5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย เป็น การพัฒนาความคิด Growth Mindset สำหรับพนักงานขาย ทำให้มีความคิดเชิงรุก ที่แตกต่างจากการขายแบบเดิม ๆ เข้าหาลูกค้า สร้างความพอใจให้ลูกค้า ทำให้เพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้เพิ่มมากขึ้น
5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย
1.วิเคราะห์ตนเอง และ ทำความเข้าใจ สถานการณ์ปัจจุบัน
2. การคิดวิเคราะห์ พนักงานขาย จะได้รับอะไรจาก Growth Mindset
3. เริ่มเปลี่ยนแปลงทีละขั้น จากน้อยไปสู่มาก
4.ประชุม ร่วมกันตัดสินใจ ในการ พัฒนา Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย
5.เสริมแรงกระตุ้น ให้มีกำลังใจ
5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย
เขียนโดย วิทยากร สอนการขาย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
ปัจจุบัน การแข่งขันทางธุรกิจ รุนแรงเพิ่มมากขึ้น และทำให้ต่างฝ่ายต่างมีความรู้สึกว่า ธุรกิจจำเป็นต้องมีการขายที่มีเดิมพันสูงขึ้น คือ ไม่ชนะ ก็ ตาย หรือ ปิดบริษัทไป ทางเลือกของ ผู้จัดการฝ่ายขาย จึงต้องตัดสินใจที่จะเดินต่อ ให้ประสบความสำเร็จที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด หรือ จะยอมให้ธุรกิจถดถอยและพ่ายแพ้ ไปในที่สุด
การพัฒนายอดขายไม่สามารถทำได้ ด้วยพนักงานขายคนใดคนหนึ่ง หรือ ผู้จัดการฝ่ายขายเพียงฝ่ายเดียว การดำเนินการที่สำคัญคือ การเปลี่ยนทัศนคติของพนักงานขาย ให้มีทัศนคติการขายใหม่ เป็น โดยลดแนวทางการทำงานขายแบบเดิม ๆ จนกระทั้งได้แนวทาง การคิดในการขายแบบใหม่ได้
นักจิตวิทยา ชาวอเมริกัน คุณ Carol Dweck ได้อธิบายไว้ คนที่เชื่อว่าความสามารถของตนสามารถพัฒนาได้ โดยการผ่านการทำงานหนัก มีกลยุทธ์ที่ดี และข้อมูลจากผู้อื่น จะมีชุดความคิดแบบเติบโต หรือที่เรียกว่า Growth Mindset มักจะประสบความสำเร็จมากกว่า คนที่มีชุดความคิดแบบตายตัว หรือที่เรียกว่า Fixed Mindset กลุ่มคนเหล่านี้มักเชื่อว่าความสามารถของตน มาจากพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิดพัฒนาไม่ได้
พนักงานขายที่มี Growth Mindset จะเข้าใจตนเองและไม่กังวลว่าใครจะมองว่าเขาไม่ฉลาด ทำให้พนักงานขายที่มี Growth Mindset จะทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนรู้ [LINK] เทคนิคการขาย เพิ่มมากขึ้น
พนักงานขายที่มี ทันคติแบบ Fixed Mindset และ พนักงานขายที่มี Growth Mindset
เป็นที่เข้าใจได้ว่า จุดเริ่มต้นของความสำเร็จมาจากความคิด การพัฒนาความคิดจึงเท่ากับการพัฒนาความสำเร็จ แล้วความคิดแบบไหนที่ถูกต้องเพื่อทำให้พนักงานขายประสบความสำเร็จ มองเรื่องการปิดการขายไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
พนักงานขายที่มีความคิดแบบ Fixed Mindset (ความคิดแบบคงที่) จะมีความเชื่อที่ว่าความสามารถและสติปัญญาเป็นลักษณะคงที่ ที่ไม่สามารถพัฒนาได้ การได้มาซึ่งยอดขาย คือการที่ลูกค้ามีความต้องการด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อช่วยในการปิดการขาย หรือ ถ้าจะทำอะไร ก็ไม่ต้องทุ่มเทมาก เพราะลูกค้าจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ขึ้นกับความจำเป็นหรือความต้องการของลูกค้าแต่ละคน
มายเซ็ทของพนักงานขายเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้า..
พนักงานขายที่มีความคิดแบบ Fixed Mindset (ความคิดแบบคงที่) พยายามหลีกเลี่ยงความท้าทาย หรือการติดต่อลูกค้าที่ยาก ๆ ถึงแม้จะมียอดขายที่มากก็ตาม เพราะพนักงานขายเหล่านี้จะกลัวความผิดพลาด หรือความล้มเหลวหรือการเปิดเผย จุดอ่อนที่ตนเองมี และรับไม่ได้กับการยอมรับจุดอ่อนของตนเอง พนักงานขายที่มีความคิดแบบ Fixed Mindset (ความคิดแบบคงที่) จะหวั่นไหวต่อคำติชมของผู้อื่น แต่พฤติกรรมมักจะยึดมั่นในสิ่งที่ตนรู้ เพียงพอเท่านี้ ไม่ต้องการรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ต่อต้านคำติชม และถึงแม้จะรู้จุดอ่อนของทีม แต่ก็มองว่าทีมขายทำได้เท่านี้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือพัฒนาได้
ในทางกลับกัน พนักงานขายที่มีความคิดแบบ Growth Mindset (ความคิดแบบเติบโต) จะยอมรับแนวคิดที่ว่า ทัษะการขายของพนักงานขายสามารถพัฒนาได้ ผ่านการทำงานด้วยความทุ่มเทและการทำงานหนัก พนักงานขายที่มีความคิดแบบนี้มองว่า การขายที่ยาก ๆ คือความท้าทาย เป็นโอกาสสำคัญสำหรับการเติบโต โดยยอมรับคำติชม และสนับสนุน เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการทำงานขายของตน จึงจำเป็นต้องสร้าง Growth Mindset ในงานขาย
ตัวอย่าง พนักงานขายที่มีการใช้วิธีคิดแบบ Fixed Mindset (ความคิดแบบคงที่):
พนักงานขายชื่อ เอ เป็นพนักงานขายที่ทำงานมานาน มีประสบการณ์ทำงานในบริษัทใหญ่ มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ในอดีด คุณเอทำยอดขายได้เป็นอย่างดี รู้สึกภูมิใจในวิธีการขายของเขามาโดยตลอด เพราะทำเป้าขายได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยอดขายของเขากลับลดลง อย่างไม่รู้สาเหตุ คุณเอ ไม่ทราบว่าจะค้นหาสาเหตุที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริงในการทำให้ยอดขายลดลง เพราะคุณเอ ได้ใช้วิธีการขายแบบเดิม ๆ และก็คิดว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะใช้เทคนิคการขายเช่นนี้มานาน ยิ่งไปกว่านั้น มีคนแนะนำให้ คุณเอ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการขาย แต่คุณเอ ยังลังเลและมองว่า เทคโนโนลี เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ทำให้เขาไม่เต็มใจที่จะ บริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่องานขาย ในตนเอง ไม่ต้องการปรับตัวและลงทุนในการพัฒนาเทคนิคการขายของเขาทำให้การปิดการขายหยุดชะงักและเริ่มต้น จากเป็นจุดแข็งของทีม กลายเป็นจุดอ่อน และทำให้พนักงานขายในทีมขาย ขาด แรงจูงใจ Motivation ในการขาย
ตัวอย่าง พนักงานขายที่มีวิธีคิดแบบ Growth Mindset (ความคิดแบบเติบโต):
พนักงานขายชื่อ บี เป็นพนักงานขายในบริษัทสตาร์ทอัพที่ ทันสมัยและยอดขายที่เติบโตอย่างรวดเร็วกัน คุณ บี มองว่า ธุรกิจ จำเป็นต้องแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งลูกค้าและคู่แข่ง ทำให้เทคนิคการขาย ที่ตนเองเคยทำ ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของตนเองก่อนและต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน
คุณ บี ลงทุน ในการฟังพอดแคสต์ ในวันเสาร์ อาทิตย์ ที่เป็นวันหยุด ไม่ต้องไปหาลูกค้า หรือ ไม่เคยขาดโปรแกรมการฝึกอบรม หลักสูตร 8 ขั้นตอนการเป็นนักขายมืออาชีพ การเรียนรู้ กลยุทธ์ในการเจรจาต่อรอง ให้การสนับสนุนให้ทีมงานขาย ด้วยการเป็นโค้ชทีมขาย เพื่อค้นหา กลยุทธ์การขายเชิงรุก ใหม่ๆ มี การบริหารการเปลี่ยนแปลง ในงานขาย และใช้ การคิดวิเคราะห์ ข้อมูลเพื่อปรับปรุงแนวทางการขายของทีมขาย
เมื่อพนักงานขายบางคนกำลังเผชิญกับอุปสรรคในการขาย คุณบี มักให้กำลังใจและมองว่า ปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ คือโอกาสในการพันาเทคนิคในการขายและเชิญชวนเพื่อนพนักงานขาย มาประชุมฝ่ายขาย เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไข ผลลัพธ์ที่ได้คือ ทีมงานขายไม่เพียงแต่บรรลุเป้าหมายยอดขาย แต่กลับทำยอดขายได้เกินเป้าหมาย เป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรมใหม่ในการขายของทีมขาย
“แนวคิด Growth Mindset เพื่องานขาย (ความคิดแบบเติบโต)” กลายเป็นคำยอดนิยมขององค์กรการขาย โดยเฉพาะในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง จนหนึ่งในคำสร้างคุณค่าขององค์กร มักมีคำว่า “นวตกรรม” หรือ “การเปลี่ยนแปลง” การคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์ ต่างเห็นคำสำคัญที่ต้องใช้ในการขับเคลื่อนให้ พนักงานขายมี ความคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่องานขายทั้งสิ้น
หนังสือแนะนำ
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีพนักงานขายจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับการมี ความคิดแบบเติบโต Growth Mindset ซึ่งสามารถสรุปได้ 3 อย่างดังนี้
1.พนักงานขายทุกคน มี การคิดแบบเติบโต Growth Mindset มาตลอดอยู่แล้ว
ผู้คนมักสับสนระหว่างแนวคิด การคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย กับ ความยืดหยุ่น โดยมีความคิดเปิดกว้าง หรือมีทัศนคติเชิงบวก ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พนักงานขาย ต่างเชื่อว่าตนมีมาโดยตลอด ซึ่งในความเป็นจริง ความคิดเช่นนี้ เป็นการคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย ที่ผิดๆ ความเป็นจริง คือ พนักงานขายทุกคนล้วน เป็นส่วนผสม ของความคิดในการขายแบบตายตัว Fixed Mindset และความคิดในการขายแบบการเติบโต Growth Mindset
ส่วนผสมดังกล่าว พนักงานขายต้องถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพราะแนวคิดการเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย ที่แท้จริงไม่คงอยู่ได้ ต้องยอมรับว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำ แนวคิดการเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย มาสร้างผลประโยชน์ ด้วยการปิดการขาย ตามเป้าหมายที่ต้องการ
2.ความคิดแบบเติบโต Growth Mindset เป็นเพียงคำหวาน ไว้ชื่นชม เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้น เท่านั้น
เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นการให้รางวัลกับความทุ่มเทในการทำงานของพนักงานขายจึงสร้าง คำ Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย แต่ในความเป็นจริงนั้น ความพยายามขาย เข้าเยี่ยมลูกค้าบ่อย ๆ จะไม่เกิดประสิทธิผลที่เป็นสิ่งที่ดีเลย และทำให้ปิดการขายไม่ได้ ถ้าไม่มีการสร้างความคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย การขายที่ดีจึงไม่ใช่แค่ให้รางวัลกับตนเอง ที่เป็นแค่ความพยายามเท่านั้น แต่พนักงานขายที่มีความคิดเติบโต จะมองถึงการเรียนรู้และความก้าวหน้า การสร้างเครือข่ายในการขาย การนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาใช้ และการใช้ประโยชน์จาก ปัญหา อุปสรรค มาเป็นประสบการณ์ เพื่อเทคนิคการขายที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น การปิดการขาย คือ ผลลัพธ์สุดท้ายนั้นนั่นเอง พนักงานขายและผู้จัดการฝ่ายขายจำเป็นต้องพร้อมใจในการพัฒนา Growth Mindset สำหรับพนักงานขายอย่างจริงจัง
3.การยึดมั่นใน Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย ทำแค่ สิ่งดีๆ ที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น
ความปรารถนาดีอันแรงกล้า ของพนักงานขาย คือการปิดการขายให้ได้มาก ๆ ทำยอดขายให้ได้สูง ๆ เป็นการสะท้อนการทำงาขายที่ยอดเยี่ยม แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสิ่งที่พนักงานขายกำลังทำ ขัดแย้งกับค่านิยม ที่เป็นเป้าหมายการขาย ขององค์กร เช่น อัตราการเติบโต การสร้างความน่าเชื่อถือ และรับประกันคุณภาพ ค่านิยมเหล่านี้ไม่มีความหมายสำหรับพนักงานขายเลย หากพนักงานขายไม่นำนโยบาย ที่ทำให้ค่านิยมเป็นจริงมาใช้ องค์กรที่มีแนวคิดความคิดแบบเติบโต Growth Mindset จะไม่มองแค่ สิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น แต่จะให้พนักงานขาย จะให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงที่สมดุลย์และเหมาะสม โดยทุกครั้งที่พนักงานขายได้ทำงานขาย จะต้อง คิดเชิงวิเคราะห์ หรือ การคิดเชิงตรรกะเพื่อค้นหาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยให้รางวัลแก่พนักงานขายที่มีการระมัดระวัง ที่ทำให้เกิดความเสี่ยง มาเป็นบทเรียนสำคัญ ถึงแม้จะปิดการขายไม่ได้ ก็ตาม การคิดแบบ Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย จะสนับสนุนการทำงานขายแบบร่วมกัน แทนการแข่งขันกันระหว่างพนักงานขายหรือกับหน่วยงานอื่น ๆ โดยพนักงานขายทุกคนจะมุ่งมั่นเพื่อพัฒนา การคิดแบบ Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย ของพนักงานขายทุกคน ไม่ใช่แค่ด้วยคำพูดเท่านั้น แต่ด้วยการกระทำ เช่น เพิ่มโอกาสในการพัฒนา Growth Mindset หรือ การพัฒนา เทคนิคการปิดการขาย เพื่อสนับสนุน การคิดแบบ Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย อย่างต่อเนื่อง
จะสร้างทัศนคติการขายใหม่ ด้วย Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย ได้อย่างไร?
การคิดแบบ Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย จะช่วยให้พนักงานขายพร้อมที่จะประสบความสำเร็จ ด้วยตนเอง เปิดความคิดให้กว้าง ให้เข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะปรับตัว พัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มโอกาสในการปิดการขาย และสามารถสร้างยอดขายอย่างเป็นรูปธรรม
จึงเป็นความจำเป็นของผู้จัดการฝ่ายขาย ที่ได้กล่าวไว้ในหลักของ 6 เครื่องมือในการบริหารทีมขาย ซึ่งจะให้ความสำคัญในการพัฒนา การคิดแบบ Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย ด้วยเส้นทางการพัฒนา 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1: วิเคราะห์ตนเอง และ ทำความเข้าใจ สถานการณ์ปัจจุบัน
เริ่มต้นการเปิดใจยอมรับและเริ่มต้นสำรวจว่าความจริงที่ทำให้การขายไม่บรรลุเป้าหมายคืออะไร ทำไมลูกค้าไม่ซื้อ ทำไมถึงปิดการขายไม่ได้ ทำไมทำ การนำเสนอด้วยการเล่าเรื่อง แล้วไม่น่าสนใจ ความคิดอะไรบ้างท่ำให้ติดขัด ไปต่อไม่ได้ เป็นความคิดที่ยึดติด หรือ Fixed Mindset หรือความคิดที่ยึดติด เพราะทางเลือกมีน้อยจริง ๆ หรือมีทางเลือกแต่พนักงานขายไม่กล้าที่จะเลือก หน้าที่สำคัญคือการค้นหาปัญหาที่เป็นอุปสรรคให้เจอ และกระตุ้นให้ความคิดไปข้างหน้า ด้วยการ ปลุกพลังทางความคิด เพื่อพิชิตใจลูกค้า การปรับมุมมองที่ไปข้างหน้า
วิธีที่ดีที่ง่ายที่สุด ในการพัฒนา การคิดแบบ Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย คือการตั้งเป้าหมายเล็กๆ เป็นเป้าหมายที่บรรลุได้ง่าย เช่นยอดขายที่ไม่สูงมาก ซึ่งจะช่วยให้พนักงานขายได้รับแรงผลักดัน ที่สามารถช่วยให้พนักงานขายมีกำลังใจ ในการทำให้บรรลุเป้าหมาย
อย่าลืมว่า เป้าหมายของการคิดแบบ Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย คือการสนับสนุนให้พนักงานขายประสบความสำเร็จ ช่วยให้หลุดพ้นจากความคิดที่ควที่ หรือความคิดที่ติดขัด ให้ได้ หากต้องการทำแบบนั้น คุณต้องพัฒนาการคิดแบบ Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย เป็นประจำจนเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ในองค์กร
ขั้นตอนที่ 2: การคิดวิเคราะห์ พนักงานขาย จะได้รับอะไรจาก Growth Mindset
ค้นหาวิธี การสื่อสารภายในองค์กร ด้วยวิธีพูดคุยกันเป็นการส่วนตัว กับพนักงานขาย ว่าพนักงานขายทุกคนจะได้รับอะไรจากการพัฒนาการคิดแบบ Growth Mindset โดยไม่นำเรื่อง เงิน มาเป็นที่ตั้ง โดยให้ทุกคนค้นหาแนวทาง ที่จะทำให้ทุกคนบรรลุเป้าหมาย เช่น จะพัฒนายอดจาก 80% เป็น 100% หรือ 110% ต้องทำอย่างไร หรือ ต้องการความช่วยเหลือด้านใด ปล่อยให้ พนักงานขายตอบคำถามเหล่านี้ด้วยตนเองเอง โดยกระตุ้นใหระบุ เจาะจงอย่างชัดเจน และแสดงอารมณ์ออกมา หากไม่สามารถทำให้พนักงานขายแสดงออกว่าทำไมการเปลี่ยนพฤติกรรม จึงสมเหตุสมผลที่ควรกระทำ ไม่ใช่สิ่งที่แค่อยากทำ แต่เป็นแรงบันดาลใจที่แรงกล้า ที่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ให้มี Growth Mindset นั่นเอง
ขั้นตอนที่ 3: เริ่มเปลี่ยนแปลงทีละขั้น จากน้อยไปสู่มาก
จุดเล็ก ๆ เมื่อรวมตัวกัน ก็จะกลายเป็นวงใหญ่ขึ้นมา มีความหมายว่า การเปลี่ยนความคิดจาก Fixed Mindset ให้มาเป็น Growth Mindset ให้เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เล็ก ๆ และทำได้ ทำได้ง่าย ๆ ก่อน แทนความพยายามเปลี่ยนแปลงทุกอย่างในทันที ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของบุคคลในทันที โดยให้แยกขั้นตอนการขาย ออกมาเป็นส่วน ๆ สิ่งหนึ่ง หรือ สองสิ่ง ออกมา แล้วทำการพัฒนา Growth Mindset เพื่องานขาย ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เช่น พนักงานขายบางคน มุ่งเน้นไปในการพัฒนา Growth Mindset ของการค้นหาลูกค้าและการปิดการขาย เราจำเป็นต้องมาวิเคราะห์การสร้าง Growth Mindset ที่การค้นหาลูกค้าและปิดการขาย ด้วยการเริ่มต้นที่จะสื่อสารแบบ 2 ทาง ไปมาเพื่อการแลกเปลี่ยนและค้นหาแนวทางของ ความคิดแบบเติบโต Growth Mindset ที่ดีที่สุดนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 4: ประชุม ร่วมกันตัดสินใจ ในการ พัฒนา Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย
การกำหนดการประชุม ที่จะต้องนำประเด็นการพัฒนาความคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย โดยที่พนักงานขายมีหน้าที่ต้องรายงานความเป็นจริงที่เป็นข้อมูลให้ทราบ ว่ามีแรงกดดันอย่างไรบ้าง ในการทำงานที่นี่ และทำการร่วมกันร่างแนวทางที่ต้องการพัฒนา ความคิดแบบเติบโต Growth Mindset โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเริ่มต้นในการพัฒนาความคิดในการเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย
ตัวอย่างที่ดีในการประชุมร่วมเพื่อค้นหาแนวทางในการพัฒนา ความคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย อาจจะเริ่มต้นจาการถามว่า “พวกเราทุกคนจะทำอะไร ที่ดีขึ้นได้กว่านี้อีก หรือมีวิธีการขายที่แตกต่างไปจากเดิมอะไรได้บ้าง” ในการประชุมทำเล่นนี้เรื่อยไป จนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสลัดพฤติกรรมแบบเดิม ๆ ออกไปได้จากพนักงานขายคนเดิม
ขั้นตอนที่ 5: เสริมแรงกระตุ้น ให้มีกำลังใจ
การสร้างแรงจูงใจที่จะทำให้พนักงานขายทุกคน ฟันฝ่าอุปสรรค ที่ทำให้ตนเองสามารถที่จะละทิ้ง การคิดที่ที่ยึดติด(Fixed Mindset) ลง เพื่อสร้าง การพัฒนาความคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย ได้ พนักงานขายจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกับพนักงานขายคนอื่น ๆ รวมถึงการทำงานร่วมกับผู้จัดการฝ่ายขาย เพื่อเสริมกำลัง เป็นการกระตุ้นความคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย ทำให้ทัศนคติที่ดี เปลี่ยนพฤติกรรมแบบเติบโต Growth Mindset ที่มีประสิทธิผลต่อไป และเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ทางความคิดเชิงบวก ที่ยั่งยืนทั้งในมุมมองและประสิทธิภาพการทำงานแบบเติบโต Growth Mindset ผู้จัดการฝ่ายขายและพนักงานขายจำเป็นต้องมีการประชุมฝ่ายขายร่วมกัน โดยเริ่มต้นที่จะ มี การสื่อสาร 360 องศา เพื่อมั่นใจว่าพนักงานขายทุกคนจะนำพฤติกรรมใหม่แบบเติบโต Growth Mindset ไปใช้ และสะท้อนภาพให้ผู้จัดการฝ่ายขายได้ทราบ ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 90 วัน ด้วยความพยายามที่จะทำสิ่งใหม่ๆ จากทัศนคติในงานขายใหม่ ๆ ทำให้ความคิดใหม่ และพฤติกรรมใหม่เช่นกัน
วิธีคิดของผู้จัดการฝ่ายขาย สามารถส่งผลอย่างมากต่อความสำเร็จของทีมขาย ในขณะที่วิธีคิดแบบยึดติด (Fixed Mindset) ตัวอาจนำไปสู่ความซบเซา ความเฉื่อยชา และพลาดโอกาสในการขายที่พลาดไป วิธีคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย จะปลดล็อกศักยภาพของพนักงานขาย ทำให้พร้อมที่จะขับเคลื่อนการ ทำงานที่มี[LINK]ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และส่งเสริมวัฒนธรรม Growth Mindset ในการขาย พนักงานขายทุกคนพร้อมที่ปรับตัวและยืดหยุ่นเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ผู้จัดการฝ่ายขายสามารถรับมือกับความท้าทาย พร้อมที่จะคว้าโอกาสใหม่ๆ และนำทีมไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนได้ด้วยวิธีคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขาย
เมื่อไรก็ตาม ที่ผู้จัดการฝ่ายขาย สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติของทีมขาย ก็จะทำให้สร้างผลลัพธ์อันน่าภูมิใจด้วยการทำความเข้าใจและนำหลักการของวิธีคิดแบบเติบโต Growth Mindset เพื่อพนักงานขายไปใช้ ก็จะส่งผลที่ดีในการขาย ปิดการขายได้มากขึ้น สร้างรายได้ให้พนักงานขายมากขึ้น ๆ สู้ ๆ สู้แบบ Growth Mindset นะครับ
วิทยากร สอนการขาย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
ทำอย่างไร? เมื่อต้องขายแข่งกับ Brand ดัง
ทำอย่างไร? เมื่อต้องขายแข่งกับ Brand ดัง ตัวแทนจำหน่าย(ยี่ปั้ว ซาปั้ว) หรือที่ในปัจจุบัน จะเรียกว่า เป็นการขายในลักษณะ B2B ซึ่งก็ย่อมาจากคำว่า Business to Business กลไกการขายประเภทนี้ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้านั้นมีวัตถุประสงค์ของการซื้อเพื่อจัดจำหน่าย...
ทำอย่างไร..ให้มีเวลาขายเพิ่มมากขึ้น
ทำอย่างไร..ให้มีเวลาขายเพิ่มมากขึ้น ทำไมพนักงานขายส่วนใหญ่ทำงานไม่ทัน หมายถึงไม่สามารถไปเยี่ยมลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ พอถูกถาม ก็มีเหตุผลมากมายที่จะอธิบายถึงสาเหตุว่าตนเองนั้นทำงานไม่ทัน และเป็นอย่างนั้นทุกเดือน...
อยากเป็นนักธุรกิจบ้าง..ต้องทำอย่างไรดี..
อยากเป็นนักธุรกิจบ้าง..ต้องทำอย่างไรดี.. ในช่วงของวิกฤติเศรษฐกิจเป็นพิษ งานประจำที่เคยทำก็จะรู้สึกอึดอัดขึ้นมา เพราะมีแรงกดดันต่าง ๆ นานาเข้ามามากมาย ที่เคยได้ ก็ไม่ได้ หรือได้ยากขึ้น มีขั้นตอน มีระบบเข้ามากระทบมากมาย ฟังแล้วก็รู้สึกเหนื่อย...
หากลุ่มเป้าหมายอย่างไร ได้ใจ ได้งาน
หากลุ่มเป้าหมายอย่างไร ได้ใจ ได้งาน สำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาผู้มุ่งหวังได้จำนวนมากๆ เพราะมีความเข้าใจผิดบ้างในการค้นหาผู้มุ่งหวัง เพราะนักขายต่าง ๆ มุ่งที่จะค้นหาผู้มุ่งหวังจำนวนมาก ๆ เข้าไว้...
ทำอย่างไรให้ทีมงานยอมรับเมื่อเป็นหัวหน้าทีม!
ทำอย่างไรให้ทีมงานยอมรับเมื่อเป็นหัวหน้าทีม! มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นหัวหน้าทีมแล้วเจอปัญหา คือเพื่อร่วมงานก็ไม่ขยัน และไม่ตั้งใจเท่าไหร่ มีแต่ความเป็นผู้อาวุโส และเมื่อไม่ได้รับเลื่อนขั้น ก็ทำการตีรวน เรียกได้ว่า ทำให้แกว่งไปหมด เมื่อเราคิดจะไปด้านซ้าย...
ขายเพราะข้อมูล ข้อมูล “ที่ไม่มากเกินไป”
ขายเพราะข้อมูล ข้อมูล “ที่ไม่มากเกินไป” มีพนักงานขายทั้งมือใหม่และมือเก่าจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน จนทำให้หลายคนถึงกับยอมถอดใจล้มเลิกความตั้งใจเป็นพนักงานขายเลยทีเดียว ขอให้ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน...
มันแปลกดีนะ! ขายมาหลายปี แต่กลับขายได้น้อยลง
มันแปลกดีนะ! ขายมาหลายปี แต่กลับขายได้น้อยลง เป็นปัญหาแม่แบบที่เกิดกับพนักงานขายหลายๆ คน จึงคิดว่าน่าจะนำมาลงเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้เพื่อนพนักงานขายได้สังเกตุตนเองว่ามีปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งมีทิศทางสวนกระแสคือยิ่งเวลาผ่านไปมากขึ้น...
ลูกค้า ชอบถามเรื่องค่าคอมมิชชั่น ตอบอย่างไรดี?
ลูกค้า ชอบถามเรื่องค่าคอมมิชชั่น ตอบอย่างไรดี? นักขายหลาย ๆ คนอาจจะประสบปัญหาเช่นกัน การควบคุมสถานการณ์ของผู้ขาย จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้กระทบกระเทือนถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวกับลูกค้า แต่ก่อนอื่น อยากให้ทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของอาชีพก่อนว่า...
สัญญาณการซื้อ..เป็นไฉน?
สัญญาณการซื้อ..เป็นไฉน? สัญญาณการซื้อ(Buying Signal) เป็นเรื่องละเอียดอ่อนในการขายและสามารถมีขึ้นได้ทุกขณะ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นหลังจากนักขายนำเสนอ บางครั้งก่อน บางครั้งหลัง ปัญหามีอยู่ว่าจะทำอย่างไร นักขายถึงจะทราบได้ว่า มีสัญญาณการซื้อ และเป็นสัญญาณจริง...
เป้าหมายการขายที่สูงขึ้น จากการขายให้ผู้บริหาร
เป้าหมายการขายที่สูงขึ้น จากการขายให้ผู้บริหาร มีนักขายหลายคนมักบอกว่าการขายก็เพื่อให้ตนเองนั้นได้ยอดขายที่สูง จำนวนการสั่งซื้อที่มากๆ ต้องขายให้กับผู้บริหารระดับสูง และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในปัจจุบันนั้นพบว่าคำถามเช่นนี้มีเพิ่มมากขึ้น...
อะไรคือข้อมูลที่สำคัญ เพื่อช่วยการขาย
อะไรคือข้อมูลที่สำคัญ เพื่อช่วยการขาย ต้องขอบอกก่อนว่า เรื่องของข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการขาย มีความซับซ้อนและมีเรื่องของความรู้สึก ความผูกพันมาเกี่ยวข้องด้วยนอกเหนือจากเนื้อหาของการหาข้อมูล ซึ่งการค้นหาข้อมูลนั้นเป็นส่วนหนึ่ง...
บ่อยครั้งที่ลูกค้าชอบถามราคาก่อน ควรบอกเลยหรือไม่?
บ่อยครั้งที่ลูกค้าชอบถามราคาก่อน ควรบอกเลยหรือไม่? เรื่องการบอกราคากับลูกค้า ว่าควรบอกดีหรือไม่ เมื่อผู้ขายถูกรุกให้บอกราคา เรื่องของการบอกราคานั้นเป็นเสมือนดาบสองคม ในบางครั้งผู้ขายยืนกรานไม่บอกราคาสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทราบ...
ทำอย่างไร? เมื่อ นักขาย ถูกมองว่าชอบ “โกหก”…
ทำอย่างไร? เมื่อ นักขาย ถูกมองว่าชอบ “โกหก”... ประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีจากการตอบสนองของลูกค้า หรือ “กลุ่มผู้มุ่งหวัง” ที่ทำให้รู้สึกว่าพวกตนเอง (หมายถึงพนักงานขาย) เป็นพวกที่ใช้ไม่ได้ เพราะไม่มีความจริงใจ ชอบโกหก ใครที่มีประสบการณ์เช่นนี้...
จริงหรือ? ที่ว่าไม้ตายการขาย คือ “ลูกอ้อน”
จริงหรือ? ที่ว่าไม้ตายการขาย คือ “ลูกอ้อน” เป็นเสียงสะท้อนได้ดีให้ผู้ที่ทำงานขายนั้นตระหนักรู้ถึงกระบวนการของการขายของตนเอง ถึงวิธีการหรือสิ่งที่นักขายแสดงออกไป และจะมีผลกระทบต่อผู้ฟังอย่างไร หนักๆเข้าอาจจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในตัวผู้ขายไปเลยก็มี ...
เรียนรู้ความสำเร็จเพื่อตนเองจะประสบความสำเร็จ
เรียนรู้ความสำเร็จเพื่อตนเองจะประสบความสำเร็จ เรียนรู้ความสำเร็จเพื่อตนเองจะประสบความสำเร็จ เชื่อว่าผู้ถามจะเป็นอีกผู้หนึ่งที่จะเดินบนเส้นทางของการขายได้อย่างสง่างาม เพราะว่ามีนักขายจำนวนไม่มากที่จะพยายามวิเคราะห์ตนเองตลอดเวลา...
แก้เรื่องปวดหัว กับนักขายชอบลาออก!
แก้เรื่องปวดหัว กับนักขายชอบลาออก! เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจไม่น้อยสำหรับผู้ที่ต้องทำงานในตำแหน่งหัวหน้าและต้องดูแลฝ่ายขาย ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีความละเอียดอ่อนมาก เพราะนักขายนั้นเป็นผู้ที่ต้องติดต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง...
เป็นเรื่อง..เมื่อนักขายต้องวิ่งตามเก็บเงินลูกค้าด้วย
เป็นเรื่อง..เมื่อนักขายต้องวิ่งตามเก็บเงินลูกค้าด้วย อาจมีสาเหตุจากความเข้าใจผิดระหว่างผู้บริหารและนักขาย เนื่องจากนักขายและบริษัทไม่ได้มีการพูดคุยให้ชัดเจนในเรื่องของขอบเขตการทำงาน หรือที่เรียกว่า Scope of Work ทำให้มีความเข้าใจผิดกันบ้าง...
อย่างไร?…คือ การขายสายพันธ์ใหม่
อย่างไร?...คือ การขายสายพันธ์ใหม่ รู้สึกอยู่อย่างหนึ่งว่างานขายเริ่มเหมือนงานที่เขาเรียกว่างาน Routine เข้าทุกวันคือ มีการติดต่อลูกค้าทุกวัน พยายามเข้าพบ เพื่อนำเสนอสินค้า และก็พยายามปิดการขายในที่สุด บางครั้ง รู้สึกเบื่อๆ เพราะเริ่มจำเจ หรือเป็นเพราะทำซ้ำๆ...
มุมมอง วิธีการขาย ของนักขายรุ่นใหม่
มุมมอง วิธีการขาย ของนักขายรุ่นใหม่ ขอทำความเข้าใจกับงาน Routine ซึ่งหมายถึงงานที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน เช่นงานในสำนักงาน เป็นมุมมองที่น่าสนใจเพราะคนส่วนใหญ่จะมองว่าพนักงานขายไม่ซ้ำซากและจำเจ อาจจะมาจากการมองกระบวนการขายที่ต้องทำอยู่เป็นประจำ...
สร้างความยั่งยืนของยอดขายจากการสร้างแฟนพันธ์แท้
สร้างความยั่งยืนของยอดขายจากการสร้างแฟนพันธ์แท้ กระบวนการแบบใหม่ที่ใช้กันมากในการขายยุคปัจจุบัน เพื่อสร้างลูกค้าที่จะใช้สินค้าเป็นประจำ หรือที่เรียกว่า “แฟนพันธ์แท้ นั่นเอง” การขายในปัจจุบันมีการนำหลักการตลาด (Marketing Concept) มาใช้...