12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่เป็น วิธีการบริหาร ทีมงานแบบใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการมือใหม่ ต้องนำมาใช้ในการบริหารพนักงานในทีมให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ซึ่งจะมีวิธีการบริหาร (ใหม่ล่าสุด) เพื่อความสำเร็จของทีมงานที่ยั่งยืน
12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่
12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่
เขียนโดย วิทยากรสอน ผู้จัดการมือใหม่ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
เป็นความใฝ่ในของพนักงานหลายคน ที่อยากได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการ แต่การเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการครั้งแรก อาจเป็นทุกข์ลาภครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตก็ได้เช่นกัน
เป็นเรื่องจริงที่ว่า การเป็นผู้จัดการสำหรับผู้จัดการมือใหม่ อาจสร้างปัญหามากมาย เพราะผู้ที่ได้รับตำแหน่ง ผู้จัดการระดับต้น ยังไม่เข้าใจว่า การเป็นผู้บริหาร(ใหม่ล่าสุด) ต้องใช้เคล็ดลับอะไรบ้างในการบริหาร
ผู้จัดการมือใหม่บางคนก็นำ เคล็ดลับการบริหาร ที่โบราณ ไม่ทันสมัย มาใช้ ทำให้การบริหารทีมงานกลายเป็นปัญหาใหญ่ งานไม่เดิน ไม่บรรลุเป้าหมาย KPI
การพัฒนาผู้จัดการมือใหม่ ในครั้งแรกจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผู้บริหารระดับสูงต้องใส่ใจ ในการมอบหมายตำแหน่งใหม่ให้ผู้จัดการมือใหม่และมีเป้าหมายต่อไปคือการก้าวขึ้นสู่การเป็น ผู้จัดการบริหาร 360 องศา หรือ ผู้จัดการเชิงรุก ต่อไป
การพัฒนาทักษะการบริหารให้กับผู้จัดการมือใหม่ ต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะการรับตำแหน่งของผู้จัดการมือใหม่ เท่ากับผู้จัดการมือใหม่จะต้องมีงานและความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น บางคนจึงรู้สึกกดดัน เครียด และบางคนยอมแพ้ถึงกับลาออกไปอย่างน่าเสียดาย
ความรับผิดชอบหลัก ๆ สำหรับผู้จัดการมือใหม่ คือ การบริหารจัดการทีมงานของผู้จัดการใหม่ การได้รับมอบหมายงานใหม่ๆ รวมถึงการมอบหมายงานให้ทีมงานอย่างยุติธรรม การสอนงานทีมงาน ซึ่งความรับผิดชอบที่มากขึ้น ผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมที่จะขึ้นเป็นผู้จัดการมือใหม่อย่างสง่างามและเตรียมตัวขึ้นเป็นผู้จัดการอัจฉริยะนั่นเอง
1.การพัฒนาทักษะสำหรับผู้จัดการมือใหม่ที่สำคัญ
ผู้จัดการมือใหม่ จะเข้ารับการเรียนรู้ ฝึกอบรมทักษะใหม่ เพื่อนำไปพัฒนาทีมงาน ให้การทำงานประสบความสำเร็จ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการพัฒนาผู้จัดการมือใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่ง ของหลักสูตรฝึกอบรม สำหรับผู้จัดการใหม่ ผ่านการนำปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เช่น:
1.1 การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น Motivation:
หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผู้จัดการมือใหม่ คือการกระตุ้นหรือ การสร้างแรงจูงใจ เพื่อ สร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงาน มาทำงานด้วยความสุขและมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ
ผู้จัดการมือใหม่ จำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิควิธีใหม่ๆ ในการสร้างแรงบันดาลใจให้ พนักงานในทีมงาน ยินดีที่จะทำงานอย่างท้าทาย ไม่กังวลใจ
1.2 การมอบหมายงาน Job Delegation:
ในฐานะผู้จัดการระดับเริ่มต้น การมอบหมายงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะงานทุกงานไม่สามารถทำได้เพียงคนเดียว จำเป็นต้องมอบหมายงานให้พนักงานในทีม ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมใจกันทีจะทำงานออกมาให้ตรงเวลา มีคุณภาพตามที่คาดหวัง
1.3 การจัดการเวลา Time Management:
ผู้จัดการมือใหม่ ทุกคนจะมีความรู้สึกเดียวกันว่า ทำไมงานทุกวัน ถึงยุ่งมาก ทำไม่ทัน เวลามีจำกัด แต่ความจริง เวลามีจำกัด หรือ ผู้จัดการมือใหม่ ไม่ทราบว่าต้องทำอะไร ไม่มีการเรียงลำดับความสำคัญในการทำงาน การจัดการบริหารเวลา จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อนำไปบริหารตารางการทำงาน การจัดลำดับความสำคัญและจัดการงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การประชุมสถานะทีม การประชุมทบทวนรายบุคคล และงานต่างๆ ที่ต้องทำให้เสร็จ ในเวลาที่กำหนดไว้
1.4 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล:
การสื่อสารคือหัวใจความสำเร็จของผู้จัดการมือใหม่ ในฐานะผู้จัดการมือใหม่ คุณอาจให้ข้อเสนอแนะ และยอมรับคำติชม แบบ Dynamic Leadership หรือ หัวหน้างาน 360 องศา ซึ่งจะช่วยให้ ผู้จัดการระดับสูง หรือ ผู้จัดการระดับกลาง มีการพัฒนา ทักษะการสื่อสารเพื่อความสำเร็จ ทำให้เข้าใจจังหวะของ การสื่อสารแบบ 360 องศา หรือ การสื่อสารภายในองค์กร ได้เป็นอย่างดี
1.5 การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา:
การทำงานของผู้จัดการมือใหม่ ที่จะต้องรับรู้ปัญหาทุกวัน การคิดเชิงวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้จัดการมือใหม่ต้องมี เพราะไม่เช่นนั้น การตัดสินใจจะกลายเป็นการตัดสินใจแบบอารมณ์มากกว่าการนำเหตุผลมาใช้ในการทำงาน นอกเหนือจากการแก้ปัญหา ในหลายองค์กร ผู้จัดการมือใหม่ ยังต้องรับมือกับ การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการจัดการข้อขัดแย้ง การคิดเชิงตรรกะของผู้จัดการจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นการขึ้นมาเป็นผู้จัดการระดับต้น
หนังสือแนะนำ
2.การเรียนรู้ เทคนิคการบริหารจัดการ
ความคาดหวังที่องค์กรมีต่อผู้จัดการคือการให้ผู้จัดการมือใหม่ สามารถทำงานเป็นผู้นำเชิงรุก จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเทคนิคการบริหารจัดการ หรือ ทัศนคติของผู้จัดการมือใหม่ ให้พร้อมที่จะทำงานอย่างกรตือรือร้น ด้วยฝึกฝนเทคนิคการบริหารจัดการต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้จัดการมือใหม่กับสถานการณ์ต่างๆ ได้รวมถึง:
2.1 การรับรู้ถึงปัญหาอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์:
การเรียนรู้ ถึงจุดอ่อน จุดแข็ง แนวทางการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจ อย่างเป็นเลิศ ว่าเมื่อใดและเหตุใดจึงควร ยอมรับเป็นเทคนิคเชิงกลยุทธ์แบบใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับองค์กร และมีชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายของการทำงานและพร้อมที่จะทำงานแบบ การบริหารมุ่งเน้นผลสำเร็จ เป็นที่ตั้ง และผลงานใดที่สมควรได้รับการยกย่อง เพราะวิธีการเช่นนี้สามารถจูงใจให้พนักงานอยากบรรลุเป้าหมายในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
2.2 การฝึกอบรมและการพัฒนาพนักงาน:
ผู้จัดการมือใหม่ จำเป็นต้องเข้าใจ ขั้นตอนการตัดสินใจในการพัฒนาทีมงาน มีเป้าหมายการพัฒนาทีมงานที่ชัดเจน และต้องรู้จังหวะว่า เมื่อใดควรให้การฝึกอบรมและพัฒนาแก่พนักงานในทีมเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและปรับปรุงความสัมพันธ์กับพนักงานในทีมได้ LINK] เทคนิคการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจโดยพิจารณาจากจุดแข็งและจุดอ่อนหรือแผนการพัฒนาในอาชีพการงาน สามารถแสดงให้เห็นว่าผู้จัดการมือใหม่ ให้ความสำคัญกับพนักงาน และต้องการงทุนในความก้าวหน้าของพนักงาน
2.3 การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ:
ในฐานะผู้จัดการมือใหม่ ต้องระบุได้ว่าเมื่อใดควรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในทีม การตัดสินใจและการแก้ปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หรือการปรับปรุงกระบวนการโดยทั่วไป เช่น ในฐานะผู้จัดการใหม่ คุณอาจฝึกฝนการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในมุมมองของตนเอง เช่น การแก้ปัญหาการมาสายของพนักงาน การทำงานที่ไม่ทันกำหนดเวลา เป็นต้น
3.การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ
เทคนิคการบริหารจัดการ ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ ในขณะที่ทำงานการเป็นผู้จัดการมือใหม่ อาจใช้รูปแบบการบริหารจัดการ แบบผู้นำเชิงรุก เพื่อนำมาบริหารสถานการณ์ต่างๆ ให้สอดคล้อมกับผลลัพธ์ที่ผู้จัดการมือใหม่ต้องการ เช่น:
3.1 การใช้อำนาจ:
ผู้จัดการมือใหม่ หลายคนไม่เข้าใจว่าตนเองมีอำนาจในการบริหารทีมงาน จึงจำเป็นต้องนำอำนาจที่มีมาบริหาร แบบตรงไปตรงมาและชัดเจนในแนวทาง เป้าหมาย และความคาดหวังของตน รูปแบบการใช้อำนาจในการบริหารนี้มักจะช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
3.2 สร้างความผูกพัน ที่จับต้องได้:
ผู้จัดการมือใหม่ ต้องการทำงานให้รื่นไหลกับพนักงานในทีม จำเป็นต้องสร้างความผูกพันจะเน้นให้พนักงานในทีมมีความสุข ความสามัคคีและช่วยเหลือกันภายในทีม เพราะถ้าทำได้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างความไว้วางใจภายในทีม ทำให้ทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ดีมากขึ้น
3.3 ให้อิสระทางความคิดอย่างยุติธรรม:
รูปแบบการบริหารแบบให้อิสระทางความคิดอย่างยุติธรรม เป็นแนวทางของการบริหารแบบ ประชาธิปไตยจะอาศัยข้อมูลการตัดสินใจจากกลุ่มในสถานการณ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ซึ่งอาจได้ผลสำหรับผู้จัดการมือใหม่ในการบริหารจัดการกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน หรือ บริหารจัดการพนักงานอาวุโส
3.4 การสอนงานและการเป็นโค้ช:
การพัฒนาทักษะการทำงานให้พนักงานเป็นหัวใจความสำเร็จ รูปแบบการสอนงานมีหลายหลาย เช่นรูปแบบการโค้ชพนักงาน เพื่อให้พนักงานพร้อมที่จะการเติบโตในสายอาชีพของพนักงานในทีม ซึ่งสามารถแสดงให้พนักงานในทีมเห็นว่า ผู้จัดการมือใหม่ พร้อมที่จะสอนงาน มีความหวังดีที่จะพัฒนาทักษะพนักงานในทีมงาน เพื่อความก้าว หน้าและเติบโตตำแหน่งในอนาคต
12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่ ที่จะประสบความสำเร็จ
ผู้จัดการมือใหม่หลายคนยังสับสน เส้นทางของความเร็จ ซึ่งความจริงก็มีหลายวิธีที่ผู้จัดการมือใหม่ สามารถเติบโตในการเป็นผู้บริหาร ในฐานะเป็นผู้จัดการมือใหม่
และนี่คือ 12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) ที่ผู้จัดการมือใหม่ ควรปฏิบัติตาม เพื่อช่วยให้ผู้จัดการมือใหม่ทุกคนประสบความสำเร็จในบทบาทใหม่ของตนเองได้:
1.เรียนรู้ความคาดหวังของผู้บริหารจะดับสูง:
ในฐานะผู้จัดการมือใหม่ ต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ผู้บริหารจะดับสูงมอบให้ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าผู้บริหารจะดับสูงมีความคาดหวังอะไรจากคุณในฐานะผู้จัดการมือใหม่และในฐานะผู้บริหารพนักงานในทีม และมีหน้าที่รายงานผลงานเป็นประจำ สิ่งสำคัญคือการกำหนดเป้าหมายและเป้าหมายร่วมกับผู้จัดการอัจฉริยะหรือผู้บริหารจะดับสูง และขอคำแนะนำเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงาน การรายงานผลงานเป็นประจำ เพื่อสามารถติดตามความคืบหน้าและช่วยให้ประสบความสำเร็จในการบริหารพนักงานของผู้จัดการมือใหม่
2.สร้างเครือข่ายกับเพื่อนร่วมงาน ทั้งในและนอกองค์กร
ในการบริหารจัดการ ความสัมพันธ์แบบเพื่อนต่อเพื่อนมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับบทบาทของการเป็นผู้จัดการมือใหม่ สังเกตได้จากผู้จัดการอัจฉริยะที่แตกต่างกัน เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการกับปัญหาอย่างไร และพัฒนาความสัมพันธ์ที่นำไปสู่โอกาสใหม่ๆ บางครั้ง ผู้จัดการคนอื่นอาจได้รับการเลื่อนตำแหน่งและกลายมาเป็นผู้บริหาร ดังนั้นการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับผู้จัดการมือใหม่
การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน สร้างความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรและเป็นกันเอง การแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดการปริมาณงานและความยากลำบาก ในช่วงเวลาพักสามารถช่วยให้พนักงานทุกคนในทีมงาน รู้สึกผ่อนคลาย สบายใจมากขึ้นใน การประสานงานกัน
3.รับฟังเสียงสะท้อนจากพนักงานในทีม
การประชุมเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน การแสดงความคิดเห็น และเปลี่ยนมุมมองคือหัวใจความสำเร็จในการทำงาน จึงเป็นความคิดที่ดีที่จะกำหนดวาระการประชุมเป็นประจำกับพนักงานในทีม เมื่อเริ่มต้นการเป็นผู้จัดการมือใหม่ สิ่งที่ผู้จัดการมือใหม่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับพนักงานในทีมอาจรวมถึง:
-
พนักงานในทีมเป็นใคร มีประสบการณ์อย่างไร:
ให้พนักงานในทีมพูดถึงตนเองวาเป็นคนอย่างไร นอกเวลาทำงาน แทนการถามแค่ว่าพนักงานในทีมทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ สิ่งนี้สามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้จัดการมือใหม่กับพนักงานในทีม ทำให้ได้เรียนรู้วิธีที่ดีที่สุดในการสื่อสารกับพนักงานในทีม
-
พนักงานในทีม มีความสามารถด้านใด:
ทำความเข้าใจว่า พนักงานในทีม มีบทบาทและความรับผิดชอบคืออะไร เพื่อจะได้เปรียบเทียบกับมุมมองของการบริหารจัดแนวทางการทำงานตามที่ความคาดหวังและกำหนด KPI ให้ตรงกันอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการความสัมพันธ์เพื่อสร้างเส้นทางอาชีพที่ดีในอนาคตต่อไป
-
พนักงานในทีม มีแนวทางการทำงานอย่างไร:
ผู้จัดการมือใหม่ จำเป็นต้องเรียนรู้ว่าพนักงานในทีมมีการทำงานอย่างไร โดยไม่ตัดสินใจว่าเขาทำถูกหรือผิด คุณอาจให้คำแนะนำหลังจากทำงานร่วมกับพนักงานในทีมได้ระยะเวลาหนึ่ง โดยผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องทำความคุ้นเคยกับพฤติกรรมพนักงานในทีมเสียก่อน
-
เข้าใจสิ่ง พนักงานในทีม ต้องการ:
มี บทความ 20 ข้อเรียกร้องจากลูกน้องถึงหัวหน้า จะบอกถึงความต้องการที่พนักงานในทีมคาดหวังหัวหน้าของเขา ผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องรู้เพื่อนำพิจารณาว่าจะสนับสนุนความสำเร็จของพนักงานในทีมได้ดีที่สุดอย่างไร การถามพนักงานในทีมว่า สามารถสนับสนุนพวกเขาในฐานะผู้จัดการมือใหม่ได้อย่างไร จะช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับพนักงานเป็นอย่างมาก
4.เต็มใจที่จะเรียนรู้เพื่อที่จะเติบโต ตามสายอาชีพของตนเอง
การเป็นผู้จัดการมือใหม่จะเป็นบทบาทสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการ ซึ่งอาจเป็นผู้ที่มีประสบการณ์หรือไม่ก็ตาม การเป็นผู้จัดการขั้นต้น ก็หมายความว่า เพิ่งเริ่มต้นอีกครั้งในบทบาทการเป็นผู้บริหาร ดังนั้นการเปิดใจที่จะเรียนรู้มากมายสำหรับบทบาทใหม่นี้ จำเป็นต้องมีการปรับทัศนคติในความต้องการเติบโตในสายอาชีพการทำงานจะช่วยให้ผู้จัดการมือใหม่พัฒนาทักษะและแสดงให้เห็นว่าผู้จัดการยังจำเป็นที่จะต้องถูกพัฒนาต่อไป
5.การตั้งถามคำถามตรงใจ
ผู้จัดการมือใหม่ที่มีการแสดงออกที่นิ่งเฉยอาจถูกมองว่าไม่สนใจ ดังนั้นการถามคำถามบ่อยๆ กับพนักงานในทีมจึงเป็นเรื่องสำคัญ และผู้จัดการมือใหม่สามารถแสดงให้เห็นว่า การถามคือการใส่ใจที่จะให้ความช่วยเหลือ ไม่ใช่เป็นการจัลผิดหรือไม่ไว้วางใจ และเมื่อผู้จัดการไม่แน่ใจในบางเรื่อง เช่นการที่พนักงานทำงานหนัก พนักงานเครียด หรือ มีความสับสนในการทำงาน
ลองใช้การถาม ว่าพนักงานต้องการรับคำแนะนำอย่างไร หรือพนักงานคิดว่าทีมจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร คำถามปลายเปิดทำให้พนักงานมีโอกาสตอบอย่างตรงไปตรงมา และเข้าใจมากขึ้น
6.คิดเสมอว่า ความสำเร็จ เริ่มจากสิ่งเล็กๆก่อนเสมอ
ผู้จัดการมือใหม่ สามารถกำหนดเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นได้ แต่ต้องแน่ใจว่าได้กำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถบรรลุได้ชัดเจน แต่เป็นไปเป็นมาตามขั้นตอน ลองนึกถึงสิ่งสามารถทำได้ เป็นขั้นเป็นตอน ทีละเล็ก ทีละน้อย เพื่อความสำเร็จในอนาคตที่ยิ่งใหญ่ ทำให้พนักงานทุกคนในทีมงานมีความสุขหรือทำให้การทำงานง่ายขึ้น ชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ สามารถสะสมและปรับปรุงขวัญกำลังใจโดยรวมของทีมได้ ที่ยิ่งใหญ่ได้
7.การให้เครดิตพนักงานสม่ำเสมอ
ให้เครดิตกับความสำเร็จของพนักงานในทีมงานเมื่อพวกเขาบรรลุเป้าหมาย ผู้จัดการมือใหม่อาจพิจารณารับผิดชอบสำหรับชัยชนะของพนักงานทีม แต่การให้เครดิตกับบุคคลในทีมในการทำให้งานสำเร็จหรือความคืบหน้าจะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่า การทำเช่นนี้จะช่วยให้สมาชิกในทีมรู้สึกมีคุณค่าและแสดงให้ผู้จัดการมือใหม่เห็นว่าทีมของคุณสามารถประสบความสำเร็จได้ภายใต้การนำของผู้จัดการมือใหม่
8.ดูแลสุขภาพจิตให้ดีตลอดเวลา
ผู้จัดการมือใหม่บางคน รู้สึกกดดัน ในการรับตำแหน่งใหม่ จึงจำเป็นต้องมีการบริหารอารมณ์ตนเองให้ดีมีสุขภาพจิตที่ดี ทำให้คนรอบข้างไม่กดดัน โดยการจัดการอารมณ์ ด้วยความสงบ พนักงานในทีมจะรับรู้ความรู้สึกมีแรงบันดาลใจและมีความสุข และผู้จัดการมือใหม่สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากขึ้น ใช้เวลานอกเวลาทำงานเพื่อทำสมาธิหรือออกกำลังกาย และมาทำงานโดยเตรียมพร้อมทางจิตใจ
9.การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งพนักงานหลายคน รอคอดการตัดสินใจจากผู้จัดการมือใหม่ แต่ผู้จัดการมือใหม่หลายคน กลัวการตัดสินใจ กลัวการรับผิดชอบ ผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องแสดงให้พนักงานมรทีมเห็นว่า ผู้จัดการมือใหม่ มีแนวทางการตัดสินใจที่ดี และ รับผิดชอบต่อทุกการตัดสินใจ ไม่ว่าผลลัพธ์การตัดสินใจจะเป็นเช่นไรก็ตาม
10.กำหนดตัวชี้วัด ที่เป็นเป้าหมาย KPI
ผู้บริหารระดับสูง คาดการความสำเร็จ ทำให้ต้องการเห็นความคืบหน้า ผู้จัดการมือใหม่จำเป็นต้องมี ดัชนีชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐานต้อพนักงานทุกคนในการทำงาน การกำหนดตัวชี้วัดเพิ่มเติมสำหรับตัวเองและพนักงานในทีมเพื่อความเหมาะสมต่อความสำเร็จในการทำงาน นำมาปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง
ผู้จัดการมือใหม่อาจพิจารณาเป้าหมายด้านการเติบโตและการเรียนรู้ด้วย เช่น การทบทวนเทคนิคการบริหารจัดการใหม่ ๆ อย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อเดือนหรือฝึกอบรมพนักงานในแผนกอื่นทุกไตรมาส ดัชชี้วัด(KPI) ที่แสดงถึงการปรับปรุงและอาจสนับสนุนให้พนักงานในทีมเลื่อนตำแหน่งสามารถช่วยวัดความสำเร็จของผู้จัดการใหม่ได้
11.จัดการกับการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ตั้งแต่เนิ่นๆ
ผู้จัดการใหม่อาจต้องการการเปลี่ยนแปลงระดับความสัมพันธ์กับเพื่อร่วมงานแต่เนิ่น ๆ สร้างศรัทธาใหม่ในการทำงาน ความพยายามบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองกับการทำงานใหม่ ๆ ควรทำแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้จัดการใหม่มีความสัมพันธ์กับพนักงานในทีมนอก เช่นเป็นอดีตเพื่อนร่วมงาน แล้วต้องมารายงานต่อผู้จัดการใหม่ แนวทางการทำงานต้องแตกต่างไป และผู้จัดการใหม่อาจต้องปรับน้ำเสียงหรือวิธีที่ ขอให้เพื่อนร่วมงานเพื่อทำงานให้ดีและมีการเปิดใจพูดคุยอย่างเปิดเผยตั้งแต่เนิ่นๆ จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในภายหลังได้
12.ทำงานอย่าง ซื่อสัตย์
ผู้จัดการใหม่อาจคิดว่าพวกเขาต้องรู้คำตอบทุกอย่างที่ พนักงานในทีมมี เพื่อแสดงให้ดูว่าเป็นผู้จัดการที่มีความสามารถ เป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง แต่อย่างไรก็ตาม อาจการมีประสิทธิภาพมากกว่าหากผู้จัดการมือใหม่ทำตัวเป็นตัวของตัวเองและจริงใจเกี่ยวกับสิ่งที่รู้ สิ่งที่ไม่รู้ สิ่งที่ลงมือทำและสิ่งที่ไม่ได้ลงมือทำ พนักงานในทีมจะเห็นคุณค่าของความซื่อสัตย์ของผู้จัดการใหม่หากพร้อมที่จะยอมรับว่าตนเองไม่รู้บางอย่างมากกว่าการที่คุณให้คำตอบที่ผิด
การบริหารพนักงานในทีมเป็นครั้งแรกอาจเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับผู้จัดการขั้นต้น จึงขอให้เข้าใจว่าแนวทางการบริหารไม่มีแนวทางที่แน่นอน ชัดเจน สำหรับการเป็นผู้จัดการมือใหม่ เพราะผู้จัดการใหม่หลายคนไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นจากตรงไหน แม้ว่าการเป็นผู้จัดการครั้งแรก อาจต้องใช้เวลาเรียนรู้พอสมควร แต่ก็เป็นโอกาสที่ดีเช่นกันในการเติบโตเป็นผู้จัดการที่ดี
การเป็นผู้จัดการครั้งแรก อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่เกินความสามารถสำหรับผู้ที่จะขึ้นมาเป็นผู้จัดการทุกคน เพียงแค่เปิดใจรับรู้ เรียนรู้ทักษะความเป็นผู้นำ หรือ ทักษะภาวะผู้นำที่ผู้จัดการครั้งแรกต้องมีและเคล็ดลับ ที่ทันสมัยสำหรับผู้จัดการมือใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมคุณกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเปิดหน้าบันทึกความสำเร็จของผู้จัดการมือใหม่อีกครั้ง..สู้ ๆ นะครับ
เขียนโดย วิทยากรสอน ผู้จัดการมือใหม่ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
เทคนิค ABCDE เปลี่ยน ทัศนคติของ พนักงานขาย ให้ขายเชิงรุก
12 เคล็ดลับ การบริหาร (ใหม่ล่าสุด) สำหรับ ผู้จัดการมือใหม่เป็น วิธีการบริหาร ทีมงานแบบใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการมือใหม่ ต้องนำมาใช้ในการบริหารพนักงานในทีมให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ซึ่งจะมีวิธีการบริหาร (ใหม่ล่าสุด) เพื่อความสำเร็จของทีมงานที่ยั่งยืนเทคนิค ABCDE...
15 คำพูด ที่มีอิทธิพล ต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ
15 คำพูด ที่มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ เป็น การสื่อสารด้วยการใช้ คำพูด เพื่อโน้มน้าวใจพนักงาน ทำให้พนักงานมีความยินดีที่จะทำให้งานให้ สนับสนุน เพื่อสร้างความสำเร็จไปด้วยกัน15 คำพูด ที่มีอิทธิพลต่อการโน้มน้าวใจพนักงาน สำหรับผู้จัดการ15 คำพูด...
140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย เพื่อได้พนักงานขายที่ดีที่สุด
140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย เพื่อได้พนักงานขายที่ดีที่สุด เป็น คำถาม ที่ใช้ในการสัมภาษณ์พนักงานขาย ด้วยการกำหนดเป้าหมาย ด้วยวิธีการตั้งคำถาม ช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายขายหาพนักงานขายอย่างที่ต้องการ ไม่ใช่การถามไปเรื่อย ๆ ไร้จุดหมาย140 คำถาม สัมภาษณ์งานขาย...
5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย
5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ พนักงานขาย เป็น การพัฒนาความคิด Growth Mindset สำหรับพนักงานขาย ทำให้มีความคิดเชิงรุก ที่แตกต่างจากการขายแบบเดิม ๆ เข้าหาลูกค้า สร้างความพอใจให้ลูกค้า ทำให้เพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้เพิ่มมากขึ้น5 ขั้นตอน สร้าง Growth Mindset เพื่อ...
6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย แบบ Win-Win ทุกครั้ง
6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย แบบ Win-Win เป็น แนวทาง ในการนำเทคนิคการเจรจาต่อรอง เพื่อพนักงานฝ่ายขาย สามารถนำมาใช้ เจรจาต่อรอง กับ พนักงานจัดซื้อ ที่มี เทคนิคการเจรจาต่อรองเพื่องานจัดซื้อ ทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกพึงพอใจแบบ Win-Win6 เคล็ดลับ เจรจาต่อรอง เพื่องานขาย...
21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง
21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง เป็น แนวทางการให้บริการลูกค้า ที่เหนือความคาดหวัง ตอบสนองต่อความพึงพอใจให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง และ ลดข้อขัดแย้งที่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจ21 เทคนิค การให้บริการลูกค้า เหนือความคาดหวัง วิทยากร สอน...
250 คำคม คิดบวก เพื่อสร้างกำลังใจ
250 คำคม คิดบวก เพื่อสร้างกำลังใจ เป็น คำพูดง่าย ๆ เพื่อใช้ระตุ้นตนเอง หรือ คนรอบข้าง เพื่อให้มีกำลังใจ ในการสู้ชีวิต จากความคิดบวก เป็นการพัฒนาความคิดบวก เพื่อทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ที่จะทำงานต่อไป เพื่อสร้างผลงานและความสำเร็จ ให้ตนเอง หรือ คนรอบข้าง250 คำคม คิดบวก...
10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขาย
10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขาย เป็น ขั้นตอนที่ต้องใช้ในการพัฒนาทักษะ ของพนักงานขาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขาย ทำให้เพิ่มโอกาสในการขาย ด้วย ขั้นตอนการขายอย่างนักขายมืออาชีพ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความยั่งยืนให้องค์กร10 เทคนิค การพัฒนาทักษะ พนักงานขายเขียนโดย...
เทคนิคการเขียน Job Description เพื่อ ผู้จัดการฝ่ายขาย
เทคนิคการเขียน Job Description เพื่อ ผู้จัดการฝ่ายขาย เป็น ขั้นตอนการเขียน คำบรรยายลักษณะงาน เพื่อผู้จัดการฝ่ายขาย สามารถนำไปใช้ในการสรรหา สัมภาษณ์ และสร้างความเข้าใจระหว่างผู้จัดการฝ่ายขายและผู้บริหาร ยังสามารถใช้เป็นมาตรฐานการสัมภาษณ์ผู้สมัคร ตำแหน่ง...
30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณี
30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณี เป็น การรวบรวมเทคนิคการปิดการขาย ที่หลากหลาย ซึ่งนักขายมืออาชีพ มักนำมาใช้กับลูกค้าเพื่อปิดการขาย โดยเน้นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในการซื้อ30 เทคนิค การปิดการขาย ได้ทุกกรณีเขียนโดย วิทยากร สอนการขาย ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย...
3 ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขาย
ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขาย เป็น กระบวนการในการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อพนักงานขาย ให้มีแนวทางในการขายแบบใหม่ ๆ ในการกระตุ้นยอดขาย ทำให้องค์กรเติบโตอย่างต่่อเนื่อง3 ขั้นตอน การบริหารเปลี่ยนแปลง เพื่อความสำเร็จการขายดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย ...
15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for Service) อย่างมืออาชีพ
15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for Service) อย่างมืออาชีพ เป็น แนวทางการสร้างมาตรฐานการให้บริการที่เป็นเลิศ ทำให้ขจัดความสับสนในการให้บริการลูกค้า และตอบสนองต่อความพึงพอใจให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง15 ขั้นตอน เขียน คู่มือบริการ (SOP for...
14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ
14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร ที่มีประสิทธิภาพ เป็น วิธีการพัฒนาทักษะการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้างความพึงพอใจในการสื่อสาร ทั้งคนส่งสารและคนรับสาร ซึ่งเป็น ทักษะการสื่อสารที่ไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้ทุกคนนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ได้ทันที14 ทักษะ การสื่อสาร ภายในองค์กร...
5 ขั้นตอน ฝึกการคิดบวก ทำอย่างไร?
5 ขั้นตอน การฝึกคิดบวกได้ เป็น วิธีการฝึกคิดบวกให้ตนเอง ด้วยการนำเทคนิคการคิดบวก เพื่อสร้างความสำเร็จให้ตนเอง ซึ่งวิธีการฝึกการคิดบวกต่อไปนี้ ไม่ยากอย่างที่คิด ทำให้ทุกคนมีกระบวนการคิดบวกที่ทุกคนทำได้ทันที 5 ขั้นตอน ฝึกการคิดบวก ทำอย่างไร? 5 Steps of ...
230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุด
230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุด คือ คำถามที่มีวัตถุประสงค์ของการถามที่ชัดเจน มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของผู้สมัครงาน ไม่ใช่การถามไปเรื่อย ๆ ไร้จุดหมาย ทำให้การสัมภาษณ์ไม่สามารถวัดผลอะไรได้230 คำถามสัมภาษณ์งาน ที่ทรงพลังที่สุดวิทยากร สอนหลักสูตร...
10 ขั้นตอน การสัมภาษณ์งานให้ได้พนักงานที่ใช่ ใน ปี 2024
ขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน เป็น ขั้นตอนพื้นฐานของกระบวนการสรรหาพนักงาน เพื่อให้ได้พนักงานที่ใช่ ได้พนักงานที่ชอบ เข้ามาทำงานให้กับองค์กร ความสำเร็จในการสัมภาษณ์งานมีหลายแง่มุม แต่เป้าหมายเดียวกัน คือได้คนที่ใช่ ให้มาทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรต่อไป...
ทักษะการเป็นหัวหน้างาน ปี 2024 คือ ทักษะอะไร?
ทักษะการเป็นหัวหน้างาน คือ ทักษะความรู้ที่จำเป็นสำหรับ หัวหน้างานที่ต้องนำมาใช้ในการบริหารทีมงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ซึ่ง ทักษะต่าง ๆ จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญของ หัวหน้างานทักษะการเป็นหัวหน้างาน ปี 2024 คือ ทักษะอะไร?ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย...
สร้างคน ให้ประสบความสำเร็จอย่าง Lenovo ทำได้อย่างไร?
การสร้างคน อย่าง Lenovo คือ การพัฒนาให้พนักงานทำงานได้ตามที่องค์กรคาดหวัง ซึ่งก็คือปรัชญาการทำงาน กลยุทธ์การทำธุรกิจ และการบริหารคนของ บริษัท เลอโนโว (Lenovo) จากประเทศ จีนที่เติบโตเป็นที่ 4 ของโลก แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาลสร้างคน ให้ประสบความสำเร็จอย่าง Lenovo...
คุณลักษณะอะไร ที่ทำ CEO ทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ
คุณลักษณะ ที่ทำบรรดา ซีอีโอ ประสบความสำเร็จ คือ คุณลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า CEO ส่วนใหญ่มี แล้วทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 คุณลักษณะหลักๆ แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาลคุณลักษณะอะไร ที่ทำ CEO ทั้งหลาย ประสบความสำเร็จที่มา: Elena Lytkina Botelho, Kim...
9 ความจำเป็นที่ธุรกิจต้อง วางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปี 2024
การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ คือ แนวทางกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อกำหนดทิศทางให้องค์กรมีทิศทางที่ชัดเจน ในการทำธุรกิจการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปี 2024 คืออะไรการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อความสำเร็จขององค์กร มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในทุกองค์กร...