เทคนิค การประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ เป็น แนวทางการพัฒนาทักษะขของผู้จัดการในการประเมินผลงาน ของพนักงาน เพื่อให้พนักงานยอมรับ ผลการประเมินในครั้งนั้น ๆ ซึ่งมีขั้นตอนที่ละเอียดอ่อน
เทคนิค การประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ
3 ประเด็นหลักในการประเมินพนักงาน
1.เขาไม่คิดว่าผู้จัดการจะมีความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงต่อการประเมินผลการทำงานของพนักงาน เพราะผู้จัดการมักจะให้คะแนนดี ๆ กับคนที่ใกล้ชิดมากกว่า
2.พนักงานรู้สึกผิดหวังต่อมุมมองของผู้จัดการที่ไม่ยอมรับผลงานที่พนักงานได้ทำ ทั้ง ๆ ที่เขาทุ่มเทอย่างเต็มที่ เพราะผู้จัดการไม่มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน
3.พนักงานไม่รู้ถึงความคาดหวังที่แท้จริงจากผู้จัดการว่าต้องการเป้าหมายอย่างไรในการทำงาน เปลี่ยนแปลงบ่อยจนสับสนว่าความต้องการที่แท้จริงคืออะไร
เทคนิค การประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ
เขียนโดย วิทยากร สอน หลักสูตร ผู้จัดการ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
เป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับคนที่เป็น ผู้จัดการ หรือผู้บริหาร ที่ทุกปี หรือ ทุกครึ่งปีจะต้องประเมินผลการทำงานของพนักงานตนเอง และเสียงสะท้อนที่ได้ยินกันบ่อยมากที่สุดจากพนักงานคือการประเมินของผู้จัดการไม่มีความยุติธรรม ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่ดีพอ ทำให้พนักงานไม่พอใจ ไม่ยอมรับ บางคนถึงกับหมดกำลังใจในการทำงาน จนแย่สุดคือการลาออกจากที่ทำงานนั้น อย่างน่าเสียดาย
ดังนั้นการประเมินผลงานของพนักงานที่มีคุณภาพดีพอ จึงกลายเป็นเรื่องที่ผู้จัดการนำมาปรึกษากันในห้องหลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ(The Super Manager) เป็นอย่างมาก เพราะการประเมินเป็นกุญแจสำคัญของผู้จัดการในหลายเรื่องเช่นเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน เป็นการวัดผลการทำงานงานของพนักงาน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะความรู้ด้านต่าง ๆ ของพนักงานทำให้การทำงานดีขึ้น
การประเมินพนักงานที่ดีนอกจากสะท้อนภาพการทำงานของพนักงาน ยังสะท้อนภาพการบริหารจัดการของผู้จัดการอีก หมายความว่าถ้าหลังจากการประเมินพนักงานไปแล้ว ในปีถัดไปพนักงานยังคงมีผลงานที่ไม่ดี ไม่น่าภูมิใจ เท่ากับผู้จัดการคนนั้นไม่ได้นำผลจากการประเมินไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ เช่นการพัฒนาพนักงาน เปรียบเทียบง่ายกับการประเมินผลการเรียนของนักเรียนในห้องเรียนสะท้อนคุณภาพการสอนหรือการดูแลของครูในห้องนั่นเอง
การประเมินเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ทั้งผู้จัดการและพนักงาน แต่ถ้านำมาใช้ผิดวิธีก็จะกลายเป็นผลเสียมากกว่า เพราะจะทำให้พนักงานหมดกำลังใจ ไม่อยากทำงานให้ดีขึ้น ละทิ้งความรับผิดชอบที่ควรมี ถ้าองค์กรใดเป็นเช่นนี้ ก็เรียกได้ว่าใช้การประเมินไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าองค์กรที่เข้าใจหลักการประเมินก็จะนำการประเมินเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างแรงจูงใจหรือปรับทัศนคติให้พนักงานมีความรู้สึกดีต่อการพัฒนาตนเอง เพื่อนำมาพัฒนาองค์กรรวมถึงผู้จัดการสามารถนำมาใช้ในการวางแผนงานในอนาคตได้ วางเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพให้พนักงาน หรือการวางแผนพนักงานที่มีความสามารถพิเศษหรือการวางแผนเพื่อการสืบทอดตำแหน่งในอนาคตของรุ่นพี่ที่จะเกษียณอายุไป
ความหมายของการประเมินพนักงาน คือเป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบเพื่อให้ผู้จัดการนำมาใช้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการวัดผลการทำงานหรือประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ซึ่งมีความคาดหวังที่จะนำผลการประเมินมาใช้เป็นแรงจูงใจให้พนักงานอย่างพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น ทำให้พนักงานทุ่มเททำงานเต็มกับความ สามารถที่พนักงานมีอยู่ ตามแนวทางในการสร้างทุนมนุษย์ในองค์กร
แต่ในทางปฏิบัติมีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อมั่นเรื่องการประเมินจากผู้จัดการของเขาเพราะจากการสำรวจพนักงานหลายร้อยคนพบว่าพวกเขามีความรู้สึกต่อผู้จัดการที่มีหน้าที่ประเมินได้เป็น
3 ประเด็นหลักในการประเมินพนักงาน
1.เขาไม่คิดว่าผู้จัดการจะมีความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงต่อการประเมินผลการทำงานของพนักงาน เพราะผู้จัดการมักจะให้คะแนนดี ๆ กับคนที่ใกล้ชิดมากกว่า
2.พนักงานรู้สึกผิดหวังต่อมุมมองของผู้จัดการที่ไม่ยอมรับผลงานที่พนักงานได้ทำ ทั้ง ๆ ที่เขาทุ่มเทอย่างเต็มที่ เพราะผู้จัดการไม่มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน
3.พนักงานไม่รู้ถึงความคาดหวังที่แท้จริงจากผู้จัดการว่าต้องการเป้าหมายอย่างไรในการทำงาน เปลี่ยนแปลงบ่อยจนสับสนว่าความต้องการที่แท้จริงคืออะไร
เทคนิคการประเมินการทำงานของพนักงาน ที่ดีจะเป็นเวทีในการสื่อสารระหว่างผู้จัดการและพนักงานที่จะใช้ในการหารือกันถึงผลงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้ช่องว่างระหว่างผู้จัดการกับผู้จัดการลดลง ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งผู้จัดการและพนักงานจะได้ปรับความเข้าใจอันดีต่อกัน ทำให้การทำงานรื่นไหลเพราะต่างฝ่ายต่างหันหน้าเข้าสื่อสารกัน
เช่นในระหว่างการประเมิน ผู้จัดการกับพนักงานจะมีการสื่อสารกัน ผู้จัดการจะอธิบายความคาดหวังที่องค์กรมีต่อพนักงาน และเช่นเดียวกัน พนักงานอาจต้องการการสนับสนุนจากผู้จัดการ ก็จะทำให้มีโอกาสได้สื่อสารทำให้เข้าใจกันมากขึ้น แต่ถ้าการประเมินที่ไม่ดีหรือไม่มีคุณภาพดีพอ จะส่งผลเสียทำให้มีปัญหากับพนักงานทั้งเรื่องทัศนคติที่เป็นลบ ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน หรือบางครั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้จัดการและพนักงาน ซึ่งในบางองค์กรจะพบเห็นได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาของการประเมินเช่นปลายปีเป็นต้น
ในการประเมินพนักงานนั้น บุคคลหลายคนที่ต้องมาเกี่ยวข้อง ต้องมีการทำงานเป็นระบบ ซึ่งสามารถสรุปเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องการประเมินผลงานพนักงาน มีอยู่ 4 คนที่สำคัญดังนี้
1) ผู้ถูกประเมิน คือพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะถูกประเมินจากผู้บริหารหรือหัวหน้างาน
2) ผู้ประเมิน คือ ผู้ที่มีหน้าที่ประเมินพนักงาน เช่นผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน
3) ผู้บริหารระดับสูงหรือบริษัทฯ คือ ผู้ให้การสนับสนุนการประเมินเพื่อนำผลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการสมดุลย์ของการประเมินของผู้จัดการที่มีต่อพนักงาน
4) ที่ปรึกษาหรือฝ่ายบุคคล คือ มีหน้าที่จัดทำการประเมินตามแนวความคิดทางหลักวิชาการเพื่อให้ได้ผลของการประเมินมีความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งในทางปฏิบัติอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งตำแหน่งนี้จะคอยให้คำแนะนำ วิธีการการใช้เครื่องมือการประเมินและอธิบายถึงขั้นตอนการประเมิน ทำให้การประเมินไม่มีปัญหาและอุปสรรค
ในการประเมินพนักงาน นั้นอาจมีรายละเอียดมากมายและต้องมีการเตรียมการซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรก่อนที่จะนำการประเมินมาใช้ อาจจะยุ่งยากในปีแรกแต่ถ้าระบบการประเมินได้วางอย่างเป็นระเบียบการทำงานจะง่ายขึ้นในปีถัดไป
องค์ประกอบของการ ประเมินผลงานพนักงานที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนด้วยกันดังนี้
1 ดัชนีชี้วัดหรือเป้าหมายในการทำงาน ซึ่งในหลายองค์กรใช้ความพยายามเป็นอย่างมากที่จะค้นหาดัชนีชี้วัดที่สำคัญให้มีความเหมาะสมกับหน้าที่หรือภารกิจที่พนักงานนั้นได้รับ เช่นบางองค์กรให้การตั้งใจมาทำงาน การรับผิดชอบต่องานของตน การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความสารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี และยังมีอีกหลายปัจจัยที่ถูกนำขึ้นมาเพื่อกำหนัดดัชนีชี้วัดในการประเมินผลพนักงาน
2 กระบวนการในการประเมินพนักงาน เป็นแนวทางการที่ใช้ในการดำเนินการเพื่อประเมินผลพนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้การตอบคำถามลงบนกระดาษ และผู้จัดการนำมาใช้เพื่อเป็นการพูดคุยกับพนักงานที่ถูกประเมิน การประเมินควรจะถูกเก็บเป็นความลับของผู้จัดการก่อนการที่จะมีการสื่อสารหรือประชุมอย่างเป็นทางการ ซึ่งพนักงานก็ต้อง เตรียมข้อมูลของตนเองเพื่อนำมาประชุมเช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติผู้จัดการส่วนใหญ่จะลืมนึกถึงเรื่องของความลับของข้อมูล ทำให้มีโอกาสที่ข้อมูลจะรั่วไหลถึงพนักงานก่อนเวลาที่เหมาะสมในการเปิดเผย ทำให้ระหว่างการประชุมเพื่อประเมินผลงานจะเป็นการเผชิญซึ่งหน้าระหว่างผู้จัดการและพนักงาน อาจเป็นเหตุให้เกิดความไม่พึงพอใจหรือข้อขัดแย้งได้ในระหว่างประชุมได้
3 ผู้จัดการหรือผู้ประเมิน เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญในการประเมินผลการทำงานของพนักงาน เพราะส่วนใหญ่ในสังคมของการทำงานนั้น จะให้ผู้บริหาร ผู้จัดการหรือหัวหน้างานเท่านั้นเป็นผู้ประเมิน ดังนั้นบ่อยครั้ง ทำให้มีข้อขัดแย้ง ระหว่างผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ประเมินและพนักงานซึ่งเป็นผู้ถูกประเมิน หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานก็เป็นปัญหาเนื่องจากความไม่ยุติธรรมโปร่งใสในการประเมินผลการทำงานนั่นเอง ซึ่งกิจกรรมในการประเมินมีหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร แนวปฏิบัติการประเมินที่ใช้ได้ผลและเป็นที่นิยมนำมาใช้ คือ การประชุมแบบตัวต่อตัวระหว่างผู้จัดการและพนักงาน เพื่อใช้ในการปรึกษาผลงานในอดีตและความคาดหวังในอนาคตที่มีต่อพนักงาน
หนังสือแนะนำ
ซึ่งหัวข้อในการประชุมเพื่อประเมินผลพนักงานกันนั้นอาจจะมีดังนี้
- การทบทวนถึงเป้าหมายที่เคยกำหนดในอดีตและผลงานในปัจจุบันเป็นเช่นไร
- การกำหนดเป้าหมายใหม่ ซึ่งจะนำมาใช้ในการทบทวนในปีหน้า
- ทำการจดบันทึกเพื่อเป็นพันธะสัญญา สร้างการรับรู้ทั้งผู้จัดการและพนักงาน ทำให้ขจัดความสับสนของข้อมูลที่อาจจะพลาดไปในขณะสนทนา
ในหลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ มักใช้การประเมินพนักงานนั้น อยู่ 2 เรื่องหลัก ๆ คือ
1 ความสามารถของพนักงาน ว่าพนักงานสามารถ ทำงานได้ดี ได้เรียบร้อย มีทักษะขนาดไหน ทำงานได้ถูกต้องหรือไม่
2 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การทำงาน เช่น การมาทำงานตรงเวลา ไม่วอกแวกระหว่างการทำงาน คำว่า “วอกแวก” หมายถึงการที่ไม่ทำธุระของตนเองมากเกินไป ในเวลางาน เช่นบางคน เล่นเกมส์ มากเกินไป หรือ เล่น Facebook มากเกินไป ดูหนังทาง Youtube มากเกินไป ดูหนังที่ตนเองเป็นสมาชิกมากเกินไป หรือดูหนังซีรีย์ ต่าง ๆ มากเกินไป จนทำให้ไม่ได้ทำงานที่ตนเองต้องทำ
ถ้าต้องเลือกพนักงานระหว่างพนักงานที่เก่งกับพนักงานที่รับผิดชอบจะเลือกใครเข้าทำงานดี มีการสำรวจจากผู้จัดการหลายร้อยคนที่เข้าอบรมหลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ The Super Manager ปรากฏว่าผู้จัดการอัจฉริยะต่างลงความเห็นว่า อยากได้พนักงานที่มีความรับผิดชอบ มากกว่าพนักงานที่เก่ง เพราะพนักงานที่ไม่เก่ง แต่รับผิดชอบงานได้ดี นัน สามารถฝึกพัฒนาความเก่งได้ ซึ่งในหลักสูตรอบรมผู้จัดการได้มีเทคนิคการสอนงานพนักงานแทรกให้นำไปทดลองสอนงานกับพนักงานเช่นกัน ผู้จัดการอัจฉริยะมีความเชื่อว่าถ้าพนักงานของเขามีความรับผิดชอบ ก็จะทำให้เขาเก่งได้ในเวลาต่อมา แต่พนักงานที่ไม่รับผิดชอบ ถึงจะทำงานเก่งแต่ไม่รับผิดชอบ ผลงานก็ไม่ออกมาให้ปรากฏ
ปัญหาและอุปสรรคในการประเมินพนักงานระหว่างผู้จัดการและพนักงานตามแนวคิดข้างต้น อาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ตามมาหลายประการ เช่น ความไม่ยุติธรรมของผู้จัดการ ความลำเอียง ทำให้ไม่มีความเที่ยงตรงในการประเมิน เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการประเมินระหว่างผู้จัดการและพนักงาน และประเมินในช่วงปลายปีเท่านั้น ทำให้พนักงานจะขยันในช่วงที่ใกล้กับการประเมินและผู้จัดการบางคนก็ไม่ยุติธรรมทำให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่ต้องประจบประแจงผู้จัดการ เพื่อให้ผู้จัดการมองเห็นและได้รับผลงานที่ดีกว่าผู้อื่น
จึงเป็นเหตุสำคัญทำให้เกิดข้อขัดแย้งภายใน และยากที่จะแก้ไขเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการของผู้จัดการ ซึ่งแตกต่างจากองค์กรสมัยใหม่ จะมีการจัดการประเมินเชิงรุก หรือที่เรียกว่าการประเมินแบบ 360 องศา มาเป็นตัวช่วยในการประเมินพนักงาน
การประเมินผลพนักงานแบบ 360 องศานี้ เป็นแนวทางที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาของการประเมินทำให้ลดความไม่พอใจของพนักงาน และทำให้ไม่มีข้อขัดแย้งในการทำงาน หรือถ้ามีข้อขัดแย้งก็น้อยลงมาก ตามแนวคิดที่ว่า พนักงานหนึ่งคนต้องทำงานร่วมกับคนหมู่มาก มีการปฏิสัมพันธ์กันแบบทุกมิติ คือกับคนทั้งในแผนกงานที่ตนเองสังกัดอยู่กับคนนอกแผนกงานที่ตนเองสังกัดอยู่ หรือกับกลุ่มคนนอกองค์กรไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือผู้ขาย
ดังนั้น การที่จะวิเคราะห์ถึงผลการปฏิบัติงานของพนักงานจึงควรจะมาจากมุมมองในหลาย ๆ มิติ เช่น
1) มุมมองของผู้บริหาร ที่จะพิจารณาถึง การบรรลุถึงเป้าหมายหรือไม่
2) มุมมองของเพื่อร่วมงาน ที่จะพิจารณาถึง การทำงานเป็นทีม การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
3) มุมมองของพนักงานในแผนกอื่นที่ต้องติดต่องานกัน ว่ามีการประสานงานเป็นเช่นไร และ4)ประการสุดท้ายคือมุมมองจากภายนอก ที่จะให้ความสำคัญกับการติดต่อประสานงาน การให้ข้อมูลหรือแม้แต่การบริการ ที่มีต่อลูกค้า
จุดเด่นของการประเมิน 360 องศานี้ สามารถที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงศักยภาพของพนักงานในด้านต่าง ๆ เช่นจะทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็ง ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรของพนักงานจนสามารถที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำเช่นการเลือกหลักสูตรการฝึกอบรม ก็สามารถจัดทำได้ตรงกับความเหมาะสมของพนักงาน ทำให้องค์นั้นไม่สูญเสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพนักงานเพราะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กร ทำให้ได้ประโยชน์จากการพัฒนาพนักงานโดยแท้จริง สำหรับวัตถุประสงค์ของการประเมิน 360 องศานี้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 ข้อดังต่อไปนี้
- เพื่อวัดและประเมินผลพนักงานให้มีความโปร่งใส ชัดเจน และมีความถูกต้องแม่นยำ
- นำผลที่ได้มาใช้ต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เช่นการจัดฝึกอบรม หรือการกำหนดค่าตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โบนัส หรือคอมมิชชั่น เป็นต้น
- สร้างกลไกการทำงานให้มีระบบการทำงานที่เกื้อกูลซึ่งกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มุ่งไปสู่การทำงานเป็นทีม (Teamwork) อย่างเป็นรูปธรรม ลดข้อขัดแย้งในการทำงาน
- สร้างกลไกการสื่อสารแบบสองทาง ทั้งภายในส่วนงาน ภายนอกส่วนงาน และภายนอกบริษัท ทำให้ขจัดข้อขัดแย้ง หรือความไม่พึงพอใจต่อการทำงานของพนักงาน
- สามารถนำมาสร้างกลไกการค้นหา พนักงานดีเด่น Employee of The Year หรือค้นหาพนักงานที่เป็นดาวเด่นเพื่อการโปรโมท เพื่อเป็นกลไกการสร้างแรงจูงใจหรือสร้างแรงกระตุ้นให้พนักงาน
เกณฑ์การประเมินคือมาตรฐานที่จะต้องนำมาใช้เพื่อทำให้การประเมินมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักเกณฑ์ที่เป็นพื้นฐานในการประเมินนั้น มีหลักที่ต้องถูกนำมาใช้ทั้งหมด 6 ข้อ เพื่อให้ผู้จัดการเข้าใจเป็นแนวทางที่ต้องนำมาใช้ในการประเมินผลพนักงานนั่นเอง
ข้อที่ 1) ข้อมูลการประเมินต้องละเอียดแม่นยำ
ผู้จัดการต้องมีแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาประมวลผลการปฏิบัติงานของพนักงาน จึงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และโปร่งใสที่สุดในขณะนี้ ทำให้มีความยอมรับการประเมินกันในวงกว้างของพนักงาน
ข้อที่ 2) การประมวลผลการประเมินได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว
ในการประมวลผล ผู้จัดการจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการประมวลผล เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว เพราะยิ่งได้ผลลัพธ์ที่เร็วมากเท่าไหร่จะทให้ได้แนวทางในการพัฒนาพนักงานมากเท่านั้น
ข้อที่ 3) กระบวนการประเมินพนักงานที่ง่ายไม่ซับซ้อน
ขั้นตอนการประเมินถูกออกแบบให้มีความง่าย ทั้งการเข้าถึงการประเมิน สามารถทำความเข้าใจด้วยตนเองทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน เพื่อลดความผิดพลาดใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการประเมินพนักงาน และพนักงานบางคนอาจรู้สึกเบื่อหน่ายต่อระบบประเมินผลการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนทำให้ไม่เต็มใจที่จะทำการประเมิน
ข้อที่4) ข้อมูลการประเมินพนักงานต้องถูกเก็บรักษาเป็นความลับ
ข้อมูลส่วนตัวของพนักงานและการประเมินของผู้จัดการจะต้องถูกเก็บไว้เป็นความลับ โดยพนักงานแต่ละคนจะไม่เห็นการประเมินของผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ประเมินหรือผู้ประเมินก็จะไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประเมินบ้าง เพราะเป็นการประเมินแบบ 360 องศาและที่สำคัญคือเพื่อหลีกเลี่ยงการมีข้อขัดแย้งในการทำงาน (Conflicts in Management)
ข้อที่5) มีความเป็นส่วนตัว
เพื่อเป็นการทำงานที่โปร่งใสในการจัดการฐานข้อมูล ต้องมีการกำหนดถึงขอบเขตการเข้าถึงข้อมูลของผู้จัดการและพนักงาน ซึ่งคนที่ไม่เกี่ยวข้องต้องไม่รับรู้ถึงข้อมูลเหล่านี้ ก็จะทำให้ได้ประสิทธิภาพของการประเมินสูงสุด มีความโปร่งใส เพราะการประเมินเป็นเรื่องของแต่ละคน
ข้อที่6) มีการเก็บข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
ด้วยระบบจัดการกับฐานข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ จะทำให้สามารถเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินใจของผู้บริหารในทุก ๆ ด้าน เช่น การปรับเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การกำหนดผลตอบแทนต่างๆ เช่น โบนัส คอมมิชชั่น อีกทั้งยังสามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในด้านต่าง ๆ สามารถนำผลที่ได้มาใช้ประกอบ การออกแบบการฝึกอบรมสัมมนาพนักงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับเทคนิคการประเมิน ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นอย่างดี เพราะการประเมินพนักงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องเข้าใจ 8 เทคนิคในการประเมินการทำงานของพนักงานให้ได้รับการยอมรับจากพนักงาน
- การเตรียมการการประเมินพนักงาน
มีการเตรียมแบบฟอร์มในการประเมินให้พร้อมและกำหนดวันที่จะใช้ในการประเมิน
- สื่อสารสองทางระหว่างผู้จัดการและพนักงาน
กระตุ้นให้มีการสื่อสารสองทางเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองของผู้จัดการและพนักงานในการประเมิน
- ตั้งใจฟังซึ่งกันและกัน
ในการสื่อสาร ผู้จัดการจำเป็นที่จะต้องตั้งใจฟังในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความคิดเห็นต่าง ระหว่างพนักงานและผู้จัดการ ในทางกลลับกันพนักงานที่เป็นผู้ถูกประเมินก็ต้องตั้งใจฟังมุมมองของผู้จัดการเช่นกัน
- ท่าทีที่เป็นมิตรในการสื่อสาร
ทั้งผู้จัดการและพนักงานจำเป็นที่ผู้จัดการจะต้องมีท่าทางการแสดงออกที่เป็นมิตรทั้งการพูด การสื่อสาร ทั้งภาษากายที่แสดงออกมาทำให้ผู้จัดการและพนักงานไม่รู้สึกกดดันในระหว่างการประ เมิน
- ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบซื่อสัตย์และจริงใจ
การไม่ลำเอียงต่อข้อมูลที่ผู้จัดการจะให้ข้อมูลย้อนกลับ Feedback ต่อพนักงานเป็นสิ่งที่ดีที่สุดถ้าเป็นการFeedbackที่ซื่อสัตย์และจริงใจ เพราะจะทำให้เกิดการยอมรับการประเมินผลการทำงานจากผู้จัดการ ว่าไม่มีความลำเอียง
- กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินชัดเจน
ในการประชุมจำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมาย อธิบายเป้าหมายที่ชัดเจนในการประเมิน ความคาดหวังและผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปใช้เพื่อทำอะไร เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี
- จัดทำเป็นเอกสารการประเมินพนักงาน
เพื่อเป็นการขจัดความสับสนหรือความไม่เข้าใจกัน ในการประเมินหรือการประชุมจำเป็นต้องมีการจัดทำเอกสารหรือเป็นบันทึกการประชุมเพื่อให้สามารถติดตามงานในช่วงเวลาต่อไปได้
- ฝึกหัดหรือทำความเข้าใจก่อนการประเมินพนักงาน
การประเมินไม่ได้ทำกันบ่อย เช่นปีละครั้งหรือสองครั้ง การฝึกหัดซักซ้อมเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้จัดการต้องทำความเข้าใจก่อนการประเมินพนักงานทุกครั้ง เพราะในปีหนึ่ง ๆ เมื่อประเมินการทำงานพนักงานไปแล้วจะแก้ไขไม่ได้ ต้องรอในปีถัดไป ซึ่งอาจทำให้พนักงานไม่พอใจถ้าได้ผลการประเมินที่ไม่ดี
การประเมินจะไม่เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวอีกต่อไป ถ้านำระบบการประเมินที่ชัดเจนมาใช้ บางแห่งในต่างประเทศจะใช้คนกลางเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการประเมินทำให้ลดแรงกดดันระหว่างพนักงานและผู้จัดการ ซึ่งในทางปฏิบัติการประเมินพนักงานที่ดีที่สุดคือการประเมินพนักงานด้วยตัวผู้จัดการเองจะดีที่สุด เพราะผลที่ได้ตามมาก็คือการได้ช่วยเหลือกันในการทำงาน เพราะมีวทีในการสื่อสารกันมากขึ้น
แต่ผลของการประเมินจะเป็นเช่นไร ขอฝากไว้ว่าก็ขอให้ค่อยที ค่อยอาศัย ขอให้ใจเย็น เอางานที่เป็นเป้าหมายของความสำเร็จเป็นที่ตั้ง มิฉะนั้นจะเดือดร้อนกันไปทั่วเพราะความไม่พอใจของผู้จัดการและพนักงาน ขอให้คิดว่าการทำงานก็เหมือนญาติมิตร หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ ไม่พอใจกันก็จะส่งผลแต่เสียหายนะ..จะบอกให้
การจัดลำดับความสำคัญของลูกค้า
เมื่อเราประเมินความสามารถของธุรกิจคุณ สำหรับการจะเริ่มใช้โปรแกรมการตลาดแบบเน้นความสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การคิดถึงประเด็นการตลาดแบบตัวต่อตัวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางธุรกิจของบริษัทมากที่สุด ( หรือน้อยที่สุด ) ทั้งนี้ก็เพื่อการจัดลำดับความสำคัญ...
จริยธรรมผู้ประกอบการ
1. หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการทุกท่านต้องการกำไร แต่การทำผลกำไรอย่างไร โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นไม่เพียงพอ เพราะการที่ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า...
โอกาส กับ ความพร้อม อะไรเกิดก่อนกัน ?
หลายคนคอยคิดอยู่เสมอว่าตัวเองโชคไม่ดี ไม่มีโอกาสดี ๆ เหมือนคนอื่นเลย ทำให้ไม่สามารถประสบความสำเร็จ ในการทำธุรกิจ ในการทำอาชีพนักขาย หรืออาชีพอื่น ๆ แต่เขาเหล่านั้นอาจลืมไปว่ามีโอกาสผ่านเข้ามาแล้วหลายครั้งแต่เนื่องจากเราเองต่างหากที่ขาดความพร้อมเลยไม่สามารถ...
ปรัชญาการจัดการทางการตลาด
1.แนวความคิดมุ่งการผลิต Production conceptเป็นแนวความคิดที่ใช้ในยุคแรกๆ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการผลิตให้ดียิ่งขึ้น ลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำลง เพื่อขายสินค้าให้ได้ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง รวมทั้ง ทำให้การจำหน่ายจ่ายแจกมีประสิทธิผลดีที่สุด ทั้งนี้ภายใต้ข้อสมมติที่ว่า...
ช่างคิด ช่างทำ ช่างจำ ช่างลอก
ไม่ต้องแปลกใจที่สินค้า – บริการและศักยภาพของผู้บริหารไปจนถึงทีมงานของแต่ละองค์กร มีความสำเร็จหรือ ล้มเหลวที่แตกต่างกัน ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดผลแตกต่างดังกล่าว แต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญ อยู่ที่ผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรว่ามีศักยภาพในการคิด...
Viral Marketing กลยุทธ์การตลาด แบบปากต่อปาก
Viral Marketing คืออะไรในปัจจุบันต้องยอมรับว่า สื่อออนไลน์ หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า Social Network เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากพอสมควร ซึ่งก็เข้าทางการตลาดแบบ Viral ที่อาศัยการบอกต่อโดยใช้สื่อที่เรียกว่า Social Network นี้เองในการเป็นสื่อกลาง...
ถ้อยคำในการรับโทรศัพท์
ผู้ใช้โทรศัพท์ทุกคนจะมีบทบาทที่สำคัญในการใช้โทรศัพท์ในแต่ละครั้ง ผู้ใช้โทรศัพท์จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์นั้น จะต้องทำหน้าที่เป็น - ผู้สื่อสารหรือติดต่อ - ผู้ให้การแนะนำ - ผู้แก้ปัญหา - ผู้ให้ความรู้ - ผู้ทำการประชาสัมพันธ์ -...
ข้อควรระวังจุดเริ่มต้นแห่งความล้มเหลว
ในการทำธุรกิจ มีบ้างที่ว่าประสบความสำเร็จหรือบางครั้งล้มเหลวเสียตั้งแต่เริ่มต้น ทำธุรกิจทั้งลงทุน ลงแรง แต่ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสแม้กระทั่งบรรยากาศแห่งความสำเร็จ 浦汇 ก็ต้องล้มเหลวตั้งแต่กลางคัน ทั้งนี้ยังมีธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและจะเรียกว่าน่าสงสารก็ได้...
การพัฒนาทีมงาน
ปัญหาในการพัฒนาทีมงาน อาจจะเแบ่งออกกว้างๆ ได้ 5 ประการด้วยกัน1. การสรรหาว่าจ้างที่ไม่สมเหตุสมผล : บางครั้งฝ่ายบุคคล คัดเลือกคนลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่เพียงเพราะอัตราการจ่ายผลตอบแทนที่ตกลงกันได้ แต่กลับไม่เลือกคนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม...
ภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
Kotler (Kotler,2000:296) ได้กล่าวถึงภาพลักษณ์ในปริบทของการตลาดไว้ว่า ภาพลักษณ์ (Image) เป็นวิถีที่ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการภายใต้การควบคุมของธุรกิจ...
การสร้างความเชื่อมั่น
ดำเนินการตามหลักการ PDCA เพื่อสร้างความเชื่อมั่น P = Plan คือ การวางแผนการดำเนินงาน เป็นการหาข้อมูล การกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายของงานที่ชัดเจนถูกต้องตรงกันทั้งองค์กร เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมที่จะเดินไปในทิศทางเดียวกัน...
เคล็ดลับการหาลูกค้าใหม่
ส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ธุรกิจมีกำไรและเจริญก้าวหน้า คือ การทุ่มเทให้กับการ พัฒนาธุรกิจ แม้ว่าคุณจะมีการ ผสมผสานระหว่างงาน ลูกค้า และพนักงานอย่างลงตัวแล้วก็ตาม คุณจำเป็นต้องติดตามโอกาสทางการขายใหม่ๆ ในการดำเนินการดังกล่าว โดยไม่ต้องผละออกจากลูกค้าปัจจุบัน...
มนุษย์พันธุ์เถ้าแก่ (Nanosoft Marketing Series)
คุณอยากรวยไหม ? คำตอบของคนส่วนใหญ่ คือ อยาก “เป็นลูกจ้างเขาไม่มีวันรวย ต้องเป็นเถ้าแก่เอง ถึงจะมีโอกาสรวย” หลายคนเชื่อแบบนี้ และจะออกจากชีวิตลูกจ้างมาเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งบางคนก็เป็นเถ้าแก่ที่ทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จรวยจริง ๆ ตามที่ตั้งใจ ขณะที่อีกหลายๆ...
ธนาคารเวลา
บทความนี้ เมื่อท่านอ่านจบ ให้ถามตัวเองว่า” สิ่งไหนที่สำคัญ สิ่งนั้นทำแล้วหรือยัง ? ”” คนไหนที่เรารัก ทำดีกับเค้าแล้วหรือยัง ? ”ลองจินตนาการว่ามีธนาคารแห่งหนึ่งเข้าบัญชีให้คุณทุกเช้า เป็นเงิน 86,400 บาท...
วิธีหาแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นทำธุรกิจ
แรงบันดาลใจหาได้ง่ายๆ ใกล้ๆตัวคุณหลายๆคนที่ต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรสักอย่าง คำถามแรกสุด น่าจะเป็น “จะทำอะไรดี?” บางคนใช้เวลาหาเป็นปีๆ เพื่อที่จะได้คำตอบ ผมมีวิธีดีๆมานำเสนอสำหรับคนที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจครับมองดูตัวเองสิ่งแรกที่ควรทำคือ...
จะทำอย่างไรเมื่อพนักงานลาออกบ่อย?
การดึงคนให้อยู่กับองค์กรให้ได้นั้น มีตัวแปรอยู่หลายปัจจัย แต่ที่แน่ๆ คือมิใช่เรื่องเงินอย่างเดียวแน่นอน ซึ่งควรทำการประเมินและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาให้ได้เสียก่อน จึงจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ สำหรับสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้พนักงานลาออกนั้น โดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้ 1. ...
รู้จักบุคลิกภาพของคนทั้ง 5 มิติ
ผู้บริหารมากมายว่าจ้างพนักงานใหม่โดยพิจารณาแต่เรื่องทักษะการทำงานเป็นหลัก แต่แล้วก็ต้องเสียใจในภายหลัง การที่พนักงานจะมีประสิทธิภาพการทำงานยอดเยี่ยมได้นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างด้วย บุคลิกภาพที่มีความแตกต่างกันก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง...
การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
การสนทนา เพื่อพื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรุ้ ดังนั้นควรที่จะเห็นประโยชน์ของแนวคิดนี้ ไปใช้ในการสร้างภูมิปัญญาขององค์กร ลดความขัดแย้งของทีมงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานอีกด้วย ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการสนทนา ผู้นำต้องลดบทบาททั้งด้านเผด็จการ การลงโทษ...
เทคนิคการเลื่อนขั้นแบบทันใจ
ความปรารถนาของคนทำงานทุกคนย่อมต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต้องการเติบโต ในตำแหน่งงานที่สูงขึ้นไป มีความมั่นคงมั่งคั่งมากขึ้น มีอำนาจเพิ่มขึ้น ได้รับความเคารพนับถือ มากขึ้น นำมาซึ่งความสุข ความสำเร็จในชีวิต แต่กว่าจะถึงจุดนั้นที่ทุกคนปรารถนา ต้องมีการแข่งขัน...
ทำไม? “ทีม”ไม่ “เวิร์ค
คำว่า “ทีมเวิร์ค” มาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งกำลังกลายเป็นภาษาไทยไปแล้ว เรามาดูคำแรก “ทีม” (Team) หมายถึงกอง, หน่วย, คณะ, หรือความหมายที่กว้างออกไปคือ รวมกันเป็นกลุ่มหรือหน่วย ประสานงานกัน หรือการขับรถไปด้วยกันหลายคัน เป็นต้นส่วนคำว่า “เวิร์ค” (Work) หมายถึงงาน, การงาน,...
ดิฉันทำงานเป็นผู้บริหาร และทุกปีต้องประเมินพนักงาน ขอบคุณอาจารย์ สำหรับข้อมูลดี ๆ เพื่อนำไปเป็นแนวทางการประเมินทีมงานคะ