงานว่ามีอาการหมดไฟในการทำงานหรือไม่ และได้รู้แนวทางในการแก้ไขหากเริ่มมีอาการหมดไฟการทำงาน รวมถึงสามารถนำวิธีข้างต้นมาช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานหากสังเกตได้ว่ามีอาการหมดไฟ
เวลาจะหมดไฟ จะรู้ ว่า เราต้องทำยังไง ให้มีไฟ
10 เทคนิคปลุกใจพนักงานหมดไฟ
พนักงานคนไหนมีโอกาสการเกิดภาวะหมดไฟ ให้ผู้จัดการอัจฉริยะหมั่นตรวจสอบ ลักษณะดังต่อไปนี้
ได้รับการมอบหมายงานที่หนักเกินไปทั้งปริมาณงานมากและความยากของมีความซับซ้อนหรือความเร่งด่วนของงานที่ต้องทำ
ไม่ได้รับอำนาจให้ตัดสินใจในงานที่ตนเองรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่รู้งานมากกว่าคนอื่น
งานไม่มากแต่ขาดทักษะในการจัดลำดับความสำคัญของงาน ทำให้งานเสร็จล่าช้า
ขาดแรงจูงใจที่ดี ไม่มีรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ตนเองทุ่มเทให้กับงาน รู้สึกทำงานเหนื่อยเปล่า
ขาดการยอมรับทั้งกับผู้จัดการและเพื่อนร่วมงานเหมือนไม่มีตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม พูดไปก็ไม่มีคนสนใจ
ผู้จัดการลำเอียง ทำให้รู้สึกไม่ยุติธรรมในการทำงาน ขาดความเชื่อมั่นในการบริหารงาน ทำให้ไม่เปิดใจยอมรับผลงานกัน
แนวทางการทำงานขัดแย้งต่อแนวทางของตนเอง อึกอัด ไม่ชอบ หรือต้องไปทำงานที่ตนเองไม่ชอบ ทำให้ขัดต่อคุณค่าและจุดมุ่งหมายในชีวิตของพนักงาน
-1. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นการจัดสำนักงานใหม่บ้าง เพื่อทำให้ได้รับบรรยากาศใหม่ ๆ ในการทำงาน
2. จัดให้มีการรับประทานอาหารร่วมกัน มีการพบปะสังสรรค์นอกสถานที่ มีกิจกรรมนอกงานกับเพื่อนร่วมงาน ชักชวนให้ทุกคนคิดบวก สุดท้ายคนที่คิดลบ ก็จะกลับมาคิดบวกเช่นกัน วิธีนี้เป็นการลดช่องว่างในการทำงาน
3. ใช้วิธีจัดตั้งชมรมจะทำให้พนักงานได้รู้จักคนใหม่ๆ และได้ช่วยเหลือผู้อื่น จะมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้สึกตัวเองมีประโยชน์ มีความหมาย ได้ความปลื้มใจและลดความเครียดที่มีอยู่
4. ฝึกการมองต่างมุม ลองใช้การเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว มองหาคุณค่าในงานที่ทำ พยายามทำให้งานออกมาดีที่สุด และใช้เวลาให้มีความสมดุล ก็จะเพิ่มไฟในการทำงานเช่นกัน
5. ภาวะที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย หมดไฟในการทำงานแบบถาวรคือการหนีสังคม ไม่เข้ากลุ่ม ไม่มีการเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นต้องพยายามที่จะปรับตัวเข้ากลุ่ม พูดคุยในเรื่องที่กลุ่มสนใจ ก็จะช่วยลดความเครียดในการทำงาน
6. การหยุดงานเพื่อไปพักผ่อนจะทำให้พนักงานเปลี่ยนบรรยากาศจากการทำงาน ไปยังที่อื่นที่รู้สึกผ่อนคลาย
7. พักผ่อนนอนหลับให้มากขึ้น ฟังเพลงที่ทำให้หลับลึก เพราะการนอนน้อยเกินไป เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเหนื่อย ทำให้ไม่อยากทำงานเพราะการนอนหลับที่สนิทขึ้น จะทำให้ร่างกายคนเราฟื้นตัวจากความอ่อนล้า เครียด เหนื่อยหน่าย และพร้อมที่จะกลับไปทำงาน
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่าการออกกำลังกายที่พอเหมาะ จะทำให้ร่างกายสดชื่น
9. การฝึกจิตให้มีสมาธิ เป็นการปล่อยวางปัญหา ละทิ้งความเครียดชั่วคราว ทำให้สมองไม่ล้า การฝึกสมาธิเพียง 10 นาทีต่อวัน ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและจิตใจได้
10. การตกแต่งสำนักงานในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญในการปลุกไฟให้พนักงานอยากทำงานมากขึ้น บริษัทจึงควรจัดงบประมาณเพื่อการตกแต่งเพราะผลลัพธ์ที่ได้จะคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้พนักงานกลับมามีไฟที่โชติช่วงในการทำงานอีกครั้ง
ทุกคนสามารถมีสภาวะหมดไฟได้ หัวหน้าต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของพนักงาน และพนักงานก็ต้องรู้จักสังเกตตัวเองด้วย และเราสามารถนำ 10 เทคนิคนี้ไปใช้ ก็จะส่งผลให้ปลุกไฟในการทำงานกลับมาใหม่อีกครั้งได้ สภาพแวดล้อมที่ดี บรรยากาศในการทำงานที่ดี ไม่อึดอัด ไม่เครียดจนเกินไป
ผ่อนคลาย มีโอกาสได้พักผ่อน ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะส่งผลให้งานที่ทำออกมาดีไปด้วยค่ะ
1. สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี: สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและสนับสนุนช่วยให้พนักงานรู้สึกสบายใจและมีความสุขในการทำงาน
2. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน: การมีเป้าหมายที่ชัดเจนช่วยให้พนักงานมีทิศทางและแรงจูงใจในการทำงาน
3. ให้การยอมรับและชื่นชม: การยกย่องผลงานของพนักงานช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและแรงจูงใจ
4. สนับสนุนการพัฒนาทักษะ: การส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้และพัฒนาตนเองช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงาน
5. เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น: การรับฟังความคิดเห็นของพนักงานทำให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วม
6. สร้างความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว: การสนับสนุนให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนช่วยลดความเครียดและป้องกันการหมดไฟ
7. จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในทีม: กิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ช่วยเพิ่มความสามัคคีและการทำงานร่วมกัน
8. มอบหมายงานที่ท้าทายและเหมาะสม: การให้พนักงานทำงานที่ตรงกับความสามารถและท้าทายช่วยกระตุ้นความสนใจ
9. ให้การสนับสนุนเมื่อเผชิญปัญหา: การช่วยเหลือพนักงานเมื่อพบอุปสรรคทำให้พวกเขารู้สึกได้รับการสนับสนุน
10. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี: วัฒนธรรมที่ส่งเสริมความร่วมมือและความเคารพช่วยให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
เทคนิคเหล่านี้เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นและรักษาแรงจูงใจของพนักงาน การนำไปปรับใช้ในองค์กรจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทีมำด้ค่ะ
สรุปบทความ 10 เทคนิคปลุกพนักงาน “หมดไฟ” ให้ทำงานดีเหมือนเดิม
ภาวะหมดไฟในการทำงานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งหน้าที่ของผู้จัดการควรหมั่นสังเกตและตรวจสอบพนักงานอยู่เสมอ เพราะถ้าหากพนักงานหมดไฟในการทำงานก็ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ส่งผลเสียทั้งต่อตนเองและองค์กร โดยมีแนวทางในการแก้ไขการหมดไฟในหารทำงาน 10 เทคนิคดังนี้
1. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นการจัดสำนักงานใหม่บ้าง เพื่อทำให้ได้รับบรรยากาศใหม่ ๆ ในการทำงาน
2. จัดให้มีการรับประทานอาหารร่วมกัน มีการพบปะสังสรรค์นอกสถานที่ มีกิจกรรมนอกงานกับเพื่อนร่วมงาน ชักชวนให้ทุกคนคิดบวก สุดท้ายคนที่คิดลบ ก็จะกลับมาคิดบวกเช่นกัน วิธีนี้เป็นการลดช่องว่างในการทำงาน
3. ใช้วิธีจัดตั้งชมรมจะทำให้พนักงานได้รู้จักคนใหม่ๆ และได้ช่วยเหลือผู้อื่น จะมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้สึกตัวเองมีประโยชน์ มีความหมาย ได้ความปลื้มใจและลดความเครียดที่มีอยู่
4. ฝึกการมองต่างมุม ลองใช้การเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว มองหาคุณค่าในงานที่ทำ พยายามทำให้งานออกมาดีที่สุด และใช้เวลาให้มีความสมดุล ก็จะเพิ่มไฟในการทำงานเช่นกัน
5. ภาวะที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย หมดไฟในการทำงานแบบถาวรคือการหนีสังคม ไม่เข้ากลุ่ม ไม่มีการเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นต้องพยายามที่จะปรับตัวเข้ากลุ่ม พูดคุยในเรื่องที่กลุ่มสนใจ ก็จะช่วยลดความเครียดในการทำงาน
6. การหยุดงานเพื่อไปพักผ่อนจะทำให้พนักงานเปลี่ยนบรรยากาศจากการทำงาน ไปยังที่อื่นที่รู้สึกผ่อนคลาย
7. พักผ่อนนอนหลับให้มากขึ้น ฟังเพลงที่ทำให้หลับลึก เพราะการนอนน้อยเกินไป เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเหนื่อย ทำให้ไม่อยากทำงานเพราะการนอนหลับที่สนิทขึ้น จะทำให้ร่างกายคนเราฟื้นตัวจากความอ่อนล้า เครียด เหนื่อยหน่าย และพร้อมที่จะกลับไปทำงาน
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่าการออกกำลังกายที่พอเหมาะ จะทำให้ร่างกายสดชื่น
9. การฝึกจิตให้มีสมาธิ เป็นการปล่อยวางปัญหา ละทิ้งความเครียดชั่วคราว ทำให้สมองไม่ล้า การฝึกสมาธิเพียง 10 นาทีต่อวัน ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและจิตใจได้
10. การตกแต่งสำนักงานในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญในการปลุกไฟให้พนักงานอยากทำงานมากขึ้น บริษัทจึงควรจัดงบประมาณเพื่อการตกแต่งเพราะผลลัพธ์ที่ได้จะคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้พนักงานกลับมามีไฟที่โชติช่วงในการทำงานอีกครั้ง
สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ : ได้ทบทวนตัวเองและสังเกตเพื่อนร่วมงานว่ามีอาการหมดไฟในการทำงานหรือไม่ และได้รู้แนวทางในการแก้ไขหากเริ่มมีอาการหมดไฟการทำงาน รวมถึงสามารถนำวิธีข้างต้นมาช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานหากสังเกตได้ว่ามีอาการหมดไฟ
อาการหมดไฟในการทำงานอาจเป็นสัญญานของร่างกายที่ถึงขีดสุดในการรับแรงกดดัน ความเครียดสะสมต่างซึ่งออกมาในรูปแบบของความเบื่อ ไม่อยากตื่นไปทำงาน หรืออาจเป็นสัญญานที่แสดงถึงสภาพจิตใจที่ถึงขีดสุดเช่นกัน โดยวิธีแก้ก็มีทั้งการพักร้อนพาตัวเองไปสถานเที่ยวที่ใหม่ๆ เปลี่ยนโต๊ะทำงาน การพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์บ้างเพื่อให้พาความคิดของตัวเองไปโฟกัสในเรื่องอื่นๆบ้าง
เทคนิคปลุกพนักงานหมดไฟ
เป็นการสร้างแนวทางให้กับหัวหน้าซึ่งมองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของลูกน้องแต่ยังหาทางแก้ไม่ได้
ดังนั่นเทคนิคทั่ง 10 เทคนิคที่ได้อ่านมาแล้ว หากสามารถนำมาปฏิบิตใช้จริง ได้ในที่ทำงานของตัวเอง จะทำให้น้องๆ เริ่มได้ตระหนักถึงความสำคัญของตัวเองซึ่งหากเราไม่ให้ความสำคัญกับตัวเอง ก็จะรู้สึกว่าตนด้อยค่า ทำงานให้ผ่านไปวันๆ
ดังนั่นเทคนิคทั้งหมดที่ได้กล่าวมาจึงแนวทางที่มีประโยชน์ยิ่งๆเลยค่ะ สำหรับน้องๆหรือตนเองที่กำลังรู้สึกว่าตกอยู่ในวังงหมดไฟไร้ค่าในช่วงนี้
-การหมดไฟในการทำงานสามารถเกิดได้กับทุกคน อาจจะมีผลกระทบมาจากการป่วย การพักผ่อนไม่เพียงพอ สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ก็อาจมีส่วนที่ทำให้เกิดการหมดไปในการทำงานได้
-วิธีสังเกตง่ายๆ เช่นตื่นเช้ามาเรามีความรู้สึกอยากมาทำไหม
มีความกังวลเรื่องงานทั้งๆที่ไม่อยู่ในเวลางานไหม
-แก้ไขโดย เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นการจัดสำนักงานใหม่บ้าง
นั่งสมาธิ หามุมสงบ หรือ หามุมทำกิจกรรมคลายเครียด การออกกำลังกาย ก็ช่วยได้ การพักผ่อนเพื่อฮิลใจ ก็สามารถช่วยได้
-แต่เราต้องหมั่นสังเกตุเพื่อนร่วมงานของเรา ส่ามีภาวะนี้บ้างหรือไม่จะได้ช่วยกันแก้ไข ได้ทัน
การสร้างแรงจูงใจพนักงานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร เพราะพนักงานที่มีแรงจูงใจจะมีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และมีความจงรักภักดีต่อองค์กรมากขึ้น ต่อไปนี้คือ 10 เทคนิคการปลุกใจพนักงานที่สามารถนำไปปรับใช้ได้:
* ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและท้าทาย: การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและท้าทายจะช่วยให้พนักงานเห็นภาพรวมของงานและมีแรงผลักดันในการทำงานให้สำเร็จ
* ให้รางวัลและการยกย่อง: การให้รางวัลและการยกย่องเมื่อพนักงานทำงานได้ดี จะช่วยสร้างขวัญกำลังใจและกระตุ้นให้พนักงานทำงานให้ดียิ่งขึ้น
* สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี: การสร้างบรรยากาศการทำงานที่อบอุ่น เป็นกันเอง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน จะช่วยให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขในการทำงาน
* ให้โอกาสในการเติบโตและพัฒนา: การให้โอกาสในการเติบโตและพัฒนาทักษะ จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและมีอนาคตในองค์กร
* ให้อิสระในการทำงาน: การให้อิสระในการทำงาน จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองได้รับความไว้วางใจและมีอำนาจในการตัดสินใจ
* รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน: การรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน จะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
* สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน: การส่งเสริมให้พนักงานมีชีวิตส่วนตัวที่สมดุล จะช่วยลดความเครียดและเพิ่มความสุขในการทำงาน
* สื่อสารอย่างเปิดเผยและโปร่งใส: การสื่อสารอย่างเปิดเผยและโปร่งใส จะช่วยสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจอันดีระหว่างพนักงานและผู้บริหาร ค่ะ
ผู้จัดการจะต้องเข้าใจถึงผลเสียที่เกิดขึ้น ถ้าพนักงานหมดไฟในการทำงาน ดังนั้นผู้จัดการต้องหมั่นสังเกตพนักงาน ว่าพนักงานคนไหนอาจมีภาวะหมดไฟในการทำงาน
เช่น ได้รับมอบหมายงานที่หนักเกินไปหรือปริมาณงานมากเกินไป ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ไม่อยากทุ่มเทให้การทำงาน หรือหลีกหนีสังคมไม่ให้ความร่วมมือในเรื่องต่างๆ
ถ้าสังเกตว่าพนักงานหมดไฟ มีแนวทางแก้ปัญหาดังนี้
1.เปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นการจัดสำนักงานใหม่
2.ใช้หลัก work hard play hard คือ ทำงานจริงจัง และเล่นก็สุดชีวิต อาจจะมีการสังสรรค์หรือมีกิจกรรมนอกงานกับเพื่อนร่วมงานบ้าง
3.จัดชมรมต่างๆตามความชอบพนักงานเพื่อให้เกิดการพูดคุยและการเข้าร่วมกลุ่ม
4.ฝึกการมองต่างมุมลองใช้การเปรียบเทียบกับ เหตุการณ์ต่างๆรอบตัว
5.การทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และพูดคุยกันในเรื่องที่กลุ่มนั้นสนใจ
6.พักร้อนเพื่อไปพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศจากการทำงานจะได้รู้สึกผ่อนคลาย
7.พักผ่อนให้มากขึ้นพยายามนอนให้หลับมากขึ้นฟังเพลงที่ทำให้หลับลึก
8.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะได้ทำให้ร่างกายสดชื่น
9.ฝึกสมาธิ
10.ตกแต่งสถานที่ทำงานตามเทศกาลต่างๆ