“พนักงานขายที่หมดไฟ
ก็ไม่แตกต่างอะไรกับมีขอนไม้ผุ ๆ
ที่ทำประโยชน์ไมได้ให้องค์กร”
10 เทคนิคปลุกพนักงาน “หมดไฟ” ให้ทำงานดีเหมือนเดิม
ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
เชื่อว่าพนักงานทุกคน รวมถึงผู้จัดการเมื่อมาทำงานในวันแรก ต่างคนต่างมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้งานที่ตนเองรับผิดชอบประสบความสำเร็จ และองค์กรมีความก้าวหน้า สมกับที่ได้รับเราเข้าเป็นพนักงาน เรียได้ว่าพลังในการทำงานเป็นแบบไฟลุก แต่น่าเสียดายที่พนักงานจำนวนมากไม่สามารถทำให้ตนเองไปถึงฝั่งที่คาดหวังได้ เพราะตกอยู่ในสภาพของการหมดไฟในการทำงาน ทั้ง ๆ ที่ตอนเริ่มต้นพนักงานบางคนมีโอกาสที่จะก้าวหน้าในอาชีพที่ตนเองทำงานมาก ๆ ทั้งคุณวุฒิ ความสามารถหรือแม่แต่วัยวุฒิ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเท่าที่ควรเพราะหมดไฟในการทำงาน
สภาวะการหมดไฟในการทำงานนี้เกิดกับคนทำงานมากกว่าร้อยละ 95% ซึ่งหมายความว่า พนักงาน 100 คน เมื่อเวลาผ่านไปจะมีคนรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้จนบางคนไม่อยากทำงานถึง 95 คน และมีเพียง 5 คนที่ยังคงรักษาสภาพจิตใจให้อยากทำงานทำผลงานให้ตนเองแบบเสมอต้นเสมอปลาย..แล้วผู้จัดการที่เป็นหัวหน้าโดยตรงจะโชคดีเจอพนักงานแบบ 5 เปอร์เซ็นต์นี้หรือไม่??
จึงเป็นหน้าที่ของผู้จัดการที่จะคอยปลุกไฟให้พนักงานรวมถึงปลุกไฟในตนเองให้ลุกพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าวิเคราะห์ทางจิตวิทยาการบริหารงาน พบว่าคนทุกคนที่ต้องทำงาน ในการทำงานจะต้องเผชิญ 2 สิ่งสลับกันไป หรือบางคนอาจจะเจอทั้ง 2 สิ่งในเวลาเดียวกัน คือมีทั้งความสุขและความทุกข์ ในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา ทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องงาน หรือเรื่องสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลก โดยเฉพาะเรื่องของสังคม พบว่าพนักงานบางคนเสพสื่อ ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป ทำให้ตนเองอินเข้าไปในเหตุการณ์นั้นส่งผลให้มีอารมณ์ร่วม เช่นพระเอกจะโกรธนางเอก พนักงานคนนั้นก็จะสงสารนางเอกจับใจ หรือ ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่เข้ามา พบว่าข่าวที่ทำให้คนวิตกมากเป็นพิเศษเช่นข่าวเศรษฐกิจที่ตก ย่ำแย่ ทำให้พนักงานรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่อยากขยันทำงานอีกต่อไป ซึ่งการเสพข่าวเช่นนี้ ทำให้พนักงานที่ขาดการตระหนักคิด ก็จะทำให้ไม่ได้พิจารณาถึงรายละเอียดอย่างถ้วนถี่ เช่น ขาดการพิจารณาว่าข่าวเศรษฐกิจไม่ได้เป็นเช่นนี้ตลอด ก็มีข่าวเศรษฐกิจแย่ทำนองนี้ทุกยุค ทุกสมัย แต่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจก็ยังคมมีเพิ่มอยู่เป็นระยะๆ มีการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นถ้ามีเรื่องที่เป็นบวกหรือเรื่องที่ดีเข้ามาพนักงานก็จะมีแนวโน้มที่จะมีความสุขอยากทำงานให้ดีๆ แต่ในทางกลับกันถ้ามีเรื่องที่เป็นด้านลบเข้ามา ก็จะนำมาซึ่งความ เศร้าใจ ไม่พอใจ เสียใจ เบื่อหน่าย และไม่อยากทำงาน อาการเช่นนี้บางคนเป็น ๆ หาย ๆ เป็นช่วง ๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ก็จะไม่ส่งผลมากต่อประสิทธิภาพในการทำงาน เรียกว่าเป็นอาการขึ้น ๆ ลง ๆ ของอารมณ์ เมื่อความเศร้าหายไป ก็อยากกลับมาฮึดสู้เหมือนเดิม ในองค์กรต่าง ๆ จึงมีระบบการพักร้อนเหมือนให้พนักงานไปชาร์ตแบตให้ตนเองและพร้อมที่จะมาทำงานแบบขยันขันแข็งเช่นเดิมหลังการพักร้อน แต่ถ้าพนักงานคนใด มีสิ่งไม่ดีคาใจ ขาดแรงจูงใจถาวร หรือบางคนมีทัศนคติที่เป็นลบ จนกลายเป็นอคติตลอดเวลา คิดทุกเรื่องแต่เรื่องไม่ดี เรื่องลบ วนไป วนมา ตลอดเวลา จะทำให้เกิดอาการ “หมดไฟ ในการทำงาน” (Burnout Syndrome)” ของพนักงานได้ ในปี 1975 (Marlynn Wei, 2016) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาได้ให้คำจำกัดความว่า คำว่า “Burnout” ว่าเป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์เรื้อรังต่องานที่ทำในรูปแบบคือ มีอารมณ์อ่อนเพลียหรือรู้สึกไม่มีอารมณ์ที่จะทำงาน เกิดภาวะขาดความสนุกในการทำงาน ขาดแรงจูงใจในงานที่ทำ เบื่อหน่าย ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงานนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์และร่างกายหลายอย่าง เช่น มีการนอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เบื่อหน่าย ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นสาเหตุนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต อาทิ โรคซึมเศร้า วิตกกังวล บางรายมีพฤติกรรมติดพึ่งสารเสพติด ซึ่งภาวะเครียดเรื้อรังนำไปสู่ปัญหาทางกายเป็นโรคเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ และเบาหวาน กว่า 60-80% จะต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ ในสังคมมการทำงาน การหมดไฟในการทำงานเป็นต้นเหตุของการหมดใจให้กับงานของพนักงาน วิธีการสังเกตง่าย ๆ ใช้ได้ทั้งกับผู้จัดการเองและพนักงาน คือลองสังเกตว่าตอนเช้าที่ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกอย่างไรที่วันนี้ต้องไปทำงาน บางคนกระตือรือร้นที่จะไปทำงาน ตื่นขึ้น ยืดแข้ง ยืดขา กระโดดขึ้นจากเตียงพร้อมที่จะไปทำงาน แต่บางคนไม่อยากที่จะลุกขึ้นเพื่อไปทำงาน หรือบางคนแค่คิดถึงเรื่องงานก็รู้สึกเศร้าแล้ว ใครเป็นเช่นนี้ให้เข้าใจได้เลยว่า คุณกำลังหมดไฟในการทำงาน เรื่องการหมดไฟในการทำงาน เป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้จัดการอัจฉริยะต้องรับรู้ ถึงขนาดองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ขึ้นทะเบียบเป็นโรคใหม่ ที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ถ้าพนักงานคนไหนเป็นมาก ๆ จำเป็นต้องใช้การรักษาทางการแพทย์เข้าช่วยคือไปหาหมอรักษานั่นเอง ดังนั้นผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคอยสังเกตพนักงานของตนและตัวผู้จัดการเองว่ามีอาการหมดไฟในการทำงานหรือไม่ จะได้ป้องกันเหตุที่ไม่น่าจะเกิด ทำให้สถานการณ์ไม่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น หน้าที่ของผู้จัดการอัจฉริยะไม่ใช่แค่คอยสังเกตว่าพนักงานว่าหมดไฟในการทำงานหรือไม่ แต่ยังต้องปลุกไฟให้กับพนักงานสม่ำเสมอ ให้ไฟลุกในการทำงาน เพื่อให้งานเดินไปข้างหน้า และนำความสำเร็จในการทำงานกับความสุขของพนักงานเป็นที่ตั้ง
“หลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ”
จิตวิทยาเรื่องการบริหารคน อธิบายได้ว่า พนักงานทุกคนจะมีอารมณ์ต่อข้อมูลข่างสารที่เข้ากระทบแตกต่างไปตามช่วงเวลาและอารมณ์ โดยมากถ้ามีเรื่องที่เป็นบวกต่อเรา ก็จะมีแนวโน้มแห่งความสุขและรักงาน แต่ในทางตรงกันข้ามที่เป็นด้านลบ ก็จะนำมาซึ่งความไม่พอใจ เสียใจ หรือ เบื่อหน่ายได้ ถ้าเป็นแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆผ่านไปแล้ว อารมณ์ความรู้สึกก็จะกลับมาเป็นปกติ หากแต่เป็นสิ่งที่ติดอยู่ในใจ หรือสิ่งลบนั้นกลับมาวนอยู่ตลอด อาจนำซึ่งอาการ “หมดใจ หรือ หมดไฟ ” หรือ “หมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome)” ของคนทำงานได้
ใครก็ตามที่เป็นผู้จัดการอัจฉริยะต้องเข้าใจถึงผลเสียที่เกิดขึ้น ถ้ามีพนักงานที่หมดไปในการทำงาน หรือ ต้องทำงานท่ามกลางคนที่หมดไฟในการทำงานไปแล้ว บรรยากาศจะน่าเบื่อขนาดไหน เพราะทำอะไรก็ไม่สนุก เช่นเวลามีงานหรือโครงการใหม่ ๆ เข้ามา แทนที่ทุกคนอยากจะช่วยกันทำให้ประสบความสำเร็จ กลับเป็นการผลักภาระงานให้คนอื่น แล้วตัวเองไม่อยากทำงานอะไร เพราะไม่มีไฟอีกต่อไป สำหรับผลเสียที่สรุปได้ง่าย ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานและองค์กรถ้าพนักงานหมดไปในการทำงานมีดังนี้
- สภาพร่างกายไม่พร้อมทำงาน จะมีอาการป่วยบ่อย หยุดงาน ไม่สนใจคุณภาพของงาน ไม่พร้อมที่จะทำงาน เพราะสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมนั่นเอง
- สภาพจิตใจที่ไม่พร้อมทำงาน จะมีอาการนั่งเงียบ ๆ ซึม ๆ ไม่อยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทีมงานจัดให้ บางคนเป็นหนักถึงกับนั่งร้องไห้ก็มี บางคนเป็นโรคซึมเศร้า
- ส่งผลถึงคุณภาพของงาน การทำงานแบบไม่ตั้งใจ ทำให้คุณภาพงานลดลงเพราะประสิทธิภาพในการทำงานลด ปริมาณเวลาที่ทำต่อผลผลิตก็ลดลง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เบื่อหน่ายต่องานใหม่ ๆ ที่เข้ามา พบปะผู้คนและสื่อสารน้อยลง มองเวลาเลิกงานบ่อย ๆ เหม่อลอย ทำแต่งานที่ตนเองรับผิดชอบและลดการมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีม ขาดงานบ่อย หรือบางคนลาออกจากงาน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีงานอื่นรองรับ
- ถ้าคุณเป็นผู้จัดการอัจฉริยะ รู้สึกอย่างไร ถ้าพนักงานกำลังหมดไฟในการทำงาน?
- ถ้าคุณตอบว่าไม่รู้สึกอะไร ให้รีบกลับมาเช็คตนเองอย่างด่วน ว่าตัวผู้จัดการก็ตกอยู่ในอารมณ์การหมดไฟในการทำงานเช่นกันหรือไม่ เพราะในห้องอบรมสัมนาหลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ The Super Manager มักนำเรื่องพนักงานหมดไฟในการทำงานนี้มาปรึกษากันเป็นประจำ ถึงแนวทางแก้ไขเพื่อกระตุ้นให้พนักงานกลับมาขยันและตั้งใจทำงานเหมือนเช่นเดิมที่เคยเป็น ผู้จัดการอัจฉริยะส่วนใหญ่คิดว่าการที่จะพัฒนาพนักงานให้มีความรู้จนสามารถทำงานได้ต้องลงทุน ลงแรงเป็นจำนวนมาก แล้วถ้าพนักงานอยู่ในอาการหมดไฟ เท่ากับสิ่งที่ลงทุนลงแรงไป เสียเปล่า ไม่มีประโยชน์อะไร ในห้องอบรมหลักสูตรผู้จัดการอัจฉริยะจึงนำเรื่องนี้มาปรึกษาถึงวิธีการกระตุ้นไฟในการทำงานให้กับพนักงานของตนเอง และสามารถวินิจฉัยการแสดงออกคนพนักงานที่หมดไฟในการทำงานได้ 3 อาการที่แสดงออกดังนี้
- มีทัศนคติเป็นลบต่อการทำงาน ต่อเพื่อนร่วมงาน มีจิตริษยา ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก
- ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไม่ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพ ไม่อยากติดต่อกับใคร หรือขอความช่วยเหลือคนอื่นเมื่องานมีปัญหา
- เบื่อหน่าย อ่อนล้า หมดอารมณ์ที่จะทำงาน ท้อแท้ หรือ ป่วยบ่อย ทำให้หยุดงานบ่อย
ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องสังเกตอาการณ์ของพนักงานของตนเอง เพื่อจับสัญญาณทางอารมณ์ว่าพนักงานเป็นอย่างไรในการทำงาน หรือ พนักงานเข้าสู่โหมดหมดไฟในการทำงานหรือไม่ ซึ่งการสังเกตสามารถทำได้ 3 สิ่งดังนี้
- ความคิด
วิธีที่ผู้จัดการอัจฉริยะจะใช้สังเกตพนักงานของตน สังเกตได้จากการแสดงออกของพนักงาน เช่นการประชุม การระดมสมอง พนักงานคนนี้มีการแสดงออกทางความคิดอย่างไร เช่น มองคนในแง่ร้าย ความผิดเกิดจากคนอื่นทั้งที่เป็นสิ่งที่ตนเองทำขึ้น ระแวงว่าเพื่อนร่วมงานจะกลั่นแกล้ง หรือผู้จัดการไม่ชอบหน้าตนเอง ไม่ยอมรับเรื่องรางต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ ไม่เชื่อมั่นว่าตนเองจะทำงานให้สำเร็จได้ทั้ง ๆ ที่เป็นงานง่าย ๆ
- วุฒิภาวะทางอารมณ์
ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องสังเกตว่า พนักงานคนนี้มีอารมณ์เป็นเช่นไร เช่นฉุนฉียวบ่อยหรือไม่ เมื่อก่อนอารมณ์ดี แต่ปัจจุบันอารมณ์ฉุนเฉียวบ่อยขึ้น นอนไม่หลับ หรือ นอนหลับยาก หรือสึกหมดหวังต่อการทำงาน มีอารมณ์ขึ้นลงทำให้เข้าใจยาก มองเรื่องงานเป็นเรื่องที่ไม่น่าพอใจ ทั้งงานและคนที่ทำงานด้วย รวมถึงไม่พอใจผู้จัดการซึ่งเป็นผู้บริหารสายตรงเช่นกัน
- การแสดงออก
ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องสังเกตปริมาณงานและคุณภาพของงานที่มอบหมายให้พนักงานทำ มีการผลัดวันปประกันพรุ่ง งานหม่เสร็จทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่งานยาก แต่ใช้เวลานานในการทำงาน ไม่กระตือรือร้น มาทำงานสายลงทุกวัน ไม่สนใจต่อการให้ข้อมูลย้อนกลับ หรือ คำเตือนต่าง ๆ ขาดการบริหารจัดการงานทำใหงานไม่คืบหน้าเช่นไม่มีการบริหารเวลา ไม่มีการตั้งเป้าหมายของความสำเร็จ บางคนถึงกับต้องการลาออกจากงาน เสียสมาธิกับเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ สีหน้าแววตาแสดงได้ถึงการไม่มีความสุขในการทำงาน บางคนเหนื่อยล้าปวดหัวหรือปวดเมื่อยบ่อย ๆ
พนักงานคนไหนมีโอกาสการเกิดภาวะหมดไฟ ให้ผู้จัดการอัจฉริยะหมั่นตรวจสอบ ลักษณะดังต่อไปนี้
- ได้รับการมอบหมายงานที่หนักเกินไปทั้งปริมาณงานมากและความยากของมีความซับซ้อนหรือความเร่งด่วนของงานที่ต้องทำ
- ไม่ได้รับอำนาจให้ตัดสินใจในงานที่ตนเองรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่รู้งานมากกว่าคนอื่น
- งานไม่มากแต่ขาดทักษะในการจัดลำดับความสำคัญของงาน ทำให้งานเสร็จล่าช้า
- ขาดแรงจูงใจที่ดี ไม่มีรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ตนเองทุ่มเทให้กับงาน รู้สึกทำงานเหนื่อยเปล่า
- ขาดการยอมรับทั้งกับผู้จัดการและเพื่อนร่วมงานเหมือนไม่มีตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม พูดไปก็ไม่มีคนสนใจ
- ผู้จัดการลำเอียง ทำให้รู้สึกไม่ยุติธรรมในการทำงาน ขาดความเชื่อมั่นในการบริหารงาน ทำให้ไม่เปิดใจยอมรับผลงานกัน
- แนวทางการทำงานขัดแย้งต่อแนวทางของตนเอง อึกอัด ไม่ชอบ หรือต้องไปทำงานที่ตนเองไม่ชอบ ทำให้ขัดต่อคุณค่าและจุดมุ่งหมายในชีวิตของพนักงาน
ขั้นตอนการสำรวจพนักงานและตัวผู้จัดการว่ากำลังหมดไฟในการทำงานหรือไม่ ด้วยการตั้งคำถามที่ต้องค้นหาคำตอบให้ได้ ดังนี้
- ตื่นเช้าขึ้นมารู้สึกไม่อยากไปทำงานหรือไม่?
- หวาดผวาเมื่อมีโทรศัพท์จากผู้จัดการหรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่
- กังวลเรื่องงาน ทั้ง ๆ ที่ไม่อยู่ในเวลาทำงาน หรือ อยู่ที่บ้านหรือไม่?
- รู้สึกว่างานทุกงานยากไปหมด คิดไม่ออก ทั้งที่เมื่อก่อนทำได้ง่ายหรือไม่?
- เครียดอย่างรุนแรง บางครั้งไม่มีสาเหตุ มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หวาดผวา อ่อนล้า จากการทำงานหรือไม่
- รู้สึกมีคนมองในแง่ลบ ไม่เชื่อถือ สบประมาท เหยียดหยาม หรืออยากอยู่ห่างกับเพื่อนร่วมงานหรือไม่?
- ปัญหาสุขภาพร่างกายมากขึ้น ปวดหัวมากขึ้น ท้องเสียบ่อยขึ้นหรือไม่?
เมื่อไรก็ตามที่พบอาการเหล่านี้ 1 ใน 6 ข้อ ที่เป็นบ่อย ๆ แสดงว่าเป็นจุดเริ่มต้นของอาการของความเหนื่อยหน่ายงานหรือหมดไฟในการทำงาน แต่ถ้าพบ 2 ข้อขึ้นไป แสดงว่าเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
สำหรับแนวทางในการแก้ไขมี 10 เทคนิคที่ผู้จัดการอัจฉริยะต้องนำมาใช้ปลุกไฟในการทำงานให้พนักงาน ได้แก่
- เปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นการจัดสำนักงานใหม่บ้าง เคยมีบริษัทหนึ่งเข้ามาอบรมหลักสูตรผู้จัดการอัจฉริยะ และให้ข้อมูลว่า บริษัทของเขาตั้งอยู่ ถ.พัฒนาการ จะมีการย้ายสำนักงาน ทุก ๆ 5 ปี เพราะผู้บริหารระดับสูงเชื่อว่า บรรยากาศในการทำงานเปลี่ยนไปจะเป็นตัวกระตุ้นให้พนักงานขยันในการทำงาน หรือองค์กรต่างประเทศที่พยายามให้ผู้บริหารจะดับสูงที่เข้ามาบริหารองค์กรมีการโยกย้ายทุก 5 ปี เพื่อทำให้ได้รับบรรยากาศใหม่ ๆ ในการทำงาน เป็นการปลุกไฟในการทำงานเช่นกัน
- ในองค์กรแบบญี่ปุ่มมักมีสโลแกนว่า Work Hark, Play Hard ซึ่งมีความหมายว่า ทำงานจริงจัง เล่นก็ปล่อยตัวสุดชีวิตเช่นกัน ในบางองค์กรจึงจัดให้มีการรับประทานอาหารร่วมกันบ้าง มีการพบปะสังสรรค์นอกสถานที่บ้าง มีกิจกรรมนอกงานกับเพื่อนร่วมงานบ้าง เช่นไป แฮงค์เอาท์กันตามที่ต่าง ๆ หรือบางองค์กรจัดให้มีการพักทานอาหารกลางวันร่วมกัน ชักชวนให้ทุกคนคิดบวก สุดท้ายคนที่คิดลบ ก็จะกลับมาคิดบวกเช่นกัน วิธีนี้เป็นการลดช่องว่างในการทำงาน
- ยังจำได้ว่าขณะที่เรียนหนังสือในระดับมัธยมหรือมหาวิทยาลัย จะมีการจัดตั้งชมรมต่าง ๆ ขึ้นมาตามความชอบของนักเรียน ซึ่งเกิดประโยชน์มากมาย เพราะหลังจากเลิกเรียนหนัก ก็จะกลับมาอยู่ที่ชมรมเพื่อพูดคุยในสิ่งที่ตนเองสนใจ เช่นการทำค่ายอาสา การถ่ายรูป การเข้าร่วมกลุ่มที่อาจจะช่วยให้ความรู้สึกพนักงานดีขึ้น ไม่โดดเดี่ยว ทำให้ชีวิตมีความหมายมากขึ้น และในองค์กรใหญ่ ๆ ใช้วิธีจัดตั้งชมรมจะทำให้พนักงานได้รู้จักคนใหม่ด้วย แนวคิดเช่นนี้จะการให้หรือช่วยเหลือผู้อื่น จะมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้สึกตัวเองมีประโยชน์ มีความหมาย ได้ความปลื้มใจและลดความเครียดที่มีอยู่
- ฝึกการมองต่างมุม ลองใช้การเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว เช่นเมื่อไรก็ตามที่รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการทำงาน ลองมองคนที่ลำบากกมากว่า ไม่ว่าจะเป็นคนที่ต้องแบกหาม หรือทำงานช่วงกลางคืน จะทำให้ตนเองรับรู้ว่างานที่ทำ นั้นง่ายกว่าคนอื่นมาก จงภูมิใจในการที่ทำ และทำให้ดีที่สุด เทคนิคนี้เป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองต่องานที่ทำ มองหาคุณค่าในงานที่ทำ พยายามทำให้งานให้ดีที่สุด และใช้เวลให้มีสมดุล ก็จะเพิ่มไฟในการทำงานเช่นกัน
- ภาวะที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย หมดไฟในการทำงานแบบถาวรคือการหนีสังคม ไม่เข้ากลุ่ม ไม่ไปทานอาหารด้วย ไม่มีการเชื่อมสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นต้องพยายามที่จะปรับตัวเข้ากลุ่ม พูดคุยในเรื่องที่กลุ่มสนใจ ก็จะช่วยลดความเครียดในการทำงาน ทำให้ทุกคนอยากช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีโอกาสทำงานได้ผลดีขึ้น ทำให้ทุกคนรับรู้ว่าจะผ่านเวลาที่ยากลำบากไปด้วยกัน จะส่งผลในการทำงานให้ดีขึ้น คือการทำงานเป็นทีมนั่นเอง
- การหยุดงานเพื่อไปพักผ่อนจะทำให้พนักงานเปลี่ยนบรรยากาศจากการทำงาน ไปยังที่อื่นที่รู้สึกผ่อนคลาย แต่ให้เป็นการพักงานจริง ๆ ไม่ใช่หอบงานไปทำต่อที่บ้าน การหยุดพักงานบ้างเช่นการพักร้อนบ้าง พาตัวออกจากสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น ในองค์กรชั้นนำจึงมีการออกกฏที่จะให้พนักงานทุกคนต้องพักร้อนและห้ามเก็บวันพักร้อนสะสม หรือได้รับเงินตอบแทนถ้าไม่ไปพักร้อน เพื่อเป็นการบังคับให้พนักงานไปพักร้อน เป็นการจุดไฟในการทำงานอีกครั้งนั่นเอง
- พักผ่อนนอนหลับ ให้มากขึ้น พยายามนอนให้หลับมากขึ้น ฟังเพลงที่ทำให้หลับลึก ซึ่งหาได้ตาม สื่อต่าง ๆทั่วไป เพราะการนอนน้อยเกินไป เป็นปัจจัยสำคัญต่อความเหนื่อย ทำให้ไม่อยากทำงานเพราะเหนื่อยหน่าย การนอนหลับที่สนิทขึ้น จะทำให้ร่างกายคนเราฟื้นตัวจากความอ่อนล้า เครียด เหนื่อยหน่ายและพร้อมที่จะกลับไปทำงานให้ไฟลุกเช่นเคย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่าการออกกำลังกายที่พอเหมาะ จะทำให้ร่างกายสดชื่น การออกกำลังกายที่ดี คือการบริหารหัวใจและหลอด ใครที่ไม่อยากวิ่งก็ใช้การเดิน เดินให้เร็ว ๆ เดินให้มาก ๆ ซึ่งปัจจุบันก็มีตัวช่วยมากมาย เช่น นาฬิกาวัดจำนวนก้าว หรือ สมาร์ทวอช ที่สามารถวัดการออกกำลังกายในแต่วันได้ว่าถึงระดับออกกำลังหัวใจและหลอดเลือด เป็นอย่างไร
- การฝึกจิตให้มีสมาธิ เป็นการปล่อยวางปัญหา ละทิ้งความเครียดชั่วคาว ทำให้สมองไม่ล้า การทำสมาธิเป็นฝึกสติ ที่ได้รับการพิสูจน์ทั้งทางการแพทย์ว่าสามารถช่วยให้ทุกคนรับมือกับปัญหาได้ในทุกสถานการณ์หรือนักกีฬาจำนวนมากจะมีการทำสมาธิก่อนการลงแข่งขั้นเพื่อให้ตนเองมีสติที่ดีพอในการแข่งขัน วิธีง่ายการฝึกสมาธิเพียง 10 นาทีต่อวัน ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและจิตใจ ทำให้หลายองค์กรให้มีการนั่งสมาธิก่อนการทำงาน เพื่อส่งผลให้พนักงานมีจิตใจที่พร้อมจะทำงานเพื่อเป็นการปลุกไฟในการทำงานนั่นเอง
- เคยสังเกตหรือไม่ว่าช่วงใกล้ปีใหม่จะรู้สึกอย่างไรต่อ สถานที่ต่าง ๆ ที่มีการประดับประดาให้สวยงาม เช่นมีต้นคริสต์มาส มีสีสันต่าง ๆ ทำให้เกิดการตื่นตัวเมื่อได้พบเห็น การตกแต่งสำนักงานในช่วงเทศกาลต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการปลุกไฟให้พนักงานอยากทำงานมากขึ้น บริษัทจึงควรจัดงบประมาณเพื่อการตกแต่งเพราะผลลัพธ์ที่ได้จะคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้พนักงานกลับมามีไฟที่โชติช่วงในการทำงานอีกครั้ง
ในห้องอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ หรือ The Super Manager บรรดาผู้จัดการอัจฉริยะต่างลงความเห็นว่าเป็นหน้าที่สำคัญของคนเป็นผู้จัดการที่จะต้องคอยเติมเชื้อเพลิงให้กับพนักงานให้ลุกตลอดเวลา เพราะในทุกองค์กรต่างมีเป้าหมายที่สูงขึ้นทุกปี แต่ถ้าพนักงานหมดไฟในการทำงาน การทำงานก็จะถดถอย ถึงแม้รับพนักงานมาเป็นกองทัพ ก็ไม่มีประโยช์อะไร เพราะพนักงานทุกคนไม่มีไฟในการทำงาน มีจำนวนพนักงานที่มาก ก็จะกลายเป็นภาระให้กับผู้จัดการ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแบบไม่มีผลลัพธ์ในการทำงานออกมา องค์กรไหนที่มีพนักงานหมดไฟ ก็ต้องเตรียมตัวปิดได้ เพราะขาดทุนแน่นอน..ผู้จัดการอัจฉริยะจึงต้องเร่งปลุกไฟในตัวพนักงานให้ลุกโชติช่วงตลอดเวลาก่อนที่จะสายเกินแก้..นะจะบอกให้