20 ข้อเรียกร้องจากลูกน้องถึงหัวหน้า เป็น เสียงสะท้อน จากลูกน้อง ที่มีความคาดหวังกับผู้จัดการ หรือ หัวหน้าของเขา และถ้าหัวหน้างานสามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของลูกน้องได้ จะทำให้ลูกน้อง ศรัทธาในตัวหัวหน้างานมากขึ้น
20 ข้อเรียกร้องจากลูกน้องถึงหัวหน้า
1.ผู้จัดการที่ขยันดูงาน
2.ผู้จัดการที่มีความถนัดในเนื้องาน
3.ผู้จัดการที่มีวิสัยทัศน์
4.ผู้จัดการที่รู้จริงถึงปัญหา
5.ผู้จัดการที่ชื่นชมอย่างจริงใจ
6.ผู้จัดการที่มีเหตุมีผล
7.ผู้จัดการที่เข้าใจการใช้ข้อมูล
8.ผู้จัดการที่มาเช้า และเลิกงานที่หลัง
9.ผู้จัดการ 24 ชม.
10.ผู้จัดการที่มีอารมณ์ดี
11.ผู้จัดการที่มีคำสั่งชัดเจน
12.ผู้จัดการที่เข้าใจหลักการสอน
13.ผู้จัดการที่ไม่อยู่แต่ในห้องทำงาน
14.ผู้จัดการที่ไม่ชอบวัวหายแล้วล้อมคอก
15.ผู้จัดการที่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค
16.ผู้จัดการที่สร้างบรรยากาศในการทำงาน
17.ผู้จัดการที่มองถึงอนาคตของบริษัท
18.ผู้จัดการที่บุคลิกลักษณะเฉพาะตัว
19.ผู้จัดการที่มีความยอมรับผู้อื่น
20.ผู้จัดการที่พบประลูกค้าเป็นประจำ
20 ข้อเรียกร้องจากลูกน้องถึงหัวหน้า
วิทยากรสอน หลักสูตร ผู้จัดการ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
ในสังคมการทำงาน ผู้จัดการบางคมมักคิดว่าตนเองนั้นมีอำนาจสูงสุด จะทำอะไรก็ได้ ทำให้บางครั้งงานออกมาไม่ดี หรือไม่มีผลงาน
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะผลงานของผู้จัดการมาจากการร่วมแรงร่วมใจของพนักงานที่จะทุ่มเทช่วยหลือสนับสนุนให้ผู้จัดการบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่
ดังนั้นการสังเกตผลงานของผู้จัดการให้มองดูที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดการกับพนักงานว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าความสัมพันธ์ดีต่อกันผลงานก็จะมีมาก และมีคุณภาพที่ดีพอ
แต่เมื่อใดก็ตามที่ความสัมพันธ์ลดลง ผลงานของทีมงานรวมถึงผลงานของผู้จัดการก็ลดลงเช่นกัน
มีผู้เรียน หลักสูตรอบรม ผู้จัดการอัจฉริยะ The Super Manager ได้แชร์ประสบการณ์ให้ฟังว่า..
“มีโอกาสได้พูดคุยกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก
ซึ่งดูได้จากกระบวนการในการพัฒนาคน ทำให้เป็นบุคลากรคุณภาพขององค์กร สร้างความสำเร็จให้กับองค์กรมากมาย ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่นท่านนี้ได้บอกว่าได้เล่าให้ฟังว่า
ในประเทศญี่ปุ่น ผู้จัดการเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยเฉพาะการบริหารพนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเป้าหมายร่วมกันคือประสบความสำเร็จ
ผู้จัดการจึงเป็นบุคคลที่จะนำพาให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางที่จะทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้าหรือถ้าผู้จัดการคนนั้นไม่มีความสามารถก็จะทำให้ องค์กรหรือทีมงานอยู่ในสภาวะที่ตกต่ำ
ดังนั้นพนักงานส่วนใหญ่อยากจะทำงานกับผู้จัดการที่มีคุณภาพ หรือมีศักยภาพจะนำพาให้พนักงานประสบความสำเร็จด้วยกัน”
ในทางปฏิบัติยังมีผู้จัดการจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดในเรื่องการบริหารทีมงาน คิดว่าตนเองเป็นผู้จัดการจะทำอะไรก็ได้
เพราะมีอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการอยู่ในมือ มีพนักงานที่คอยช่วยเหลือ ให้การสนับสนุน ทำให้ผู้จัดการหลายคนเพิกเฉยต่อหน้าที่ของตนเอง ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ(Do) แต่ทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ(Do’t) เช่น ผู้จัดการทำงานไม่เป็น ไม่กระตือรือร้น ทัศนคติไม่ทำงานเป็นลบ ไม่ทำงานเชิงรุก ลำเอียง ไม่เข้าใจในเนื้องานที่แท้จริง
บุคลิกของผู้จัดการที่เป็นเช่นนี้ส่งผลถึงผลงานของผู้จัดการในทางลบ เพราะไม่มีพนักงานอยากสนับสนุนผู้จัดการที่เป็นเช่นนี้ พนักงานขาดกำลังใจและบางคนถึงกับลาออกไปเลยก็มี ถ้าต้องทำงานร่วมกับผู้จัดการเช่นนี้
ยิ่งแย่ไปกว่านั้นผู้จัดการบางคน เมื่อผลงานออกมาไม่ดี มักจะโทษพนักงานว่าทำงานไม่ดี ยิ่งทำให้เพิ่มความไม่พอใจให้กับพนักงาน
เพราะพนักงานไม่มีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริงต่อผู้บริหารระดับสูง และถ้ายังคงปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะเกิดความไม่พอใจที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เป็นข้อขัดแย้งมากมายระหว่างผู้จัดการและพนักงาน
ทางออกที่ดีที่สุดคือผู้จัดการต้องเปิดใจเรียนรู้แนวทางที่ตนเองต้องใช้ในการบริหารจัดการพนักงาน โดยฟังเสียงสะท้อนจากพนักงานที่เป็นลูกน้องว่าต้องการอะไรในการบริหารจัดการของผู้จัดการ
ในประเทศญี่ปุ่นมีการสำรวจพนักงานในองค์กรถึงความคาดหวังที่พนักงานที่มีต่อผู้จัดการของเขาในการทำงาน ซึ่งผลจากการสำรวจความต้องการของพนักงานจะเป็นเครื่องมือสะท้อนภาพการทำงานของผู้จัดการ และอธิบายได้ถึงคุณลักษณะของผู้จัดการที่พนักงานต้องการ
ซึ่งผู้จัดการที่ผู้จัดการต้องการไม่ใช่ผู้จัดการในฝัน ถ้าในฝันคือไม่มีผู้จัดการดี ๆ เช่นนี้อยู่จริงแต่ พนักงานเชื่อว่าผู้จัดการของพวกเขาทำได้ตามที่พนักงานอยากเห็น
จึงขอให้ผู้จัดการเข้าใจว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่พนักงานมีความรู้สึกที่ดีต่อการบริหารของผู้จัดการ พนักงานก็จะมีกำลังใจในการทำงาน ทุ่มเทตนเองในการทำงาน ทำให้งานมีประสิทธิภาพ และส่งผลถึงประสิทธิผลทันที
“หลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ”
ในการอบรมหลักสูตรผู้จัดการอัจฉริยะ หรือ The Super Manager ได้มีการรวมตัวกันของผู้จัดการจำนวนมากได้ปรึกษากัน โดยนำมาประกอบกับข้อมูลจากนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นที่ได้สำรวจพนักงานญี่ปุ่นในเรื่องการบริหารงานของผู้จัดการ และข้อเรียกร้องของพนักงานที่มีต่อห้วหน้าหรือผู้จัดการ ทำให้ทราบ 20 ข้อเรียกร้องที่พนักงาน
อยากให้ผู้จัดการเป็น และเป็นต้นแบบที่ดี นำความสำเร็จให้องค์กร ใครมีครบถือว่าองค์กรนั้นโชคดีมีผู้จัดการอัจริยะ แต่ถ้าใครมีบางข้อรีบแก้ไข เปิดใจเรียนรู้และปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ดังต่อไปนี้
1.ผู้จัดการที่ขยันดูงาน
เป็นความคาดหวังที่พนักงานต้องการจากผู้จัดการของเขาสนใจในงานที่พนักงานทำ ไม่ว่างานนั้นจะออกมามีคุณภาพอย่างไร
เพราะพนักงานต้องการคำแนะนำหรือคำชมจากผู้จัดการของพวกเขา ผู้จัดการอัจฉริยะจะคอยเอาใจใส่ในการทำงานทุกอย่างที่เกิดขึ้นในองค์กร ลงพื้นที่การทำงาน สำรวจงานเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่พนักงานทำผิดพลาดหรือทำได้ดีก็ตาม
การขยันลงตรวจเช็คข้อมูลอยู่ตลอดเวลา หรือเข้าไปดูเป็นพิเศษในกรณีที่งานนั้นมีปัญหา ทำให้พนักงานมีกำลังใจและผู้จัดการจะมีข้อมูลในการตัดสินใจตลอดเวลา
2.ผู้จัดการที่มีความถนัดในเนื้องาน
เมื่อไรก็ตามที่พนักงานมีปัญหาในการทำงาน พวกเขาต้องการคำแนะนำจากพนักงานที่ถูกต้องเพื่อให้ทำงานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นถ้าผู้จัดการอัจฉริยะจะมีความรู้ถนัดในเนื้องานที่รับผิดชอบจะให้คำแนะนำได้ดี จึงเป็นหน้าที่ที่ผู้จัดการต้องเร่งที่จะพัฒนาความรู้ของตนเองให้รู้ลึก รู้จริง ทำได้ เรียกได้ว่ามีความถนัดในเนื้องานนั้น ๆ อย่างจริงจัง
3.ผู้จัดการที่มีวิสัยทัศน์
ในการทำงานนั้นทุกคนต้องการความก้าวหน้า และอยากเห็นองค์กรก้าวหน้าเช่นกัน ความคาดหวังที่พนักงานมีต่อผู้จัดการของเขาคือการที่เป็นผู้จัดการที่มองกาลไกล เข้าใจในสถานะการณ์ที่เป็นจริงขององค์กร ว่าจะมีทิศทางอย่าง ไร ไม่ว่าสถานการณ์จะดีหรือไม่ดี
สามารถกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กรได้อย่างถูกต้อง มี การวางแผนกลยุทธ์ ทางธุรกิจ ซึ่งการเข้าใจวิสัยทัศน์ของผู้จัดการจะชาวยให้พนักงานมีแนวทางในการทำงานได้อย่างชัดเจน ผลดีที่ตามมาคือขจัดปัญหาความสับสนเรื่องการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเช่นกัน
4.ผู้จัดการที่รู้จริงถึงปัญหา
มีผู้จัดการหลายคนที่นั่งรอลูกน้องมารายงานความคืบหน้าให้ตนเองทราบถึงปัญหา ทำให้การตัดสินใจล่าช้า ซึ่งบางเหตุการณ์ทำให้ไม่ทันกต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ผู้จัดการที่ดีจึงจะมีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องของปัญหาแบบทันเวลา ทันที ทำให้ต้นทุนในการแก้ปัญหาลดลง ผู้จัดการอัจฉริยะจถูกสอนให้เข้าใจถึงรายละเอียดของงานเพื่อมั่นใจว่าจะรู้จริงถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการงานนั้น ๆ การตัดสินใจก็จะมีโอกาสพลาดน้อยมาก
5.ผู้จัดการที่ชื่นชมอย่างจริงใจ
ในบทเรียนของหลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจริยะจะมีช่วงหนึ่งที่บอกว่า พนักงานทุกคนต้องการคำชมจากผู้จัดการของเขา ซึ่งผู้จัดการบางคนอาจจะให้คำชมที่แฝงด้วยความไม่จริงใจ ทำให้พนักงานจับได้ว่าคำชื่นชมหล่านั้นไม่ได้มาจากความรู้สึกจริง ๆ ของผู้จัดการ
ทำให้เสียความรู้สึกต่อผู้จัดการนั้นทันที ดังนั้นการเป็นผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องให้ความจริงใจกับพนักงานทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้าจะชื่นชมพนักงานในการทำงานก็ต้องออกมาจากใจ
เพราะคำพูดที่มาจากใจจะบ่งบอกได้ถึงการแสดงออกของผู้จัดการอัจฉริยะนั้น ๆ ใช่เพียงแค่สื่อสารให้คนอื่นรับรู้เท่านั้น และหลีกเลี่ยงการตำหนิ ติเติยน พนักงานซึ่งหน้า เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกเสียขวัญและเสียหน้าต่อเพื่อนร่วมงาน ส่งผลเสียมากมาย
หนังสือแนะนำ
6.ผู้จัดการที่มีเหตุมีผล
พนักหลายคนรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการบริหารจัดการที่ไม่มีเหตุผลของผู้จัดการของพวกเขา เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ยิ่งไปกว่านั้นผู้จัดการบางคนมีนิสัยที่เอาแต่ใจตนเอง นำความคิดของตนเองมาเป็นที่ตั้ง ไม่รับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน หรือแม้แต่คนรอบข้าง
ผู้จัดการอัจริยะจะถูกฝึกให้มีแนวทางนำเหตุผลมาเป็นที่ตั้งในการตัดสินใจ เป็นแนวทางการบริหารที่มีเหตุมีผล มีเกณฑ์ในการตัดสินใจตามหลักวิธี ไม่ใช้อารมณ์มาเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่การตัดสินใจเพียงแค่รับฟังจากคนรอบข้าง คนใกล้ชิด
ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีความเบี่ยงเบน และตัดสินใจเกิดความผิดพลาดในที่สุด ดังนั้นการมีเหตุผล จะสร้าง การ มีท้ศนคติที่เป็นบวก ในการทำงาน
7.ผู้จัดการที่เข้าใจการใช้ข้อมูล
การตัดสินใจเป็นหัวใจการบริหารจัดการ ซึ่งผู้จัดการบางคนไม่มีหลักในการตัดสินใจ ทำให้เกิดปัญหาตามมาจากการตัดสินใจที่ไม่ถูกวิธี ในวันหนึ่ง ๆ
ผู้จัดการจะมีเรื่องที่ต้องตัดสินใจมากมายและลองจินตนาการดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผู้จัดการไม่มีการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ ผลเสียมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าของการทำงาน การตัดสินใจที่ผิดพลาด ไม่เกิดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล
ผู้จัดการอัจฉริยะจึงมีแนวทางในการนำข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การเรียนรู้ข้อมูล การค้นหาข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ผู้จัดการอัจริยะทุกคนจึงต้องเรียนรู้การใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ก่อนการตัดสินใจลงมือกระทำสิ่งใดลงไป
8.ผู้จัดการที่มาเช้า และเลิกงานที่หลัง
เป็นเรื่องจริงของผู้จัดการในประเทศญี่ปุ่นมักจะมาทำงานก่อนพนักงานและเลิกงานดึกกว่า จนหลายคนมักบอกว่าผู้จัดการมีหน้าที่เปิด-ปิดสำนักงาน
ผู้จัดการที่ดีจะเป็นต้นแบบให้แก่พนักงานทั่วไปรับรู้ถึงการมาทำงาน เป็นการฝึกวินัยให้พนักงานในการมาทำงานตรงเวลาและข้อดีของการมาทำงานเช้าคือการมีเวลาพอในการทบทวนงานที่ต้องทำในวันนั้น ๆ หรือทบทวนถึงความผิดพลาดของงานที่ผ่านมา
ทำให้มีการเตรียมการทำงานในวันนี้ ให้ลุล่วงด้วยดี ข้อดีของการมาเช้าอีกอย่างคือการได้เห็นบรรยากาศโดยรวมของที่ทำงาน ทำให้มีข้อมูลและเข้าใจถึงพฤติกรรมของพนักงานของตนเองต่อความมุ่งมั่นในการทำงานมากน้อยแค่ไหน บางคนมาเช้า บางคนมาสายเป็นต้น
9.ผู้จัดการ 24 ชม.
โต๊ะทำงานในบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นจะเปิดถึงกันหมด ไม่มีการกั้นเป็นห้อง โดยเฉพาะไม่มีห้องของผู้จัดการ การเข้าหาผู้จัดการของพนักงานก็จะทำได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเกรงใจมาก
ถ้าเทียบกับการกั้นเป็นห้องผู้จัดการ เพราะพนักงานบางคนรู้สึกเกรงใจไม่กล้ารบกวนถ้าผู้จัดการอยู่ในห้อง การเป็นผู้จัดการอัจริยะจึงต้องเป็นผู้จัดการที่เข้าถึงง่าย หรือสามารถติดต่องานได้ตลอดเวลา เวลาที่พนักงานมีปัญหาหรือต้องตัดสินใจในเรื่องใด ๆ ก็ตาม สิ่งเดียวที่พนักงานจะมองหาคือมองว่าผู้จัดการของพวกเขามีเวลาพอในการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาหรือไม่
พนักงานจึงคาดหวังที่จะเข้าหาผู้จัดการเพื่อปรึกษางานหรือเมื่อมีปัญหาได้ตลอดเวลา ในห้องอบรมหลักสูตรผู้จัดการอัจฉริยะจะมีเคสหนึ่งที่มีการปรึกษากันระหว่างผู้จัดการที่เข้าเรียนคือการที่ผู้จัดการไม่อยู่ให้พนักงานได้ปรึกษา ไม่อยู่ที่โต๊ะบ้าง ไม่อยู่ที่ห้องบ้าง
เมื่อพนักงานต้องการคำแนะนำ และเมื่อไม่มีผู้จัดการแนะนำได้ ทำให้พนักงานทิ้งเรื่องสำคัญนั้นไปทันที หรือพนักงานบางคนกล้าหน่อยก็เข้าหาผู้บริหารระดับสูงแทน ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้องในการบริหารงาน
10.ผู้จัดการที่มีอารมณ์ดี
ปัญหาในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคือการทำงานอยู่ภายใต้ความกดดัน หรือสภาวะที่ตึงเครียด นอกจากบรรยากาศที่ตึงเครียดจากการทำงาน ยังตึงเครียดจากผู้จัดการขี้หงุดหงิด ทำให้การทำงานไม่สนุก
ความคาดหวังที่พนักงานมีต่อผู้จัดการคือ สร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ในการทำงาน การที่มีผู้จัดการที่มีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใจ เบิกบาน มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ตลกเป็นบางเวลา
ทำให้มีความอบอุ่นเมื่ออยู่ใกล้ชิด ผู้จัดการอัจฉริยะจึงถูกบ่มเพาะให้เป็นผู้จัดการที่มีนิสัยร่าเริง อารมณ์ดี ไม่หงุดหงิด ทำให้พนักงานสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น
ในมุมมองของพนักงานที่มีต่อผู้จัดการอัจริยะ คือเมื่อผู้จัดการมีอารมณ์ดี โลกทั้งใบก็จะดูสดใสขึ้นทันที พนักงานทุกคนก็จะมีกำลังในการทำงานให้ดีขึ้น
11.ผู้จัดการที่มีคำสั่งชัดเจน
ปัญหาหลัก ๆ ในการทำงาน ทำให้งานไม่รื่นไหล คือการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน ทั้งคนสื่อสารและคนฟัง และถ้าคนฟังคือพนักงานที่เกรงใจผู้จัดการไม่กล้าสอบถามถึงความชัดเจน ว่าคำสั่งที่ผู้จัดการกำลังสั่งต้องการอะไรกันแน่ ก็จะส่งผลถึงปัญหาตามมามากมาย
ความคาดหวังของพนักงานที่มีต่อผู้จัดการของเขาคือการสั่งงานที่ชัดเจน ไม่กำกวม หรือคำสั่งที่ไม่ต้องคิดมาก
ซึ่งการผู้จัดการอัจฉริยะไม่เพียงแต่สั่งการที่ชัดเจนแล้ว ยังต้องมีการทบทวนคำสั่งเพื่อมั่นใจว่าพนักงานมีความเข้าใจที่ดีพอในการทำงานจนสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง การสื่อสารภายในองค์กร หรือ การสื่อสารแบบ 360 องศา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ลูกร้องอยากได้
12.ผู้จัดการที่เข้าใจหลักการสอน
การสอนงานเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาพนักงานในทีมงาน Smart Leadership บางคนคาดหวังให้บุคคลภายนอกเป็นผู้สอน เป็นวิทยากร เป็นอาจารย์
แต่ความจริงนั้น พนักงานคาดหวังที่จะได้รับความรู้จากหัวหน้าของตนเอง เพราะหัวหน้าคือผู้จัดการจะเข้าใจในเนื้องานมากที่สุด การสอนงานก็จะตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการและนำไปใช้ในการทำงานได้จริง
ซึ่งผู้จัดการอัจริยะจะมีเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการสอนงาน ทำให้บรรยากาศการเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ สนุก พนักงานจะรู้สึกตื่นตัวในการฟัง และทำความเข้าใจในเนื้องานที่ผู้จัดการอัจฉริยะได้สอนพวกเขานั่นเอง
13.ผู้จัดการที่ไม่อยู่แต่ในห้องทำงาน
มีผู้จัดการจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิด นั่งทำงานแต่ในห้อง ถ้าพนักงานคนไหนมีปัญหา ก็จะเดินเข้ามาเคาะประตูเพื่อขอคำแนะนำ เรียกได้ว่าเป็นผู้จัดการหมกตัวอยู่แต่ในห้องทำงาน และรอคอยให้ลูกน้องเข้ามาเพื่อรายงาน
ผลที่ตามมาคือทำให้งานล่าช้า ไม่บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ เพราะผู้จัดการไม่สามารถอัพเดทข้อมูลแบบทันเวลา ในประเทศญี่ปุ่นมีแนวทางในการทำงานของผู้จัดการแจริยะ สำหรับผู้จัดการอัจฉริยะ
คือนั่งทำงานร่วมกับพนักงาน แบบหันหน้าชนกัน เพื่อผู้จัดการจะได้มองเห็นอย่างทั่วถึง และถ้ามีปัญหาเร่งด้วยก็สามารถตะโกนคุยกันได้ทันที..
14.ผู้จัดการที่ไม่ชอบวัวหายแล้วล้อมคอก
จะเห็นว่าในการประชุมในแต่ละวันส่วนใหญ่เป็นการประชุมเพื่อหาทางแก้ปัญหา ทำให้ทุกคนแทบจะไม่ได้ทำงานที่ตนเองวางแผนงานไว้
และก็มีผู้จัดการบางคนเมื่อประชุมแล้วก็ไม่พร้อมจะแก้ปัญหาอีก ทำให้ปัญหาหมักหมมเป็นเวลานาน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หลักสูตรผู้จัดการอัจฉริยะจะเน้นให้ผู้จัดการคาดการณ์ปัญหาว่าจะเกิดอะไรขึ้นในการตัดสินใจครั้งหนึ่งแล้วจะหาทางแก้ปัญหาได้อย่างไร
เพื่อไม่ต้องเสียเวลามาคอยแก้ปัญหาที่ตามมาเป็นระยะ ๆ จนทำให้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะกว่าจะรู้ก็สายเกินแก้ไขได้ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายไปอย่างเปล่าประโยชน์
15.ผู้จัดการที่เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค
หัวใจของการทำธุรกิจ คือการมุ่งเน้นหารายได้เข้าองค์กร เพราะรายได้คือน้ำหล่อเลี้ยงที่ดีที่สุดที่ทำให้ทุกคนมีขวัญกำลังใจในการทำงาน
เพราะเมื่อองค์กรมีรายได้ ก็จะทำให้มีงบประมาณมาใช้ในการทำงานต่าง ๆ รวมถึงการให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับพนักงานเช่นกัน ผู้จัดการอัจฉระจะเรียนรู้แนวทางทำให้เข้าใจการทำธุรกิจ ด้วยการเข้าใจสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการหรือไม่พอใจหรือไม่ต้องการ
และเมื่อผู้จัดการตัดสินใจก็จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจและยินดีที่จะซื้อสินค้าจากบริษัท ผู้บริหาร 360 องศา จะเฝ้าระวังถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคเพราะถ้าผู้จัดการรับรู้ได้ถึงเรื่องผิดปกติจากพฤติกรรมผู้บริโถค ก็ต้องสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรรู้สึกถึงความผิดปกติเช่นกัน
เพื่อร่วมใจกันหาทางแก้ไขเพื่อสร้างความพอใจให้ลูกค้า ทำให้เป็นลูกค้าระยะยางต่อองค์กร
16.ผู้จัดการที่สร้างบรรยากาศในการทำงาน
บรรยากาศในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการมีบรรยากาศที่ดีจะทำให้ทุกคนอยากทำงาน ทำให้พนักงานมีความกระตือรือร้นที่จะทำงาน ช่วยเหลือกัน ผู้จัดการอัจฉริยะจะมีการตื่นตัวตลอดเวลา ทำให้บรรยากาศอบอุ้นน่าทำงานด้วย
ในคลิปการสร้างแรงจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงิน หนึ่งในแรงจูงใจคือการมีบรรยากาศที่ดีในการทำงานผู้จัดการต้องไม่พยายามสร้างบรรยากาศที่ไม่สนับการทำงานร่วมกัน เช่นมีข้อขัดแย้งในระหว่างการทำงาน
ซึ่งเป็นเรื่องจริงของผู้จัดการรุ่นเก่าที่มักเข้าใจผิดกลัวลูกน้องรวมตัวกันมาเจรจาต่อรองเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ทำให้ผู้จัดการไม่สามารถเจรจาต่อรองได้เพราะลูกน้องรวมหัวกัน ผลที่ตามมาคืองานไม่เดินหน้า ต่างฝ่ายต่างทะเลาะกัน ไม่พอใจกัน ทำให้ไม่มีผลผลิตที่ดีในการทำงานแนวทางเช้นนี้ทำให้องค์กรไม่เติบโต
ผู้จัดการอัจริยะจะเน้นการสร้างบรรยากาศให้ทุกคนรักกัน ช่วยเหลือกัน ทำงานเป็นทีม ทำให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง วิธีการสำคัญคือ การพัฒนาการคิดเชิงบวก ให้พนักงาน เพราะ การคิดบวก จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
17.ผู้จัดการที่มองถึงอนาคตของบริษัท
ผู้จัดการจำนวนไม่น้อยที่มักมองถึงผลประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กร ทำให้พนักงานทุกคนเดือดร้อน เพราะทำงานไม่ได้เป้าหมายตามที่ต้องการ
โดยมักให้ข้ออ้างว่าเกิดจากการที่พนักงานไม่ขยันตั้งใจ ทั้ง ๆ ที่พนักงานทุ่มเทให้กับการทำงาน อาการเช่นนี้เป็นอาการของผู้จัดการที่ไม่มองถึงอนาคตของบริษัทว่าจะเป็นเช่นไร จะเติบโตไปในทิศทางไหน เพราะวัน ๆ ทำแต่เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่ตนเองสนใจเท่านั้น ซึ่งผู้จัดการอัจฉริยะ จะเน้นการให้ความสำคัญกับทิศทางขององค์กร
เป็นเรื่องสำคัญว่าจะมีมิศทางไปในทิศทางไหนในอนาคต และคิดวางแผนว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรมีแนวทางเดินไปข้างหน้าและมีทิศทางในการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน
18.ผู้จัดการที่บุคลิกลักษณะเฉพาะตัว
ในการประชุมในห้องอบรมหลักสูตรผู้จัดการอัจริยะ The Super Manager มีผู้จัดการจำนวนไม่น้อยที่มักสอบถามว่าผู้จัดการที่ดีควรเป็นเช่นไร เพื่อจะได้ทำตามหรือเลียนแบบ ไม่ต้องเสียเวลาคิด
โดยลืมไปว่าบุคลิกลักษณะของคนแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้แนวทางการบริหารจัดการก็แตกต่างกันออกไปเช่นกัน ซึ่งผู้จัดการอัจฉริยะจะเข้าใจในเรื่องบุคลิกลักษณะที่ชัดเจนในการบริหารจัดการหรือแนวทางการทำงานที่มีรูปแบบที่ชัดเจน เป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่เจ้านายที่ไร้รูปแบบการทำงาน ไม่อยู่กับร่องกับรอย
ทำให้พนักงานมีความสับสน ถ้าผู้จัดการเป็นเช่นนี้ บอกได้เลยว่างานจะไม่เดินไปข้างหน้าอย่างแน่นอน
19.ผู้จัดการที่มีความยอมรับผู้อื่น
ไม่มีใครเก่งมากที่สุดในการทำงาน พนักงานบางคนเก่วเรื่องหนึ่ง หรือผูจัดการบางคนเก่งอีกเรื่องหนึ่ง
จิตวิทยาการบริหารคนของผู้จัดการอัจฉริยะคือการยอมรับในการทำงานของลูกน้อง ไม่ใช่เป็นผู้จัดการที่ชอบโชว์ผลงานของตนเองว่าทำนั่น ทำนี่ได้ดี หรือปรียบเทียบการทำงานของตนเองกับพนักงานในทีมงาน เช่นเมื่อพนักงานนำงานมาส่ง มักจะบอกว่าตนเองทำได้ดีกว่า
ทำให้ผู้จัดการไม่ฟังในสิ่งที่คนอื่นพูด ในเมื่อผู้จัดการบอกว่าตนเองทำงานได้ดีกว่า พนักงานส่วนใหญ่จึงรอผู้จัดการของเขาเป็นผู้ตัดสินใจทำ ซึ่งทำให้เกิดผลเสีย คือพนักงานไม่ได้ฝึก ไม่มีความก้าวหน้ในงาน
ผู้จัดการอัจฉริยะที่จะให้คำแนะนำคนอื่นและเมื่อเขานำงานมาส่ง ก็จะยอมรับผลงานของพนักงาน เลื่อมใสบุคคลที่มีความสามารถ และที่สำคัญ ผู้จัดการอัจฉริยะต้องแบบอย่างที่ดี ให้กับพนักงานสัมผัสได้ ไม่ใช่เชื่อมั่นเฉพาะตนเองว่ามีแต่ตนเองเท่านั้นที่จะเก่งที่สุด ทำได้ทีที่สุดเท่านั้น
20.ผู้จัดการที่พบประลูกค้าเป็นประจำ
ไม่ว่าคุณจะเป็น ผู้จัดการขั้นต้น หรือ ผู้จัดการระดับกลาง หรือผู้จัดการระดับสูง ก็ตาม หน้าที่ของผู้จัดการคือการเป็นตัวแทนขององค์กรต่อคนข้างนอก หมายถึงว่าในบางครั้งต้องมีการติดต่อลูกค้าหรือหน่วยงานข้างนอก
เพื่อนำเสนองาน หรือการเข้าเยี่ยมลูกค้า ซึ่งข้อดีของการเข้าเยี่ยมลูกค้า คือทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่น แต่มีผู้จัดการจำนวนไม่น้อยที่ไม่เยี่ยมลูกค้า ชอบทำงานแต่ในสำนักงาน ส่งให้พนักงานไปเยี่ยมลูกค้า เช่นช่วงเทศกาลก็ไม่มีการไปแสดงความยินดีกับลูกค้า
ผลเสียที่ตามคือองค์กรขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ลูกค้าไม่ต้องการสั่งซื้อสินค้าอีกต่อไป เคยมีลูกชายเจ้าของกิจการแห่งหนึ่ง เข้ามาอบรมหลักสูตร 8 ขั้นตอนการเป็นนักขายมืออาชีพ ได้เล่าให้ฟังว่ามารับช่วงธุรกิจต่อจากคุณพ่อ ซึ่งคุณพ่อเป็นคนที่บุกเบิกธุรกิจ เข้าหาลูกค้า สอบถามความต้องการจากลูกค้า
สร้างความประทับใจให้ลูกค้า ซึ่งเมื่อลูกชายเข้ามาสานต่อธุรกิจของคุณพ่อกลับไม่ออกเยี่ยมลูกค้า ใช้การสั่งการให้ทีมงานลงพื้นที่เยี่ยมเยียนแทน ผลคือยอดขายไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง หลังจากเปลี่ยนแนวทางการทำงาน ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนลูกค้า
ทำให้ทราบถึงปัญหาที่ต้องตัดสินใจ ลูกค้าพึงพอใจ และทำให้ยอดขายดีกว่าเดิมทันที การเป็น หัวหน้างาน 360 องศา จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า โดยการเข้าพบ พูดคุย และยอมรับถึงปัญหาถ้าลูกค้า ถ้ามีการต่อว่าจากลูกค้า ไม่ว่าเรื่องนั้นจะแก้ไขได้หรือไม่ก็ตาม
ผู้จัดการ หรือ ผู้บริหาร คนไหนที่อ่านมาถึงตรงนี้ ต้องเริ่มกลับมาทบทวนแนวทางในการบริหารของตนเองว่าเป็นไปตาม 20 ข้อเรียกร้องของพนักงานที่มีต่อหัวหน้าของเขาอย่างไรบ้าง
ขอให้ผู้จัดการเข้าใจว่าพนักงานทุกคนมีจิตใจที่ดีอยากให้องค์กรเติบโต แต่ในทางปฏิบัติพนักงานทำอะไรทั้งหมดด้วยตัวเองไม่ได้ จึงต้องมีผู้จัดการคอยบริหาร สั่งการและตัดสินใจให้พวกเขาได้ทำ
คราวนี้ใครก็ตามที่เป็นผู้นำ ผู้บริหาร หรือผู้จัดการลองหันมาสำรวจดูตัวเองว่าเป็นผู้จัดการแบบใด เป็นผู้จัดการทั่วไปหรือเป็นผู้จัดการอัจฉริยะ
โดยการทำความเข้าใจทั้ง 20 ข้อ ว่ามีข้อใดบ้างที่มีแล้ว นำมาใช้แล้ว หรือถ้าไม่มีเลยก็คงต้องปรับเปลี่ยนความคิดทำแบบใหม่ทันที เรียกได้ว่า คิดใหม่ ทำใหม่ ตามแนวทางของ หลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ The Super Manager อย่าให้ทุกอย่างสายเกินกว่าจะแก้ไขได้ นะจะบอกให้
เทคนิคการขายกับ 4 แนวคิดที่นักขายรุ่นใหม่ต้องรู้
เทคนิคการขายกับ 4 แนวคิดที่นักขายรุ่นใหม่ต้องรู้ โดย ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณ และ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย แนวคิดของเทคนิคการขายที่นักขายต้องรู้และเข้าใจ ซึ่งในหลักสูตรการขายในปัจจุบันนั้นอาจจะไม่ได้พูดถึงแนวคิดเช่นนี้ที่นักขายพึงจะต้องมี...
หลักสูตรการขาย ตอนเจรจาต่อรอง
หลักสูตรการขาย ตอน "เทคนิคการเจรจาต่อรอง" โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจที่นักขายหลายคนเข้า "อบรมหลักสูตรการขาย" แต่ยังไม่สามารถเจรจาต่อรองและปิดการขายได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมีนักขายหลายคนนั้นกลัวการเจรจาต่อรอง...
ผู้จัดการหรือผู้บริหาร ทำอย่างไร เมื่อผลประเมินพนักงานต่ำ
ผู้จัดการหรือผู้บริหารจะแก้ไขอย่างไร เมื่อผลประเมินพนักงานต่ำกว่าเกณฑ์ โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย มีผู้จัดการหรือผู้บริหารจำนวนไม่น้อยที่พอถึงเทศกาลการประเมินผลงานพนักงาน ก็จะออกอาการทำอย่างไรดี ไม่ใช่เรื่องการประเมิน...
เทคนิคการขาย:ใครผิด ใครถูก ใครได้ ใครเสีย
ใครผิด ใครถูก ใครได้ ใครเสีย โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย มีนักขายหลายคน เข้าอบรมหลักสูตรการขายหลายครั้งมักมีข้อสงสัยในเรื่องของความผิดหรือถูกระหว่างนักขายกับลูกค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงอยากจะนำมาเขียนเพื่อจะทำความเข้าใจโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในงานขาย ในคำถามถามในทำนอง...
จัดการอย่างไร เมื่อผู้บริหารหรือผู้จัดการไม่ชอบพัฒนาตนเอง
จัดการอย่างไร เมื่อผู้บริหารหรือผู้จัดการไม่ชอบพัฒนาตนเอง? stepplus training.com เป็นเรื่องที่หน้าประหลาดใจที่ปัจจุบันมีหลักสูตรผู้บริหารหรือหลักสูตรผู้จัดการดี ๆ มากมายแต่ผู้จัดการกลับไม่ชอบที่จะเข้าร่วมหรือพัฒนาตนเอง...
การประยุกต์ Bench-Marking ไปใช้
การประยุกต์ Bench-marking ไปใช้ คืออะไร? การประยุกต์ Bench-marking ไปใช้ คือการนำเครื่องมือเทคนิคที่ได้จากการอบรมเรือง Bench-marking มาใช้ในการทำงาน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ ตรงกับเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้ ซึ่งในการทำ Bench-marking ที่ดี ต้องมีขั้นตอนอย่างมืออาชีพ...
ขั้นตอนการทำ Bench-marking อย่างมืออาชีพ
Bench-marking คืออะไร? "การประยุกต์ Bench-Marking ไปใช้ คือ การนำกระบวนการจัดทำ Bench-marking ที่ได้รับความรู้มา เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำ Bench-marking ภายในองค์กร ทำให้พนักงานทุกคน มีเครื่องมือในการจัดทำ Bench-marking ได้ตรงกับเป้าหมายที่องค์กรต้องการ" ขั้นตอนการทำ...
Strategic Benchmarking for Marketer
กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คืออะไร? กลยุทธ์ทาง Bench-Marking สำหรับนักการตลาด คือ แนวทางการนำกลยุทธ์ ทาง Bench-Marking มาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ ทางการตลาด ทำให้ความแตกต่างระหว่างตนเอง กับคู่แข่งได้ชัดเจนการจัดทำกลยุทธ์ทาง Bench-Marking...
ต้นทุน ขยับสูงขึ้น…ทำอย่างไร? ให้ธุรกิจอยู่รอด
ต้นทุน ขยับสูงขึ้น...ทำอย่างไร? ให้ธุรกิจอยู่รอด เป็นที่ทราบกันดีว่าในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้ ต้นทุนของสินค้าต่างขยับขึ้นเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมันขึ้นราคา ค่าแรงเพิ่ม ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นทุนของสินค้า...
เทคนิคการนำเสนอให้ดี ก็ไม่พอ ถ้าต้องการขายให้ได้
เทคนิคการนำเสนอ ให้ดี ก็ไม่พอ ถ้าต้องการขายให้ได้ ในการขายนั้นบ่อยครั้งที่นักขายจะเจอเหตุการณ์เช่นนี้คือ ลูกค้าบอกให้ไปนำเสนอขาย พนักงานขาย ก็นำ เทคนิคการนำเสนอ มากมาย แต่ทำไมเมื่อนำเสนอสินค้าแล้วลูกค้าไม่ซื้อ บางครั้งทำให้รู้สึกเสียกำลังใจเหมือนกัน ทำให้เบื่อ ๆ...
ลูกค้าทำท่าว่าสั่งปริมาณมาก เพื่อเจรจาต่อรองราคา แต่สั่งซื้อน้อย..!
ลูกค้าทำท่าว่าสั่งปริมาณมาก เพื่อเจรจาต่อรองราคา แต่สั่งซื้อน้อย..! ในการขายนั้นบางครั้งต้องขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ซึ่งตัวแทนจำหน่ายชอบใช้ปริมาณการสั่งซื้อเพื่อมาต่อรองด้านราคา หรือบางครั้งก็ใช้ราคาคู่แข่งมาอ้างอิงเพื่อต่อราคา โดยใช้ราคาที่ต่ำมาก กับปริมาณการสั่งซื้อ...
เพิ่มผลงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ..ในเวลาที่จำกัด..
เพิ่มผลงานของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ..ในเวลาที่จำกัด.. มีคำพูดยอดนิยมของคนทำงานที่มักพูดกันบ่อย ๆ ว่า “ทำงานไม่ทัน” ซึ่งหมายถึงไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ พอถูกถาม ก็มีเหตุผลมากมายที่จะอธิบายถึงสาเหตุว่าตนเองนั้นทำงานไม่ทันและเป็นเช่นนี้ทุกเดือน...
เทคนิคการขายแบบ B2B
เทคนิคการขายแบบ B2B มีนักขายหลายคนต้องขายสินค้าเพื่อให้ผู้อื่นนำไปขายต่อ ที่เรียกว่า เป็นตัวแทนจำหน่าย(ยี่ปั้ว ซาปั้ว) หรือที่ในปัจจุบัน จะเรียกว่า เป็นการขายในลักษณะ B2B ซึ่งก็ย่อมาจากคำว่า Business to Business คือเป็นการติดต่อระหว่งธุรกิจกับธุรกิจ...
The Super Manager
How to improve your organization productivities? (8 Modules of the Principle of Management) หมายเหตุ: หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ประยุกต์มาจากหลักสูตรการบริหารจัดการ (Management Program) จาก The Japan Industrial Training (JITA) และ The Oversea Human Resource and...
Miller Heiman
Miller Heiman Miller Heiman: Strategic Selling® Program กลยุทธ์การขายแบบองค์รวมเพื่อชัยชนะในการขายที่ซับซ้อน (Complex Sales) การขายเชิงกลยุทธ์ ® ทำให้เห็นภาพการขายที่ชัดเจนในทุกโอกาสของการขายด้วยเครื่องมือของโปรแกรมเพื่อใช้ในการวางแผน ที่เรียกว่า บลูชีท (Blue...
กลยุทธ์สุดท้ายของการเจรจาต่อรองแบบ Negotiation Strategy for Win-Win
กลยุทธ์สุดท้ายของการเจรจาต่อรองแบบ Negotiation Strategy for Win-Win โดย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย ผู้อำนวยการหลักสูตรNegotiation Strategy for Win-Win: StepPlus ความจริงเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองที่ว่า..คนส่วนใหญ่ “ยอมแพ้” ทั้งที่ “ยังไม่เริ่มต้น” แล้วคุณล่ะ?...
Public Training
Hello world!
Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!
ตรงใจมากเลยคะ อยากให้ผู้จัดการได้มาอ่านนะคะ ผู้บริหารหรือผู้จัดการลองอ่านนะคะ หัวหน้าหนูเป็นหลายข้อ แต่เขาไม่ทราบเลยคะ