ขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน เป็น ขั้นตอนพื้นฐานของกระบวนการสรรหาพนักงาน เพื่อให้ได้พนักงานที่ใช่ ได้พนักงานที่ชอบ เข้ามาทำงานให้กับองค์กร ความสำเร็จในการสัมภาษณ์งานมีหลายแง่มุม แต่เป้าหมายเดียวกัน คือได้คนที่ใช่ ให้มาทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรต่อไป การสัมภาษณ์งานจึงเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในการสรรหาพนักงานให้กับทุกองค์กร
10 ขั้นตอน การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ใน ปี 2025
ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
พนักงานที่ดี ย่อมส่งผลถึงความสำเร็จให้องค์กร การสรรหาคนที่ดี คนที่ใช่จึงเป็นเรื่องจำเป็นของผู้จัดการที่จะสรรหาคนที่เหมาะสมมากที่สุดเข้ามาทำงาน แต่การสรรหาพนักงานให้ทำงานกับองค์กร เป็นเรื่องน่าปวดหัวของผู้จัดการหลายคนที่จะเลือกคนที่ใช่ ได้คนที่ชอบ ตอบโจทย์การทำงาน ผู้จัดการทั้งหลายจึงมักมีคำบ่นว่า รับพนักงานมา ทำงานไม่ได้ดั่งใจ ทั้ง ๆ ที่ตอนสัมภาษณ์งาน ผู้สมัครงาน ก็มักจะตอบรับว่า ทำงานได้ทุกอย่างตามที่ผู้จัดการต้องการให้ทำ ตัวอย่างการสัมภาษณ์งาน ผู้จัดการก็มักจะมีคำถามว่า
+ ผู้จัดการ: น้องทำงานได้หลายอย่างไหม?
+ คำตอบยอดนิยมของผู้สมัครงานก็คือ “ได้ครับ/คะ”
+ ผู้จัดการ: น้องยินดีที่จะทำงานหนักไหม?
+ คำตอบยอดนิยมของผู้สมัครงานก็คือ “ยินดีครับ/คะ”
ถ้ากระบวนการสัมภาษณ์งานเพื่อรับพนักงานใหม่ที่ไม่ดีพอ ก็อยากบอกผู้จัดการว่า..อย่าพึ่งรีบเชื่อในสิ่งที่ฟังในขณะสัมภาษณ์งาน เพราะหลังจากนั้น เวลาพนักงานเข้ามาทำงานก็จะมีข้ออ้างต่าง ๆ นานา ที่จะไม่อยากทำงานหนัก หรือ ทำงานไม่ได้ตามความต้องการของผู้จัดการที่กำหนดไว้ พนักบางคนเป็นไปมากกว่านั้นอีกคือมีทัศนคติที่ไม่ดีอีก สร้างปัญหามากมายให้กับองค์กร เพราะได้คนที่ไม่เหมาะสมเข้ามาทำงานแทนที่จะมาช่วยงาน กับมาสร้างปัญหาให้องค์กร กลายเป็นเรื่องปวดหัวของผู้จัดการมากมาย
ดังนั้นจุดเริ่มต้นที่จะสกัดปัญหาต่าง ๆ ในองค์กร เริ่มต้นจากการสัมภาษณ์งานที่ดี เพราะการสัมภาษณ์งานที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้ผู้จัดการเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงาน การสร้างบรรยากาศการสัมภาษณ์งานที่เอื้อต่อความสำเร็จในการสัมภาษณ์งาน จะช่วยให้ผู้สมัครงานรู้สึกสบายใจมากขึ้นและกล้าที่จะแสดงออกได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในระหว่างการสัมภาษณ์
หลายๆ คนคิดว่าการสัมภาษณ์เป็นโอกาสสำหรับผู้สมัครที่จะนำเสนอตัวเองให้กับผู้จัดการรับเข้าทำงาน แต่ความจริงก็โอกาสของผู้จัดการที่จะสำเสนอความน่าสนใจขององค์กรให้มีต่อผู้สมัครเช่นกัน เพราะผู้จัดการที่มีหน้าที่เป็นผู้สัมภาษณ์จะเป็นตัวแทนของบริษัท เพื่อกลั่นกรองผู้สัมภาษณ์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานให้กับองค์กร พร้อมกับแนะนำความน่าสนใจขององค์กรให้ผู้สมัครได้รับรู้ การสัมภาษณ์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยผู้จัดการใช้ในการตัดสินใจที่จะรับพนักงารเข้ามาทำงานหรือไม่และช่วยให้ผู้สมัครตัดสินใจว่างานนั้นเหมาะสมกับตนเองในการเข้าทำงานหรือไม่ การทำความเข้าใจทั้งสองฝ่ายจึงเป็นหัวใจสำคัญในการสรรหาพนักงานผ่านการสัมภาษณ์นั่นเอง
การสัมภาษณ์งานยังเป็นโอกาสเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ผู้สมัครงาน เช่นทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติของผู้สมัครงานผ่านใบสมัครหรือเรซูเม่ การสัมภาษณ์จึงเป็นเครื่องมือในการประเมินบุคลิกภาพของผู้สมัครงาน เพื่อพิจารณาว่าผู้สมัครงานสามารถทำงานร่วมกับทีมงานของผู้จัดการได้ดีหรือไม่ และมีความเหมาะสมที่จะมอบหมายหน้าที่สำคัญให้กับผู้สมัครเมื่อมีโอกาสในการทำงานหรือไม่
10 ขั้นตอน การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ใน ปี 2025
ผู้จัดการจำเป็นต้องมีวิธีการเตรียมตัวและดำเนินการสัมภาษณ์งานอย่างเหมาะสมสามารถช่วยให้ผู้จัดการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้สมัครและตัดสินใจจ้างงานได้อย่างมีข้อมูลมากขึ้น
การสัมภาษณ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถอธิบายวิธีดำเนินการสัมภาษณ์อย่างมีประสิทธิภาพใน 10 ขั้นตอนที่เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้ผู้จัดการใช้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ผู้สมัครดังนี้
1.ทำความคุ้นเคยกับประกาศรับสมัครงาน
เป็นเรื่องจริงของผู้จัดการหลายคนที่มาดูประกาศการรับสมัครงานในขณะสัมภาษณ์งาน ทำให้ไม่มีความพร้อมในการเตรียมคำถามเพื่อสัมภาษณ์งาน ผู้จัดการบางคนอยากได้พนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ แต่ไม่ทราบถึงรายละเอียดที่ได้ลงไว้ในคำประกาศการสมัครงาน ทำให้การตั้งคำถามในการสัมภาษณ์งานได้ไม่ดีพอ ผู้จัดการที่มีหน้าที่สัมภาษณ์งานจึงจำเป็นที่จะต้องทำความคุ้นเคยกับประกาศรับสมัครงานของบริษัท อ่านรายละเอียดให้มากที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย คำอธิบายตำแหน่งที่เป็นความคาดหวัง ความรับผิดชอบ และคุณสมบัติที่ผู้สมัครที่ต้องการ การอ้างอิงรายละเอียดตามคำประกาศนี้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเตรียมคำถามเพื่อถามผู้สมัครงาน เช่น ถ้ารายละเอียดของงานเน้นทักษะการแก้ปัญหา คำถามการสมัครงานก็อาจเป็นเช่นนี้
ผู้จัดการ: ขอให้อธิบายถึงวิธีการรับมือกับการแก้ปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน?
2.ศึกษาเอกสารการสมัครงานทั้งหมดของผู้สมัคร
ผู้จัดการจำเป็นต้องศึกษาเอกสารสมัครงานทั้งหมดเป็นอย่างดี ก่อนการสัมภาษณ์งาน ไม่ว่าจะเป็นใบสมัครงานประวัติ รูปถ่าย หรือข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อทำความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัคร และจัดทำข้อมูลย่อยหรือประเด็นที่เป็นข้อสังเกต ด้วยการจดบันทึกย่อเพื่อทบทวนเกี่ยวกับ ประวัติ จดหมายสมัครงาน และใบสมัคร เน้นประเด็นสำคัญคือข้อมูลใน เรซูเม่ของพวกเขาที่คุณอาจต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม
ในการศึกษาเอกสารสมัครงานต่าง ๆ เช่นผู้จัดการต้องพิจารณารายละเอียด ที่ผู้สมัครเขียนมาในใบสมัคร เช่นความน่าประทับใจที่สุดเกี่ยวกับเอกสารสมัครงาน เมื่อผู้จัดการสัมภาษณ์ผู้สมัคร ควรกระตุ้นให้ผู้สมัครอธิบายให้ได้มากที่สุด เช่นอธิบบายประวัติผู้สมัครและเนื้อหาในเอกสารสมัครงาน ตามด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกยิ่งขึ้น เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้จัดการสามารถประเมินความคิด ทัศนคติต่าง ๆ ที่ผู้สมัคร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง จุดอ่อน จุดแข็ง บุคลิกภาพ ความสามารถในการแก้ปัญหา ทัศนคติ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่นและความคิดสร้างสรรค์ได้ในระดับหนึ่ง
3.การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์
บรรยากาศเป็นเรื่องสำคัญในการสัมภาษณ์งาน องค์กรต่างชาติเช่น ญี่ปุ่นจะจัดห้องสัมภาษณ์เป็นห้องประชุมที่ดูดี ดูสวยงาม มีถ้วยรางวัลตกแต่ง ทำให้เป็นองค์กรน่าเชื่อถือและมีสิ่งอำนายความสะดวกที่พอเพียง เช่นจำนวนเก้าอี้ที่เหมาะสมกับจำนวนคนนั่ง ที่วางสัมภาระของผู้สมัครและโต๊ะสัมภาษณ์มีพื้นที่ใหญ่เพียงพอสำหรับขั้นตอนการสัมภาษณ์ ไม่อึดอัด วางเอกสารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการสัมภาษณ์ ควรมีสำเนาเรซูเม่ เอกสารการสมัครงานสำหรับกรรมการทุกคน และมีอุปกรณ์จำเป็นพื้นฐานเช่น ปากกา และสมุดจดสำหรับจดบันทึกจะเป็นประโยชน์ หากต้องมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทดสอบผู้สมัครเช่นการพิมพ์เอกสาร ก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสม จัดวางให้เป็นระเบียบ ไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่เกะกะ รกหู รกตา ให้ผู้สมัครรู้สึกว่าที่ทำงานอึดอัด ไม่อยากทำงานที่นี่
4.จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเข้ามาทำงาน
ในการสัมภาษณ์งานบางแห่ง ผู้สมัครต้องเดินผ่านพื้นที่ทำงานของพนักงานที่ทำงานอยู่แล้ว ถ้าบรรยากาศในสถานที่ทำงานไม่น่าทำงาน เช่น มืดบ้าง อับชื้นบ้าง ผู้สมัครที่เข้ารับการสัมภาษณ์บางคน อาจวิตกกังวลว่าตนเองได้เข้ามาทำงานต้องอยู่ในบรรยากาศเช่นนี้ ตนเองจะทำงานเป็นเช่นไร
ในงานวิจัยเรื่องการสร้างความผูกพันธ์กับพนักงาน หรือที่เรียกว่า Employee Engagement Survey พบว่าบรรยากาศการทำงานจะส่งผลให้พนักงานอยากทำงานให้บริษัท บรรยากาศในการทำงานไม่เพียงแค่ความสวยงามของสำนักงานแต่ยังรวมถึงความอบอุ่นที่พนักงานมีให้ต่อกัน เช่นในหลายองค์กรมีการเชิญให้ผู้สมัครเข้ามาสัมภาษณ์ และเมื่อผู้สมัครเข้ามาถึงบริษัท สอบถามเรื่องการสัมภาษณ์งาน ปราฏว่าไม่มีใครทราบรายละเอียดต่าง ๆ ในการสัมภาษณ์ ไม่ทราบว่าต้องนั่งรอที่ไหน ต้องทำไรบ้าง ไม่ทราบว่าห้องประชุมไหนที่จะใช้ในการสัมภาษณ์ ใครเป็นผู้สัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์งาน
ปัญหานี้เกิดขึ้นไม่น้อยในองค์กรต่าง ๆ เพราะพนักงานบางคนอาจไม่ให้ความสำคัญกับคนมาสมัครงานแต่จะให้ความสำคัญกับคนที่ทำงานแล้ว ทำให้พนักงานที่อยู่เดิมหลายคนมองข้ามเรื่องการเตรียมการในการสัมภาษณ์ ทำให้พลาดโอกาสได้คนดี ๆ เข้ามาทำงานให้องค์กรอย่างน่าเสียดาย
ในขั้นตอนการสัมภาษณ์งานเพื่อรับพนักงานนั้น ผู้จัดการจำเป็นต้องทำให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์มีความรู้สึกอบอุ่นสะดวก สบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่กดดัน ไม่เครียดและผู้จัดการต้องช่วยให้คนสมัครงานผ่อนคลายเพื่อแสดงบุคลิกภาพที่แท้จริงของตนออกมาในขณะสัมภาษณ์งานได้
สิ่งที่ควรทำก่อนวันสัมภาษณ์งาน 2-3 วัน ควรมีการสื่อสารเพื่อแจ้งรายละเอียดล่วงหน้าให้ผู้สมัครเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ในวันสัมภาษณ์งานที่พวกเขาต้องเจอเช่น ที่จอดรถอยู่ที่ไหน มาพบใคร การแลกบัตรเข้าอาคาร และแผนกต้อนรับมาทำงานเวลาอะไร เป็นต้น
ในช่วงเริ่มต้นของการสัมภาษณ์ ให้ใช้การถามคำถามที่เบา ๆ สบาย ๆ ไม่กดดัน เพื่อช่วยให้ผู้สมัครผ่อนคลาย เช่น
+ ผู้จัดการ: เดินทางมาสัมภาษณ์งานยากลำบากไหมครับ?
5.ทำเพื่อปรับความเข้าใจกับคณะกรรมการสัมภาษณ์คนอื่นๆ
ในการสัมภาษณ์งาน ส่วนใหญ่จะมีคนสัมภาษณ์งานที่มากกว่า 1 คน ที่ถูกเรียกว่าคณะกรรมการการสัมภาษณ์งาน ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย ตัวแทนจากผ่ายทรัพยากรบุคคล หัวหน้างานหรือผู้จัดการในสายงานที่ต้องการรับสมัครพนักงานในตำแหน่งงานนั้น ๆ
การเตรียมการก่อนการสัมภาษณ์จริง โดยการสื่อสารเพื่อปรึกษาหารือกันระหว่างคณะกรรมการเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเตรียมรายละเอียดการสัมภาษณ์งาน ทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ทำให้การสัมภาษณ์งานมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น มีเนื้อหาที่ครอบคลุมหรือได้ข้อมูลที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบการวางแผนการสัมภาษณ์อาจมีดังนี้:
+ ใครวางแผนว่าจะเป็นสัมภาษณ์อะไรและแต่คนสัมภาษณ์ในแง่มุมอะไรบ้าง
+ ออกแบบคำถามในเรื่องอะไรบ้าง
+ การสัมภาษณ์แต่ละส่วนควรใช้เวลานานเท่าใด
+ คุณสมบัติอะไรที่ต้องการเจาะลึกเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง
+ การทดสอบการทำงานต้องมีหรือไม่ ถ้ามีต้องมีอะไร
+ ใครเป็นคนสื่อสาร รายละเอียดของงานและบริษัท มีเนื้อหาอย่างไร
6.ถามตั้งคำถามเพื่อสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้อง
มีผู้จัดการหลายคนสัมภาษณ์งาน โดยใช้คำถามที่ไม่มีความสัมพันธ์กับงานที่ทำ ทำให้ได้คนที่ไม่ใช่ ได้คนที่ไม่ตรงวัตุประสงค์ของการรับสมัครงาน ผู้จัดการบางคนก็ถามนอกประเด็น หรือบางคนชวนคุยเรื่องอื่น ๆ ทำให้หลุดประเด็นไปเลยก็มี ดังนั้นรายการคำถามที่เกี่ยวข้องกับงาน เป็นหัวใจสำคัญในการสัมภาษณ์พนักงาน
เมื่อดำเนินการสัมภาษณ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้จัดการจะต้องมีวัตถุประสงค์การสัมภาษณ์งานที่ชัดเจน วัตถุประสงค์เหล่านี้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์และกำหนดประเภทของข้อมูลที่ผู้สัมภาษณ์กำลังมองหา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้อย่างมีประสิทธิผล ผู้สัมภาษณ์จะต้องถามคำถามที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้สมัครงาน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “คำถามที่เกี่ยวข้อง” เช่น
หากวัตถุประสงค์ของการรับพนักงาน คือ การแก้ปัญหาและตัดสินใจภายในสภาพแวดล้อมของทีมที่ทำงานร่วมกันคำถามที่เกี่ยวข้องอาจเป็น: “ถ้าคุณต้องทำงานร่วมกับคนอื่น คุณมีวิธีที่จะจัดการกับความขัดแย้งในทีมได้อย่างไร”
และสิ่งสำคัญที่ผู้จัดการต้องทำ คือการสร้างชุดคำถามชุดเดียวกัน ให้กับผู้สมัครทุกคนเพื่อให้แต่ละคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการตอบเพื่อความยุติธรรมของการให้คะแนน
7.การจดบันทึกคำตอบของพวกเขา
การจัดทำเอกสารข้อมูลในระหว่างการสัมภาษณ์งาน ถือเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจจ้างงานโดยมีข้อมูลครบถ้วน เพราะในการสัมภาษณ์งานบางครั้งผู้จัดการจำเป็นต้องสัมภาษณ์งานผู้สมัครเป็นจำนวนมาก ทำให้สับสนในข้อมูลที่ได้รับ การจดบันทึกเพื่อช่วยจำจะเป็นประโยชน์มากในการสัมภาษณ์งาน ทำให้ง่ายต่อการจดจำผู้สมัครแต่ละคน ทั้งการตั้งข้อสังเกตในคำถามและคำตอบในแต่ละข้อ และสามารถกลับมาทบทวนดูอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป การจดบันทึกที่ดี ผู้จัดการสามารถทำสัญญลักษณ์ หมายเหตุ ขอสังเกต ที่มีต่อผู้สมัครแต่ละคน
ในการสัมภาษณ์งานจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมเทมเพลตการสัมภาษณ์งานที่ได้มาตรฐาน ซึ่งมีประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ เช่น ชื่อผู้สมัคร วันที่สัมภาษณ์ ตำแหน่งที่สมัคร และชื่อผู้สัมภาษณ์ รายการคำถามที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของงานและวัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์
ในการจดบันทึกให้ใช้คำหลักเพื่อจดจำประเด็นสำคัญของการสัมภาษณ์ เช่น หากผู้สมัครระบุรายละเอียดงานในแต่ละวันที่เคยทำมา ผู้จัดการก็สามารถเขียนหนึ่งหรือสองคำ เพื่อสื่อความหมายของหน้าที่งานเหล่านั้น หรือสามารถใช้การเน้นหรือวงกลมบางส่วนของเรซูเม่และจดบันทึกที่ระยะขอบกระดาษได้ การจดบันทึกยังเป็นเครื่องมือแสดงว่าคุณกำลังสนใจในสิ่งที่ผู้สมัครกำลังอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับเขาให้ฟัง ทำให้เกิดมิตรภาพที่ดีในการสัมภาษณ์งาน
8.ระยะเวลาในการตอบคำถามของผู้สมัคร
ระยะเวลาในการสัมภาษณ์งานเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการสัมภาษณ์งานที่เร่งรีบไปจะทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบ แต่ถ้าสัมภาษณ์งานที่นานไป ก็จะทำให้สมองเหนื่อยล้า ทั้งคนสัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ ทำให้ไม่อยากคุยต่อ ความเหมาะสมในการสัมภาษณ์งานในแต่ละตำแหน่งจึงมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการมีความละเอียดของข้อมูลที่ต้องการว่ามีมากน้อยขนาดไหน
จากงานวิจัยพบว่า ช่วงเวลาการสัมภาษณ์ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 30 ถึง 45 นาที สำหรับตำแหน่งงานทั่วๆ ไป ซึ่งเพียงพอที่จะประเมินความเหมาะสมของผู้สมัครทำให้เห็นถึง ทักษะพื้นฐาน และเข้าใจแรงจูงใจของผู้สมัครงาน แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการข้อมูลที่มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น ก็จำเป็นต้องมีการสัมภาษณ์ที่ยาวขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้สัมภาษณ์ต้องหลีกเลี่ยงคำถามที่เวิ่นเว้อ หลีกเลี่ยงการหน่วงของเวลาโดยไม่จำเป็น ทำให้รู้สึกเบื่อและผู้สัมภาษณ์จำเป็นต้องเคารพในเวลาของผู้สมัครที่มาสัมภาษณ์
ระยะเวลาการสัมภาษณ์ยังขึ้นอยู่กับความสบายใจของผู้สมัคร เพราะการสัมภาษณ์เป็นเวลานานอาจทำให้เหนื่อยล้า วิธีการแก้ไขก็ควรให้มีการพักช่วงสั้น ๆ ในการสัมภาษณ์ทุก ๆ 1 ชั่วโมง
ในทุกครั้งของการสัมภาษณ์งานควรมีช่วงเวลาท้ายของการสัมภาษณ์ ซึ่งควรตั้งเป้าประมาณ 10 นาที เพื่อให้ผู้สมัครมีเวลาในการถามคำถาม ผู้สมัครบางคนได้ศึกษาเกี่ยวกับบริษัทมาก่อน ก็จะเตรียมคำถามมาถามทั้งหน้าที่ความรับผิดชอบและเรื่องราวของบริษัท เป็นการแสดงออกซึ่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมของผู้สมัคร เช่น
ผู้สมัคร: เหตุใด จึงเปิดรับพนักงานตำแหน่งนี้และต้องการรับกี่คน?
+ ผู้สมัคร: ในแผนกนี้ มีจำนวนคนทำงานมากน้อยอย่างไร?
+ ผู้สมัคร: ในทุก ๆ วันต้องทำงานอะไรบ้าง? เริ่มงานและเลิกงานเวลาอะไร?
9.การประเมินผู้สมัครอย่างเป็นกระบวนการ
มาตรฐานการประเมิน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องถูกนำมาใช้เพื่อพิจารณาการรับสมมัครพนักงานเข้ามาทำงาน นอกจากคำถามที่เหมือนกันสำหรับผู้สมัครทุกคนแล้ว ยังต้องมีการประเมินแบบเดียวกันที่เป็นมาตรฐาน เพื่อใช้ในการสัมภาษณ์งานพนักงาน กระบวนการประเมินที่เป็นมาตรฐานสามารถช่วยให้ผู้จัดการตัดสินใจจ้างงานโดยมีข้อมูลครบถ้วนและเป็นกลางมากที่สุด ผู้จัดการอาจลองสร้างเกณฑ์การให้คะแนน แล้วจำลองการให้คะแนนเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับกระบวนการประเมินที่มี
10.ให้แจ้งผลความคืบหน้าให้กับผู้สมัครแต่ละคน
เป็นเรื่องจำเป็นที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล จำเป็นต้องมีการอัปเดตผลจากการสัมภาษณ์งานของผู้สมัครแต่ละคน หลังการสัมภาษณ์ โดยต้องทำอย่างสุภาพและเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นเช่นไรก็ตาม ให้แจ้งผู้สมัครเมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์หรือในอีเมลติดตามผล เช่นเมื่อผู้จัดการได้ยืนยันการจ้างพนักงานใหม่แล้วและได้รับการตอบรับเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการสรรหา
ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องส่งข้อความปฏิเสธอย่างสุภาพไปยังผู้สมัครรายอื่น การแบ่งปันข่าวด้วยความเคารพและการขอบคุณผู้สมัครที่สละเวลา และแสดงให้เห็นว่าผู้สมัครมีความสามารถ แต่อาจไม่ใช่ในเวลานี้ที่องค์กรต้องการ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ขององค์กรกับผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และมีโอกาสที่จะเชิญผู้สมัครให้มาสมัครงานในตำแหน่งอื่นๆ อีกในอนาคต
การสรรหาบุคลากรเป็นเรื่องจำเป็นในทุกองค์กร ถึงแม้ปัจจุบันจะมี AI หรือเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ AI ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้แทนคนได้ 100 % ในปัจจุบันนี้ การสัมภาษณ์งานยังเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องถูกนำมาใช้เพื่อหาคนที่ใช่ ได้คนชอบ ตอบทุกโจทย์ในการจ้างงาน ภายใต้ข้อมูลข่าวสารที่มากมาย ขั้นตอนการสัมภาษณ์งานเป็นวิธีหนึ่งเพื่อให้ผู้จัดการมั่นใจว่าตนเองจะมีข้อมูลที่มีคุณภาพในการตัดสินใจพนักงานเข้าทำงาน เพราะคำว่า “การรับพนักงานไม่ใช่ต้องการแค่เพื่อทักษะที่มี แต่ต้องการทัศนคติที่ใช่ให้กับองค์กร ต่างหาก” การวัดทัศนคติผ่านการสัมภาษณ์งานที่จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการสรรหาบุคลากรมาให้กับองค์กร
พวกเราคือ..ผู้จัดการอัจฉริยะ The Super Manager มาร่วมกันสร้างองค์กรให้เดินไปข้างหน้าด้วยกันนะครับ สู้ครับ..
บทความน่าอ่านเพิ่มเติม
6 ข้อผิดพลาด การสืบทอด ธุรกิจครอบครัว ไปต่อไม่ได้
6 ข้อผิดพลาด การสืบทอด ธุรกิจครอบครัว ไปต่อไม่ได้เป็น การวิเคราะห์ เหตุที่ทำให้ธุรกิจครอบครัว ของหลายครอบครัว ไปต่อไม่ได้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการป้องกัน และสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวหน้าไปในระยะยาว6 ข้อผิดพลาด การสืบทอด ธุรกิจครอบครัว ไปต่อไม่ได้เขียนโดย...
4 องค์ประกอบ การสืบทอดธุรกิจครอบครัว ให้ประสบความสำเร็จ
4 องค์ประกอบ การสืบทอดธุรกิจครอบครัว ให้ประสบความสำเร็จ เป็น การวิเคราะห์ องค์ประกอบที่เป็นพื้นฐาน ของการสืบทอดธุรกิจครอบครัว เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการ พัฒนาปัจจัยในการสืบทอด ธุรกิจครอบครัว เพื่อสร้างความสำเร็จให้ครอบครัวยั่งยืน4 องค์ประกอบ การสืบทอดธุรกิจครอบครัว...
120 คำพูด ที่ต้องพูด กับ ลูกน้อง ถ้าอยากให้ ขยันเพิ่ม
120 คำพูด ที่ต้องพูดกับลูกน้อง ถ้าอยากให้ขยันเพิ่ม เป็น คำพูด ที่ผู้จัดการ จำเป็นต้องนำมาใช้ เพื่อการพูดกับลูกน้อง เพื่อกระตุ้นให้มีกำลังใจ ในการทำงาน ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการทำงานต่อไป เพื่อสร้างความสำเร็จ ให้ตนเอง และองค์กร 120 คำพูด ที่ต้องพูดกับลูกน้อง...
เทคนิค ABCDE เปลี่ยน ทัศนคติของ พนักงานขาย ให้ขายเชิงรุก
12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่เป็น วิธีการบริหาร ทีมงานแบบใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการมือใหม่ ต้องนำมาใช้ในการบริหารพนักงานในทีมให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ซึ่งจะมีวิธีการบริหาร (ใหม่ล่าสุด) เพื่อความสำเร็จของทีมงานที่ยั่งยืนเทคนิค ABCDE...
15 คำพูด ที่มีอิทธิพล ต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ
15 คำพูด ที่มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ เป็น การสื่อสารด้วยการใช้ คำพูด เพื่อโน้มน้าวใจพนักงาน ทำให้พนักงานมีความยินดีที่จะทำให้งานให้ สนับสนุน เพื่อสร้างความสำเร็จไปด้วยกัน15 คำพูด ที่มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ15 คำพูด...
140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย เพื่อได้พนักงานขายที่ดีที่สุด
140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย เพื่อได้พนักงานขายที่ดีที่สุด เป็น คำถาม ที่ใช้ในการสัมภาษณ์พนักงานขาย ด้วยการกำหนดเป้าหมาย ด้วยวิธีการตั้งคำถาม ช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายขายหาพนักงานขายอย่างที่ต้องการ ไม่ใช่การถามไปเรื่อย ๆ ไร้จุดหมาย140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย...
12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่
12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่เป็น วิธีการบริหาร ทีมงานแบบใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการมือใหม่ ต้องนำมาใช้ในการบริหารพนักงานในทีมให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ซึ่งจะมีวิธีการบริหาร (ใหม่ล่าสุด) เพื่อความสำเร็จของทีมงานที่ยั่งยืน 12 เคล็ดลับ...
5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย
5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย เป็น การพัฒนาความคิด Growth Mindset สำหรับพนักงานขาย ทำให้มีความคิดเชิงรุก ที่แตกต่างจากการขายแบบเดิม ๆ เข้าหาลูกค้า สร้างความพอใจให้ลูกค้า ทำให้เพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้เพิ่มมากขึ้น5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ...
6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย แบบ Win-Win ทุกครั้ง
6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย แบบ Win-Win เป็น แนวทาง ในการนำเทคนิคการเจรจาต่อรอง เพื่อพนักงานฝ่ายขาย สามารถนำมาใช้ เจรจาต่อรอง กับ พนักงานจัดซื้อ ที่มี เทคนิคการเจรจาต่อรองเพื่องานจัดซื้อ ทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกพึงพอใจแบบ Win-Win6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย...
21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง
21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง เป็น แนวทางการให้บริการลูกค้า ที่เหนือความคาดหวัง ตอบสนองต่อความพึงพอใจให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง และ ลดข้อขัดแย้งที่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจ21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง วิทยากร สอน...
250 คำคม คิดบวก เพื่อสร้างกำลังใจ
250 คำคม คิดบวก เพื่อสร้างกำลังใจ เป็น คำพูดง่าย ๆ เพื่อใช้ระตุ้นตนเอง หรือ คนรอบข้าง เพื่อให้มีกำลังใจ ในการสู้ชีวิต จากความคิดบวก เป็นการพัฒนาความคิดบวก เพื่อทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ที่จะทำงานต่อไป เพื่อสร้างผลงานและความสำเร็จ ให้ตนเอง หรือ คนรอบข้าง250 คำคม คิดบวก...
10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขาย
10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขาย เป็น ขั้นตอนที่ต้องใช้ในการพัฒนาทักษะ ของพนักงานขาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขาย ทำให้เพิ่มโอกาสในการขาย ด้วย ขั้นตอนการขายอย่างนักขายมืออาชีพ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความยั่งยืนให้องค์กร10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขายเขียนโดย...
เทคนิคการเขียน Job Description เพื่อ ผู้จัดการฝ่ายขาย
เทคนิคการเขียน Job Description เพื่อ ผู้จัดการฝ่ายขาย เป็น ขั้นตอนการเขียน คำบรรยายลักษณะงาน เพื่อผู้จัดการฝ่ายขาย สามารถนำไปใช้ในการสรรหา สัมภาษณ์ และสร้างความเข้าใจระหว่างผู้จัดการฝ่ายขายและผู้บริหาร ยังสามารถใช้เป็นมาตรฐานการสัมภาษณ์ผู้สมัคร ตำแหน่ง...
30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณี
30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณี เป็น การรวบรวมเทคนิคการปิดการขาย ที่หลากหลาย ซึ่งนักขายมืออาชีพ มักนำมาใช้กับลูกค้าเพื่อปิดการขาย โดยเน้นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในการซื้อ30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณีเขียนโดย วิทยากร สอนการขาย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย...
3 ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขาย
ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขาย เป็น กระบวนการในการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อพนักงานขาย ให้มีแนวทางในการขายแบบใหม่ ๆ ในการกระตุ้นยอดขาย ทำให้องค์กรเติบโตอย่างต่่อเนื่อง3 ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขายดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย ...
15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for Service) อย่างมืออาชีพ
15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for Service) อย่างมืออาชีพ เป็น แนวทางการสร้างมาตรฐานการให้บริการที่เป็นเลิศ ทำให้ขจัดความสับสนในการให้บริการลูกค้า และตอบสนองต่อความพึงพอใจให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for...
14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ
14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ เป็น วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างความพึงพอใจในการสื่อสาร ทั้งคนส่งสารและคนรับสาร ซึ่งเป็น ทักษะการสื่อสารที่ไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้ทุกคนนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ได้ทันที14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร...
5 ขั้นตอน ฝึกการคิดบวก ทำอย่างไร?
5 ขั้นตอน การฝึกคิดบวกได้ เป็น วิธีการฝึกคิดบวกให้ตนเอง ด้วยการนำเทคนิคการคิดบวก เพื่อสร้างความสำเร็จให้ตนเอง ซึ่งวิธีการฝึกการคิดบวกต่อไปนี้ ไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้ทุกคนมีกระบวนการคิดบวกที่ทุกคนทำได้ทันที 5 ขั้นตอน ฝึกการคิดบวก ทำอย่างไร? 5 Steps of ...
230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุด
230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุด คือ คำถามที่มีวัตถุประสงค์ของการถามที่ชัดเจน มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของผู้สมัครงาน ไม่ใช่การถามไปเรื่อย ๆ ไร้จุดหมาย ทำให้การสัมภาษณ์ไม่สามารถวัดผลอะไรได้230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุดวิทยากร สอนหลักสูตร...
14 ทักษะ การเป็นหัวหน้างาน ปี 2025 คือ ทักษะอะไร?
ทักษะการเป็นหัวหน้างาน คือ ทักษะความรู้ที่จำเป็นสำหรับ หัวหน้างานที่ต้องนำมาใช้ในการบริหารทีมงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ซึ่ง ทักษะต่าง ๆ จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญของ หัวหน้างาน14 ทักษะ การเป็นหัวหน้างาน ปี 2025 คือ ทักษะอะไร?ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย...
Address
1991/157 ถ.อ่อนนุช แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10250
ศึกษาเอกสารสมัครงานทั้งหมดของผู้สมัคร
ช่วยแนะนำประวัติส่วนตัวเน้นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องตำแหน่งนี้
ช่วยอธิบายว่าทำไมสนใจในตำแหน่งนี้
ช่วยอธิบายว่าคุณรู้อะไรบ้างถึงบริษัทนี้
การจดบันทึกคำตอบของผู้สมัคร
-ทำความคุ้ยเคยกับใบสมัคร รายละเอียดอย่างไร รับสมัครตำแหน่งอะไร
_ศึกษาข้อมูลผู้สมัคร
-จัดพื้นที่ห้องสัมภาษณ์ ให้สหฟาร์ม
-ถามคำถามที่เกียวข้องและตรงกับงานมากที่สุด จะเป็นคำถามชุดเดียวกัน ของทุกคนที่มาสัมภาษณ์งานในวันนั้นๆ
-จดคำตอบของแต่ละคนในใบสมัครงาน
-เวลาในการสัมภาษณ์ ไม่มากไปหรือน้อยจนเกินไป ควรอยู่ระหว่าง 30-45 นาที
-ประเมินการสัมภาษณ์ แบบมาตรฐานและเป็นกลางมากที่สุด
-แจ้งผลการสมัครงานของผู้ที่ได้งานและไม่ได้รับเข้าทำงาน โดยที่ต้องทำอย่างสุภาพและเป็นมือาชีพ
การสัมภาษณ์งานเพื่อให้ได้พนักงานที่ใช่
การตั้งคำถามต้องเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับงาน และเป็นคำถามในแบบเดียวกันทุกคน รวมถึงหัวข้อในการประเมินก็ต้องเป็นแบบเดียวกัน
บรรยากาศ สภาพแวดล้อมโดยรวม ในการสัมภาษณ์งาน
ประเมินการสัมภาษณ์ แบบมาตรฐานและเป็นกลางมากที่สุด
แจ้งผลการสมัครงานของผู้ที่ได้งานและไม่ได้รับเข้าทำงาน โดยที่ต้องทำอย่างสุภาพและเป็นมืออาชีพ
การรับสมัครพนักงานทุกวันนี้ มีเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการฝากงานให้เข้าทำงานในองค์กร ซึ่งผมเชื่อว่ามีหลายที่ก็เจอแบบนี้แต่หลังจากที่ได้อ่านบทความทำให้รู้ว่าการรับพนักงานเข้าทำงานถ้าเราเลือกที่จะเกรงใจเราจะรำบากในอนาคต(เจอคนดีก็ดีไป แต่ถ้าเจอคนไม่ดีมีปวดหัวแน่นอน)
ซึ่งบทความที่อ่านมีรายละเอียดดีมากๆและเป็นประโยชน์ในตอนสัมภาษณ์ และการประกอบกาตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับคนเข้าทำงานในแผนก
สัมภาษณ์พนักงานให้ได้พนักงานที่ใช่
– ดูคุณลักษณะที่องค์กรต้องการ
– เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ถามเราด้วย เพื่อประเมินทักษะและมุมมองของผู้ถูกสัมภาษณ์
– เจอะลึกถึงคำถาม เพื่อประเมินความรู้ ทักษะและวัตถุประสงค์ของผู้ถูกสัมภาษณ์ ว่ามีศักยภาพ ความสามารถตามที่องค์กรต้องการหรือไม่
-ทำความคุ้นเคยกับใบสมัครให้รู้ตักผู้สมัครพอสมควรเพื่อทราบถึงประวัติคร่าวๆ
-ตั้งคำถามที่เป็นประโยคปลายเปิดเพื่อให้ผู้สมัครได้มีการอธิบายและนำเสนอตัวเองว่าเหมาะสมกับงานอย่างไร
-หลีกเลี่ยงคำถามที่มีคำตอบใช่,ไม่ใช่-ได้,ไม่ได้
-ดูคุณสมบัติให้ได้ตามที่ต้องการ
-บันทึกคำถามคำตอบเพื่อใช้ในการประเมิณและเปรียบเทียบกับผู้สมัครอื่น
-เวลาในการสัมภาษณ์ ไม่มากไปหรือน้อยจนเกินไป ควรอยู่ระหว่าง 30-45 นาที
-ประเมินการสัมภาษณ์ แบบมาตรฐานและเป็นกลางมากที่สุด
จุดเริ่มต้นที่จะสกัดปัญหาต่าง ๆ ในองค์กร เริ่มต้นจากการสัมภาษณ์งานที่ดี เพราะการสัมภาษณ์งานที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญเนื่องจากช่วยให้ผู้จัดการเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงาน การสร้างบรรยากาศการสัมภาษณ์งานที่เอื้อต่อความสำเร็จในการสัมภาษณ์งาน จะช่วยให้ผู้สมัครงานรู้สึกสบายใจมากขึ้นและกล้าที่จะแสดงออกได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในระหว่างการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์งานเพื่อให้ได้พนักงานที่ใช่
การตั้งคำถามต้องเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับงาน และ
-เป็นคำถามในแบบเดียวกันทุกคน รวมถึงหัวข้อในการประเมินก็ต้องเป็นแบบเดียวกัน
-แบ่งช่วงเวลาสัมภาษ์ให้มีช่วงได้พูดคุย เพื่อศึกษาทัศนคติและลดความเครียดของผู้ถูกสัมภาษณ์
-ผู้ที่สัมภาษณ์ต้องตั้งคำถามแบบปิดอย่าตั้งคำถามแบบเปิด
-ทำความคุ้นเคยกับใบสมัครให้รู้จักผู้สมัครพอสมควรเพื่อทราบถึงประวัติคร่าวๆ
-ตั้งคำถามที่เป็นประโยคเปิดเพื่อให้ผู้สมัครได้มีการอธิบายและนำเสนอตัวเองว่าเหมาะสมกับงานยังไงบ้าง
-ในช่วงการสัมภาษณ์อาจจะมีการสนทนาเล็กน้อยเพื่อดูปฏิกิริยาของบุคคลที่มาสมัครงานและควรสัมภาษณ์แบบบเป็นกลางมากสุด
*การเตรียมคำถามเพื่อถามผู้สมัครงาน เช่น ถ้ารายละเอียดของงานเน้นทักษะการแก้ปัญหา คำถามการสมัครงานก็อาจเป็นเช่นนี้
โดยให้อธิบายถึงวิธีการรับมือกับการแก้ปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อน?
*เอกสารสมัครงาน ตามด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกยิ่งขึ้น เป็นวิธีที่จะช่วยให้สามารถประเมินความคิด ทัศนคติต่าง ๆ ที่ผู้สมัคร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง จุดอ่อน จุดแข็ง บุคลิกภาพ ความสามารถในการแก้ปัญหา ทัศนคติ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่นและความคิดสร้างสรรค์ได้ในระดับหนึ่ง
*ต้องหลีกเลี่ยงคำถามที่เวิ่นเว้อ หลีกเลี่ยงการหน่วงของเวลาโดยไม่จำเป็น ทำให้รู้สึกเบื่อและผู้สัมภาษณ์จำเป็นต้องเคารพในเวลาของผู้สมัครที่มาสัมภาษณ์
สุดท้ายท้ายสุด
ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นเช่นไรก็ตาม ให้แจ้งผู้สมัครเมื่อสิ้นสุดการสัมภาษณ์หรือในอีเมลติดตามผล เช่นเมื่อผู้จัดการได้ยืนยันการจ้างพนักงานใหม่แล้วและได้รับการตอบรับเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการสรรหา
การสัมภาษณ์งานเพื่อให้ได้พนักงานที่ใช่
การตั้งคำถามต้องเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับงาน และเป็นคำถามในแบบเดียวกันทุกคน รวมถึงหัวข้อในการประเมินก็ต้องเป็นแบบเดียวกัน
แบ่งช่วงเวลาสัมภาษ์ให้มีช่วงได้พูดคุย เพื่อศึกษาทัศนคติและลดความเครียดของผู้ถูกสัมภาษ์
ถ้ามีโอกาสได้เป็นผู้สัมภาษณ์งาน จะนำทั้ง10ขั้นตอนนี้ไปใช่แน่นอนค่ะ
สภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญในการสัมภาษณ์งาน ซึ่งสามารถแบ่งออกแยกย่อยได้อีกหลายส่วน อาทิเช่น
– การสร้างบรรยากาศภายในห้องสัมภาษณ์ให้มีความผ่อนคลาย สะอาดตา เพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้สมัคร
– ผู้ให้สัมภาษณ์เตรียมความพร้อมในการสัมภาษณ์งาน ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครงาน เอกสารของผู้สมัคร หรือคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สามารถประเมินผู้สมัครได้อย่างดี
10 ขั้นตอน การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่
– การอ่านและศึกษารายอะเอียดในประกาศรับสมัครงาน เพื่อเตรียมการตั้งคำถามให้เหมาะสม สอดคล้องกัน
– ศึกษาเอกสารรของผู้สมัคร เพื่อทำความรู้จักและจดประเด็นที่หน้าสนใจ เพื่อใช้ในการตั้งคำถาม
– การจัดเตรียมห้องและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการสัมภาษณ์
– การสร้างบรรยากาศที่ในที่ทำงานให้สวยงาม เพื่อสร้างความอบอุ่นและความน่าร่วมงาน รวมถึงการแจ้งรายละเอียดก่อนมาสัมภาษณ์ล่วงหน้า 2-3 วัน
– สำหรับการสัมภาษณ์ร่วมกันหลายคน ให้กำหนดแนวทางและบริบทของผู้สัมภาษณ์แต่ละคน
– การกำหนดวัตถุประสงค์ของงานที่ชัดเจน เพื่อให้ตั้งคำถามที่ตรงประเด็น
– การจดบันทึกหรือโน๊ตข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัครแต่ละบุคคล
– ระยะเวลาที่เหมาะสมในการสัมภาษณ์ ประมาณ 30-45 นาที
– การใช้ชุดคำถามเดียวกันสำหรับผู้สมัครทุกคน
– แจ้งผลการสัมภาษณ์อย่างมืออาชีพ
สรุป 10 ขั้นตอนการสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ปี 2025
การจ้างพนักงานที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร แต่การสัมภาษณ์ที่ไม่ดีอาจทำให้ได้คนที่ไม่เหมาะสมเข้ามาทำงาน ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ผู้จัดการควรให้ความสำคัญกับกระบวนการสัมภาษณ์ โดยมี 10 ขั้นตอนหลักที่ช่วยให้การสัมภาษณ์มีประสิทธิภาพ ดังนี้
ศึกษาประกาศรับสมัครงานให้ดี
ผู้จัดการต้องเข้าใจรายละเอียดของตำแหน่งที่เปิดรับ เพื่อเตรียมคำถามให้เหมาะสมกับทักษะและความรับผิดชอบของงาน
ศึกษาเอกสารสมัครงานของผู้สมัคร
ควรอ่านเรซูเม่ ใบสมัครเพื่อเตรียมคำถามเจาะลึกเกี่ยวกับประสบการณ์และทักษะของผู้สมัคร
เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ให้พร้อม
ควรจัดห้องสัมภาษณ์ให้เป็นระเบียบ น่าเชื่อถือ และมีอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เอกสารสมัครงาน ปากกา กระดาษจดบันทึก
สร้างบรรยากาศที่ดี
บรรยากาศในการทำงานและการสัมภาษณ์ที่เป็นมิตร ชัดเจนจะช่วยให้ผู้สมัครรู้สึกผ่อนคลายและแสดงศักยภาพที่แท้จริงออกมา
ประสานงานกับคณะกรรมการสัมภาษณ์
หากมีผู้สัมภาษณ์หลายคน ควรประชุมล่วงหน้าเพื่อกำหนดบทบาทและแนวทางการสัมภาษณ์ให้สอดคล้องกัน
ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับงาน
คำถามต้องตรงจุดและช่วยให้เข้าใจความสามารถ ทัศนคติและแนวทางการทำงานของผู้สมัครได้ชัดเจน
จดบันทึกระหว่างสัมภาษณ์
การจดบันทึกช่วยให้เปรียบเทียบผู้สมัครได้ง่ายขึ้น และป้องกันการลืมรายละเอียดที่สำคัญ
กำหนดระยะเวลาสัมภาษณ์ที่เหมาะสม
ควรใช้เวลาประมาณ 30-45 นาทีในการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอโดยไม่ยืดเยื้อเกินไป
สื่อสารกับผู้สมัครอย่างชัดเจน
แจ้งรายละเอียดงานและองค์กรให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้สมัครเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรและสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น
ประเมินผลและเลือกผู้สมัครที่เหมาะสม
เปรียบเทียบผู้สมัครตามเกณฑ์ที่กำหนด และเลือกคนที่ตรงกับความต้องการขององค์กรมากที่สุด
การสัมภาษณ์งานที่มีดี จะช่วยให้องค์กรได้พนักงานที่เหมาะสม ลดปัญหาในอนาคตและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับพนักงานใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น
ทำให้เราเตรียมควสมพร้อม มีคำถามดีๆ ไปสัมภาษณ์งาน ซึ่งการมีคำถามที่ดี จะนำมาซึ่งคำตอบที่แน่ชัด
จากที่อ่านบทความข้างต้นทรายคิดว่า การรับสมัครงานเหมือนเราไปสมัครงานที่ใหม่ครั้งแรกเขาถามแล้วว่าเราทำ ได้ไหมแบบนี้ได้ไหมคนเราอยากได้งานเราก็ต้องตอบว่าเราทำได้แล้วพอเราได้เข้าไปแล้วนั้น เราควรทำให้เต็มที่มากกว่าที่เราพูด เพื่อเพิ่มศักยภาพตัวเอง และเพิ่ม ความมั่นคงในหน้าที่การงาน เพราะฉะนั้น การที่เขาหาคนมาทำงานคือเขาจะต้องเล็งเห็นแล้วว่าคนนี้ทำได้แน่ๆ เพื่อประสบ ความสำเร็จที่ดีที่สุด
ขั้นตอน การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ใน ปี 2025 ทั้ง 10 ขั้นตอนนี้เป็นประโยชน์สำหรับคนสัมภาษณ์และผู้สมัครงานที่ถูกสัมภาษณ์ทั้งสองฝ่าย เนื่องจากการสัมภาษณ์งานเป็นด่านแรกที่สำคัญที่สุดในการคัดเลือกผู้สมัครงานเพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่เปิดรับเพื่อเพิมศักยภาพขององค์กรณ์ ดังนั้นเทคนิคที่ได้อ่านทุกขึ้นตอนจึงมีความสำคัญและน่านำไปใช้ในองค์กรณ์มากทืี่สุด รวมถึงคนสมัครงานเมื่อได้ทราบความต้องการขององค์กรณ์ก็สามารถตั้งรับกับสถาณการณ์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์งานได้อย่างทันทีและมีประสิทธิภาพ
การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่
ควรเริ่มจากมายด์เซ็ทเราก่อนคนที่สัมภาษณ์ต้องมีทัศนคติที่ดีการสร้างบรรยากาศที่ดีในห้องในการสัมภาษณ์เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่กดดันจนเกินไป
หัวข้อในการตั้งคำถามหัวข้อในการตั้งคำถามเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรตั้งคำถามให้เข้าควรตั้งคำถามให้เข้ากับงาน หาคุณสมบัติของการรับพนักงานการแก้ไขและการตัดสินใจ ควรจดบันทึกคำตอบควรจดบันทึกคำตอบของคนที่ที่มาสัมภาษณ์งาน เพื่อเป็นการทบทวนหรือเป็นการตัดสินใจในการหาพนักงาน
ได้อ่านทั้ง10 ข้อ เป็นประโยชน์มากๆค่ะ ได้นึกคิดว่าการจะสัมภาษณ์คนมาทำงาน ต้องคำนึงถึงหลายๆอย่าง และคำถามก็เป็นส่วนสำคัญในการสัมภาษณ์
ได้อ่านทั้ง10 ข้อ เป็นประโยชน์มากๆค่ะ ได้นึกคิดว่าการจะสัมภาษณ์คนมาทำงาน ต้องคำนึงถึงหลายๆอย่าง และคำถามก็เป็นส่วนสำคัญในการสัมภาษณ์
ขั้นตอนเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการสัมภาษณ์งานที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่อง การเตรียมตัวล่วงหน้า และ การประเมินอย่างเป็นกลาง ซึ่งช่วยลดอคติและทำให้การตัดสินใจมีเหตุผลมากขึ้น
หนูคิดว่า ความยืดหยุ่นสำคัญพอๆ กับกระบวนการที่เป็นระบบ บางครั้งเราอาจต้องปรับเปลี่ยนแนวทางระหว่างสัมภาษณ์ เช่น ถ้าผู้สมัครดูประหม่ามาก ควรมีวิธีช่วยให้เขาผ่อนคลาย หรือถ้าเจอคนที่ดูเหมาะสมแต่ขาดบางทักษะ เราอาจพิจารณาเรื่องการฝึกอบรมแทนการปฏิเสธไปเลย
และที่สำคัญคือ การให้ฟีดแบ็กที่สร้างสรรค์ หลายองค์กรมักมองข้ามการแจ้งผลสัมภาษณ์อย่างละเอียด ทั้งที่เป็นโอกาสดีในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้บริษัท แม้ว่าผู้สมัครจะไม่ได้งาน แต่ถ้าได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ พวกเขาอาจกลับมาสมัครใหม่หรือแนะนำคนอื่นให้บริษัทในอนาคต การสัมภาษณ์งานไม่ใช่แค่ “การเลือกคน” แต่เป็น “การค้นหาคนที่เหมาะสมกับทีม” ดังนั้น ไม่ใช่แค่ผู้สมัครต้องสร้างความประทับใจให้เรา แต่เราก็ควรทำให้พวกเขารู้สึกอยากร่วมงานกับเราด้วย
เป็นการสร้างความเข้าใจ ในการรับสมัครงานได้ดีขึ้นว่าเราต้องทำอะไรแบบไหน
-การเตรียมความพร้อมในการสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์ ต้องเข้าใจกับการรับสมัครงานในแต่ละตำแหน่ง มีความต้องการ พนักงานด้านใด ตำแหน่งอะไร -อ่านประวัติของผู้สมัครงาน ทำความเข้าใจก่อนสัมภาษณ์
-ระบุหรือตั้งคำถามโดย ลิสคำถามไว้ เพื่อให้ ตำแหน่งงานที่เราต้องการนั้น ได้ตรงแบบที่ต้องการ อย่าลืมโน๊ต คำตอบของผู้สมัครแต่ละท่าน
-บรรยากาศในการสัมภาษณ์ ให้รู้สึกสบายๆ ไม่กดดัน ระยะเวลาไม่นานเกินไปในการสัมภาษณ์ แต่ละครั้ง และต้องแจ้งผลการสัมภาษณ์ ให้ทราบ ไม่ว่าจะส่ง SMS หรือโทรแจ้งผลทางโทรศัพท์
สรุปบทความ 10 ขั้นตอน การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ใน ปี 2025
การสัมภาษณ์งานถือเป็นด่านแรกที่จะทำให้เราได้รู้จักและคัดเลือกคนที่จะได้มาร่วมงานกัน และเป็นการประเมินบุคลิกภาพ ทัศนคติเบื้องต้นเพื่อพิจารณาว่าผู้สมัครงานสามารถทำงานร่วมกับทีมงานของผู้จัดการได้ดีหรือไม่ และมีความเหมาะสมที่จะมอบหมายหน้าที่สำคัญให้กับผู้สมัครเมื่อมีโอกาสในการทำงานหรือไม่
การสัมภาษณ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถอธิบายวิธีดำเนินการสัมภาษณ์อย่างมีประสิทธิภาพใน 10 ขั้นตอนที่เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยให้ผู้จัดการใช้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ผู้สมัครดังนี้
1. ทำความคุ้นเคยกับประกาศรับสมัครงาน เพื่อที่จะได้ทราบรายละเอียดที่ลงไว้ และเตรียมคำถามที่เกี่ยวข้องได้
2. ศึกษาเอกสารการสมัครงานทั้งหมดของผู้สมัคร เพื่อเป็นการทำความรู้จักเบื้องต้น และสามารถถามเพิ่มเติมจากสิ่งที่ผู้สมัครเขียนมา
3. การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ให้มีความสะอาดเรียบร้อย พร้อมต่อการสัมภาษณ์
4. จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเข้ามาทำงาน เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้สมัครอยากมาทำงานด้วย
5. ปรับความเข้าใจกับคณะกรรมการสัมภาษณ์คนอื่นๆ กรณีมีผู้สัมภาษณ์หลายคน ควรจะมีการพูดคุย นัดแนะ เพื่อให้การสัมภาษณ์เป็นไปอย่างราบรื่น
6. การตั้งคำถามเพื่อสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้อง ต้องตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับงานที่ทำ เพื่อที่จะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าผู้สมัครจะจัดการกับงานอย่างไร
7. การจดบันทึกคำตอบของผู้สมัคร เพื่อเป็นการเตือนให้จดจำว่าผู้สมัครมีคำตอบแบบไหน ช่วยในการประเมินง่ายขึ้น
8. ระยะเวลาในการตอบคำถามของผู้สมัคร ควรมีระยะเวลาที่ไม่น้อยจนเกินไป เพราะอาจจะได้ข้อมูลไม่ครบ และไม่มากจนเกินไป จนทำให้เหนื่อยล้าหรือเบื่อ
9. การประเมินผู้สมัครอย่างเป็นกระบวนการ ควรมีมาตรฐานในการประเมินเดียวกัน คำถามเดียวกัน และเป็นกลางมากที่สุด
10. ให้แจ้งผลความคืบหน้าให้กับผู้สมัครแต่ละคน ผู้สมัครจะได้รับรู้และเตรียมตัวกรณีที่ไม่ผ่าน
สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ : สามารถนำไปปรับใช้จริงถ้าในอนาคตต้องเป็นผู้สัมภาษณ์ เพื่อที่จะได้สัมภาษณ์งานอย่างมีประสิทธิภาพ และได้พนักงานที่ดีและตรงใจ
สำหรับขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน ให้ได้พนักงานที่ใช่ อันดับแรกก็ต้องเริ่มจากทัศนคติหรือ mindset ก่อนเลย ถ้าคนที่สัมภาษณ์งานมีทัศนคติที่เชิงบวก ทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดี เพราะการที่เราจะได้สัมภาษณ์ผู้สมัครงานนั้นเรารู้ความต้องการของตัวเองอยู่แล้วว่าเราต้องการเพื่อนร่วมงานแบบไหน เขามีความคิดทัศนคติอย่างไร ถ้าเขามีทัศนคติในทางลบ มันก็จะแย่ทุกอย่าง อาจจะรับแรงกดดันในเรื่องต่างๆไม่ได้ แต่ถ้าเขามีทัศนคติในเชิงบวก ขอให้งานที่เขามาสัมภาษณ์อาจจะไม่ตรงงานหรือไม่ตรงสายหรือทำไม่ได้ แต่เชื่อว่าเขาจะเปิดรับสิ่งใหม่ๆและทำมันได้ในที่สุด ซึ่งคนที่สัมภาษณ์เราก็ต้องเตรียมบรรยากาศให้รู้สึกผ่อนคลายไม่อึดอัดแล้วไม่ให้รู้สึกกดดัน ผู้ที่มาสัมภาษณ์ด้วย ซึ่งประโยชน์ของ 10 ข้อที่กล่าวมาก็ถือว่าเป็นประโยชน์มากทำให้เราได้เตรียมตัวได้ถูก และมาปรับใช้ในการสัมภาษณ์งานแต่ละครั้งได้ สามารถได้คนที่ตรงตามที่เราต้องการร่วมงาน
10 ขั้นตอนการสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ในปี 2025
-การสัมภาษณ์งานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นโอกาสให้เราได้เลือกคนที่ใช่เข้ามาร่วมงานในบริษัทของเรา ในปี 2025 นี้ มีหลายสิ่งที่เปลี่ยนไป รวมถึงวิธีการสัมภาษณ์งานด้วย
* กำหนดคุณสมบัติที่ชัดเจน: ก่อนเริ่มสัมภาษณ์ เราต้องรู้ก่อนว่า เรากำลังมองหาพนักงานแบบไหน จะได้เลือกคำถามที่เหมาะสม
ในการสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน ผู้จัดการต้องเตรียมคำถามที่เหมาะสมเพื่อประเมินทั้งทักษะ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาของผู้สมัคร ควรเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม และบรรยากาศที่ดีของสถานที่ แจ้งรายละเอียดให้ผู้สมัครทราบก่อนเพื่อให้รู้สึกสะดวก ผ่อนคลาย ไม่อึดอัด ในทีมผู้สัมภาษณ์ต้องแบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน ใครถามส่วนไหน ต้องถามอะไรเป็นพิเศษ ตั้งคำถามที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ ใช้คำถามเหมือนกันกับผู้สมัครทุกคนเพื่อเป็นมาตรฐานและเป็นกลาง ระยะเวลาที่สัมภาษณ์ไม่ควรนานหรือส้นเกินไป และควรให้ผู้สมัครถามคำถามในตอนท้าย และควรติดต่อไปแจ้งผลการสัมภาษณ์ของแต่ละคนอย่างสุภาพด้วย
จากที่ได้อ่าน 10 ขั้นตอน การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ใน ปี 2025 การสัมภาษณ์ถือว่าเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ กับองค์กรเพราะเหมือนเป็นประตูด่านแรกๆ ที่คัดคนเข้ามาทำงานหรือร่วมงานกับเรา การวิเคราะห์คุณสมบัติต่างการพูด ทัศนคติ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้
ความสำคัญของการ สัมภาษณ์งาน
เพื่อเลือกพนักงานให้ตอบโจทย์กับงานขององค์กร
– อย่าเพิ่งเชื่อทุกอย่างที่ฟังตอนสัมภาษณ์
เรื่องสำคัญไม่ได้มีแค่การที่ผู้สมัครจะขายตัวเองเท่านั้นแต่เป็นการที่ผู้ จัดการนำเสนอองค์กรเพื่อดูปฏิกิริยาตอบกลับว่าผู้สมัคร เหมาะกับองค์กรหรือไม่
10 ขั้นตอนการสัมภาษณ์ 2025
1 ทำความ เข้าใจ กับประกาศรับสมัครงาน คุณสมบัติผู้สมัคร ตำแหน่งที่เปิดรับ เงื่อนไขอื่นๆ
2 ศึกษา ใบสมัคร และ พยายามกระตุ้นให้ผู้สมัครปฏิบัติตัวตน ให้มากที่สุด
3 จัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่
4 จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเข้ามาทำงาน เพื่อไม่ให้ผู้สมัคร รู้สึกวิตกกังวล
5 ทำเพื่อปรับความเข้าใจกับกรรมการสัมภาษณ์คนอื่น
6 ตั้งคำถามสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน
7 จดบันทึกคำตอบผู้สมัคร
8 ระยะเวลาในการตอบคำถาม
– เร่งเกินไป ข้อมูลไม่ครบ
– นานเกินไปทำให้เครียดเหรอ
9 การประเมินอย่างเป็นมาตรฐาน เตรียมคำถามมาก่อนเพื่อเป็นมาตรฐานในการตัดสินใจ หรือคัดเลือก
10 แจ้งผลความคืบหน้า
การสัมภาษณ์งาน ให้ได้พนักงานที่ใช่
มีขั้นตอนที่หลากหลาย ผู้สัมภาษณ์ควรทำความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับตำแหน่งและรายละเอียดที่ประกาศสมัครงาน
ศึกษาเอกสารการสมัครงานทั้งหมดของผู้สมัครเพื่อให้ทราบข้อมูลของผู้สมัครให้ได้มากที่สุด
จัดบรรยากาศในการสัมภาษณ์ให้ดูไม่อึดอัด เป็นระเบียบเรียบร้อย และเหมาะสมในการสัมภาษณ์งาน
1.ทำความคุ้นเคยกับประกาศ
2.ศึกษาเอกสารการสมัครงาน
3.การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์
4.จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
5.ปรับความเข้าใจกับคณะกรรมการสัมภาษณ์คนอื่นๆ
6.ถามตั้งคำถามเพื่อสัมภาษณ์
7.การจดบันทึกคำตอบ
8.ระยะเวลาในการตอบคำถาม
9.การประเมินผู้สมัครอย่างเป็นกระบวนการ
10.ให้แจ้งผลความคืบหน้า
มั่นใจว่าทำมาตลอดทั้ง 10 ข้อ และจะเน้นในข้อ 6, 8, 9 สิ่งที่ถามเสมอคือ ทดสอบไอคิว สอบถามการทำงานจริงตามที่เขียนใน resume ทดสอบการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
เริ่มด้วยบรรยากาศสบาย ๆ
เปิดบทสนทนาด้วยเรื่องเบา ๆ เช่น งานอดิเรก หรือข่าวสารทั่วไป เพื่อให้ผู้สมัครคลายกังวล แล้วเราจะเห็นตัวตนจริง ๆ ของเขา
ตั้งคำถามเชิงสถานการณ์จริง
อย่าถามแค่ทฤษฎี แต่ให้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผ่านมา เช่น
“ครั้งล่าสุดที่คุณเจอปัญหาในโปรเจกต์ ท้าทายที่สุดคืออะไร และคุณรับมือยังไง?”
“เคยล้มเหลวอะไรมา แล้วคุณเรียนรู้อะไรจากมัน?”
ถามเรื่องการทำงานร่วมกัน
คัดคนที่เข้ากับทีมได้ดี สำคัญไม่แพ้ความสามารถส่วนตัว
“เคยมีความขัดแย้งในทีมไหม แล้วคุณช่วยแก้ไขสถานการณ์อย่างไร?”
“คุณชอบทำงานแบบไหน: คนเดียวหรือเป็นกลุ่ม?”
เปิดโอกาสให้ถามกลับ
ให้ผู้สมัครถามเรา เพราะคำถามของเขาสะท้อนถึงความคิด ความสนใจ และความเข้าใจในตำแหน่งงาน
ใช้การประเมินจากหลายมุมมอง
ให้เพื่อนร่วมทีมหรือหัวหน้าส่วนงานร่วมสัมภาษณ์ เพื่อเก็บหลากหลายมุมมอง แล้วมาร่วมกันสรุปภาพรวม
สรุป–เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้
หลังสัมภาษณ์ จดจุดเด่น–จุดที่ต้องพัฒนา เปรียบเทียบกับคุณสมบัติสำคัญที่องค์กรต้องการ แล้วเลือกคนที่ “ตรงใจ” มากที่สุด
สรุปความเข้าใจหลังจากอ่านบทความขั้นตอนการสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ปี 2025
-ทำความเข้าใจตำแหน่งงานที่เปิดรับและพิจารณาคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ
-ปรับคำถามให้สอดคล้องกับผู้สัมภาษณ์ร่วม ไม่ถามคำถามซ้ำ สร้างบรรยากาศไม่ให้ตึงเครียดจนเกินไป
-การสัมภาษณ์งานเป็นการคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เปิดรับ อาจจะไม่ได้มีทักษะครบตามที่หัวหน้างานต้องการแต่สามารถพัฒนาศักยภาพขึ้นมาได้
-คำถามทีใช้ถามผู้สมัครจะต้องประเมินทักษะ ทัศนคติ และสไตล์การทำงาน เพื่อนำมาประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เปิดรับ
-ระยะเวลาในการตอบคำถาม เพื่อชี้วัดทักษะหรือความสามารถของผู้ถูกสัมภาษณ์
-การประเมินศักยภาพของผู้สมัครว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งงาน
-หลังสัมภาษณ์จะต้องมีการสรุปและประเมินว่าผู้สมัครอยู่ในเกณฑ์ใด เหมาะสมกับตำแหน่งที่เปิดรับหรือไม่
การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่จากกระบวนการทั้ง 10 ขั้นตอนจะช่วยให้เราสามารถคัดกรองและสามารถเลือกคนที่ตรงความตรงการตามตำแหน่งงาน และได้คนที่เราต้องการหรือตรงใจมากที่สุด
สรุป 10 ขั้นตอน การสัมภาษณ์งาน
1.อ่านรายอะเอียดในประกาศรับสมัครงาน เพื่อเตรียมตั้งคำถามให้เหมาะสม
2.ศึกษาเอกสารรของผู้สมัคร ทำความรู้จักหาประเด็นที่หน้าสนใจ เพื่อใช้ตั้งคำถาม
3.จัดเตรียมห้องและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการสัมภาษณ์
4.สร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้สวยงาม ให้เกิดความอบอุ่น น่าร่วมงาน พร้อมแจ้งรายละเอียดก่อนมาสัมภาษณ์ล่วงหน้า 2-3 วัน
5.หากสัมภาษณ์ร่วมกันหลายคน ให้กำหนดแนวทางและบริบทของผู้สัมภาษณ์แต่ละคน
6.ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจน ตั้งคำถามที่ตรงประเด็น
7.จดบันทึกหรือโน๊ตข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร
8 ระยะเวลาการสัมภาษณ์ที่เหมาะสม อยู่ใช้เวลา 30-45 นาที
9.การตั้งคำถามควรใช้ชุดคำถามเดียวกันกับผู้สมัครทุกคน
10.แจ้งผลหลังการสัมภาษณ์ โดยต้องทำอย่างสุภาพและเป็นมืออาชีพ
การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่มีคุณภาพ ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีความเข้าใจในเนื้องานของตำแหน่งนั้นๆ เป็นอย่างดี จึงจะสามารถกรั่นกรองมาเป็นคำถามที่สามารถจำแนกบุคคลที่ถูกสัมภาษณ์ได้
10 ขั้นตอนการสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่
1. ศึกษาประกาศรับสมัครงาน เพื่อเข้าใจคุณสมบัติที่ต้องการและเตรียมคำถามให้ตรงประเด็น
2. อ่านเอกสารผู้สมัครให้ครบถ้วน เพื่อประเมินเบื้องต้นและตั้งคำถามเจาะลึก
3. เตรียมสถานที่และอุปกรณ์สัมภาษณ์ ให้พร้อม สะอาด เป็นระเบียบและน่าเชื่อถือ
4. จัดสภาพแวดล้อมให้ดี เพื่อสร้างความประทับใจและลดความเครียดของผู้สมัคร
5. ประชุมร่วมกับคณะกรรมการสัมภาษณ์ เพื่อแบ่งบทบาทและเตรียมคำถามอย่างเป็นระบบ
6. ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อวัดทักษะและทัศนคติที่ต้องการ
7. จดบันทึกคำตอบอย่างมีระบบ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบและตัดสินใจ
8. บริหารเวลาให้เหมาะสม ไม่เร่งหรือยืดเยื้อเกินไป ควรมีช่วงให้ผู้สมัครถามกลับ
9. ประเมินอย่างมีมาตรฐาน ใช้เกณฑ์เดียวกันกับผู้สมัครทุกคน
10. แจ้งผลสัมภาษณ์อย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะรับหรือไม่รับ ควรให้ข้อมูลที่สุภาพและชัดเจน
การสัมภาษณ์ มีสำคัญมากเพราะเป็นด่านแรกในการคัดกรองคนเข้ามาทำงานด้วย ดังนั้นมีความจำเป็นต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้องเราจะสามารถได้พนักงานที่คุณสมบัติตรงกับที่เราตามหาและมีคุณภาพ
การวางกระบวนการสัมภาษณ์ที่ดี จะทำให้ได้ผู้สมัครที่มีความสามารถเหมาะสม และมีทัศนคติเข้ากับทีมมากที่สุด ไม่ใช่แค่คนที่ “เก่ง” แต่คือคนที่ “ใช่”
การคัดสรรบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามา สิ่งที่สำคัญคือการสัมภาษณ์งาน จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อนจะเริ่มสัมภาษณ์งาน
ในรายละเอียดและข้อมูล ทีม รวมถึงวัสดุและอุปกรณ์และบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมในการสัมภาษณ์งาน เพื่อให้ถามและนำไปสู้การประเมินถึงความสามารถเชิงลึกได้ และทำการบันทึกการสัมภาษณ์ โดยจนประเด็นที่สำคัญ อย่างไรก็ตามระยะเวลาสัมภาษณ์ก็มีความสำคัญ หากระยะเวลาน้อยเกินไป ก็อาจจะได้ข้อมูลไม่เพียงพอ นอกจากนี้การประเมินผู้สมัครควรประเมินอย่างเป็นกระบวนการ และมีการแจ้งความคืบหน้าให้ผู้สมัครทราบ
การสัมภาษณ์งาน ไม่ใช่แค่บริษัทเลือกพนักงาน แต่พนักงานก็กำลังประเมินบริษัทด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากบริษัทอยากได้พนักงานที่ตรงตาม qualification คณะผู้สัมภาษณ์ก็ต้องเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะการศึกษาประวัติของผู้สมัครมาก่อน รวมถึงการเตรียมตัวในเนื้อหาของงาน เพื่อที่ว่า หากเจอพนักงานที่ใช่เมื่อไร ทางบริษัทจะได้เป็นช้อยส์แรกของผู้สมัครงาน