12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่เป็น วิธีการบริหาร ทีมงานแบบใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการมือใหม่ ต้องนำมาใช้ในการบริหารพนักงานในทีมให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ซึ่งจะมีวิธีการบริหาร (ใหม่ล่าสุด) เพื่อความสำเร็จของทีมงานที่ยั่งยืน

12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่

หลักสูตร ผู้จัดการอัจฉริยะ
หลักสูตร ฝึกอบรม ผู้จัดการ
หลักสูตร ผู้จัดการอัจฉริยะ

12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่

เขียนโดย วิทยากรสอน ผู้จัดการมือใหม่ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

เป็นความใฝ่ในของพนักงานหลายคน ที่อยากได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการ แต่การเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการครั้งแรก อาจเป็นทุกข์ลาภครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตก็ได้เช่นกัน

เป็นเรื่องจริงที่ว่า การเป็นผู้จัดการสำหรับผู้จัดการมือใหม่ อาจสร้างปัญหามากมาย เพราะผู้ที่ได้รับตำแหน่ง ผู้จัดการระดับต้น ยังไม่เข้าใจว่า การเป็นผู้บริหาร(ใหม่ล่าสุด)  ต้องใช้เคล็ดลับอะไรบ้างในการบริหาร

ผู้จัดการมือใหม่บางคนก็นำ เคล็ดลับการบริหาร ที่โบราณ ไม่ทันสมัย มาใช้ ทำให้การบริหารทีมงานกลายเป็นปัญหาใหญ่ งานไม่เดิน ไม่บรรลุเป้าหมาย KPI

การพัฒนาผู้จัดการมือใหม่ ในครั้งแรกจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผู้บริหารระดับสูงต้องใส่ใจ ในการมอบหมายตำแหน่งใหม่ให้ผู้จัดการมือใหม่และมีเป้าหมายต่อไปคือการก้าวขึ้นสู่การเป็น ผู้จัดการบริหาร 360 องศา หรือ ผู้จัดการเชิงรุก ต่อไป

การพัฒนาทักษะการบริหารให้กับผู้จัดการมือใหม่ ต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะการรับตำแหน่งของผู้จัดการมือใหม่ เท่ากับผู้จัดการมือใหม่จะต้องมีงานและความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น บางคนจึงรู้สึกกดดัน เครียด และบางคนยอมแพ้ถึงกับลาออกไปอย่างน่าเสียดาย

ความรับผิดชอบหลัก ๆ สำหรับผู้จัดการมือใหม่ คือ การบริหารจัดการทีมงานของผู้จัดการใหม่ การได้รับมอบหมายงานใหม่ๆ รวมถึงการมอบหมายงานให้ทีมงานอย่างยุติธรรม การสอนงานทีมงาน ซึ่งความรับผิดชอบที่มากขึ้น ผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมที่จะขึ้นเป็นผู้จัดการมือใหม่อย่างสง่างามและเตรียมตัวขึ้นเป็นผู้จัดการอัจฉริยะนั่นเอง

 

ลงทะเบียนอบรม StepPlus Training
ช่องการการติดต่อ-StepPlus Training
ประโยชน์ของผู้จัดการมือใหม่ ในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้จัดการมือใหม่ ของตนเอง ซึ่งเป็นเคล็ดลับการบริหารเพื่อสร้างการเติบโตไปพร้อมๆ กับความสำเร็จขององค์กร ซึ่งสามารถอธิบายได้ ใน 3 คุณประโยชน์สำหรับผู้จัดการมือใหม่ ที่จะได้รับการพัฒนา ดังนี้

1.การพัฒนาทักษะสำหรับผู้จัดการมือใหม่ที่สำคัญ

ผู้จัดการมือใหม่ จะเข้ารับการเรียนรู้ ฝึกอบรมทักษะใหม่ เพื่อนำไปพัฒนาทีมงาน ให้การทำงานประสบความสำเร็จ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการพัฒนาผู้จัดการมือใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่ง   ของหลักสูตรฝึกอบรม สำหรับผู้จัดการใหม่ ผ่านการนำปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เช่น:

1.1 การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น Motivation:

หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผู้จัดการมือใหม่ คือการกระตุ้นหรือ การสร้างแรงจูงใจ เพื่อ สร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน มาทำงานด้วยความสุขและมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ

ผู้จัดการมือใหม่ จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิควิธีใหม่ๆ ในการสร้างแรงบันดาลใจให้ พนักงานในทีมงาน ยินดีที่จะทำงานอย่างท้าทาย ไม่กังวลใจ

1.2 การมอบหมายงาน Job Delegation:

ในฐานะผู้จัดการระดับเริ่มต้น การมอบหมายงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะงานทุกงานไม่สามารถทำได้เพียงคนเดียว จำเป็นต้องมอบหมายงานให้พนักงานในทีม ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมใจกันทีจะทำงานออกมาให้ตรงเวลา มีคุณภาพตามที่คาดหวัง

1.3 การจัดการเวลา Time Management:

ผู้จัดการมือใหม่ ทุกคนจะมีความรู้สึกเดียวกันว่า ทำไมงานทุกวัน ถึงยุ่งมาก ทำไม่ทัน เวลามีจำกัด แต่ความจริง เวลามีจำกัด หรือ ผู้จัดการมือใหม่ ไม่ทราบว่าต้องทำอะไร ไม่มีการเรียงลำดับความสำคัญในการทำงาน  การจัดการบริหารเวลา จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อนำไปบริหารตารางการทำงาน การจัดลำดับความสำคัญและจัดการงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การประชุมสถานะทีม การประชุมทบทวนรายบุคคล และงานต่างๆ ที่ต้องทำให้เสร็จ ในเวลาที่กำหนดไว้

1.4 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล:

การสื่อสารคือหัวใจความสำเร็จของผู้จัดการมือใหม่ ในฐานะผู้จัดการมือใหม่ คุณอาจให้ข้อเสนอแนะ และยอมรับคำติชม แบบ Dynamic Leadership หรือ หัวหน้างาน 360 องศา ซึ่งจะช่วยให้  ผู้จัดการระดับสูง หรือ  ผู้จัดการระดับกลาง มีการพัฒนา  ทักษะการสื่อสารเพื่อความสำเร็จ  ทำให้เข้าใจจังหวะของ การสื่อสารแบบ 360 องศา หรือ การสื่อสารภายในองค์กร ได้เป็นอย่างดี

1.5 การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา:

การทำงานของผู้จัดการมือใหม่ ที่จะต้องรับรู้ปัญหาทุกวัน การคิดเชิงวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้จัดการมือใหม่ต้องมี เพราะไม่เช่นนั้น การตัดสินใจจะกลายเป็นการตัดสินใจแบบอารมณ์มากกว่าการนำเหตุผลมาใช้ในการทำงาน นอกเหนือจากการแก้ปัญหา ในหลายองค์กร ผู้จัดการมือใหม่ ยังต้องรับมือกับ การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการจัดการข้อขัดแย้ง การคิดเชิงตรรกะของผู้จัดการจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นการขึ้นมาเป็นผู้จัดการระดับต้น

หนังสือแนะนำ

หนังสือ คิดบวก ทำอะไรก็สำเร็จ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรัย
หนังสือ เล่าเรื่องให้ปัง ดังทุกครั้งที่เล่า โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

2.การเรียนรู้ เทคนิคการบริหารจัดการ

ความคาดหวังที่องค์กรมีต่อผู้จัดการคือการให้ผู้จัดการมือใหม่ สามารถทำงานเป็นผู้นำเชิงรุก จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเทคนิคการบริหารจัดการ หรือ ทัศนคติของผู้จัดการมือใหม่ ให้พร้อมที่จะทำงานอย่างกรตือรือร้น ด้วยฝึกฝนเทคนิคการบริหารจัดการต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้จัดการมือใหม่กับสถานการณ์ต่างๆ ได้รวมถึง:

2.1 การรับรู้ถึงปัญหาอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์:

การเรียนรู้ ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง แนวทางการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ อย่างเป็นเลิศ ว่าเมื่อใดและเหตุใดจึงควร ยอมรับเป็นเทคนิคเชิงกลยุทธ์แบบใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับองค์กร และมีชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายของการทำงานและพร้อมที่จะทำงานแบบ  การบริหารมุ่งเน้นผลสำเร็จ เป็นที่ตั้ง และผลงานใดที่สมควรได้รับการยกย่อง เพราะวิธีการเช่นนี้สามารถจูงใจให้พนักงานอยากบรรลุเป้าหมายในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

2.2 การฝึกอบรมและการพัฒนาพนักงาน:

ผู้จัดการมือใหม่ จำเป็นต้องเข้าใจ ขั้นตอนการตัดสินใจในการพัฒนาทีมงาน มีเป้าหมายการพัฒนาทีมงานที่ชัดเจน และต้องรู้จังหวะว่า เมื่อใดควรให้การฝึกอบรมและพัฒนาแก่พนักงานในทีมเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและปรับปรุงความสัมพันธ์กับพนักงานในทีมได้ LINK] เทคนิคการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจโดยพิจารณาจากจุดแข็งและจุดอ่อนหรือแผนการพัฒนาในอาชีพการงาน สามารถแสดงให้เห็นว่าผู้จัดการมือใหม่ ให้ความสำคัญกับพนักงาน และต้องการงทุนในความก้าวหน้าของพนักงาน

2.3 การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ:

ในฐานะผู้จัดการมือใหม่ ต้องระบุได้ว่าเมื่อใดควรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในทีม การตัดสินใจและการแก้ปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หรือการปรับปรุงกระบวนการโดยทั่วไป เช่น ในฐานะผู้จัดการใหม่ คุณอาจฝึกฝนการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในมุมมองของตนเอง เช่น การแก้ปัญหาการมาสายของพนักงาน การทำงานที่ไม่ทันกำหนดเวลา เป็นต้น

3.การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ

เทคนิคการบริหารจัดการ ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ ในขณะที่ทำงานการเป็นผู้จัดการมือใหม่ อาจใช้รูปแบบการบริหารจัดการ แบบผู้นำเชิงรุก เพื่อนำมาบริหารสถานการณ์ต่างๆ ให้สอดคล้อมกับผลลัพธ์ที่ผู้จัดการมือใหม่ต้องการ เช่น:

3.1 การใช้อำนาจ:

ผู้จัดการมือใหม่ หลายคนไม่เข้าใจว่าตนเองมีอำนาจในการบริหารทีมงาน จึงจำเป็นต้องนำอำนาจที่มีมาบริหาร แบบตรงไปตรงมาและชัดเจนในแนวทาง เป้าหมาย และความคาดหวังของตน รูปแบบการใช้อำนาจในการบริหารนี้มักจะช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

3.2 สร้างความผูกพัน ที่จับต้องได้:

ผู้จัดการมือใหม่ ต้องการทำงานให้รื่นไหลกับพนักงานในทีม จำเป็นต้องสร้างความผูกพันจะเน้นให้พนักงานในทีมมีความสุข ความสามัคคีและช่วยเหลือกันภายในทีม เพราะถ้าทำได้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างความไว้วางใจภายในทีม ทำให้ทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ดีมากขึ้น

3.3 ให้อิสระทางความคิดอย่างยุติธรรม:

รูปแบบการบริหารแบบให้อิสระทางความคิดอย่างยุติธรรม เป็นแนวทางของการบริหารแบบ ประชาธิปไตยจะอาศัยข้อมูลการตัดสินใจจากกลุ่มในสถานการณ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ซึ่งอาจได้ผลสำหรับผู้จัดการมือใหม่ในการบริหารจัดการกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน หรือ บริหารจัดการพนักงานอาวุโส

3.4 การสอนงานและการเป็นโค้ช:

การพัฒนาทักษะการทำงานให้พนักงานเป็นหัวใจความสำเร็จ รูปแบบการสอนงานมีหลายหลาย เช่นรูปแบบการโค้ชพนักงาน เพื่อให้พนักงานพร้อมที่จะการเติบโตในสายอาชีพของพนักงานในทีม ซึ่งสามารถแสดงให้พนักงานในทีมเห็นว่า ผู้จัดการมือใหม่ พร้อมที่จะสอนงาน มีความหวังดีที่จะพัฒนาทักษะพนักงานในทีมงาน เพื่อความก้าว หน้าและเติบโตตำแหน่งในอนาคต

หลักสูตร Positive-Thinking โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หลักสูตร เทคนิคพัฒนา-การคิดเชิงบวก เราทำได้-Positive-Thinking โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หลักสูตร การคิดบวก เพื่อความสำเร็จในการทำงาน โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่ ที่จะประสบความสำเร็จ

ผู้จัดการมือใหม่หลายคนยังสับสน เส้นทางของความเร็จ ซึ่งความจริงก็มีหลายวิธีที่ผู้จัดการมือใหม่ สามารถเติบโตในการเป็นผู้บริหาร ในฐานะเป็นผู้จัดการมือใหม่

และนี่คือ 12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) ที่ผู้จัดการมือใหม่ ควรปฏิบัติตาม เพื่อช่วยให้ผู้จัดการมือใหม่ทุกคนประสบความสำเร็จในบทบาทใหม่ของตนเองได้:

1.เรียนรู้ความคาดหวังของผู้บริหารจะดับสูง:

ในฐานะผู้จัดการมือใหม่ ต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ผู้บริหารจะดับสูงมอบให้ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าผู้บริหารจะดับสูงมีความคาดหวังอะไรจากคุณในฐานะผู้จัดการมือใหม่และในฐานะผู้บริหารพนักงานในทีม และมีหน้าที่รายงานผลงานเป็นประจำ สิ่งสำคัญคือการกำหนดเป้าหมายและเป้าหมายร่วมกับผู้จัดการอัจฉริยะหรือผู้บริหารจะดับสูง และขอคำแนะนำเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงาน การรายงานผลงานเป็นประจำ เพื่อสามารถติดตามความคืบหน้าและช่วยให้ประสบความสำเร็จในการบริหารพนักงานของผู้จัดการมือใหม่

2.สร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงาน ทั้งในและนอกองค์กร

ในการบริหารจัดการ ความสัมพันธ์แบบเพื่อนต่อเพื่อนมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับบทบาทของการเป็นผู้จัดการมือใหม่ สังเกตได้จากผู้จัดการอัจฉริยะที่แตกต่างกัน เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการกับปัญหาอย่างไร และพัฒนาความสัมพันธ์ที่นำไปสู่โอกาสใหม่ๆ บางครั้ง ผู้จัดการคนอื่นอาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งและกลายมาเป็นผู้บริหาร ดังนั้นการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับผู้จัดการมือใหม่

การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและเป็นกันเอง การแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการปริมาณงานและความยากลำบาก ในช่วงเวลาพักสามารถช่วยให้พนักงานทุกคนในทีมงาน รู้สึกผ่อนคลาย สบายใจมากขึ้นใน การประสานงานกัน

3.รับฟังเสียงสะท้อนจากพนักงานในทีม

การประชุมเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน การแสดงความคิดเห็น และเปลี่ยนมุมมองคือหัวใจความสำเร็จในการทำงาน จึงเป็นความคิดที่ดีที่จะกำหนดวาระการประชุมเป็นประจำกับพนักงานในทีม เมื่อเริ่มต้นการเป็นผู้จัดการมือใหม่ สิ่งที่ผู้จัดการมือใหม่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับพนักงานในทีมอาจรวมถึง:

  • พนักงานในทีมเป็นใคร มีประสบการณ์อย่างไร:

ให้พนักงานในทีมพูดถึงตนเองวาเป็นคนอย่างไร นอกเวลาทำงาน แทนการถามแค่ว่าพนักงานในทีมทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ สิ่งนี้สามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้จัดการมือใหม่กับพนักงานในทีม ทำให้ได้เรียนรู้วิธีที่ดีที่สุดในการสื่อสารกับพนักงานในทีม

  • พนักงานในทีม มีความสามารถด้านใด:

ทำความเข้าใจว่า พนักงานในทีม มีบทบาทและความรับผิดชอบคืออะไร เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับมุมมองของการบริหารจัดแนวทางการทำงานตามที่ความคาดหวังและกำหนด KPI ให้ตรงกันอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการความสัมพันธ์เพื่อสร้างเส้นทางอาชีพที่ดีในอนาคตต่อไป

  • พนักงานในทีม มีแนวทางการทำงานอย่างไร:

ผู้จัดการมือใหม่ จำเป็นต้องเรียนรู้ว่าพนักงานในทีมมีการทำงานอย่างไร โดยไม่ตัดสินใจว่าเขาทำถูกหรือผิด คุณอาจให้คำแนะนำหลังจากทำงานร่วมกับพนักงานในทีมได้ระยะเวลาหนึ่ง โดยผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องทำความคุ้นเคยกับพฤติกรรมพนักงานในทีมเสียก่อน

  • เข้าใจสิ่ง พนักงานในทีม ต้องการ:

มี บทความ 20 ข้อเรียกร้องจากลูกน้องถึงหัวหน้า จะบอกถึงความต้องการที่พนักงานในทีมคาดหวังหัวหน้าของเขา ผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องรู้เพื่อนำพิจารณาว่าจะสนับสนุนความสำเร็จของพนักงานในทีมได้ดีที่สุดอย่างไร การถามพนักงานในทีมว่า สามารถสนับสนุนพวกเขาในฐานะผู้จัดการมือใหม่ได้อย่างไร จะช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับพนักงานเป็นอย่างมาก

หลักสูตร ฝึกอบรม การเจรจาต่อรอง Win-Win Negotiation
หลักสูตร ฝึกอบรม การเจรจาต่อรอง Win-Win Negotiation

4.เต็มใจที่จะเรียนรู้เพื่อที่จะเติบโต ตามสายอาชีพของตนเอง

การเป็นผู้จัดการมือใหม่จะเป็นบทบาทสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการ ซึ่งอาจเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หรือไม่ก็ตาม การเป็นผู้จัดการขั้นต้น ก็หมายความว่า เพิ่งเริ่มต้นอีกครั้งในบทบาทการเป็นผู้บริหาร ดังนั้นการเปิดใจที่จะเรียนรู้มากมายสำหรับบทบาทใหม่นี้ จำเป็นต้องมีการปรับทัศนคติในความต้องการเติบโตในสายอาชีพการทำงานจะช่วยให้ผู้จัดการมือใหม่พัฒนาทักษะและแสดงให้เห็นว่าผู้จัดการยังจำเป็นที่จะต้องถูกพัฒนาต่อไป

5.การตั้งถามคำถามตรงใจ

ผู้จัดการมือใหม่ที่มีการแสดงออกที่นิ่งเฉยอาจถูกมองว่าไม่สนใจ ดังนั้นการถามคำถามบ่อยๆ กับพนักงานในทีมจึงเป็นเรื่องสำคัญ และผู้จัดการมือใหม่สามารถแสดงให้เห็นว่า การถามคือการใส่ใจที่จะให้ความช่วยเหลือ ไม่ใช่เป็นการจัลผิดหรือไม่ไว้วางใจ และเมื่อผู้จัดการไม่แน่ใจในบางเรื่อง  เช่นการที่พนักงานทำงานหนัก พนักงานเครียด หรือ มีความสับสนในการทำงาน

ลองใช้การถาม ว่าพนักงานต้องการรับคำแนะนำอย่างไร หรือพนักงานคิดว่าทีมจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร คำถามปลายเปิดทำให้พนักงานมีโอกาสตอบอย่างตรงไปตรงมา และเข้าใจมากขึ้น

6.คิดเสมอว่า ความสำเร็จ เริ่มจากสิ่งเล็กๆก่อนเสมอ

ผู้จัดการมือใหม่ สามารถกำหนดเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นได้ แต่ต้องแน่ใจว่าได้กำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถบรรลุได้ชัดเจน แต่เป็นไปเป็นมาตามขั้นตอน ลองนึกถึงสิ่งสามารถทำได้ เป็นขั้นเป็นตอน ทีละเล็ก ทีละน้อย เพื่อความสำเร็จในอนาคตที่ยิ่งใหญ่ ทำให้พนักงานทุกคนในทีมงานมีความสุขหรือทำให้การทำงานง่ายขึ้น ชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ สามารถสะสมและปรับปรุงขวัญกำลังใจโดยรวมของทีมได้ ที่ยิ่งใหญ่ได้

7.การให้เครดิตพนักงานสม่ำเสมอ

ให้เครดิตกับความสำเร็จของพนักงานในทีมงานเมื่อพวกเขาบรรลุเป้าหมาย ผู้จัดการมือใหม่อาจพิจารณารับผิดชอบสำหรับชัยชนะของพนักงานทีม แต่การให้เครดิตกับบุคคลในทีมในการทำให้งานสำเร็จหรือความคืบหน้าจะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่า การทำเช่นนี้จะช่วยให้สมาชิกในทีมรู้สึกมีคุณค่าและแสดงให้ผู้จัดการมือใหม่เห็นว่าทีมของคุณสามารถประสบความสำเร็จได้ภายใต้การนำของผู้จัดการมือใหม่

8.ดูแลสุขภาพจิตให้ดีตลอดเวลา

ผู้จัดการมือใหม่บางคน รู้สึกกดดัน ในการรับตำแหน่งใหม่ จึงจำเป็นต้องมีการบริหารอารมณ์ตนเองให้ดีมีสุขภาพจิตที่ดี ทำให้คนรอบข้างไม่กดดัน โดยการจัดการอารมณ์ ด้วยความสงบ พนักงานในทีมจะรับรู้ความรู้สึกมีแรงบันดาลใจและมีความสุข และผู้จัดการมือใหม่สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากขึ้น ใช้เวลานอกเวลาทำงานเพื่อทำสมาธิหรือออกกำลังกาย และมาทำงานโดยเตรียมพร้อมทางจิตใจ

9.การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งพนักงานหลายคน รอคอดการตัดสินใจจากผู้จัดการมือใหม่ แต่ผู้จัดการมือใหม่หลายคน กลัวการตัดสินใจ กลัวการรับผิดชอบ ผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องแสดงให้พนักงานมรทีมเห็นว่า ผู้จัดการมือใหม่ มีแนวทางการตัดสินใจที่ดี และ รับผิดชอบต่อทุกการตัดสินใจ ไม่ว่าผลลัพธ์การตัดสินใจจะเป็นเช่นไรก็ตาม

10.กำหนดตัวชี้วัด ที่เป็นเป้าหมาย KPI

ผู้บริหารระดับสูง คาดการความสำเร็จ ทำให้ต้องการเห็นความคืบหน้า ผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องมี ดัชนีชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานต้อพนักงานทุกคนในการทำงาน การกำหนดตัวชี้วัดเพิ่มเติมสำหรับตัวเองและพนักงานในทีมเพื่อความเหมาะสมต่อความสำเร็จในการทำงาน นำมาปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง

ผู้จัดการมือใหม่อาจพิจารณาเป้าหมายด้านการเติบโตและการเรียนรู้ด้วย เช่น การทบทวนเทคนิคการบริหารจัดการใหม่ ๆ อย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อเดือนหรือฝึกอบรมพนักงานในแผนกอื่นทุกไตรมาส ดัชชี้วัด(KPI) ที่แสดงถึงการปรับปรุงและอาจสนับสนุนให้พนักงานในทีมเลื่อนตำแหน่งสามารถช่วยวัดความสำเร็จของผู้จัดการใหม่ได้

11.จัดการกับการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ตั้งแต่เนิ่นๆ

ผู้จัดการใหม่อาจต้องการการเปลี่ยนแปลงระดับความสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงานแต่เนิ่น ๆ สร้างศรัทธาใหม่ในการทำงาน ความพยายามบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองกับการทำงานใหม่ ๆ  ควรทำแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้จัดการใหม่มีความสัมพันธ์กับพนักงานในทีมนอก เช่นเป็นอดีตเพื่อนร่วมงาน แล้วต้องมารายงานต่อผู้จัดการใหม่ แนวทางการทำงานต้องแตกต่างไป และผู้จัดการใหม่อาจต้องปรับน้ำเสียงหรือวิธีที่ ขอให้เพื่อนร่วมงานเพื่อทำงานให้ดีและมีการเปิดใจพูดคุยอย่างเปิดเผยตั้งแต่เนิ่นๆ จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในภายหลังได้

12.ทำงานอย่าง ซื่อสัตย์

ผู้จัดการใหม่อาจคิดว่าพวกเขาต้องรู้คำตอบทุกอย่างที่ พนักงานในทีมมี เพื่อแสดงให้ดูว่าเป็นผู้จัดการที่มีความสามารถ เป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง แต่อย่างไรก็ตาม อาจการมีประสิทธิภาพมากกว่าหากผู้จัดการมือใหม่ทำตัวเป็นตัวของตัวเองและจริงใจเกี่ยวกับสิ่งที่รู้ สิ่งที่ไม่รู้ สิ่งที่ลงมือทำและสิ่งที่ไม่ได้ลงมือทำ  พนักงานในทีมจะเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ของผู้จัดการใหม่หากพร้อมที่จะยอมรับว่าตนเองไม่รู้บางอย่างมากกว่าการที่คุณให้คำตอบที่ผิด

การบริหารพนักงานในทีมเป็นครั้งแรกอาจเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับผู้จัดการขั้นต้น จึงขอให้เข้าใจว่าแนวทางการบริหารไม่มีแนวทางที่แน่นอน ชัดเจน สำหรับการเป็นผู้จัดการมือใหม่ เพราะผู้จัดการใหม่หลายคนไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นจากตรงไหน แม้ว่าการเป็นผู้จัดการครั้งแรก อาจต้องใช้เวลาเรียนรู้พอสมควร แต่ก็เป็นโอกาสที่ดีเช่นกันในการเติบโตเป็นผู้จัดการที่ดี

การเป็นผู้จัดการครั้งแรก อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่เกินความสามารถสำหรับผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้จัดการทุกคน เพียงแค่เปิดใจรับรู้ เรียนรู้ทักษะความเป็นผู้นำ หรือ ทักษะภาวะผู้นำที่ผู้จัดการครั้งแรกต้องมีและเคล็ดลับ ที่ทันสมัยสำหรับผู้จัดการมือใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมคุณกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเปิดหน้าบันทึกความสำเร็จของผู้จัดการมือใหม่อีกครั้ง..สู้ ๆ นะครับ

เขียนโดย วิทยากรสอน ผู้จัดการมือใหม่ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

ช่องทางการติดต่อ-ดร-สุรชัย โฆษิตบวรชัย

ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

ผู้อำนวยการ และ นักเรียนทุนญี่ปุ่นด้านการบริหารจัดการ
ช่องการการติดต่อ-StepPlus Training
รวม-หลักสูตร-ฝึกอบรม ผู้จัดการ หัวหน้างานที่ดีที่สุด
รวม-หลักสูตร-เทคนิคการขาย ที่ดีที่สุด
รวม-หลักสูตร ฝึกอบรม-เทคนิค การเจรจาต่อรอง ที่ดีที่สุด
ลงทะเบียนอบรม StepPlus Training
รวม-หลักสูตร-Train-The-Trainer ที่ดีที่สุด
รวม-หลักสูตร-เทคนิคการนำเสนอ ที่ดีที่สุด
รวม-หลักสูตร-การบริการ-และ การเขียนคู่มือบริการ
รวมหลักสูตร-พฤติกรรมการบริการที่ดีเลิศ
หลักสูตร-Growth-Mindset-for-Sales โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หลักสูตร 8 ขั้นตอนการเป็นนักขายมืออาชีพ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หลักสูตร-การเจรจาต่อรอง-สำหรับวิศวกรฝ่ายขาย โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หลักสูตร-เทคนิคการเจรจาต่อรอง-สำหรับ-สินค้าอุตสาหกรรม โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย

หลักสูตร ใหม่ แนะนำ

หลักสูตร-6-เครื่องมือในการบริหารทีมขาย เพื่อความสำเร็จ
หลักสูตร-การขายชั้นสูง เพื่อความสำเร็จ Advance Modern Sales for Success
หลักสูตร-เทคนิคการนำเสนอด้วย การเล่าเรื่อง-Storytelling for Success
หลักสูตร-พฤติกรรมการให้บริการที่ดีเลิศ Excellent Service Behavior ESB
หลักสูตร-8-ขั้นตอนการเป็นนักขายมืออาชีพ เพื่อ พนักงานขาย
หลักสูตร-เทคนิคการขายหน้าร้าน-PC-BA เพื่อความเป็นเลิศ
หลักสูตร-การวางแผนกลยุทธ์-เพื่อความเป็นเลิศ ทางธุรกิจ
หลักสูตร-วิศวกรฝ่ายขาย The Sales Engineer
หลักสูตร ภาวะผู้นำ-360-องศา เพื่อความเป็นเลิศ
หลักสูตร-เทคนิคการเจรจาต่อรองเพื่องานจัดซื้อ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีเลิศ
หลักสูตร-การสื่อสาร-ภายในองค์กร-อย่างมืออาชีพ เพื่อ ผลสำเร็จ
หลักสูตร การคิดเชิงวิเคราะห์ Analytical Thinking โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หลักสูตร-สุดยอดการเป็นวิทยากร มืออาชีพ Train-The-Trainer
หลักสูตร-พลังแห่ง การโน้มน้าวใจ The Power of Persuasion
หลักสูตร-เทคนิคการนำเสนอ-อย่างมืออาชีพ Effective Presentation
หลักสูตร-การคิดเชิงตรรกะ-Logical-Thinking เพื่อ ความสำเร็จ ที่เป็นเลิศ
หลักสูตร-กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง-แบบ-Win-Win เพื่อเพิ่มโอกาสในชัยชนะ
หลักสูตร-การบริหารลูกค้า-คนสำคัญ-Key Account Management
หลักสูตร-ผู้จัดการอัจฉริยะ-The-Super-Manager อย่างมืออาชีพ
หลักสูตร-การคิดนอกกรอบ-Think-out-of-The-box เพื่อความคิดสร้างสรรค์

การจัดลำดับความสำคัญของลูกค้า

เมื่อเราประเมินความสามารถของธุรกิจคุณ สำหรับการจะเริ่มใช้โปรแกรมการตลาดแบบเน้นความสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การคิดถึงประเด็นการตลาดแบบตัวต่อตัวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางธุรกิจของบริษัทมากที่สุด ( หรือน้อยที่สุด ) ทั้งนี้ก็เพื่อการจัดลำดับความสำคัญ...

จริยธรรมผู้ประกอบการ

1. หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ  ผู้ประกอบการทุกท่านต้องการกำไร แต่การทำผลกำไรอย่างไร โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นไม่เพียงพอ เพราะการที่ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า...

โอกาส กับ ความพร้อม อะไรเกิดก่อนกัน ?

หลายคนคอยคิดอยู่เสมอว่าตัวเองโชคไม่ดี ไม่มีโอกาสดี ๆ เหมือนคนอื่นเลย ทำให้ไม่สามารถประสบความสำเร็จ ในการทำธุรกิจ ในการทำอาชีพนักขาย หรืออาชีพอื่น ๆ แต่เขาเหล่านั้นอาจลืมไปว่ามีโอกาสผ่านเข้ามาแล้วหลายครั้งแต่เนื่องจากเราเองต่างหากที่ขาดความพร้อมเลยไม่สามารถ...

ปรัชญาการจัดการทางการตลาด

1.แนวความคิดมุ่งการผลิต Production conceptเป็นแนวความคิดที่ใช้ในยุคแรกๆ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงการผลิตให้ดียิ่งขึ้น ลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำลง เพื่อขายสินค้าให้ได้ในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง รวมทั้ง ทำให้การจำหน่ายจ่ายแจกมีประสิทธิผลดีที่สุด ทั้งนี้ภายใต้ข้อสมมติที่ว่า...

ช่างคิด ช่างทำ ช่างจำ ช่างลอก

ไม่ต้องแปลกใจที่สินค้า – บริการและศักยภาพของผู้บริหารไปจนถึงทีมงานของแต่ละองค์กร มีความสำเร็จหรือ ล้มเหลวที่แตกต่างกัน   ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดผลแตกต่างดังกล่าว แต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญ อยู่ที่ผู้นำหรือผู้บริหารองค์กรว่ามีศักยภาพในการคิด...

Viral Marketing กลยุทธ์การตลาด แบบปากต่อปาก

Viral Marketing คืออะไรในปัจจุบันต้องยอมรับว่า สื่อออนไลน์ หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า Social Network เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากพอสมควร ซึ่งก็เข้าทางการตลาดแบบ Viral ที่อาศัยการบอกต่อโดยใช้สื่อที่เรียกว่า Social Network นี้เองในการเป็นสื่อกลาง...

ถ้อยคำในการรับโทรศัพท์

ผู้ใช้โทรศัพท์ทุกคนจะมีบทบาทที่สำคัญในการใช้โทรศัพท์ในแต่ละครั้ง ผู้ใช้โทรศัพท์จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ทุกครั้งที่ใช้โทรศัพท์นั้น จะต้องทำหน้าที่เป็น - ผู้สื่อสารหรือติดต่อ - ผู้ให้การแนะนำ - ผู้แก้ปัญหา - ผู้ให้ความรู้ - ผู้ทำการประชาสัมพันธ์ -...

ข้อควรระวังจุดเริ่มต้นแห่งความล้มเหลว

ในการทำธุรกิจ มีบ้างที่ว่าประสบความสำเร็จหรือบางครั้งล้มเหลวเสียตั้งแต่เริ่มต้น  ทำธุรกิจทั้งลงทุน ลงแรง แต่ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสแม้กระทั่งบรรยากาศแห่งความสำเร็จ 浦汇 ก็ต้องล้มเหลวตั้งแต่กลางคัน ทั้งนี้ยังมีธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจและจะเรียกว่าน่าสงสารก็ได้...

การพัฒนาทีมงาน

ปัญหาในการพัฒนาทีมงาน อาจจะเแบ่งออกกว้างๆ ได้ 5 ประการด้วยกัน1. การสรรหาว่าจ้างที่ไม่สมเหตุสมผล : บางครั้งฝ่ายบุคคล คัดเลือกคนลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่เพียงเพราะอัตราการจ่ายผลตอบแทนที่ตกลงกันได้ แต่กลับไม่เลือกคนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม...

ภาพลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

Kotler (Kotler,2000:296) ได้กล่าวถึงภาพลักษณ์ในปริบทของการตลาดไว้ว่า ภาพลักษณ์ (Image) เป็นวิถีที่ประชาชนรับรู้เกี่ยวกับบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท และภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการภายใต้การควบคุมของธุรกิจ...

การสร้างความเชื่อมั่น

 ดำเนินการตามหลักการ PDCA เพื่อสร้างความเชื่อมั่น P = Plan คือ การวางแผนการดำเนินงาน เป็นการหาข้อมูล การกำหนดทิศทางในการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายของงานที่ชัดเจนถูกต้องตรงกันทั้งองค์กร เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมที่จะเดินไปในทิศทางเดียวกัน...

เคล็ดลับการหาลูกค้าใหม่

ส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ธุรกิจมีกำไรและเจริญก้าวหน้า คือ การทุ่มเทให้กับการ พัฒนาธุรกิจ แม้ว่าคุณจะมีการ ผสมผสานระหว่างงาน ลูกค้า และพนักงานอย่างลงตัวแล้วก็ตาม คุณจำเป็นต้องติดตามโอกาสทางการขายใหม่ๆ ในการดำเนินการดังกล่าว โดยไม่ต้องผละออกจากลูกค้าปัจจุบัน...

มนุษย์พันธุ์เถ้าแก่ (Nanosoft Marketing Series)

 คุณอยากรวยไหม ? คำตอบของคนส่วนใหญ่ คือ อยาก “เป็นลูกจ้างเขาไม่มีวันรวย ต้องเป็นเถ้าแก่เอง ถึงจะมีโอกาสรวย” หลายคนเชื่อแบบนี้ และจะออกจากชีวิตลูกจ้างมาเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งบางคนก็เป็นเถ้าแก่ที่ทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จรวยจริง ๆ ตามที่ตั้งใจ ขณะที่อีกหลายๆ...

ธนาคารเวลา

บทความนี้ เมื่อท่านอ่านจบ ให้ถามตัวเองว่า” สิ่งไหนที่สำคัญ สิ่งนั้นทำแล้วหรือยัง ? ”” คนไหนที่เรารัก ทำดีกับเค้าแล้วหรือยัง ? ”ลองจินตนาการว่ามีธนาคารแห่งหนึ่งเข้าบัญชีให้คุณทุกเช้า เป็นเงิน 86,400 บาท...

วิธีหาแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นทำธุรกิจ

แรงบันดาลใจหาได้ง่ายๆ ใกล้ๆตัวคุณหลายๆคนที่ต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจอะไรสักอย่าง คำถามแรกสุด น่าจะเป็น “จะทำอะไรดี?” บางคนใช้เวลาหาเป็นปีๆ เพื่อที่จะได้คำตอบ ผมมีวิธีดีๆมานำเสนอสำหรับคนที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจครับมองดูตัวเองสิ่งแรกที่ควรทำคือ...

จะทำอย่างไรเมื่อพนักงานลาออกบ่อย?

การดึงคนให้อยู่กับองค์กรให้ได้นั้น มีตัวแปรอยู่หลายปัจจัย แต่ที่แน่ๆ คือมิใช่เรื่องเงินอย่างเดียวแน่นอน ซึ่งควรทำการประเมินและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาให้ได้เสียก่อน จึงจะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ สำหรับสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้พนักงานลาออกนั้น โดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้ 1. ...

รู้จักบุคลิกภาพของคนทั้ง 5 มิติ

ผู้บริหารมากมายว่าจ้างพนักงานใหม่โดยพิจารณาแต่เรื่องทักษะการทำงานเป็นหลัก แต่แล้วก็ต้องเสียใจในภายหลัง การที่พนักงานจะมีประสิทธิภาพการทำงานยอดเยี่ยมได้นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างด้วย บุคลิกภาพที่มีความแตกต่างกันก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง...

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

การสนทนา เพื่อพื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรุ้ ดังนั้นควรที่จะเห็นประโยชน์ของแนวคิดนี้ ไปใช้ในการสร้างภูมิปัญญาขององค์กร ลดความขัดแย้งของทีมงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานอีกด้วย ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการสนทนา ผู้นำต้องลดบทบาททั้งด้านเผด็จการ การลงโทษ...

เทคนิคการเลื่อนขั้นแบบทันใจ

เทคนิคการเลื่อนขั้นแบบทันใจ

ความปรารถนาของคนทำงานทุกคนย่อมต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ต้องการเติบโต ในตำแหน่งงานที่สูงขึ้นไป มีความมั่นคงมั่งคั่งมากขึ้น มีอำนาจเพิ่มขึ้น ได้รับความเคารพนับถือ มากขึ้น นำมาซึ่งความสุข ความสำเร็จในชีวิต แต่กว่าจะถึงจุดนั้นที่ทุกคนปรารถนา ต้องมีการแข่งขัน...

ทำไม? “ทีม”ไม่ “เวิร์ค

ทำไม? “ทีม”ไม่ “เวิร์ค

คำว่า “ทีมเวิร์ค” มาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งกำลังกลายเป็นภาษาไทยไปแล้ว เรามาดูคำแรก “ทีม” (Team) หมายถึงกอง, หน่วย, คณะ, หรือความหมายที่กว้างออกไปคือ รวมกันเป็นกลุ่มหรือหน่วย ประสานงานกัน หรือการขับรถไปด้วยกันหลายคัน เป็นต้นส่วนคำว่า “เวิร์ค” (Work) หมายถึงงาน, การงาน,...

บริษัทฝึกอบรม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่…

บริษัท ที่ปรึกษาและพัฒนาธุรกิจ จำกัด

: StepPlus Training

: โทร 083 276 8877, 02 349 1788

: E-mail: training@stepplus.org 

: Line: @StepPlusTraining

Address

1991/157 ถ.อ่อนนุช แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10250
ลงทะเบียน StepPlus Training

Loading

UA-75256908-1