การสร้างคน อย่าง Lenovo คือ การพัฒนาให้พนักงานทำงานได้ตามที่องค์กรคาดหวัง ซึ่งก็คือปรัชญาการทำงาน กลยุทธ์การทำธุรกิจ และการบริหารคนของ บริษัท เลอโนโว (Lenovo) จากประเทศ จีนที่เติบโตเป็นที่ 4 ของโลก
แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาล
สร้างคน ให้ประสบความสำเร็จอย่าง Lenovo ทำได้อย่างไร?
ที่มา : Yang Yuanqing, I Came Back Because the Company Needed Me, Harvard Business Review, July-August 2014, pg.105-108
แปลโดย ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาล (Sumontha Tonvongval)*
ประธานบริษัท เลอโนโว (Lenovo) ทำไมถึงกลับมาบริหารบริษัทอีกรอบ ? เขามีกลยุทธ์ในการบริหารงานอย่างไร?
คุณ หยาง หยวนคิง (Yang Yuanqing) อายุ 59 ปี (เกิด 12 พฤศจิกายน 2507) ปัจจุบันเป็นมหาเศรษฐีลำดับที่ 533 ของประเทศจีน และมีทรัพย์สินมากถึง 620 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ
หยางจบปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยเชี่ยงไฮ้ และจบปริญญาโท ในประเทศจีน เขาเข้าทำงานกับบริษัทนี้ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ (CEO) ในปี 2544 หลังจากนั้นอีก 3 ปีเขาก็ขึ้นเป็นประธานบริหาร (Chairman) ของ บริษัทซึ่งขายคอมพิวเตอร์ ในปี พศ 2548 เขาและเจ้าของบริษัทได้เข้าชื้อธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์จากบริษัท ไอบีเอ็ม และทำให้เลอโนโว เติบโตเป็นที่สามของโลกที่ผลิตคอมพิวเตอร์ หรือ พีซี เดิมเลอโนโวมีชื่อว่า ลีเจ็น (Legend) ในปี พศ 2552 หลังจากโลกประสพภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ หยางได้กลับมาเป็นกรรมการผู้จัดการ (ซีอีโอ) ของบริษัทนี้อีกครั้ง
หยางมีกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจด้วยการ ปกป้องธุรกิจของตนเองและโจมตีคู่แข่ง (protect and attack) ในเวลาเดียวกันก็รุกคืบหน้าในธุรกิจมือถือ และคราวด์ (Cloud) หยางมีขื่อเสียงในการบริหารโดยเขาลดระดับอาวุโสในบริษัท และให้อำนาจพนักงานในการตัดสินใจในทุกระดับ นอกจากนี้หยางเป็นคนใจดี เขาได้จ่ายโบนัสให้พนักงานในปี 2555 ถึง 2.6 ล้านเหรียญดอลล่า หรือเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของโบนัสที่ทำได้ และจ่ายมากถึง 75% หรือ 3.17 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ จากยอดโบนัส 4.3 ล้านเหรียญดอลล่าที่ทำได้
หยางได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร HBR (Harvard Business Review) ว่าตอนที่บริษัทของเขาซื้อธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ หรือ พีซี จากบริษัท ไอบีเอ็ม เมื่อ 18 ปีก่อน เขาไม่เคยคิดว่าจะเป็นความจริงและตอนนี้แม้ธุรกิจพีซีจะไม่สดใส บริษัทของเขาได้ทำธุรกิจอื่นด้วย เช่น มือถือ แท็ปเล็ท และเซิร์ฟเวอร์ คู่แข่งของเขาคือ บริษัท แอปเปิ้ล (Apple) และแซมซุง (Samsung) ซึ่งตอนนี้บริษัทเขาเป็นที่สามแต่เขาต้องการไต่ลำดับให้สูงขึ้น หยางบอกว่าเขามีกลยุทธ์การบริหารงานที่ชัดเจน และนำไปปฎิบัติได้ เลอโนโวต้องการเป็นบริษัทคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่แต่ไม่แพงเกินไปกว่าที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าของบริษัทมาใช้ได้ โดยบริษัทเน้นเรื่องลูกค้าใหม่ บริษัท เลอโนโวมีสินค้ามากเพื่อให้บริการครอบคลุมกลุ่มลูกค้าหลายระดับซึ่งหยางเองไม่คิดจะเปลี่ยนกลยุทธ์นี้ซึ่งตรงข้ามกับไอบีเอ็มที่สินค้ามีราคาแพง
84% ของสินค้าขายดีของบริษัทคือ คอมพิวเตอร์ (พีซี ) และ แท็ปเล็ท ซึ่งในอีก 5 ปีข้างหน้าสินค้าขายดีนี้คงเปลี่ยนไปซึ่งจะมี สมาร์ทโฟน และระบบคอมพิวเตอร์ ในปีนี้ หยาง ได้ซื้อบริษัท โมโตโลล่าจาก กูเกิ้ล แล้วซึ่งกูเกิ้ลไม่ได้เก่งด้านระบบ (Hardware)
หยางได้กล่าวถึงวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ที่ทำให้บริษัทเจริญเติบโต 3 ประการที่น่าสนใจคือ
1) วัฒนธรรมที่พนักงานในองค์กรคิดหรือทำงานเสมือนเป็นเจ้าของ (Ownership culture) โดยบริษัทให้อำนาจในการคิดและตัดสินใจทำงานด้วยตนเอง
2) วัฒนธรรมที่พนักงานทุกคนมีคำมั่นสัญญาสูง หมายถึงรับปากแล้ว ทำได้ และทำได้สำเร็จ (Commitment culture)
3) วัฒนธรรมที่พนักงานต้องการเป็นคนบุกเบิกหรือ เริ่มต้น (Pioneer culture) พนักงานได้รับการสนับสนุนให้เป็นคนคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ
เมิ่อกล่าวถึงการสร้างพฤติกรรมการคิดค้นสิ่งใหม่หรือ นวตกรรมใหม่ๆให้พนักงาน ซึ่งทำโดยการให้อินเซนทีฟที่จูงใจ หยางเองได้กล่าวว่าเขาจะประชุมกับทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (R&D) ทุกเดือนและมุ่งเน้นใน 3 ด้านคือ สินค้าใหม่ บริการใหม่ หรือ เทคโนโลยี่ใหม่ โดยให้งบประมาณแบบยืดหยุ่นหรือเกินงบได้ถึง 20% เพื่อให้ทีมพัฒนาได้คิดค้นอย่างไม่ปิดกั้นจากงบประมาณที่จำกัด
หยางกลับมาทำงานใหม่ในปี 2552 เมื่อบริษัทประสพปัญหารายได้ตกลงมาก ระหว่างปี พศ 2551-2552 โดยในไตรมาสเดียวยอดขายตกไปถึง 200 ล้านเหรียญ เป็นช่วงที่บริษัทอยู่ในภาวะวิกฤติ และบริษัทคงไม่มีทางเลือกอื่นจึงขอให้เขากลับมาทำงานใหม่ บริษัทนี้ไม่นิยมจ้างพนักงานชาวต่างชาติ ซึ่งหยางเองบอกว่าเป็นสิ่งดีเพราะการจ้างคนในท้องที่หรือในประเทศ จะมีความเข้าใจธุรกิจของตนเป็นอย่างดี ขณะนี้บริษัทฯมีพนักงานต่างชาติทำงานเพียง 50 คนจากพนักงานทั้งหมด 54,000.- คน
หยางได้ย้ายไปพำนักในรัฐ แคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา หลายปีแล้วและสิ่งที่เขาเห็นความแตกต่างระหว่างสหรัฐและจีน คือ ระบบการศึกษาที่อนุญาตให้เด็กๆเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองชอบ ซึ่งในประเทศจีนเด็กๆมักจะแข่งกันทำข้อสอบเพื่อให้ได้คะแนนสูงๆ นอกจากนี้เรื่องการให้ความสำคัญต่อสมดุลเวลา งานและครอบครัว ซึ่งในประเทศจีน มีแต่การทำงานตลอดเวลา
บทความน่าอ่านเพิ่มเติม
เทคนิคการขายกับ 4 แนวคิดที่นักขายรุ่นใหม่ต้องรู้
เทคนิคการขายกับ 4 แนวคิดที่นักขายรุ่นใหม่ต้องรู้ โดย ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณ และ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย แนวคิดของเทคนิคการขายที่นักขายต้องรู้และเข้าใจ ซึ่งในหลักสูตรการขายในปัจจุบันนั้นอาจจะไม่ได้พูดถึงแนวคิดเช่นนี้ที่นักขายพึงจะต้องมี...
หลักสูตรการขาย ตอนเจรจาต่อรอง
หลักสูตรการขาย ตอน "เทคนิคการเจรจาต่อรอง" โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจที่นักขายหลายคนเข้า "อบรมหลักสูตรการขาย" แต่ยังไม่สามารถเจรจาต่อรองและปิดการขายได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมีนักขายหลายคนนั้นกลัวการเจรจาต่อรอง...
ผู้จัดการหรือผู้บริหาร ทำอย่างไร เมื่อผลประเมินพนักงานต่ำ
ผู้จัดการหรือผู้บริหารจะแก้ไขอย่างไร เมื่อผลประเมินพนักงานต่ำกว่าเกณฑ์ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย มีผู้จัดการหรือผู้บริหารจำนวนไม่น้อยที่พอถึงเทศกาลการประเมินผลงานพนักงาน ก็จะออกอาการทำอย่างไรดี ไม่ใช่เรื่องการประเมิน...
เทคนิคการขาย:ใครผิด ใครถูก ใครได้ ใครเสีย
ใครผิด ใครถูก ใครได้ ใครเสีย โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย มีนักขายหลายคน เข้าอบรมหลักสูตรการขายหลายครั้งมักมีข้อสงสัยในเรื่องของความผิดหรือถูกระหว่างนักขายกับลูกค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงอยากจะนำมาเขียนเพื่อจะทำความเข้าใจโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในงานขาย ในคำถามถามในทำนอง...
จัดการอย่างไร เมื่อผู้บริหารหรือผู้จัดการไม่ชอบพัฒนาตนเอง
จัดการอย่างไร เมื่อผู้บริหารหรือผู้จัดการไม่ชอบพัฒนาตนเอง? stepplus training.com เป็นเรื่องที่หน้าประหลาดใจที่ปัจจุบันมีหลักสูตรผู้บริหารหรือหลักสูตรผู้จัดการดี ๆ มากมายแต่ผู้จัดการกลับไม่ชอบที่จะเข้าร่วมหรือพัฒนาตนเอง...
การประยุกต์ Bench-Marking ไปใช้
การประยุกต์ Bench-marking ไปใช้ คืออะไร? การประยุกต์ Bench-marking ไปใช้ คือการนำเครื่องมือเทคนิคที่ได้จากการอบรมเรือง Bench-marking มาใช้ในการทำงาน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ ตรงกับเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้ ซึ่งในการทำ Bench-marking ที่ดี ต้องมีขั้นตอนอย่างมืออาชีพ...
ขั้นตอนการทำ Bench-marking อย่างมืออาชีพ
Bench-marking คืออะไร? "การประยุกต์ Bench-Marking ไปใช้ คือ การนำกระบวนการจัดทำ Bench-marking ที่ได้รับความรู้มา เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำ Bench-marking ภายในองค์กร ทำให้พนักงานทุกคน มีเครื่องมือในการจัดทำ Bench-marking ได้ตรงกับเป้าหมายที่องค์กรต้องการ" ขั้นตอนการทำ...
Strategic Benchmarking for Marketer
กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คืออะไร? กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คือ แนวทางการนำกลยุทธ์ ทาง Bench-Marking มาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ ทางการตลาด ทำให้ความแตกต่างระหว่างตนเอง กับคู่แข่งได้ชัดเจนการจัดทำกลยุทธ์ทาง Bench-Marking...
ต้นทุน ขยับสูงขึ้น…ทำอย่างไร? ให้ธุรกิจอยู่รอด
ต้นทุน ขยับสูงขึ้น...ทำอย่างไร? ให้ธุรกิจอยู่รอด เป็นที่ทราบกันดีว่าในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้ ต้นทุนของสินค้าต่างขยับขึ้นเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมันขึ้นราคา ค่าแรงเพิ่ม ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นทุนของสินค้า...
เทคนิคการนำเสนอให้ดี ก็ไม่พอ ถ้าต้องการขายให้ได้
เทคนิคการนำเสนอ ให้ดี ก็ไม่พอ ถ้าต้องการขายให้ได้ ในการขายนั้นบ่อยครั้งที่นักขายจะเจอเหตุการณ์เช่นนี้คือ ลูกค้าบอกให้ไปนำเสนอขาย พนักงานขาย ก็นำ เทคนิคการนำเสนอ มากมาย แต่ทำไมเมื่อนำเสนอสินค้าแล้วลูกค้าไม่ซื้อ บางครั้งทำให้รู้สึกเสียกำลังใจเหมือนกัน ทำให้เบื่อ ๆ...
ลูกค้าทำท่าว่าสั่งปริมาณมาก เพื่อเจรจาต่อรองราคา แต่สั่งซื้อน้อย..!
ลูกค้าทำท่าว่าสั่งปริมาณมาก เพื่อเจรจาต่อรองราคา แต่สั่งซื้อน้อย..! ในการขายนั้นบางครั้งต้องขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ซึ่งตัวแทนจำหน่ายชอบใช้ปริมาณการสั่งซื้อเพื่อมาต่อรองด้านราคา หรือบางครั้งก็ใช้ราคาคู่แข่งมาอ้างอิงเพื่อต่อราคา โดยใช้ราคาที่ต่ำมาก กับปริมาณการสั่งซื้อ...
เพิ่มผลงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ..ในเวลาที่จำกัด..
เพิ่มผลงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ..ในเวลาที่จำกัด.. มีคำพูดยอดนิยมของคนทำงานที่มักพูดกันบ่อย ๆ ว่า “ทำงานไม่ทัน” ซึ่งหมายถึงไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ พอถูกถาม ก็มีเหตุผลมากมายที่จะอธิบายถึงสาเหตุว่าตนเองนั้นทำงานไม่ทันและเป็นเช่นนี้ทุกเดือน...
เทคนิคการขายแบบ B2B
เทคนิคการขายแบบ B2B มีนักขายหลายคนต้องขายสินค้าเพื่อให้ผู้อื่นนำไปขายต่อ ที่เรียกว่า เป็นตัวแทนจำหน่าย(ยี่ปั้ว ซาปั้ว) หรือที่ในปัจจุบัน จะเรียกว่า เป็นการขายในลักษณะ B2B ซึ่งก็ย่อมาจากคำว่า Business to Business คือเป็นการติดต่อระหว่งธุรกิจกับธุรกิจ...
The Super Manager
How to improve your organization productivities? (8 Modules of the Principle of Management) หมายเหตุ: หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ประยุกต์มาจากหลักสูตรการบริหารจัดการ (Management Program) จาก The Japan Industrial Training (JITA) และ The Oversea Human Resource and...
Miller Heiman
Miller Heiman Miller Heiman: Strategic Selling® Program กลยุทธ์การขายแบบองค์รวมเพื่อชัยชนะในการขายที่ซับซ้อน (Complex Sales) การขายเชิงกลยุทธ์ ® ทำให้เห็นภาพการขายที่ชัดเจนในทุกโอกาสของการขายด้วยเครื่องมือของโปรแกรมเพื่อใช้ในการวางแผน ที่เรียกว่า บลูชีท (Blue...
กลยุทธ์สุดท้ายของการเจรจาต่อรองแบบ Negotiation Strategy for Win-Win
กลยุทธ์สุดท้ายของการเจรจาต่อรองแบบ Negotiation Strategy for Win-Win โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย ผู้อำนวยการหลักสูตรNegotiation Strategy for Win-Win: StepPlus ความจริงเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองที่ว่า..คนส่วนใหญ่ “ยอมแพ้” ทั้งที่ “ยังไม่เริ่มต้น” แล้วคุณล่ะ?...
Public Training
Hello world!
Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!