12 เทคนิค บริหารทีมให้ทำงานถึงเป้าหมายด้วยกัน เป็น การสร้างแรงกระตุ้น ให้พนักงานอยากทำงานให้บรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน ทำให้มีความคิดในการทำงานเชิงรุก สร้างความแตกต่างที่โดดเด่นไปจากเดิม

12 เทคนิค บริหารทีมให้ทำงานถึงเป้าหมายด้วยกัน

หลักสูตร ผู้จัดการอัจฉริยะ
หลักสูตร ฝึกอบรม ผู้จัดการ
หลักสูตร ผู้จัดการอัจฉริยะ

12 เทคนิค บริหารทีมให้ทำงานถึงเป้าหมายด้วยกัน

เขียนโดย วิทยากรสอนผู้จัดการ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

หัวใจการบริหารงานของผู้จัดการคือทำอย่างไรที่จะให้ทีมงานมีความคิดไปในทิศทางเดียวกัน ช่วยเหลือกันและ พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อประสบความสำเร็จไปด้วยกัน

ในตำแหน่งของผู้จัดการจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะผู้จัดการต้องมีความรู้ ความสามารถเพียงพอในการบริหารทีมงานให้ได้ดั่งใจ ได้ทั้งงานและได้ทั้งคน

ผู้จัดการจึงจำเป็นต้องอัพเกรดทักษะการบริหารงานของตนเองให้เป็นผู้จัดการอัจฉริยะ เพราะผู้จัดการอัจฉริยะจะมีแนวทาง ในการบริหารงานที่ลึกซึ้งและเก็บรายละเอียดของงานได้ดีกว่า

ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบการบริหารงานของ แต่ละองค์กรออกมาในหลายรูปแบบ เช่นบางคนอาจเปรียบการบริหารองค์กรเป็นสนามกีฬามีคนเล่นมากมาย หรือเป็นการทำงานของเครื่องจักรบ้าง ที่ต้องมีฟันเฟืองต่าง ๆ ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี

แต่การเปรียบเทียบที่ทำให้เห็นภาพมากที่สุด คือการเปรียบเทียบองค์กรเปรียบเสมือนร่างกายของคนเรา เพราะร่างกายจะมีองค์ประกอบที่เป็นอวัยวะหลายส่วนทำงานร่วมกัน เช่น กล้ามเนื้อ หัวใจ เส้นประสาท เส้นเลือดและอื่น ๆ

ซึ่งถ้าร่างกายสมบูรณ์ก็จะทำงานทุกอวัยวะสอดคล้องกัน ดังนั้นทุกอวัยวะของร่างกายจึงมีความสำคัญ ซึ่งในการบริหารจัดการก็จะมีหลายแผนก หลายตำ แหน่ง หลายหน้าที่เช่นกัน คนที่ทำหน้าที่ผู้จัดการเปรียบได้กับกระดูกสันหลังของร่างกาย เป็นส่วนสำคัญมาก เพราะกระดูดสันหลังอยู่ช่วงกลางของร่างกาย ที่จะรับส่งข้อมูลต่าง ๆ จากสมองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและรับข้อมูลจากร่างกายกลับไปยังสมองเช่นกัน

ซึ่งถ้าร่างกายขาดกระดูกสันหลังเท่ากับคน ๆ  นั้นพิ การ เดินไม่ได้เป็นอัมพาต ในองค์กรก็เช่นกันผู้จัดการมีความสำคัญมาก และถ้าขาดผู้จัดการไป

องค์กรก็ไม่สามารถทำธุรกิจต่อไปได้ ผู้จัดการจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร แต่สภาพการแข่งขันทางธุรกิจเปลี่ยนไป ทำให้แรงกดดันต่าง ๆ เข้ามา ผู้จัดการจำเป็นต้องอัพเกรดตนเอง อัพเกรดความคิดให้เป็น “ผู้จัดการอัจริยะ” เพื่อให้ทำงานเชิงรุก ทำให้ทีมงานมีแรงจูงใจในการร่วมแรงร่วมใจที่จะประสบความสำเร็จไปด้วยกัน

ผู้จัดการอัจฉริยะจะมีหน้าที่ที่สำคัญต่อองค์กร เพราะจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติ งานเพื่อให้พนักงานทุกคนทำงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลงานกันทุกคน ส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่คาดหวังไว้

หากไม่มีตำแหน่งผู้จัดการอัจฉริยะ จะเกิดอะไรขึ้นกับองค์กรนั้น  ตอบได้โดยไม่ต้องคิดว่า งานหรือความรับผิดชอบที่ผู้จัดการอัจฉริยะทำก็ต้องตกไปยังกรรมการบริหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรรมการผูจัดการ ซีอีโอ เป็นต้น

ซึ่งค่าเฉลี่ยของผู้บริหารระดับสูงหรือ ซีอีโอ ทำงานคือจะทุ่มเททำงานเป็นอย่างหนัก มีทั้งงานตัดสินใจ งานสนับสนุน งานที่จะต้องคิดโครงการใหม่ ๆ ทำให้ไม่มีเวลาในการบริหารงาน

ลงทะเบียนอบรม StepPlus Training
ช่องการการติดต่อ-StepPlus Training

ความสำคัญของคนที่เป็นผู้จัดการคือ ผู้จัดการเป็นศูนย์กลางของพนักงานและผู้บริหารระดับสูง จึงมีความสำคัญต่อองค์กรมาก เพราะมีหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจกัน ร่วมแรงร่วมใจในการทำงานให้ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่คาดหวังไว้

ผู้จัดการ คือผู้ที่รับผิดชอบต่อแนวทางการบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่ผู้บริหารระดับสูงหรือผู้ถือหุ้นคาดหวังในการลงทุนทำธุรกิจ แต่ผู้จัดการอัจฉริยะจะมีแนวทางในการบริหารงานที่เป็นการทำงานเชิงรุกมากการทำงานแบบตั้งรับเหมือนผู้จัดการปกติทำให้มีโอกาสในความสำเร็จได้ไม่ยากนัก

ใครก็ตามที่เคยเป็นผู้จัดการมาก่อน หรือเป็นผู้จัดการในตอนนี้จะเข้าใจได้เลยว่า  ในทางปฏิบัติจะมีแนว ทางในการบริหารงานที่กว้างมาก

จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้จัดการทุกคนต้องการยกระดับความสามาถของตนเองให้เป็นผู้จัดการอัจฉริยะ โดยอย่างแรกที่ต้องทำคือทำความเข้าใจถึงเทคนิคที่ผู้จัดการอัจฉริยะมักนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานของตนเอง

ซึ่งถ้าผู้จัดการเข้าใจ ก็จะไม่ใช่เรื่องยากที่จะอัพเกดตนเองให้เป็นผู้จัดการอัจฉริยะได้ไม่ยากเย็น 12 เทคนิคในการบริหารทีมงานให้ถึงเป้า หมายไปด้วยกัน เป็นแนวทางที่ผู้จัดการอัจฉริยะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความสำเร็จให้กับตนเองและองค์กร ดังนี้

1.วางแผนงานจากเป้าหมายที่ตั้งไว้

แผนงานมีประโยชน์ที่ทำให้ผู้บริหาร ผู้จัดการ รวมถึงพนักงาน มีทิศทางในการทำงานที่ชัด เจนมากขึ้น ซึ่งหน้าที่ในการวางแผนงานนี้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการอัจฉริยะที่จะต้องร่วมกับพนักงานจัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลให้กับผู้บริหารระดับสูงได้ทราบถึงแนวทางในการทำงาน

ขั้นตอนในการทำงานและโอกาสของความสำเร็จในการทำงาน ในหลายองค์กรที่ไม่สามารถสร้างผลงานได้เพราะพนักงานส่วนใหญ่ทำงานไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ทำงานกันคนละทิศละทาง ไม่มีการสื่อสารที่ชัดเจนถึงแนวทางที่ต้องทำ

ดังนั้นคนที่เป็นผู้จัดการอัจฉริยะจึงมีหน้าที่สำคัญคือการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผน รวมถึงการกำหนดพันธกิจหลักในการทำงานของทีมงาน ซึ่งการวางแผนต้องทำอย่างต่อเนื่องทุก 6 เดือนหรืออย่างน้อยคือทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางในการทำงานไม่ผิดพลาด และเป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้บริหารต้องการ

2.สรรหาบุคลากรและพัฒนาทักษะความรู้พนักงาน

การหาพนักงานให้เหมาะสมกับงานเป็นความสำคัญในการพัฒนาความสำเร็จในการทำงานให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ กระบวนการสรรหาจึงเป็นความจำเป็นที่ต้องให้ผู้จัดการมีขั้นตอนในการสรรหาที่ถูกต้อง

ตั้งแต่การค้นหาช่องทางในการสรรหา การสัมภาษณ์ การประเมินและตัดสินใจคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงาน แต่อย่างไรก็ตามงานของผู้จัดการยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะผู้จัดการต้องทำให้พนักงานคนนั้นทำงานให้ตามที่คาดหวังไว้ เพราะการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิผลเป็นผลจากความสามารถของพนักงานทั้งสิ้น

องค์กรใดก็ตามที่มีพนักงานมีความสามารถก็จะสามารถทำให้ได้ผลผลิตที่ดีออกมา การที่พนักงานจะมีความสามารถนั้น ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องให้เวลากับการฝึกสอนเพื่อพัฒนาทักษะของพนักงานฝึกอบรมพนักงานด้วย เพราะเมื่อพนักงานไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้อง

มีโอกาสผิดพลาด งานที่ไม่ก่อผล และความล้มเหลวโดยรวมในการบรรลุเป้าหมายที่สูงขึ้น ความรู้ที่พนักงานเรียนมาจากมหาวิทยาลัย ส่วนมากไม่ตรงกับทักษะความรู้ที่องค์กรต้องการเพื่อนำมาใช้ในการทำงาน ดังนั้นคนที่เป็นผู้จัดการอัจฉริยะจึงมีความสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจว่าพนักงานต้องมีความรู้ด้านใดบ้างเพื่อที่จะนำทักษะความรู้นั้นมาใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิผลออกมาตามที่ผู้จัดการอัจฉริยะคาดหวัง แล้วเริ่มสอนงานพนักงานให้ทำงานได้ตามที่ควรจะเป็น

3.มีส่วนร่วมในการตัดสินใจกับผู้บริหารและพนักงาน

ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนงาน การแก้ปัญหารายวัน หรือแม้แต่การกำหนดนโยบาย ล้วนต้องการการตัดสินใจทั้งนั้น แต่ในสภาพของความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกฝึกหัดให้ตัดสินใจ ทำให้หลายคนกลัวการตัดสินใจ ตัดสินใจไม่เป็น จึงโยนให้เพื่อนในการตัดสินใจ

ซึ่งดูได้จาก ห้องอบรมสัมมนา ในหลักสูตรอบรมผู้จัดการ จะเห็นได้ว่า เมื่อมีการทำงานกลุ่มและต้องนำเสนอ คนส่วนใหญ่จะผลัดดันให้เพื่อนร่วมกลุ่มตัดสินใจและนำเสนอ แสดงว่าคนส่วนใหญ่ไม่ชอบการตัดสินใจ ไม่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเหตุการต่าง ๆ

ผู้จัดการอัจฉริยะจึงถูกคาดหวังที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทั้งกับผู้บริหารและทีมงาน เพื่อค้นหาทางออกของปัญหา หรือ การค้นหาแนวทางโอกาสใหม่ในการทำธุรกิจก็ตาม หรือแม้ในบางครั้งมีการสื่อสารจากผู้บริหารเพื่อบอกแนวทางในการทำงาน

ซึ่งบ่อยครั้งอาจจะไม่มีความชัดเจน ผู้จัดการอัจฉริยะมีบทบาทสำคัญในการแปลวัตถุประสงค์ของผู้บริหารระดับสูงให้กับพนักงานของเขา ความสำคัญของผู้จัดการคือต้องมีมุมมองของการตัดสิน ใจที่ต้องพิจารณาทั้งมุมมองของพนักงานและผู้บริหารระดับสูง และประเมินกับข้อมูลที่มีนำมาเชื่อม โยงเพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจที่ดีที่สุดในทุกเรื่อง

4.อำนวยความสะดวกในการทำงาน

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คือภาระกิจหลักของคนที่เป็นผู้จัดการอัจฉริยะต้องทำ แต่ในทางปฏิบัตินั้นงานบางงานไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้

เพราะพนกงานมีปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่มาก เช่น แสงสว่างในสำนักงานไม่พอ เสียงในห้องทำงานดังเกินไป หน้าที่สำคัญของผู้จัดการคือการค้นหาว่าอะไรคืออุปสรรคทำให้งานไม่ก้าวหน้าและหาวิธีการที่จะลดปัญหาอุปสรรคนั้นลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือ ไม่มีเลย

เพื่อให้พนักงานมีความพร้อมในการทำงานมากที่สุด ในหลายองค์กรจะจัดตั้งทีมงานเพื่อให้ร่วมกันค้นหาสิ่งที่นำมาช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้พนักงานในการทำงาน หรือ ในองค์กรญี่ปุ่นจะมีระบบที่เรียกว่า ไคเซ็น ซึ่งมีความหมายว่าการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เพราะงานบางงาน อาจจะรื่นไหลไร้อุปสรรคในตอนต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้จัดการต้องการที่จะเพิ่มผลผลิตแต่ทำไม่ได้ เพราะติดเงื่อนไขหรือปัญหา

จึงต้องทำการพัฒนาตามแนวทางของ ไคเซ็น เป็นต้น ในหลักสูตรอบรมผู้จัดการซึ่งมีการนำเสนอถึงบริษัทแห่งหนึ่ง พนักงานทำงานไม่ได้ผลงานที่ดีพอ

ผู้จัดการจึงทำการสำรวจพบว่ามีแสงแดดสะท้อนเข้าตาพนักงานตลอดเวลา ทำให้ทำงานไม่ได้ผู้จัด การ จึงตัดสินใจสั่งทำผ้าม่านมาติด ผลปรากฏว่า

ผลงานของพนักงานดีขึ้นทันที ผู้จัดการอัจฉริยะจึงต้องมีความรู้ เข้าใจในเนื้องานที่ดีพอ และเมื่อต้องมอบหมายงานให้พนักงานทำ จะได้เข้าใจว่าพวกพนักงานต้องการอะไรเพื่อที่จะลดปัญหาอุปสรรคในการทำงานทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง

5.รับผิดชอบต่อความสำเร็จในการทำงานของทีมงาน

ผู้จัดการอัจฉริยะมีความสำคัญที่จะผลักดันคนให้เหมาะกับงาน เพื่อให้คนสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ เพราะเมื่อผู้จัดการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพสูง มีความสามารถที่ดีพอ ก็จะทำให้การทำงานมีผลลัพธ์ที่น่าพอใจ

และเมื่อไรก็ตามที่งานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องค้นหาถึงแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง แก้ไขให้งานเดินหน้าตามแผนงานที่วางไว้ ผู้จัดการอัจฉริยะจึงมีความสำคัญในฐานะที่จะต้องเป็นผู้ที่คอยติดตาม ควบคุม ให้งานเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ผู้จัดการจึงจำเป็นต้องเข้าใจตั้งแต่การวางแผนงาน การกำหนดแนวทางในการทำงาน การออกแบบวิธีการทำงาน การประสานงาน การควบคุม

เพื่อให้มั่นใจว่างานจะได้ตามแผนงานที่ต้องการ ผู้จัดการอัจฉริยะจึงจำเป็นต้องลงไปดูในเนื้องาน ทำให้เข้าใจถึงปัญหา และสามารถที่จะแก้ไขได้ในทันที เพราะการรอให้ทีมงานมารายผลอาจจะช้าไปในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างาน จะส่งผลเสียที่มากขึ้น

หนังสือแนะนำ

หนังสือ คิดบวก ทำอะไรก็สำเร็จ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรัย
หนังสือ เล่าเรื่องให้ปัง ดังทุกครั้งที่เล่า โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

6.เป็นที่ปรึกษา เป็นโค้ช เพื่อพัฒนาทีมงาน

ในทฤษฎีการเรียนรู้ของคน จะเข้าใจตรงกันว่า ความรู้ของพนักงานจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ลองจินตนาการว่าทีมงานอบรมสัมมนาครั้งล่าสุดนานเท่าไหร่แล้ว

เท่ากับความรู้ของพนักงานก็จะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป จนหลายคนจำไม่ได้ว่าเรียนอะไรไปบ้าง การทำให้พนักงานเรียนรู้จึงจำเป็นในการพัฒนาความสำเร็จขององค์กร

ผู้จัดการหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าหน้าที่ในการพัฒนาทักษะความรู้เป็นเรื่องของพนักงานเอง ซึ่งผลที่ออกมา คือพนักงานจะไม่พัฒนาตนเองเพราะคิดว่าตนเองก็สามารถทำงานได้ทุกวัน ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่ม

แต่ในความเป็นจริงนั้นเป้าหมายของผู้บริหาร คือการที่ทำให้พนักงานมีความสามารถเพิ่มขึ้น เพื่อนำความรู้มาพัฒนาความสำเร็จให้เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

ผู้จัดการอัจฉริยะจึงมีความสำคัญในการพัฒนาฝึกหัดพนักงาน แต่ห้องอบรมสัมมนาหลักสูตรอบรมผู้จัดการ ได้มีการทดสอบทักษะในการสอนงานของผู้จัดการพบว่าผู้จัดการส่วนใหญ่สอนงานไม่ดีพอ หรือบางคนไม่สอนงานเลยโดยเลือกการสั่งงานมากกว่าการสอนงาน คือสั่งให้พนักงานทำงานที่ตนเองมอบหมายโดยการไม่อธิบายหรือสอนงานเพิ่มเติม

ผลลัพธ์คืองานไม่บรรลุเป้าหมาย ผู้จัดการอัจฉริยะจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันเพื่อสอนงานทีมงาน ให้มีทักษะความรู้ที่ดีพอในการนำไปพัฒนางานของตนเองให้บรรลุเป้าหมาย

7. การบริหารงานด้วยการให้ความสำคัญกับลำดับงาน

ในแต่ละวันพนักงานทุกคนจะรู้สึกว่างานของตนเองมาก ยุ่งเหยิง บางคนแทบไม่ได้รับประทานอาหารกลางวัน แต่ลองพิจารณาดูว่าทำไมงานถึงไม่มีผลลัพธ์ออกมาเท่าที่ควร ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในการทำงานคือ

งานที่สำคัญไม่ได้ถูกทำ งานที่ไม่สำคัญกับถูกเร่งทำทุกวัน ปัญหาเช่นนี้มีแทบทุกองค์กร ทุกระดับหรือแม้แต่ตัวผู้จัดการบางคนก็เป็นเช่นนี้ และนี่ก็คือเหตุผลหลักที่ทำให้งานไม่เดินหน้าตามแผน งานที่คาดหวัง

ผู้จัดการอัจฉริยะจะมองเห็นปัญหาเหล่านี้ และให้ความสำคัญกับการจัดลำดับความ สำคัญของงานให้ตนเอง และ ให้ทีมงาน  เพราะหากไม่มีการจัดลำดับความสำคัญในการทำงานที่ดีพอ พนักงานจะไม่มีระเบียบวินัยในการทำงาน ทำให้การทำงานไม่มีทิศทางที่ชัดเจน โดยให้เวลากับงานที่มีความสำคัญน้อยกว่าก่อน ทำให้ไม่มีผลลัพธ์ที่ออกตามมานั่นเอง

หลักสูตร-การคิดเชิงบวก โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หลักสูตร ฝึกอบรม Positive-Thinking โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หลักสูตร เทคนิคการคิดเชิงบวก เพื่อความสำเร็จ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

    8.สร้างแรงจูงใจ “ปลุกไฟในใจให้ทำงานเชิงรุก”

    อยากให้ผู้จัดการลองจินตนาการถึงเช่วงเวลาที่ตนเองอายุพอ ๆ กับทีมงาน ว่าในขณะนั้นคิดอะไรอยู่ เช่นบางคนมีความสุขในการออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนแทบทุกคืน

    บางคนชอบไปดูหนังฟังเพลง ใช้เวลาไปวัน ๆ แบบไม่มีทิศทางและไม่มีจุดยืนของชีวิต ผลที่ตามมาคือตนเองไม่ได้อะไรเมื่อเวลาผ่านไป  คนทุกคนจะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละช่วงเวลา

    จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่พนักงานทุกคนมักมีความรู้สึกเช่นนี้ทำให้ไม่มีไฟในการทำงาน ผลที่ตามคือทำงานไปวัน ๆ อย่างน่าเสียดาย

    ผู้จัดการอัจฉริยะจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะผลักดันด้วยการสร้างแรงจูงใจ ให้ทีมงานทุกคนมองเห็นอนาคต หรือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตัวพวกเขาเมื่อเวลาผ่านไป

    ภาระกิจหน้าที่หลักของผู้จัดการอัจฉริยะคือการสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานตระหนักรู้ถึงความสำคัญการทำงานเชิงรุก ทำให้มีไฟในการทำงานตลอดเวลา

    ทำให้ทีมมงานเข้าใจว่าการขยันและตั้งใจทำงานจะเป็นตัวช่วยให้พนักงานประสบความสำเร็จ ทำให้ได้ผลงาน จนสามารถบรรลุเป้าหมายของผู้บริหารระดับสูงนั่นเอง วิธีการของผู้จัดการอัจฉริยะจะเข้าใจถึงความรู้สึก ความต้องการของทีมงาน และสร้างแรงจูงใจด้วยการกระตุ้น สร้างความตื่นเต้นในการทำงาน ทำให้ทุกคนสนุกสนานในการเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในทีมงาน

    9.มององค์ประกอบของงานแบบมองภาพใหญ่

    มีโอกาสถามนักเล่นหมากรุกหรือหมากฮอส ว่าทำไมใช้เวลานานมากในการเคลื่อนหมากในแต่ะครั้ง คำตอบก็คือว่าในการเคลื่อนหมากแต่ละครั้ง

    เขาต้องมองภาพรวมหรือภาพใหญ่ของหมากทั้งกระดานให้ออก ว่าถ้าเขาเคลื่อนหมากรุกทางนั้น คู่แข่งจะต้องทำอย่างไรต่อไป หรือ คนเล่นเกมต่อภาพจิ๊กซอร์ถ้ามีโอกาสเห็นภาพที่สมบูรณ์เรียบร้อยก่อน จะทำให้ง่ายต่อการต่อภาพนั้น ในการบริหารงานก็เช่นกันจะมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย มีหลายแผนก มีหลายตำแหน่ง

    การบริหารจัดการจึงมีความซับซ้อนหลายมิติ ถ้าผู้จัดการบริหารงานที่ละส่วนจะทำให้งานสะดุด ติดขัด หรือบางครั้งอาจเปิดประกฏการณ์คอขวด (Bottle Neck) คืองานไม่รื่นไหลเท่าที่ควร ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดของผู้จัดการอัจฉริยะ ที่ต้องมองภาพการบริหารจัดการที่เป็นองค์ประกอบภาพใหญ่ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนก่อนการลงรายละเอียดย่อย ๆ เพื่อแก้ปัญหาในการทำงาน

    เพราะในการทำงานจะมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน ในแต่ละกระบวน การ ที่เรียกว่า Flow Chart ผู้จัดการอัจฉริยะจะคิดถึงการทำงานที่เป็นภาพรวมก่อนเสมอ คือพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแบบองค์รวมต่อการตัดสินใจของตนเองที่เกิดขึ้น

    10.ปลดโซ่ตรวนทางความคิดที่โดนบล็อค

    ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้พนักงานไม่สามารถสิ่งใหม่ ๆ ได้ คือการโดนบล็อคทางความคิด

    ซึ่งสาเหตุมีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น การโดนห้ามจากสังคมรอบข้างทั้งครอบครัว โรงเรียน หรือแม้แต่สังคมการทำงาน คือห้ามทุกอย่างที่อยากทำ เช่นห้ามคุยในห้องสมุดจะทำลายสมาธิ

    การห้ามจะทำให้เด็กมีความคิดที่โดนบล็อค ยังมีปัจจัยอีกมากมายที่จะทำให้พนักงานส่วนใหญ่ไม่สามารถคิดสร้าง สรรค์ได้ ที่สำคัญมีผู้จัดการจำนวนไม่น้อยที่มีความคิดที่โดน บล็อคเช่นกัน

    คนที่เป็นผู้จัดการอัจฉริยะจึงเน้นที่จะที่จะช่วยแก้ปัญหาพนักงานเหล่านี้ให้คิดสร้างสรรค์ ไม่โดนบล็อคทางความคิด เพื่อ นำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงาน

    ซึ่งการสร้างความคิดสร้างสรรค์เป็นหน้าที่สำคัญของผู้จัดการอัจฉริยะ เพราะถ้าพนักงานในทีมสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ เท่ากับจะมีไอเดียใหม่ ๆ อีกร้อย อีกพัน ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้

      หลักสูตร ฝึกอบรม การเจรจาต่อรอง Win-Win Negotiation
      หลักสูตร ฝึกอบรม การเจรจาต่อรอง Win-Win Negotiation

        11.ผู้สื่อสารและโน้มน้าวใจให้เป็น

        การสื่อสารคือหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการทีมงาน แต่อย่างไรก็ตาม พูดได้ ยังไม่เท่า พูดดี เพราะการพูดดีสามารถโน้มน้าวใจผู้อื่นได้

        ใน [LINK] การสื่อสาร 360 องศา กับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจพนักงาน การโน้มน้าวใจเพื่อนร่วมงานหรือการโน้มน้าวใจคนที่อยู่ภายนอกองค์กร การสื่อสารเป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้จัดการอัจฉริยะเลือกขึ้นมาใช้ในการสร้างผลงานจากการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับคนรอบข้าง

        ทำให้คนหลายคนอยากทำงานให้ อยากช่วยเหลือ ทำให้งานประสบความสำเร็จ การพูดดีของผู้จัดการอัจฉริยะนั้นมาจากพรสวรรค์แค่ 10% คือรู้จักการสื่อสารที่จะทำให้ทุกคนคล้อยตาม เห็นด้วย แต่อีก 90% ของผู้จัดการจำเป็นต้องเรียนรู้การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ และที่สำคัญต้องสร้างบรรยากาศ

        การสื่อสารที่ดีในทีมงาน ให้ทุกคนในทีมงานมีคำพูดที่สร้างสรรค์มากกว่าการที่พูดเพื่อทำลายล้าง ทำให้เสียขวัญกำลังใจในการทำงาน ลองจินตนาการภาพดูว่า ถ้าทีมงานใด พนักงานสามารถที่จะสร้างบรรยากาศในการสื่อสารที่ดีต่อกัน ปริมาณผลงานจะเพิ่มมากขึ้นมากอีกเท่าไหร่

        ความสำคัญของผู้จัดการอัจฉริยะคือความจำเป็นต้องสื่อสารได้ในทุกระดับชั้น ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพราะผู้จัดการอัจฉริยะจะต้องรักษาระดับการเป็นคนกลาง คือต้องรักษาการสื่อสารระหว่างผู้บริหารระดับสูงและพนักงาน เช่น หากผู้บริหารระดับสูง มีนโยบายหรือวัตถุประสงค์ใหม่ ๆ ที่อยากให้พนักงานปฏิบัติ

        จึงเป็นหน้าที่ของผู้จัดการคือการสื่อสารนโยบายเหล่านี้ให้กับทีมของพวกเขา ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือทีมงานบางคนอาจไม่พอใจต่อนโยบายใหม่นี้ ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องมีเทคนิคการสื่อสารที่โน้มน้าวใจให้ทุกคนเห็นด้วยและยินดีที่จะปฏิบัติตามอย่างพึงพอใจ

        12. พัฒนาความคิดเชิงบวกให้ทีมงาน

        ความแตกต่างของคนที่คิดลบ กับคนที่คิดบวกคือคนที่คิดลบมักมองสิ่งรอบข้างเป็นปัญหา แต่คนที่คิดบวกมักมองสิ่งรอบข้างเป็นโอกาส

        คราวนี้ถ้าคุณคือผู้จัดการลองจินตนาการดูว่า ถ้าคุณต้องทำงานอยู่ในกลุ่มคนที่คิดลบจะเกิดอะไรขึ้น ทุกอย่างเป็นลบ บรรยากาศเป็นลบ มีแต่ปัญหาเต็มไปหมด ถ้าทุกคนคิดแต่ลบ รวมถึงผู้จัดการก็คิดลบด้วย

        ผลที่ตามมาคือผู้จัดการคนนั้นไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้เลย รวมถึงทีมงานก็จะล้มเหลวในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากแนวทางของผู้จัดการอัจฉริยะ เพราะจะเข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยมุมมองที่เป็นบวก

        จึงพยายามสร้างบรรยากาศที่เป็นบวกด้วยการกระตุ้นความคิดที่เป็นบวกให้กับพนักงานของเขา ผู้จัดการอัจฉริยะจะใช้เวลาในการสร้างมุมมองเชิงบวกในที่ทำงาน เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่เป็นบวก

        เพื่อทำให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจ อยากทำงาน มีกำลังใจในการทำงาน ผู้จัดการอัจฉริยะ จะรู้วิธีบรรลุสภาพแวดล้อมที่ดีเช่นนี้ได้ โดยการตรวจสอบระดับความคิดของพนักงานอยู่อย่างสม่ำเสมอว่ายังอยู่ในเกณฑ์การคิดบวกหรือไม่ ถ้าไม่จะรีบแก้ไขในทันที

        ภาระกิจของผู้จัดการมีความสำคัญยิ่ง จึงอยากจะฝากข้อคิดง่าย ๆ ว่า “อย่าทำงานผู้จัดการเพียงแค่ตำแหน่งผู้จัดการ” เท่านั้นเพราะบทบาทและความรับผิดชอบของผู้จัดการมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง

        จึงเป็นโอกาสของคนเข้าใจถึงโอกาสของการขึ้นรับตำแหน่งผู้จัดการ และจะมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นถ้าผู้จัดการคนนั้นพร้อมที่จะอัพเกรดตนเองเป็นผู้จัดการอัจฉริยะ ลองนำแนวคิดนี้ไปทำดู ไม่เสียหลาย..

        #หลักสูตรอบรมผู้จัดการ,#อบรมเทคนิคการบริหารงาน,#หลักสูตรผู้จัดการ,#หลักสูตรอบรมผู้บริหาร

        ช่องทางการติดต่อ-ดร-สุรชัย โฆษิตบวรชัย

        ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

        ผู้อำนวยการ และ นักเรียนทุนญี่ปุ่นด้านการบริหารจัดการ

        ช่องการการติดต่อ-StepPlus Training
        รวมหลักสูตรผู้จัดการ-ผู้บริหาร โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
        หลักสูตรอบรม เทคนิคการขายที่ดีที่สุด
        รวมหลักสูตรอบรม การเจรจาต่อรองที่ดีที่สุด
        ลงทะเบียนอบรม StepPlus Training
        รวมหลักสูตรอบรมการเป็นวิทยากร ที่ดีที่สุด
        รวมหลักสูตร เทคนิคการนำเสนอ ที่ดีที่สุด Effective Presentation
        รวมหลักสูตร-พฤติกรรมการบริการที่ดีเลิศ
        รวมหลักสูตร-พฤติกรรมการบริการที่ดีเลิศ
        หลักสูตร-Growth-Mindset-for-Sales โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
        หลักสูตร 8 ขั้นตอนการเป็นนักขายมืออาชีพ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

        หลักสูตร ใหม่ แนะนำ

        หลักสูตร-6-เครื่องมือในการบริหารทีมขาย เพื่อความสำเร็จ
        หลักสูตร-การขายชั้นสูง เพื่อความสำเร็จ Advance Modern Sales for Success
        หลักสูตร-เทคนิคการนำเสนอด้วย การเล่าเรื่อง-Storytelling for Success
        หลักสูตร-พฤติกรรมการให้บริการที่ดีเลิศ Excellent Service Behavior ESB
        หลักสูตร-8-ขั้นตอนการเป็นนักขายมืออาชีพ  เพื่อ พนักงานขาย
        หลักสูตร-เทคนิคการขายหน้าร้าน-PC-BA เพื่อความเป็นเลิศ
        หลักสูตร-การวางแผนกลยุทธ์-เพื่อความเป็นเลิศ ทางธุรกิจ
        หลักสูตร-วิศวกรฝ่ายขาย The Sales Engineer
        หลักสูตร ภาวะผู้นำ-360-องศา เพื่อความเป็นเลิศ
        หลักสูตร-เทคนิคการเจรจาต่อรองเพื่องานจัดซื้อ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีเลิศ
        หลักสูตร-การสื่อสาร-ภายในองค์กร-อย่างมืออาชีพ เพื่อ ผลสำเร็จ
        หลักสูตร การคิดเชิงวิเคราะห์ Analytical Thinking โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
        หลักสูตร-สุดยอดการเป็นวิทยากร มืออาชีพ Train-The-Trainer
        หลักสูตร-พลังแห่ง การโน้มน้าวใจ The Power of Persuasion
        หลักสูตร-เทคนิคการนำเสนอ-อย่างมืออาชีพ Effective Presentation
        หลักสูตร-การคิดเชิงตรรกะ-Logical-Thinking เพื่อ ความสำเร็จ ที่เป็นเลิศ
        หลักสูตร-กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง-แบบ-Win-Win เพื่อเพิ่มโอกาสในชัยชนะ
        หลักสูตร-การบริหารลูกค้า-คนสำคัญ-Key Account Management
        หลักสูตร-ผู้จัดการอัจฉริยะ-The-Super-Manager อย่างมืออาชีพ
        หลักสูตร-การคิดนอกกรอบ-Think-out-of-The-box เพื่อความคิดสร้างสรรค์
        บริษัทฝึกอบรม

        สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่…

        บริษัท ที่ปรึกษาและพัฒนาธุรกิจ จำกัด

        : StepPlus Training

        : โทร 083 276 8877, 02 349 1788

        : E-mail: training@stepplus.org 

        : Line: @StepPlusTraining

        Address

        1991/157 ถ.อ่อนนุช แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10250

        ลงทะเบียน StepPlus Training

        Loading

        UA-75256908-1