การปล่อยให้พนักงานที่มีความสามารถทำงานในหน้าที่เท่านั้น ถือว่าเป็นความสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย เพราะความรู้ที่เขามีควรแบ่งปันให้คนอื่นเช่นกัน
8 ขั้นตอนในการสร้างพนักงานต้นแบบภายในองค์กร
8 steps to create role models within an organization
ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หนึ่งในเป้าหมายการบริหารองค์กร คือการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และนำความรู้ความสามารถมาพัฒนาความสำเร็จให้องค์กร ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เป็นที่ทราบดีว่า การพัฒนาทรัพยากรบุคคลมีวิธีการหลายรูปแบบ ตั้งแต่การจัดฝึกอบรม การสอนงาน การฝึกหัดหน้างาน On-The-Job-Training การโค้ชชิ่ง หรือ การเป็นพี่เลี้ยงในการทำงาน แต่ทำไมผู้จัดการอัจฉริยะถึงให่ความสำคัญกับการสร้างพนักงานต้นแบบภายในองค์กรมากที่สุด
ใครที่เป็น ผู้จัดการอัจฉริยะต่างทราบดีว่า ในทางจิตวิทยาบริหารบุคคล ผู้จัดการต่างทราบดีว่าการพัฒนาความรู้ของพนักงานแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกันออกไป ไม่ใช่ว่าใช้วิธีใด วิธีหนึ่งจะได้ผลดีตลอดเวลา แต่การสร้างพนักงานต้นแบบ เป็นการเรียนรู้ตลอดเวลาที่พนักงานต้นแบบได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น และผู้อื่นได้เรียนรู้จากพนักงานต้นแบบ ผ่านการสังเกต การสอนงานที่ไม่เป็นทางการ การวางแผนร่ววมกัน การได้รับคำแนะนำ การส่งเสริมให้พนักงานมีการเรียนรู้ตลอดเวลา การพัฒนาพนักงานจะไม่ใช้วิธีเดียวในการพัฒนา เพราะคิดว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดกับทุกคน แต่แนวคิดการจัดการความสามารถของพนักงานผ่านการมีพนักงานต้นแบบในองค์กร จะช่วยให้พนักงานทุกคนที่องค์กรต้องการพัฒนา มีความเป็นมิตรกับพนักงานต้นแบบ ไม่รู้สึกกดดันและรู้สึกดีต่อการเรียนรู้ และอยากเป็นเช่นเดียวกับพนักงานต้นแบบเป็น
ใน หลักสูตรอบรม ผู้จัดการอัจฉริยะ จะมีความเห็นว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความคิดเรื่องความก้าวหน้าของตนเองพบว่าถ้าพนักงานมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน ซึ่งก็คือเป้าหมายของบริษัทที่คาดหวังไว้ พนักงานคนนั้นย่อมมีโอกาสในความสำเร็จในงานของตนเองมากกว่าคนอื่น ๆ และพนักงานกลุ่มนี้จะเห็นเส้นทางความสำเร็จในการทำงานในอนาคตของเขาที่เรียกว่า Career Path จากการสอบถามพบว่าพนักงานต้นแบบกลุ่มนี้ พร้อมที่จะแบ่งปันที่เป็นสูตรสำเร็จของตนเองให้เป็นความรู้ที่มีให้เพื่อนร่วมงาน เพราะทราบดีว่าตนเองจะประสบความสำเร็จไปตำหน่งที่ดีขึ้นเมื่อเวลาเปลี่ยนไป และแนวทางที่ตนเองให้ความรู้คนอื่นก็จะเป็นรากฐานในการสร้างศรัทธาให้เพื่อนร่วมงาน
ดังนั้นปัจจัยสำเร็จจึงอยู่ที่ว่าผู้จัดการยินดีที่จะลงทุนสร้างพนักงานต้นแบบด้วนการเริ่มต้นพัฒนาทักษะสำคัญในการเป็นพนักงานต้นแบบหรือไม่ เพราะถ้าองค์กรพร้อมที่จะเดินหน้าเรื่องการพัฒนาพนักงานต้นแบบ พนักงานที่มีความสามารถกลุ่มนี้ก็พร้อมที่จะเป็นผู้ให้ในฐานะเป็นพนักงานต้นแบบเช่นกัน
ในความเป็นจริงพนักงานส่วนใหญ่มีความหวังที่จะก้าวหน้าในอาชีพของตนเองอยู่แล้ว เช่นมองเห็นในตำแหน่งที่ตนเองต้องการเป็นในอนาคต หน้าที่ของผู้จัดการอัจฉริยะ จึงจำเป็นต้องให้การสนับสนุนเพื่อให้ทุกคนบรรลุเป้าหมายของตนเอง และเมื่อพนักงานบรรลุเป้าหมายองค์กรก็จะบรรลุเป้าหมายเช่นกัน เพราะเป็นการเชื่อมโยงเป้าหมายความสำเร็จของพนักงานกับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร
ในรูปแบบการพัฒนาพนักงานในองค์กรแบบใหม่จึง ไม่ได้เน้นเพียงการฝึกอบรมพื้นฐานให้พนักงานเพราะคิดว่าเป็นการพัฒนาบุคลากร ซึ่งผลสำเร็จมีน้อยมาก เพราะการพัฒนาพนักงานขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่การอบรม สัมมนายังเป็นเรื่องจำเป็นที่ทำให้ทุกคนรู้ไปพร้อม ๆ กัน แต่การพัฒนาพนักงานที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่การอบรมสัมมนาภายในห้องเรียนเท่านั้น เพราะหลังการอบรมพนักงานกลุ่มนี้ยังต้องการคนที่นำทางโดยการนำความรู้มาปฏิบัติได้จริงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของตนเองซึ่งก็คือพนักงานต้นแบบนั่นเอง
“หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะการเป็นพนักงานต้นแบบภายในองค์กร อย่างมืออาชีพ”
ในสภาพการทำงานนั้น องค์กรทุกองค์กรจะมีพนักงานที่หมุนเวียนเปลี่ยนภาระหน้าที่กันตลอดเวลา เรียกว่าเป็นการโยกย้ายตำแหน่งงาน ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสม ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องมองเรื่องการสับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นเรื่องกลยุทธ์ฝ่ายทรัพยากรบุคคลในการพัฒนาพนักงาน เพื่อให้พนักงานนำความรู้ความสามารถมาพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จ
ความจริงเกี่ยวกับการสับเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ทุกคนเข้าใจดีว่าทุกครั้งที่มีการสับเปลี่ยนตำแหน่งจะเกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงการสูญเสียโอกาสในการเพิ่มผลผลิตเช่นกัน เพราะพนักงานที่ถูกโยกย้ายตำแหน่งต้องเสียเวลาในการเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองไม่เคยทำ แต่ถ้าองค์กรมีการพัฒนาพนักงานต้นแบบที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่งตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ก็จะช่วยลดต้นทุนในการเสียเวลาการเรียนรู้ของพนักงานลง เพราะให้การเรียนรู้เกิดจากการที่พนักงานต้นแบบถ่ายทอดความรู้ตนเองให้ผู้อื่น ดังนั้นการพัฒนาพนักงานต้นแบบจึงเป็นผลลัพธ์ความสำเร็จที่ดีกว่าองค์กรที่ไม่มีกลยุทธ์ในเรื่องพนักงานต้นแบบ
ข้อดีในการพัฒนาต้นแบบในองค์กร ยังช่วยลดแรงกดดันในการสรรหาพนักงาน เพราะองค์กรสามารถจะทำการสรรหาพนักงานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อมาทดแทนพนักงานที่ลาออกไป หรือไม่มีความสุขในการทำงานที่ตนเองไม่ชอบ พนักงานต้นแบบจะเป็นตัวช่วยทำให้พนักงานทุกคนมองเห็นเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน ทำให้พนักงานทุกคนสามารถออกแบบแนวทางความสำเร็จของตนเองในอนาคตได้ เมื่อพนักงานทุกคนมีส่วนร่วมกันอย่างกระตือรือร้น จากการดูพนักงานต้นแบบในการทำงาน พนักงานทุกคนจะมองเห็นเส้นทางของความสำเร็จของตนเอง ความรู้สึกมีความหวัง มีความสุขในการทำงาน ทำให้มีผลลัพธ์ในการทำงานดีขึ้น
สำหรับแนวทางการสร้างพนักงานต้นแบบนั้นมีขั้นตอนชัดเจนให้ผู้จัดการดำเนินการ เป็น 8 ขั้นตอนในการสร้างพนักงานต้นแบบ พนักงานต้นแบบที่ได้รับมอบหมาย จำเป็นต้องปรับคุณลักษณะของตนเองให้สอดคล้องกับ 10 คุณลักษณะสำคัญของพนักงานต้นแบบภายในองค์กร ถ้าถ้าคุณลักษณะไม่สอดคล้องต่อการเป็นพนักงานต้นแบบ ก็อาจทำให้การเป็นต้นแบบเป็นอุปสรรคในอนาคต
ถ้าผู้บริหารคิดว่าแนวคิดของการพัฒนาต้นแบบนี้เหมาะสม จำเป็นต้องเข้าใจว่า พนักงานต้นแบบต้องการโครงสร้าง การสนับสนุน และการให้กำลังใจเพื่อให้ตนเองได้มีโอกาสพัฒนาเพื่อนร่วมงานให้เติบโตบนเส้นทางอาชีพที่(Career Path) ไปด้วยกัน
ภาระหน้าที่ของผู้จัดการอัจฉริยะ คือการเตรียมพนักงานให้พร้อมกับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น การเรียนรู้ที่ทันต่อสถานการณ์ ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการสร้างคน ให้คนนำความรู้มาพัฒนางาน การเตรียมพนักงานให้พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ไม่แน่นอนคือเป้าหมายอันดับหนึ่งของแผนการพัฒนาพนักงาน การสร้างพนักงานต้นแบบจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยให้ผู้บริหารลดความกังวลเกี่ยวกับช่องว่างด้านทักษะของพนักงานแต่ละคนที่เพิ่มขึ้นในองค์กร หรือการที่องค์กรเผชิญกับปัญหาการรักษาพนักงานไว้อย่างต่อเนื่อง การสร้างพนักงานต้นแบบจะเป็นวิธีที่ทำให้เกมการบริหารพนักงานของผู้จัดการเปลี่ยนไป จากวิกฤตจะกลายเป็นโอกาสความสำเร็จทันที
การพัฒนาพนักงานต้นแบบนั้น จำเป็นต้องทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยเฉพาะการพัฒนาพนักงานต้นแบบต้องให้ความสำคัญในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง โดยเฉพาะการเป็นพนักงานต้นแบบ ไม่ใช่การขึ้นเป็นหัวหน้า ไม่ใช่จะมีอำนาจหน้าที่ในการสั่งงานเพื่อนร่วมงานได้ ไม่ใช่ใช้วิธีการดูถูกเหยียดหยามเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่เป็นการเพิ่มงานที่ทำให้งานหนักขึ้น และต่อจากนี้คือ 8 ขั้นตอน เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบการพัฒนาพนักงานต้นแบบภายในองค์กร
1.เข้าใจเป้าหมายขององค์กรอย่างชัดเจน
เป้าหมายองค์กรเป็นเหมือนเข็มทิศที่ทำให้ทุกคนในองค์กรทราบถึงสิ่งที่องค์กรคาดหวังและสิ่งที่พนักงานต้องทำอย่างไรเพื่อบรรลุตามสิ่งที่คาดหวังนี้ การเข้าใจเป้าหมายองค์กรจะทำให้เข้าใจถึงขั้นตอนจะทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย และต้องใช้คนลักษณะเช่นไร แล้วจะหาคนเช่นนี้มาจากไหน สุดท้ายพนักงานต้นแบบต้องมีลักษณะเช่นไร ในการสร้างคนที่องค์กรต้องการ วิธีการคือ ให้เริ่มจากจุดที่ปัจจุบันที่พนักงานอยู่ในตอนนี้ มีช่องว่างกับความควดหวังขององค์อย่างไร แล้วต้องใช้วิธีอะไรในการพัฒนาพนักงานต่นแบบให้เป็นตามแนวทางที่องค์กรคาดหวัง วิธีนี้นี้จะช่วยให้ผู้บริหารมั่นใจว่ากำลังเริ่มต้นด้วยความคิดริเริ่มที่ถูกต้องนั่นเอง
2.ค้นหาทักษะที่ถูกต้องการสำหรับพนักงานต้นแบบ
หลังจากที่ทราบว่าใครคือคนที่ควรเป็นพนักงานต้นแบบ สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาทักษะการเป็นพนักงานต้นแบบ ดังนั้นเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องสำรวจทักษะของพนักงานต้นแบบว่าเป็นเช่นไร มีสิ่งไหนบ้างที่ต้องพัฒนา โดยการระบุใหชัดเจนว่าพนักงานต้นแบบในปัจจุบันมีทักษะอะไรอยู่บ้าง และต้องการทักษะอะไรเพื่อนำไปใช้เป็นพนักงานต้นแบบ ผู้บริหารจำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าความสามารถหรือความเชี่ยวชาญที่พนักงานต้นแบบมี มีความจำเป็นต้องพนักงานอื่นมากน้อยอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพิจารณาว่าพนักงานที่ต้องการให้เป็นต้นแบบนั้น สามารถมุ่งเน้นการพัฒนาไปต่อได้หรือไม่ เพราะพนักงานบางคนมีความเชี่ยวชาญเก่งแต่ไม่สามารถพัฒนาต่อได้ ก็ทำให้ไปต่อไม่ได้ เพราะพนักงานเหล่านี้จะไม่สามารถพัฒนาหรือนำความรู้มาต่อได้
3.สนับสนุนให้มีทางเลือกและวิธีการในการเรียนรู้
การพัฒนาพนักงานต้นแบบเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการสร้างพนักงานต้นแบบ ผู้จัดการอัจฉริยะ จำเป็นต้องสร้างหลักสูตรอบรมพนักงานต้นแบบที่ตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานที่จะเป็นต้นแบบและพนักงานทุกคน โดยใช้วิธีการที่ปรับให้เหมาะกับการเรียนรู้และการพัฒนาของพนักงานต้นแบบในแต่ละคน การพัฒนาความสามารถเพื่อสร้างพนักงานต้นแบบไม่ใช่แค่การฝึกอบรมอย่างเป็นทางการเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถรวมถึงการเรียนรู้ในที่ทำงาน การรับงานที่ได้รับมอบหมายมาทำ การให้คำปรึกษา การโค้ชชิง การฝึกสอน E-Learning การเรียนรู้ด้วยตนเอง และอื่นๆ แต่อย่างไร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้ ผู้จัดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและสร้างทางเลือกของการเรียนรู้ที่พร้อมสำหรับพนักงานต้นแบบ
4.สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง หยุดการพัฒนาไม่ได้ ทั้งพนักงานทั่วไปและพนักงานต้นแบบ ผู้จัดการจำเป็นต้องส่งเสริมการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นและมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความสามารถในการปรับตัวของพนักงานทั้งองค์กร สร้างแรงจูงใจให้พนักงานจัดสรรเวลาเพื่อเรียนรู้ทุกวัน ทำให้การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นค่านิยมหลักทางวัฒนธรรมและหาวิธีปลูกฝังความคิดนี้ให้กับพนักงานต้นแบบ ซึ่งในองค์กรชั้นนำมักสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เข้มแข็งโดยการจัดตั้งให้มีทีมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อช่วยกันในการจัดหาหลักสูตรที่เหมาะสมในระดับแนวหน้าของธุรกิจเพื่อพนักงานจะก้าวทันสภาพการแข่งขันที่เกิดขึ้น
5.สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือกันอย่างต่อเนื่อง
การฝึกอบรมหรือการฝึกสอนเรื่องการทำงานของพนักงานต้นแบบเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำเพื่อฝึกความชำนาญในการให้ความรู้กับผู้อื่น ซึ่งการให้ความรู้พนักงานด้วยกันมีหลายรูปแบบเช่นการสอนงาน การมอบหมายงานและเมื่อสอนพนักงานเรียบร้อยต้องพยายามที่จะให้ความรู้ที่สอนพนักงานคงอยู่และทุกคนนำกลับมาใช้จนเกิดผลลัพธ์ที่ดีในการทำงาน และการเรียนรู้ของพนักงานจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับประสิทธิภาพในการเรียนรู้เสมอ ซึ่งในทางปฏิบัติจำเป็นต้องมีการกำหนดเป็นพารามิเตอร์ที่วัดได้ในการเรียนรู้
6.พัฒนาภาวะผู้นำ
การพัฒนาทักษะสำหรับการเป็นพนักงานต้นแบบ คือการสร้างผู้นำให้พนักงานคนอื่นทำตาม พนักงานต้นแบบจึงจำเป็นต้องถูกพัฒนาในเรื่องภาวะผู้นำที่ดีพอ ที่จะนำความรู้มานำเพื่อนพนักงานให้ทำตามในสิ่งที่ตนเองกำหนดไว้ ผู้บริหารจำเป็นต้องเตรียมแผนการพัฒนาความเป็นผู้นำสำหรับพนักงานต้นแบบ เพราะจะช่วยให้องค์กรของเติบโตได้อย่างจริงจัง เพราะถ้าองค์กรมีผู้นำที่แข็งแกร่งซึ่งจะพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ เข้าใจสถานการณ์ในอนาคต ก็จะทำให้บรรยากาศการสื่อสารและสอนงานระหว่างพนักงานต้นแบบและพนักงานดีขึ้น การเรียนรู้ก็จะมีประสิทธิภาพในทันที
7.ผู้บริหาร ผู้จัดการ และผู้เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาพนักงานต้นแบบ
การพัฒนาพนักงานต้นแบบเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กร ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงเพื่อพนักงานด้วยกัน การเข้ามามีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่รวมกันในการสร้างพนักงานต้นแบบ จะทำให้การพัฒนาพนักงานต้นแบบทำได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น การเชิญคนที่เกี่ยวข้องเข้ามาส่วนร่วมจะทำให้ทุกคนได้สื่อสารกัน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาที่ควรเป็นและมองเห็นเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน การให้ทุกฝ่ายเข้ามา รวมถึงฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการคนเก่ง ผู้จัดการทีม และตัวพนักงานเอง หรือจะตั้งคณะกรรมการเพื่อประชุมหาแนวทางที่เกี่ยวในการลดช่องว่าง ติดตามความคืบหน้า และสนับสนุนกลยุทธ์การพัฒนาความสามารถอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนร่วม ทำให้ขจัดความสับสน ไม่ชัดเจน ทำให้เป็นอุปสรรคการพัฒนาพนักงานต้นแบบ
8.ประเมินผลและยกระดับต่อเนื่องบ่อย ๆ
หนึ่งในแผนงานในการพัฒนาพนักงานต้นแบบคือการวางแผน ควบคุมและการประเมินผล เพื่อให้การพัฒนาพนักงานต้นแบบ ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีวิธีการวางแผนงาน การประเมินผลงาน และติดตามผล ข้อมูลและวัดผลเทียบกับเป้าหมายการทำงานเป็นตัวบ่งบอกถึงความคืบหน้าของพนักงานต้นแบบ ระบบการจัดการพนักงานที่พนักงานต้นแบบรับผิดชอบ ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไปนั่นเอง
พนักงานต้นแบบเป็นต้นทางของการกำหนดเส้นทางการสืบทอดตำแหน่งหรือ Succession Plan สำหรับองค์กร เพราะการมีพนักงานต้นแบบที่ดี เท่ากับเป็นการถ่ายทอด DNA ที่ดีให้กับพนักงานรุ่นต่อรุ่น จึงไม่ต้องกังวลถึงแม้พนักงานคนเก่าจะต้องเปลี่ยนตำแหน่ง องค์กรก็จะมั่นใจได้ว่ามีพนักงานที่จะมารับช่วงต่อได้โดยงานไม่สะดุด จึงเป็นแผนการสืบทอดตำหน่งหรือ Succession Plan ที่ดีที่สุด เพราะผู้สืยทอดตำแหน่งหรือ Successor ก็จะได้เรียนรู้จากพนักงานต้นแบบก่อนการเข้ารับตำแหน่งใหม่ ซึ่งในทางปฏิบัติองค์กรใดที่สามารถสร้างพนักงานต้นแบบได้ตามแนวทาง Succession Plan ก็จะได้รับผระโยชน์มากมายเช่น
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเนื่องจากพนักงานที่มีทักษะและความรู้สูง
- เพิ่มประสิทธิภาพในการมีส่วนร่วมในการทำงานที่นำไปสู่ผลกำไรที่มากขึ้น
- รักษาพนักงานให้มีความผูกพันธ์องค์กรดีขึ้น รักษาระดับการลาออกของพนักงานทำให้ลดภาระในการสรรหา
แต่อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญในการพัฒนาพนักงานต้นแบบคือ ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพราะการพัฒนาความสามารถของพนักงานมีกระบวนการที่ยาว ต่อเนื่องและต้องใช้แผนงานที่ดี ตั้งแต่ การออกแบบ ขั้นตอน และสุดท้ายคือการนำไปใช้อย่างระมัดระวัง และถ้าทุกองค์กรทำได้ ก็มั่นใจได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้มเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนมีเป้าหมายทางธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน
“หลักสูตรฝึกอบรม ทักษะการเป็นพนักงานต้นแบบภายในองค์กร อย่างมืออาชีพ”