14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ เป็น วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างความพึงพอใจในการสื่อสาร ทั้งคนส่งสารและคนรับสาร ซึ่งเป็น ทักษะการสื่อสารที่ไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้ทุกคนนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ได้ทันที
14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ
ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
การสื่อสาร คือ หัวใจสำคัญที่จะทำให้พนักงานทุกคนร่วมแรง ร่่วมใจ ในการสร้างผลสำเร็จในการทำงาน
พนักงานหลายคนมักเข้าใจผิด ทำให้การสื่อสารออกมาไม่ดี เพราะ คิดว่า ทักษะการสื่อสารภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน หรือระหว่างกลุ่มเท่านั้น แต่ความจริง ทักษะการสื่อสารภายในองค์กรมีความสำคัญต่อพนักงานทุกคน และพนักงานทุกระดับภายในองค์กร เพราะทักษะการสื่อสารภายในองค์กรเป็นมากกว่า การพูด การคุย การแชร์ประสบการณ์เท่านั้น
แต่ทักษะการสื่อสารภายในองค์กร จำเป็นต้องทำความเข้าใจอารมณ์และความตั้งใจ ของผู้สื่อสารที่จะสามารถถ่ายทอดข้อความได้อย่างชัดเจน สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งผู้สื่อสารและผู้รับสาร ยังต้องมีทักษะการฟังที่กระตือรือร้น ที่จะทำให้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่กำลังสื่อสารออกมา
ความเข้าใจผิดอีกเรื่องคือ เข้าใจว่า ทักษะการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ เป็นสัญชาตญาณ ของคนแต่ละคนที่มี จุดประสงค์ในการสื่อสาร ออกมา แต่บ่อยครั้ง ทำไมการสื่อสารภายในองค์กร ยังคงผิดพลาด เช่น สื่อสารพูดอย่างหนึ่ง คนฟังเข้าใจเป็นอีกอย่างหนึ่งสร้างความเข้าใจผิด ไม่พอใจ งานไม่ก้าวหน้า หรือความคับข้องใจ และความขัดแย้งตามมา สิ่งนี้เกิดในที่ทำงาน ทำให้ความสัมพันธ์ในที่ทำงานเสียไป
การเรียนรู้ ทักษะการสื่อสารภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กรให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สร้างความไว้วางใจ สร้างการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีศรัทธาและความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น สามารถนำไปพัฒนาการทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหา รวมถึงพัฒนาเป็นสังคมน่าอยู่ภายในองค์กร
ในหลายองค์กรชั้นนำ จึงเน้นการ เทรนนิ่งการสื่อสาร เพื่อสร้างความสำเร็จในทีมงาน
เคล็ดลับในการพัฒนา ทักษะการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
เป็นความจำเป็นของคนทำงานในองค์กร ที่จะต้องปรับปรุง ทักษะ การสื่อสารภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตในการทำงาน ทำให้มีการทำงานประสานงานกันสามารถช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้
ทักษะของผู้บริหาร ผู้จัดการ จำเป็นต้องมีทักษะในหลายเรื่อง และเน้นไปที่การสื่อสาร ซึ่งเคล็ดลับทักษะการสื่อสารมีดังต่อไปนี้
ทักษะที่ 1: ทำความเข้าใจว่าอะไร คือปัญหาที่ทำให้ ทักษะการสื่อสารภายในองค์กรไม่มีประสิทธิภาพ
ถ้าทุกคนต้อง การสื่อสารให้เป็นผลสำเร็จ ต้องทดลองสำรวจตนเองว่าทุกครั้งที่มีการสื่อสาร ผลลัพธ์เป็นอย่างไร และทำไมถึงไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งเหตุผลผลักของทักษะการสื่อสารภายในองค์กรแล้วไม่มีประสิทธิภาพ
ทักษะที่ 2: บริหารภาวะทางอารมณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้
เพราะเมื่อไรก็ตามที่มีภาวะทางอารมณ์ที่มากเกินไป เช่นใช้อารมณ์ การเร่งรีบ จะทำให้มีแนวโน้มที่จะวิเคราะห์และอ่านคนที่เราสื่อสารด้วยผิดไป ทำให้เกิดความสับสนหรือทำให้ไม่สามารถใช้คำพูดที่ต้องการสื่อสารได้ดี ส่งผลฝให้คนฟังไม่พอใจ ไม่อยากสื่อสารด้วย ทักษะในการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ผู้สื่อสารจำเป็นต้องบริหารอารมณ์ให้ดีตลอดเวลา
ทักษะที่ 3: มีสมาธิในทุกการสื่อสาร
ทุกคนไม่สามารถใช้ทักษะการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เช่นการนั่งโทรศัพท์ วางแผนว่าจะทำงานอะไรต่อไป หรือคิดเรื่อยเปื่อย เพราะฉะนั้น ถ้าอยากมีทักษะการสื่อสารภายในองค์กรที่ดี เป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ พนักงานทุกคนจำเป็นต้อง หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนสมาธิออกไป
ทักษะที่ 4: ภาษากายที่สนับสนุนกัน
การสื่อสารแบบอวัจนภาษา คือเป็นภาษากายควรส่งเสริมสิ่งที่กำลังพูด ไม่ใช่ขัดแย้งกับสิ่งที่กำลังสื่อสาร เช่นการสื่อสารเรื่องราว หนึ่ง ๆ ออกไป จำเป็นต้องมีภาษากายที่ไปในทิศทางเดียวกัน ผู้ฟังก็จะรู้สึกได้ถึงความซื่อสัตย์ ความจริงใจ เช่น การพูดคำว่าใช่ ศรีษะต้องส่ายขึ้นลง
ทักษะที่ 5: หลีกเลี่ยงการสื่อสารเชิงลบ
ภาษากายเชิงลบ หรือการสื่อสารเชิงลบ ทำให้คนอื่นรับรู้ได้ถึงความไม่พอใจ เพราะหากคนทุกคนไม่เห็นด้วยหรือไม่ชอบสิ่งที่ถูกพูด ภาษากายเชิงลบเพื่อปฏิเสธข้อความของอีกฝ่ายจะถูกแสดงออกมา บางคนอาจรู้ตัว บางคนอาจไม่รู้ตัว เช่น การกอดอก การหลบตา หรือการกัดริมฝีปาก ในความจริงนั้น ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะไม่เห็นด้วย แต่ ทักษะสื่อสารภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างให้อีกฝ่ายพึงพอใจต้องหลีกเลี่ยงการสื่อสารเชิงลบ
เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบการแสดงออกเป็นลบ ให้เปลี่ยนใช้ภาษากายเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกเชิงบวกแทน เช่นกำลังกังวลเกี่ยวกับ บางสถานการณ์ เช่น การสัมภาษณ์งาน การนำเสนองานที่สำคัญ พยายามใช้ภาษากายเชิงบวกเพื่อบ่งบอกถึงความมั่นใจ แม้ว่าความจริงอาจรู้สึกตรงกันข้ามก็ตาม หลีกเลี่ยงการก้มหน้าลงชั่วคราว หันสายตาและเลื่อนไปที่เก้าอี้ วิธีการคือลองเปลี่ยนอริยาบท เช่นการยืนก็ ยือให้สูงขึ้น ยักไหล่ไปด้านหลัง ยิ้มและสบตา และจับมืออย่างมั่นคง วิธีนี้จะทำให้รู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้นและช่วยให้อีกฝ่ายมั่นใจในตัวเราเช่นกัน เป็นพื้นฐานการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ในการทำงาน
ทักษะที่ 6: การเป็นผู้ฟังที่กระตือรือร้น มีส่วนร่วม
คำถามยอดนิยม คือคนส่วนใหญ่ชอบพูด หรือ ชอบฟัง คำตอบคือคนชอบพูดมากกว่า เพราะมีโอกาสในการระบายความรู้สึกของตนเองออกมา การสร้างความรู้สึกที่ดีในการสื่อสารภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ คือการฟังที่กระตือรือร้น ตั้งใจฟัง ไม่ใช่การได้ยิน เพราะทักษะการฟังที่ไม่ดี คือเพียงแค่เข้าใจคำศัพท์หรือข้อมูลที่สื่อสารเท่านั้น แต่ทักษะการฟังที่ดี ยังรวมถึงการเข้าใจอารมณ์ที่ผู้พูดที่พยายามจะสื่อสารออกไปด้วย
ความแตกต่าง ระหว่างการฟังอย่างกระตือรือร้น มีส่วนร่วม กับการฟังเพียงอย่างเดียว การฟังจริงๆ คือกำลังมีส่วนร่วมกับสิ่งที่กำลังพูด ผู้ฟังจะได้ยินน้ำเสียงที่ละเอียดอ่อนในน้ำเสียง และบอกว่าบุคคลนั้นรู้สึกอย่างไรและอารมณ์ที่พวกเขาพยายามสื่อสารออกมา เมื่อเป็นผู้ฟังที่กระตือรือร้นและมีส่วนร่วม ไม่เพียงแต่คุณจะเข้าใจอีกฝ่ายดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้บุคคลนั้นรู้สึกว่ามีคนรับฟังและเข้าใจพวกเขาด้วย ซึ่งสามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างการสื่อสารภายในองค์กร
สำหรับเคล็ดลับในการเป็นผู้ฟังที่มีส่วนร่วม มุ่งความสนใจไปที่ผู้พูดอย่างเต็มที่ คนทุกคนไม่สามารถฟังอย่างมีส่วนร่วมได้ หากไม่มีสมาธิที่ดีพอ เช่นนั่งดูโทรศัพท์มือถือตลอดเวลาหรือคิดเรื่องอื่นอยู่ ในการฟังอย่างกรตือรือร้นจำเป็นต้องจดจ่ออยู่กับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทุกช่วงๆ ของการสื่อสาร เพื่อที่จะเข้าใจความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ และสัญญาณสำคัญที่ไม่ใช่คำพูดในการสื่อสาร
หลีกเลี่ยงการขัดจังหวะหรือพยายามเปลี่ยนเรื่องการสนทนาไปยังข้อกังวลใจที่มีอยู่ การฟังที่ดี ไม่ใช่การรอจังหวะที่จะพูดแทรก เพราะคนทุกคนไม่สามารถมุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่คนอื่นพูดได้ หากกำลังกังวลใจ ในสิ่งที่จะพูดคนต่อไป
แสดงความสนใจในสิ่งที่กำลังพูด พยักหน้าเป็นครั้งคราว ยิ้มให้บุคคลนั้น และทำท่าทางให้เปิดกว้างและเชิญชวน กระตุ้นให้ผู้พูดพูดแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาเล็กๆ น้อยๆ เช่น “ใช่” หรือ “เอ่อ ฮะ”
การฟังด้วยใจ คือความเข้าใจที่ไม่มีการตัดสินใด ๆ ในเรื่องนั้น ๆ ดังนั้นพยายามงดการออกความคิดเห็นหรือการตัดสิน ทำให้ทักษะสื่อสารภายในองค์กรมีประสิทธิภาพ ในความจริงทุกคนมีเรื่องราวของตนเอง ซึ่งเราไม่จำเป็น ต้องชอบ ไม่ชอบ หรือเห็นด้วยกับความคิด ค่านิยม หรือความคิดเห็นของพวกเขา คนฟังจำเป็นต้องละทิ้งวิจารณญาณและระงับการตำหนิและการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อที่จะเข้าใจสิ่งเหล่านั้นอย่างถ่องแท้ การสื่อสารที่ยากที่สุดเมื่อดำเนินการได้สำเร็จ มักจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ไม่น่าเป็นไปได้กับใครบางคน
การให้ข้อเสนอแนะ ให้สะท้อนถึงสิ่งที่ได้กล่าวไว้ในความเข้าใจคือ “สิ่งที่ได้ยินคือ” หรือ “ฟังดูเหมือนคุณกำลังพูด” เป็นวิธีที่ดีในการสะท้อนกลับที่ดี ได้ผล อย่าเพียงพูดซ้ำสิ่งที่ผู้พูดพูดคำต่อคำ เพราะจะฟังดูไม่จริงใจในการให้ข้อเสนอแนะ และการแสดงว่าคำพูดของผู้พูดมีความหมายอย่างไร ถามคำถามเพื่อให้ชี้แจงบางประเด็น เช่น “คุณหมายถึงอะไรเมื่อคุณพูดว่า…” หรือ “นี่คือสิ่งที่คุณหมายถึง?”
พนักงานทุกคนจำเป็นต้อง เน้น การสื่อสารแบบ 360 องศา
ทักษะที่ 7: ให้ความสนใจกับสัญญาณอวัจนภาษาหรือภาษากาย
อวัจนภาษา เป็นภาษาที่ไม่ใช่คำพูด คือภาษากาย เช่น การมอง ฟัง เคลื่อนไหว และโต้ตอบกับบุคคลอื่น เพื่อจะสื่อสารบอกพวกเขาเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีมากกว่าคำพูดเพียงอย่างเดียวที่เคยทำได้ การสื่อสารแบบอวัจนภาษาหรือภาษากาย ได้แก่ การแสดงออกทางสีหน้า การเคลื่อนไหวร่างกายและท่าทาง การสบตา ท่าทาง น้ำเสียงของคุณ และแม้แต่ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและการหายใจ
การพัฒนาความสามารถในการเข้าใจและใช้การสื่อสารแบบอวัจนภาษาสามารถช่วยให้คุณเชื่อมต่อกับผู้อื่น แสดง ออกถึงความหมายที่แท้จริงของคุณ รับมือกับสถานการณ์ที่ท้าทาย และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในที่ทำงาน
- เทคนิคการปรับปรุงการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้โดยใช้ภาษากายแบบเปิด เช่น ไม่กอดอก ยืนด้วยท่าทางที่เปิดกว้าง และสบตากับบุคคลที่คุณกำลังพูดคุยด้วย
- ใช้ภาษากายเพื่อเน้นย้ำคำพูดของเราหรือเป็นการสนับสนุนคำพูด เช่น ตบหลังเบา ๆ พร้อมชมความสำเร็จของเขา หรือ ยิ้มแบบชื่นชมในทุกความสำเร็จของผู้อื่น
ทักษะที่ 8 ทักษะการสื่อสารที่มีความสมบูรณ์
องค์ประกอบที่สำคัญทั้งหมดของการสื่อสารเป็นความจำเป็นเพราะจะทำให้คนสื่อสารเข้าใจในสิ่งที่เราจะสื่อสารออกไป ในทุกครั้งของการสื่อสารจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อความให้ชัดเจน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมดที่อาจมีความสำคัญต่อความเข้าใจของคนฟัง หรือต้องเพิ่มบริบทที่อาจช่วยพวกเขาได้ และลองใช้ภาพช่วยเสริมคำพูดทำให้เขาเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ทักษะที่ 9 การใช้คำกระตุ้น
คำกระตุ้นการตัดสินใจ เป็นตัวช่วยสำคัญในการพัฒนาทักษะการสื่อสาร เพื่อจะทำให้สร้างการจดจำได้ง่ายและมั่นใจได้ว่าข้อความส่วนใหญ่ คนฟังจะจดจำได้ หรือนำไปใช้ได้ ตัวอย่างเช่น โฆษณาทางการตลาด นิยมใช้คำกระตุ้นการตัดสินใจ อาจแนะนำให้ผู้อ่านเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือกำหนดเวลาการให้คำปรึกษา ในการสื่อสารในที่ทำงาน หรือใช้คำกระตุ้นเพื่อขอให้เพื่อนร่วมงานเข้าร่วมการประชุมหรือส่งข้อความติดตามผลเกี่ยวกับขั้นตอนถัดไปของโครงการ
ทักษะที่ 10: ควบคุมความเครียดให้ลดลง
อุปสรรคสำคัญในการนำทักษะการสื่อสารภายในที่มีประสิทธิภาพมาใช้คือ ความเครียดที่เกิดขึ้น ความเครียดทำให้การสื่อสารแบบผิด ๆ ส่งผลให้บางคนเสียใจภายหลังในสิ่งที่สื่อสารออกไป จะเป็นการดีมาก ถ้าสามารถคลายความเครียดได้อย่างรวดเร็วและกลับสู่สภาวะปกติของจิตใจได้ เพราะไม่เพียงแต่จะหลีกเลี่ยงความเสียใจดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังช่วยให้อีกฝ่ายรู้สึกดีขึ้นในการสื่อสารสนทนาอีกด้วย เฉพาะเมื่อไรก็ตามที่อยู่ในสภาวะสงบและผ่อนคลาย จะทำให้การตอบสนองต่อบุคคลอื่น ได้ดีขึ้น
ทักษะที่11: การลดความเครียดอย่างรวดเร็วเพื่อ ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
เมื่อบทสนทนาที่เริ่มต้นจะมีข้อขัดแย้ง บางครั้งต้องใช้[ link] การบริหารข้อขัดแย้งในองค์กร จำเป็นต้องทำอะไรสักอย่างอย่างรวดเร็วและทันทีเพื่อลดความรุนแรงทางอารมณ์ ด้วยการเรียนรู้ที่จะลดความเครียดอย่างรวดเร็วในขณะนั้น คุณสามารถควบคุมอารมณ์ที่รุนแรงที่คุณกำลังประสบอยู่ ควบคุมความรู้สึก และประพฤติตัวอย่างเหมาะสมได้อย่างปลอดภัย
รับรู้เมื่อเริ่มเครียด ร่างกายของคุณจะแจ้งให้คุณทราบหากคุณเครียดขณะสื่อสาร ให้สังเกตว่า กล้ามเนื้อหรือท้องของคุณตึงหรือเปล่า? มือของคุณกำแน่นหรือเปล่า? หายใจเร็วขึ้นไหม?
ในสถานการณ์เริ่มเครียดให้ มองหาอารมณ์ขันในสถานการณ์นั้น. เมื่อใช้อย่างเหมาะสม อารมณ์ขันเป็นวิธีที่ดีในการคลายความเครียดในการสื่อสาร เมื่อคุณหรือคนรอบข้างเริ่มจริงจังกับเรื่องต่างๆ มากเกินไป ให้หาวิธีทำให้อารมณ์ผ่อนคลายลงด้วยการแบ่งปันเรื่องตลกหรือเรื่องราวที่สนุกสนาน หรือ น่าขบขัน
วิธีการสุดท้ายถ้าสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ให้ใช้วิธีการ พัก ขอเวลานอก หรือปล่อยสถานะการณ์เว้นว่างเพื่อให้ทุกคนสงบสติอารมณ์ เช่น ขอเวลาเข้าห้องน้ำ ทานกาแฟ การเคลื่อนไหวร่างกายเล็กน้อยจะช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือหาสถานที่เงียบสงบเพื่อลดความเครียดได้อย่างรวดเร็ว
ทักษะที่ 12: เชื่อมั่นในตนเอง สื่อสารด้วยความชัดเจน
การสื่อสารที่ชัดเจนและสามารถช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเอง ด้วยการแสดงออกที่ตรงไปตรงมาและกล้าแสดงออกทำให้เกิด ความคิด ความรู้สึก และความต้องการอย่างเปิดเผยและซื่อสัตย์ ส่งผลให้การตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกล้าแสดงออกด้วยความเชื่อมั่น ต้องอยู่บนพื้นฐานการเคารพผู้อื่น หรือ การแสดงออกซึ่งความก้าวร้าวหรือการเรียกร้องที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่การเอาชนะข้อโต้แย้งหรือการบังคับความคิดเห็นของคุณกับผู้อื่น
แนวทางคือการให้คุณค่ากับตัวเองในสิ่งที่จะสื่อสารออกไป ว่าเนื้อหาการสื่อสารของตนเองนั้นมีคุณค่าต่อคนฟัง ทำให้คนฟังรู้ความต้องการและความต้องการที่ชัดเจน ถึงแม้ในบางครั้งอาจมีความขัดแย้งบ้าง แต่ต้องเคารพในความคิดของทุกฝ่าย ทักษะการสื่อสารที่เคารพซึ่งกันและกัน การสร้างความเชื่อมั่นในการสื่อสารคือการยอมรับที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น พร้อมที่จะปรับตัวแก้ไขทันที่รู้สึกว่าตนเองไม่มั่นใจในการสื่อสาร
การพัฒนาความมั่นใจในการสื่อสารที่สำคัญคือการเรียนรู้ที่จะพูดว่า “ไม่” ในสิ่งที่ทำไม่ได้ โดยการเข้าใจขีดจำกัดของตนเองเพื่อมองหาทางเลือกอื่นเพื่อให้ทุกคนรู้สึกดีกับผลลัพธ์ที่ได้
ทักษะที่ 13: การสื่อสารด้วยความเห็นอก เห็นใจ
ด้วยการแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ บ่งบอกถึงความอ่อนไหวต่อบุคคลอื่น ขั้นแรก รับรู้สถานการณ์หรือความรู้สึกของอีกฝ่าย จากนั้นระบุความต้องการหรือความคิดเห็นของตนเอง เช่น ฉันรู้ว่าคุณงานยุ่งมาก แต่ฉันอยากให้คุณแบ่งเวลาในเรื่อง……..นี้ด้วย
ทักษะที่ 14: การสื่อสารในช่วงเวลาที่เหมาะสม
ความพร้อมในการสื่อสารของแต่ละคนไม่เหมือนกันทักษะสำคัญคือการเลือกช่วงเวลาในการสื่อสารให้มีความเหมาะสม กับคนฟัง และข้อจะจำคือไม่ควรสื่อสารเมื่อคนฟังไม่มีความพร้อมที่ดีพอในการรับฟัง เพราะจะส่งผลเสียคือไม่พร้อมที่จะรับฟังการสื่อสาร การพิจารณาช่วงเวลาให้มีความเหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
การพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญ และขอให้ทุกคนเข้าใจว่า ทักษะการสื่อสารภายในที่ดี ไม่ได้เกิดขึ้นเอง พนักงานทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ ฝึกหัด นำมาใช้ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น ภายใต้ การสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้งานเดินหน้าสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน เป็นพื้นฐานการทำงานเป็นทีม ทำให้มีผลงาน สร้างความเติบโตให้ทุกคนในองค์กร ดังนั้น ขอเพียงแค่ พนักงานทุกคน เปลี่ยน ทักษะการสื่อสาร ก็จะทำให้งานทุกอย่างมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น ทดลองไปทำดูได้ ไม่เสียหายอะไร..
หนังสือแนะนำ
บทความน่าอ่านเพิ่มเติม
จัดการกับลูกค้าใจร้อนแบบใด ให้ได้ออร์เดอร์!
จัดการกับลูกค้าใจร้อนแบบใด ให้ได้ออร์เดอร์ ถ้าวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในภาพรวมแล้ว ส่วนใหญ่ลูกค้าจะมีเวลาไม่มากนัก และใจร้อนคือไม่ชอบฟังการนำเสนอ เพราะเข้าใจว่าสินค้าโดยทั่วไปมีความคล้ายคลึงหรือไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น โทรศัพท์มือถือ ...
เมื่อเจอลูกค้านิ่งเงียบ จะเริ่มการขายอย่างไรดี?
เมื่อเจอลูกค้านิ่งเงียบ จะเริ่มการขายอย่างไรดี? เจอลูกค้าที่เงียบๆ หรือที่เรียกว่า “Less Expression” ทำให้คิดหาทางแก้ไม่ถูก บางคนเกิดความไม่มั่นใจในหลายๆ อย่างตามมาเช่น คิดว่าตนเองทำอะไรผิด สร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าหรือเปล่า ข้อมูลที่ให้ไม่น่าเชื่อถือพอ หรือ...
จริงหรือ พนักงานขายต้องมีวิสัยทัศน์
จริงหรือ?...พนักงานขายต้องมีวิสัยทัศน์ เรื่องของวิสัยทัศน์ (Vision) พนักงานขายหลายคนมองข้าม ไม่ให้ความสำคัญ บางคนถึงกับผลักภาระความรับผิดชอบตรงนี้ให้บริษัท หรือผู้บริหารระดับสูงไปเลยก็มี ไม่ผิดอะไรถ้าจะรู้สึกเช่นนั้น...
นัดหมาย อย่างไร ให้ลูกค้าเต็มใจ รับนัด
นัดหมาย อย่างไร...ให้ลูกค้าเต็มใจ รับนัด คิดย้อนไปหลายสิบปีก่อนที่เข้าสู่วงการขายใหม่ ๆ ก็จะพบกับปัญหาคล้ายๆกัน คำถามที่ว่า จะนัดหมายลูกค้าอย่างไรไม่ให้มีความรำคาญถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับนักขายคนใดขอให้พึงสังวรไว้ว่าคุณกำลังทำอะไร...
เหตุใด..ยิ่งขายมานาน ยอดขายกับหาย
เหตุใด..ยิ่งขายมานาน ยอดขายกับหาย มีนักขายจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาเช่นนี้ เป็นตัวแทนขายประกันชีวิต เวลาขายได้ ก็มีเงิน แต่ตอนที่ขาดเงิน ไม่สามารถออกไปพบลูกค้าได้ เนื่องจากค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมันรถ ค่าอาหารและอื่นๆ เส้นทางของการทำงานขายนั้น...
ทำงานประจำไม่รุ่ง อยากมุ่งทำธุรกิจส่วนตัว
เชอื่ วา่ คนท างานยคุ ใหมส่ มัยน ี้ ไม่ค่อยมีกะใจมากนักอยากจะท างานกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ประมาณอารมณ์ว่าท างานจนเกษียณเพื่อรับบ านาญหรือ บ าเหน็จเป็นเกียรติยศแก่วงศต์ ระกูล ด ้วยเพราะหลายคนนั้นไม่อยากอดรนทนรอความส าเร็จจากการประกอบอาชพี เป็นมนุษยเ์งนิ เดอื นทอี่ กี...
ทำงานประจำไม่รุ่ง อยากมุ่งทำธุรกิจส่วนตัว
เชอื่ วา่ คนท างานยคุ ใหมส่ มัยน ี้ ไม่ค่อยมีกะใจมากนักอยากจะท างานกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ประมาณอารมณ์ว่าท างานจนเกษียณเพื่อรับบ านาญหรือ บ าเหน็จเป็นเกียรติยศแก่วงศต์ ระกูล ด ้วยเพราะหลายคนนั้นไม่อยากอดรนทนรอความส าเร็จจากการประกอบอาชพี เป็นมนุษยเ์งนิ เดอื นทอี่ กี...
เทคนิคการระงับอารมณ์พลุ่งพล่านอย่างได้ผล
ในชวีติ การท างานของเรานัน้ มักจะมปีัญหานอ้ ยใหญ่มาใหข้ บคิดกันเสมอ ปัญหาเล็ก ๆ คงไม่เท่าไหร่ แต่ถ ้าปัญหาใหญ่ก็ชวนให้หนักทั้งใจและทั้ง ความคดิ ทจี่ ะตอ้งหาวธิจีัดการรับมอืใหไ้ด ้ และบอ่ ยครัง้เชน่ กันทปี่ ัญหาทอี่ าจจะเป็นเรอื่ งเล็กนอ้ ย สง่ ผลใหมี้...
อยากรุ่งต้องกล้าเสี่ยงทำงานยาก ๆ
นอกเหนือจากการปรับปรุงงานกันอย่างสม ่าเสมอจะเป็ นหนึ่งในคุณสมบัติหลักของคนที่จะประสบความส าเร็จในอาชพี การงานแลว้ ผมคิดว่าหากต ้องการจะท างานให้รุ่ง หรือท างานให้ก ้าวหน้าแล้ว คนท างานต ้องหัดท ้าทายตัวเองให้ท างานยาก ๆ กว่างานเดิมที่เคยท า ต...
4 เรื่องที่ควรโฟกัสเพื่อให้การงานก้าวหน้า
เรื่องก่อนหน้า ผมได้พูดถึงคุณค่าความสำคัญของการทำงานแบบโฟกัส และการทำงานทีละเรื่องอันจะช่วยใหท่านทำงานได้อย่างมปี ระสิทธิภาพ มากกว่าเดิมไปแล้ว เชื่อว่าท่านผู้อ่านจะเห็นพ้องด้วยกับที่นำเสนอไป โดยอยากชวนใหท่านผู้อ่านใช้เวลาสักนิดกับการไตร่ตรองถึงคุณค่าของการ...
อย่าเบื่อกับ การเมองภายในองค์กร
โครงสร้างบริษัทแบบดั้งเดิมที่มีอำนาจการจัดการแบบรวมศูนย์ซึ่งมีหลายประเภทจะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจบางประเภท องค์กรใหญ่และหน่วยงานของรัฐมักใช้โครงสร้างระบบราชการและทำกำไรได้ หากหรือธุรกิจต้องการใช้โครงสร้างองค์กรประเภทนี้ให้ประสบความสำเร็จ...
การทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีม ประมาณ 25 ปี ในสหรัฐอเมริกามีหลายบริษัทเช่น W.L Gore, Volve และ General foods ได้มีการนำเสนอการทำงานเป็นแบบทีมเข้าไปใช้ในขบวนการผลิตแต่ในขณะนั้นยังไม่ได้รับการตอบสนองและไม่มีคนให้ความร่วมมือ อีกทั้งยังดูเป็นสิ่งทีแปลก แต่เมื่อมาถึงในปัจจุบันนี้...
การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
การสนทนา เพื่อพื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรุ้ ดังนั้นควรที่จะเห็นประโยชน์ของแนวคิดนี้ ไปใช้ในการสร้างภูมิปัญญาขององค์กร ลดความขัดแย้งของทีมงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานอีกด้วย ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการสนทนา ผู้นำต้องลดบทบาททั้งด้านเผด็จการ การลงโทษ...
เทคนิคการพัฒนาศักยภาพตนเอง : กำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่น
คนเราเกิดมาคงไม่มีใครดีพร้อมไปหมดทุกด้าน คนทุกคนย่อมมีทั้งจุดอ่อนและจุดเด่นแตกต่างกันไปตามเบื้องหลังชีวิตของแต่ละคน บางคนฉลาดแต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ บางคนเก่ง แต่นำเสนอไม่เป็น บางคนทำงานดี ขยันขันแข็ง แต่รับไม่ได้ที่ถูกคนอื่นตำหนิหรือดุด่า บางคนเก่ง...
การสร้างกระบวนการตัดสินใจที่ดี ภายใต้ภาวะกดดัน
การสร้างกระบวนการตัดสินใจที่ดีภายใต้ภาวะกดดันMaking Good Group Decisions Amidst Pressure การตัดสินใจภายใต้ภาวะความกดดันมีผลทำให้ประสิทธิภาพการตัดสินใจของกลุ่มลดลง เนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น ข้อมูลมากเกินไป, ให้ความสำคัญกับข้อสันนิษฐานและข้อเท็จจริง,...
การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ
การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC: Integrated Marketing Communication)เป็นสิ่งที่นักการตลาดรู้จักดี แต่ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงๆ ด้วยหลายปัจจัย อาทิ อาจไม่เข้าใจ IMC อย่างลึกซึ้งพอ หรือคิดผิดที่ว่าการโฆษณาคือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด...
หลักการทำตลาดยุคใหม่
การทำตลาดยุคใหม่เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง (select target) การทำตลาดยุคใหม่เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง (select target) เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้นในปัจจุบัน เกมการตลาดเชิงรุกที่เจาะไปที่ demographic ของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีไลฟ์สไตล์ของแต่ละวัยเป็นโจทย์...
สร้างแบรนด์เจาะลูกค้าระดับกลาง ญี่ปุ่น
ความซบเซาทางเศรษฐกิจท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่ทะยานสูงขึ้นในญี่ปุ่น ได้ทำให้แบรนด์ดังๆ ทั้งหลายที่จำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือยเดือดร้อนไปตามๆ กัน เพราะลูกค้าชาวแดนอาทิตย์อุทัยพากันประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อตอบโต้ภาวะรายจ่ายประจำที่สูงขึ้น...
กลยุทธ์ผู้นำการตลาด
เมื่อการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขันทางธุรกิจ บริษัททั้งหลายควรจะต้อง พัฒนาการดำเนินงานของบริษัทให้มีความโดดเด่นทางด้านการตลาดในระดับที่เรียกว่าเป็นดาวทางด้านการตลาด ซึ่งบริษัทที่เป็นดาวทางการตลาดต้องมีสิ่งต่อไปนี้อย่างชัดเจน...
วิธีการสร้างพันธมิตร
ในปัจจุบันธุรกิจผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้านเพื่อรับมือกับความ เปลี่ยนแปลงความพร้อมอีกด้านหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีเพื่อธุรกิจไปรอด คือ พวกพ้องเพื่อนฝูง หรือเรียกว่า “ พันธมิตรทางธุรกิจ ” IronFX เพราะเพื่อนฝูงทางธุรกิจ...