เทคนิค การประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ เป็น แนวทางการพัฒนาทักษะขของผู้จัดการในการประเมินผลงาน ของพนักงาน เพื่อให้พนักงานยอมรับ ผลการประเมินในครั้งนั้น ๆ ซึ่งมีขั้นตอนที่ละเอียดอ่อน
เทคนิค การประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ
3 ประเด็นหลักในการประเมินพนักงาน
1.เขาไม่คิดว่าผู้จัดการจะมีความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงต่อการประเมินผลการทำงานของพนักงาน เพราะผู้จัดการมักจะให้คะแนนดี ๆ กับคนที่ใกล้ชิดมากกว่า
2.พนักงานรู้สึกผิดหวังต่อมุมมองของผู้จัดการที่ไม่ยอมรับผลงานที่พนักงานได้ทำ ทั้ง ๆ ที่เขาทุ่มเทอย่างเต็มที่ เพราะผู้จัดการไม่มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน
3.พนักงานไม่รู้ถึงความคาดหวังที่แท้จริงจากผู้จัดการว่าต้องการเป้าหมายอย่างไรในการทำงาน เปลี่ยนแปลงบ่อยจนสับสนว่าความต้องการที่แท้จริงคืออะไร
เทคนิค การประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ
เขียนโดย วิทยากร สอน หลักสูตร ผู้จัดการ ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
เป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับคนที่เป็น ผู้จัดการ หรือผู้บริหาร ที่ทุกปี หรือ ทุกครึ่งปีจะต้องประเมินผลการทำงานของพนักงานตนเอง และเสียงสะท้อนที่ได้ยินกันบ่อยมากที่สุดจากพนักงานคือการประเมินของผู้จัดการไม่มีความยุติธรรม ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่ดีพอ ทำให้พนักงานไม่พอใจ ไม่ยอมรับ บางคนถึงกับหมดกำลังใจในการทำงาน จนแย่สุดคือการลาออกจากที่ทำงานนั้น อย่างน่าเสียดาย
ดังนั้นการประเมินผลงานของพนักงานที่มีคุณภาพดีพอ จึงกลายเป็นเรื่องที่ผู้จัดการนำมาปรึกษากันในห้องหลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ(The Super Manager) เป็นอย่างมาก เพราะการประเมินเป็นกุญแจสำคัญของผู้จัดการในหลายเรื่องเช่นเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน เป็นการวัดผลการทำงานงานของพนักงาน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะความรู้ด้านต่าง ๆ ของพนักงานทำให้การทำงานดีขึ้น
การประเมินพนักงานที่ดีนอกจากสะท้อนภาพการทำงานของพนักงาน ยังสะท้อนภาพการบริหารจัดการของผู้จัดการอีก หมายความว่าถ้าหลังจากการประเมินพนักงานไปแล้ว ในปีถัดไปพนักงานยังคงมีผลงานที่ไม่ดี ไม่น่าภูมิใจ เท่ากับผู้จัดการคนนั้นไม่ได้นำผลจากการประเมินไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ เช่นการพัฒนาพนักงาน เปรียบเทียบง่ายกับการประเมินผลการเรียนของนักเรียนในห้องเรียนสะท้อนคุณภาพการสอนหรือการดูแลของครูในห้องนั่นเอง
การประเมินเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ทั้งผู้จัดการและพนักงาน แต่ถ้านำมาใช้ผิดวิธีก็จะกลายเป็นผลเสียมากกว่า เพราะจะทำให้พนักงานหมดกำลังใจ ไม่อยากทำงานให้ดีขึ้น ละทิ้งความรับผิดชอบที่ควรมี ถ้าองค์กรใดเป็นเช่นนี้ ก็เรียกได้ว่าใช้การประเมินไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าองค์กรที่เข้าใจหลักการประเมินก็จะนำการประเมินเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างแรงจูงใจหรือปรับทัศนคติให้พนักงานมีความรู้สึกดีต่อการพัฒนาตนเอง เพื่อนำมาพัฒนาองค์กรรวมถึงผู้จัดการสามารถนำมาใช้ในการวางแผนงานในอนาคตได้ วางเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพให้พนักงาน หรือการวางแผนพนักงานที่มีความสามารถพิเศษหรือการวางแผนเพื่อการสืบทอดตำแหน่งในอนาคตของรุ่นพี่ที่จะเกษียณอายุไป
ความหมายของการประเมินพนักงาน คือเป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบเพื่อให้ผู้จัดการนำมาใช้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการวัดผลการทำงานหรือประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ซึ่งมีความคาดหวังที่จะนำผลการประเมินมาใช้เป็นแรงจูงใจให้พนักงานอย่างพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น ทำให้พนักงานทุ่มเททำงานเต็มกับความ สามารถที่พนักงานมีอยู่ ตามแนวทางในการสร้างทุนมนุษย์ในองค์กร
แต่ในทางปฏิบัติมีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อมั่นเรื่องการประเมินจากผู้จัดการของเขาเพราะจากการสำรวจพนักงานหลายร้อยคนพบว่าพวกเขามีความรู้สึกต่อผู้จัดการที่มีหน้าที่ประเมินได้เป็น
3 ประเด็นหลักในการประเมินพนักงาน
1.เขาไม่คิดว่าผู้จัดการจะมีความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงต่อการประเมินผลการทำงานของพนักงาน เพราะผู้จัดการมักจะให้คะแนนดี ๆ กับคนที่ใกล้ชิดมากกว่า
2.พนักงานรู้สึกผิดหวังต่อมุมมองของผู้จัดการที่ไม่ยอมรับผลงานที่พนักงานได้ทำ ทั้ง ๆ ที่เขาทุ่มเทอย่างเต็มที่ เพราะผู้จัดการไม่มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน
3.พนักงานไม่รู้ถึงความคาดหวังที่แท้จริงจากผู้จัดการว่าต้องการเป้าหมายอย่างไรในการทำงาน เปลี่ยนแปลงบ่อยจนสับสนว่าความต้องการที่แท้จริงคืออะไร



เทคนิคการประเมินการทำงานของพนักงาน ที่ดีจะเป็นเวทีในการสื่อสารระหว่างผู้จัดการและพนักงานที่จะใช้ในการหารือกันถึงผลงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้ช่องว่างระหว่างผู้จัดการกับผู้จัดการลดลง ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งผู้จัดการและพนักงานจะได้ปรับความเข้าใจอันดีต่อกัน ทำให้การทำงานรื่นไหลเพราะต่างฝ่ายต่างหันหน้าเข้าสื่อสารกัน
เช่นในระหว่างการประเมิน ผู้จัดการกับพนักงานจะมีการสื่อสารกัน ผู้จัดการจะอธิบายความคาดหวังที่องค์กรมีต่อพนักงาน และเช่นเดียวกัน พนักงานอาจต้องการการสนับสนุนจากผู้จัดการ ก็จะทำให้มีโอกาสได้สื่อสารทำให้เข้าใจกันมากขึ้น แต่ถ้าการประเมินที่ไม่ดีหรือไม่มีคุณภาพดีพอ จะส่งผลเสียทำให้มีปัญหากับพนักงานทั้งเรื่องทัศนคติที่เป็นลบ ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน หรือบางครั้งเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้จัดการและพนักงาน ซึ่งในบางองค์กรจะพบเห็นได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาของการประเมินเช่นปลายปีเป็นต้น
ในการประเมินพนักงานนั้น บุคคลหลายคนที่ต้องมาเกี่ยวข้อง ต้องมีการทำงานเป็นระบบ ซึ่งสามารถสรุปเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องการประเมินผลงานพนักงาน มีอยู่ 4 คนที่สำคัญดังนี้
1) ผู้ถูกประเมิน คือพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะถูกประเมินจากผู้บริหารหรือหัวหน้างาน
2) ผู้ประเมิน คือ ผู้ที่มีหน้าที่ประเมินพนักงาน เช่นผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน
3) ผู้บริหารระดับสูงหรือบริษัทฯ คือ ผู้ให้การสนับสนุนการประเมินเพื่อนำผลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการสมดุลย์ของการประเมินของผู้จัดการที่มีต่อพนักงาน
4) ที่ปรึกษาหรือฝ่ายบุคคล คือ มีหน้าที่จัดทำการประเมินตามแนวความคิดทางหลักวิชาการเพื่อให้ได้ผลของการประเมินมีความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งในทางปฏิบัติอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งตำแหน่งนี้จะคอยให้คำแนะนำ วิธีการการใช้เครื่องมือการประเมินและอธิบายถึงขั้นตอนการประเมิน ทำให้การประเมินไม่มีปัญหาและอุปสรรค
ในการประเมินพนักงาน นั้นอาจมีรายละเอียดมากมายและต้องมีการเตรียมการซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรก่อนที่จะนำการประเมินมาใช้ อาจจะยุ่งยากในปีแรกแต่ถ้าระบบการประเมินได้วางอย่างเป็นระเบียบการทำงานจะง่ายขึ้นในปีถัดไป
องค์ประกอบของการ ประเมินผลงานพนักงานที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนด้วยกันดังนี้
1 ดัชนีชี้วัดหรือเป้าหมายในการทำงาน ซึ่งในหลายองค์กรใช้ความพยายามเป็นอย่างมากที่จะค้นหาดัชนีชี้วัดที่สำคัญให้มีความเหมาะสมกับหน้าที่หรือภารกิจที่พนักงานนั้นได้รับ เช่นบางองค์กรให้การตั้งใจมาทำงาน การรับผิดชอบต่องานของตน การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความสารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี และยังมีอีกหลายปัจจัยที่ถูกนำขึ้นมาเพื่อกำหนัดดัชนีชี้วัดในการประเมินผลพนักงาน
2 กระบวนการในการประเมินพนักงาน เป็นแนวทางการที่ใช้ในการดำเนินการเพื่อประเมินผลพนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้การตอบคำถามลงบนกระดาษ และผู้จัดการนำมาใช้เพื่อเป็นการพูดคุยกับพนักงานที่ถูกประเมิน การประเมินควรจะถูกเก็บเป็นความลับของผู้จัดการก่อนการที่จะมีการสื่อสารหรือประชุมอย่างเป็นทางการ ซึ่งพนักงานก็ต้อง เตรียมข้อมูลของตนเองเพื่อนำมาประชุมเช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติผู้จัดการส่วนใหญ่จะลืมนึกถึงเรื่องของความลับของข้อมูล ทำให้มีโอกาสที่ข้อมูลจะรั่วไหลถึงพนักงานก่อนเวลาที่เหมาะสมในการเปิดเผย ทำให้ระหว่างการประชุมเพื่อประเมินผลงานจะเป็นการเผชิญซึ่งหน้าระหว่างผู้จัดการและพนักงาน อาจเป็นเหตุให้เกิดความไม่พึงพอใจหรือข้อขัดแย้งได้ในระหว่างประชุมได้
3 ผู้จัดการหรือผู้ประเมิน เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญในการประเมินผลการทำงานของพนักงาน เพราะส่วนใหญ่ในสังคมของการทำงานนั้น จะให้ผู้บริหาร ผู้จัดการหรือหัวหน้างานเท่านั้นเป็นผู้ประเมิน ดังนั้นบ่อยครั้ง ทำให้มีข้อขัดแย้ง ระหว่างผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ประเมินและพนักงานซึ่งเป็นผู้ถูกประเมิน หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานก็เป็นปัญหาเนื่องจากความไม่ยุติธรรมโปร่งใสในการประเมินผลการทำงานนั่นเอง ซึ่งกิจกรรมในการประเมินมีหลายรูปแบบตามความเหมาะสมของแต่ละองค์กร แนวปฏิบัติการประเมินที่ใช้ได้ผลและเป็นที่นิยมนำมาใช้ คือ การประชุมแบบตัวต่อตัวระหว่างผู้จัดการและพนักงาน เพื่อใช้ในการปรึกษาผลงานในอดีตและความคาดหวังในอนาคตที่มีต่อพนักงาน
หนังสือแนะนำ


ซึ่งหัวข้อในการประชุมเพื่อประเมินผลพนักงานกันนั้นอาจจะมีดังนี้
- การทบทวนถึงเป้าหมายที่เคยกำหนดในอดีตและผลงานในปัจจุบันเป็นเช่นไร
- การกำหนดเป้าหมายใหม่ ซึ่งจะนำมาใช้ในการทบทวนในปีหน้า
- ทำการจดบันทึกเพื่อเป็นพันธะสัญญา สร้างการรับรู้ทั้งผู้จัดการและพนักงาน ทำให้ขจัดความสับสนของข้อมูลที่อาจจะพลาดไปในขณะสนทนา
ในหลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ มักใช้การประเมินพนักงานนั้น อยู่ 2 เรื่องหลัก ๆ คือ
1 ความสามารถของพนักงาน ว่าพนักงานสามารถ ทำงานได้ดี ได้เรียบร้อย มีทักษะขนาดไหน ทำงานได้ถูกต้องหรือไม่
2 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การทำงาน เช่น การมาทำงานตรงเวลา ไม่วอกแวกระหว่างการทำงาน คำว่า “วอกแวก” หมายถึงการที่ไม่ทำธุระของตนเองมากเกินไป ในเวลางาน เช่นบางคน เล่นเกมส์ มากเกินไป หรือ เล่น Facebook มากเกินไป ดูหนังทาง Youtube มากเกินไป ดูหนังที่ตนเองเป็นสมาชิกมากเกินไป หรือดูหนังซีรีย์ ต่าง ๆ มากเกินไป จนทำให้ไม่ได้ทำงานที่ตนเองต้องทำ
ถ้าต้องเลือกพนักงานระหว่างพนักงานที่เก่งกับพนักงานที่รับผิดชอบจะเลือกใครเข้าทำงานดี มีการสำรวจจากผู้จัดการหลายร้อยคนที่เข้าอบรมหลักสูตรอบรมผู้จัดการอัจฉริยะ The Super Manager ปรากฏว่าผู้จัดการอัจฉริยะต่างลงความเห็นว่า อยากได้พนักงานที่มีความรับผิดชอบ มากกว่าพนักงานที่เก่ง เพราะพนักงานที่ไม่เก่ง แต่รับผิดชอบงานได้ดี นัน สามารถฝึกพัฒนาความเก่งได้ ซึ่งในหลักสูตรอบรมผู้จัดการได้มีเทคนิคการสอนงานพนักงานแทรกให้นำไปทดลองสอนงานกับพนักงานเช่นกัน ผู้จัดการอัจฉริยะมีความเชื่อว่าถ้าพนักงานของเขามีความรับผิดชอบ ก็จะทำให้เขาเก่งได้ในเวลาต่อมา แต่พนักงานที่ไม่รับผิดชอบ ถึงจะทำงานเก่งแต่ไม่รับผิดชอบ ผลงานก็ไม่ออกมาให้ปรากฏ
ปัญหาและอุปสรรคในการประเมินพนักงานระหว่างผู้จัดการและพนักงานตามแนวคิดข้างต้น อาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ตามมาหลายประการ เช่น ความไม่ยุติธรรมของผู้จัดการ ความลำเอียง ทำให้ไม่มีความเที่ยงตรงในการประเมิน เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการประเมินระหว่างผู้จัดการและพนักงาน และประเมินในช่วงปลายปีเท่านั้น ทำให้พนักงานจะขยันในช่วงที่ใกล้กับการประเมินและผู้จัดการบางคนก็ไม่ยุติธรรมทำให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่ต้องประจบประแจงผู้จัดการ เพื่อให้ผู้จัดการมองเห็นและได้รับผลงานที่ดีกว่าผู้อื่น
จึงเป็นเหตุสำคัญทำให้เกิดข้อขัดแย้งภายใน และยากที่จะแก้ไขเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการของผู้จัดการ ซึ่งแตกต่างจากองค์กรสมัยใหม่ จะมีการจัดการประเมินเชิงรุก หรือที่เรียกว่าการประเมินแบบ 360 องศา มาเป็นตัวช่วยในการประเมินพนักงาน
การประเมินผลพนักงานแบบ 360 องศานี้ เป็นแนวทางที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาของการประเมินทำให้ลดความไม่พอใจของพนักงาน และทำให้ไม่มีข้อขัดแย้งในการทำงาน หรือถ้ามีข้อขัดแย้งก็น้อยลงมาก ตามแนวคิดที่ว่า พนักงานหนึ่งคนต้องทำงานร่วมกับคนหมู่มาก มีการปฏิสัมพันธ์กันแบบทุกมิติ คือกับคนทั้งในแผนกงานที่ตนเองสังกัดอยู่กับคนนอกแผนกงานที่ตนเองสังกัดอยู่ หรือกับกลุ่มคนนอกองค์กรไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือผู้ขาย
ดังนั้น การที่จะวิเคราะห์ถึงผลการปฏิบัติงานของพนักงานจึงควรจะมาจากมุมมองในหลาย ๆ มิติ เช่น
1) มุมมองของผู้บริหาร ที่จะพิจารณาถึง การบรรลุถึงเป้าหมายหรือไม่
2) มุมมองของเพื่อร่วมงาน ที่จะพิจารณาถึง การทำงานเป็นทีม การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
3) มุมมองของพนักงานในแผนกอื่นที่ต้องติดต่องานกัน ว่ามีการประสานงานเป็นเช่นไร และ4)ประการสุดท้ายคือมุมมองจากภายนอก ที่จะให้ความสำคัญกับการติดต่อประสานงาน การให้ข้อมูลหรือแม้แต่การบริการ ที่มีต่อลูกค้า
จุดเด่นของการประเมิน 360 องศานี้ สามารถที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงศักยภาพของพนักงานในด้านต่าง ๆ เช่นจะทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็ง ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรของพนักงานจนสามารถที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำเช่นการเลือกหลักสูตรการฝึกอบรม ก็สามารถจัดทำได้ตรงกับความเหมาะสมของพนักงาน ทำให้องค์นั้นไม่สูญเสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพนักงานเพราะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กร ทำให้ได้ประโยชน์จากการพัฒนาพนักงานโดยแท้จริง สำหรับวัตถุประสงค์ของการประเมิน 360 องศานี้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 ข้อดังต่อไปนี้
- เพื่อวัดและประเมินผลพนักงานให้มีความโปร่งใส ชัดเจน และมีความถูกต้องแม่นยำ
- นำผลที่ได้มาใช้ต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เช่นการจัดฝึกอบรม หรือการกำหนดค่าตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โบนัส หรือคอมมิชชั่น เป็นต้น
- สร้างกลไกการทำงานให้มีระบบการทำงานที่เกื้อกูลซึ่งกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มุ่งไปสู่การทำงานเป็นทีม (Teamwork) อย่างเป็นรูปธรรม ลดข้อขัดแย้งในการทำงาน
- สร้างกลไกการสื่อสารแบบสองทาง ทั้งภายในส่วนงาน ภายนอกส่วนงาน และภายนอกบริษัท ทำให้ขจัดข้อขัดแย้ง หรือความไม่พึงพอใจต่อการทำงานของพนักงาน
- สามารถนำมาสร้างกลไกการค้นหา พนักงานดีเด่น Employee of The Year หรือค้นหาพนักงานที่เป็นดาวเด่นเพื่อการโปรโมท เพื่อเป็นกลไกการสร้างแรงจูงใจหรือสร้างแรงกระตุ้นให้พนักงาน
เกณฑ์การประเมินคือมาตรฐานที่จะต้องนำมาใช้เพื่อทำให้การประเมินมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักเกณฑ์ที่เป็นพื้นฐานในการประเมินนั้น มีหลักที่ต้องถูกนำมาใช้ทั้งหมด 6 ข้อ เพื่อให้ผู้จัดการเข้าใจเป็นแนวทางที่ต้องนำมาใช้ในการประเมินผลพนักงานนั่นเอง
ข้อที่ 1) ข้อมูลการประเมินต้องละเอียดแม่นยำ
ผู้จัดการต้องมีแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาประมวลผลการปฏิบัติงานของพนักงาน จึงทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และโปร่งใสที่สุดในขณะนี้ ทำให้มีความยอมรับการประเมินกันในวงกว้างของพนักงาน
ข้อที่ 2) การประมวลผลการประเมินได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว
ในการประมวลผล ผู้จัดการจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการประมวลผล เพื่อทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว เพราะยิ่งได้ผลลัพธ์ที่เร็วมากเท่าไหร่จะทให้ได้แนวทางในการพัฒนาพนักงานมากเท่านั้น
ข้อที่ 3) กระบวนการประเมินพนักงานที่ง่ายไม่ซับซ้อน
ขั้นตอนการประเมินถูกออกแบบให้มีความง่าย ทั้งการเข้าถึงการประเมิน สามารถทำความเข้าใจด้วยตนเองทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน เพื่อลดความผิดพลาดใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นในการประเมินพนักงาน และพนักงานบางคนอาจรู้สึกเบื่อหน่ายต่อระบบประเมินผลการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนทำให้ไม่เต็มใจที่จะทำการประเมิน
ข้อที่4) ข้อมูลการประเมินพนักงานต้องถูกเก็บรักษาเป็นความลับ
ข้อมูลส่วนตัวของพนักงานและการประเมินของผู้จัดการจะต้องถูกเก็บไว้เป็นความลับ โดยพนักงานแต่ละคนจะไม่เห็นการประเมินของผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ประเมินหรือผู้ประเมินก็จะไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประเมินบ้าง เพราะเป็นการประเมินแบบ 360 องศาและที่สำคัญคือเพื่อหลีกเลี่ยงการมีข้อขัดแย้งในการทำงาน (Conflicts in Management)
ข้อที่5) มีความเป็นส่วนตัว
เพื่อเป็นการทำงานที่โปร่งใสในการจัดการฐานข้อมูล ต้องมีการกำหนดถึงขอบเขตการเข้าถึงข้อมูลของผู้จัดการและพนักงาน ซึ่งคนที่ไม่เกี่ยวข้องต้องไม่รับรู้ถึงข้อมูลเหล่านี้ ก็จะทำให้ได้ประสิทธิภาพของการประเมินสูงสุด มีความโปร่งใส เพราะการประเมินเป็นเรื่องของแต่ละคน
ข้อที่6) มีการเก็บข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
ด้วยระบบจัดการกับฐานข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ จะทำให้สามารถเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินใจของผู้บริหารในทุก ๆ ด้าน เช่น การปรับเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การกำหนดผลตอบแทนต่างๆ เช่น โบนัส คอมมิชชั่น อีกทั้งยังสามารถกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในด้านต่าง ๆ สามารถนำผลที่ได้มาใช้ประกอบ การออกแบบการฝึกอบรมสัมมนาพนักงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับเทคนิคการประเมิน ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นอย่างดี เพราะการประเมินพนักงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้จัดการอัจฉริยะจำเป็นต้องเข้าใจ 8 เทคนิคในการประเมินการทำงานของพนักงานให้ได้รับการยอมรับจากพนักงาน
- การเตรียมการการประเมินพนักงาน
มีการเตรียมแบบฟอร์มในการประเมินให้พร้อมและกำหนดวันที่จะใช้ในการประเมิน
- สื่อสารสองทางระหว่างผู้จัดการและพนักงาน
กระตุ้นให้มีการสื่อสารสองทางเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองของผู้จัดการและพนักงานในการประเมิน
- ตั้งใจฟังซึ่งกันและกัน
ในการสื่อสาร ผู้จัดการจำเป็นที่จะต้องตั้งใจฟังในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความคิดเห็นต่าง ระหว่างพนักงานและผู้จัดการ ในทางกลลับกันพนักงานที่เป็นผู้ถูกประเมินก็ต้องตั้งใจฟังมุมมองของผู้จัดการเช่นกัน
- ท่าทีที่เป็นมิตรในการสื่อสาร
ทั้งผู้จัดการและพนักงานจำเป็นที่ผู้จัดการจะต้องมีท่าทางการแสดงออกที่เป็นมิตรทั้งการพูด การสื่อสาร ทั้งภาษากายที่แสดงออกมาทำให้ผู้จัดการและพนักงานไม่รู้สึกกดดันในระหว่างการประ เมิน
- ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบซื่อสัตย์และจริงใจ
การไม่ลำเอียงต่อข้อมูลที่ผู้จัดการจะให้ข้อมูลย้อนกลับ Feedback ต่อพนักงานเป็นสิ่งที่ดีที่สุดถ้าเป็นการFeedbackที่ซื่อสัตย์และจริงใจ เพราะจะทำให้เกิดการยอมรับการประเมินผลการทำงานจากผู้จัดการ ว่าไม่มีความลำเอียง
- กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินชัดเจน
ในการประชุมจำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมาย อธิบายเป้าหมายที่ชัดเจนในการประเมิน ความคาดหวังและผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปใช้เพื่อทำอะไร เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี
- จัดทำเป็นเอกสารการประเมินพนักงาน
เพื่อเป็นการขจัดความสับสนหรือความไม่เข้าใจกัน ในการประเมินหรือการประชุมจำเป็นต้องมีการจัดทำเอกสารหรือเป็นบันทึกการประชุมเพื่อให้สามารถติดตามงานในช่วงเวลาต่อไปได้
- ฝึกหัดหรือทำความเข้าใจก่อนการประเมินพนักงาน
การประเมินไม่ได้ทำกันบ่อย เช่นปีละครั้งหรือสองครั้ง การฝึกหัดซักซ้อมเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้จัดการต้องทำความเข้าใจก่อนการประเมินพนักงานทุกครั้ง เพราะในปีหนึ่ง ๆ เมื่อประเมินการทำงานพนักงานไปแล้วจะแก้ไขไม่ได้ ต้องรอในปีถัดไป ซึ่งอาจทำให้พนักงานไม่พอใจถ้าได้ผลการประเมินที่ไม่ดี
การประเมินจะไม่เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวอีกต่อไป ถ้านำระบบการประเมินที่ชัดเจนมาใช้ บางแห่งในต่างประเทศจะใช้คนกลางเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการประเมินทำให้ลดแรงกดดันระหว่างพนักงานและผู้จัดการ ซึ่งในทางปฏิบัติการประเมินพนักงานที่ดีที่สุดคือการประเมินพนักงานด้วยตัวผู้จัดการเองจะดีที่สุด เพราะผลที่ได้ตามมาก็คือการได้ช่วยเหลือกันในการทำงาน เพราะมีวทีในการสื่อสารกันมากขึ้น
แต่ผลของการประเมินจะเป็นเช่นไร ขอฝากไว้ว่าก็ขอให้ค่อยที ค่อยอาศัย ขอให้ใจเย็น เอางานที่เป็นเป้าหมายของความสำเร็จเป็นที่ตั้ง มิฉะนั้นจะเดือดร้อนกันไปทั่วเพราะความไม่พอใจของผู้จัดการและพนักงาน ขอให้คิดว่าการทำงานก็เหมือนญาติมิตร หยิกเล็บก็เจ็บเนื้อ ไม่พอใจกันก็จะส่งผลแต่เสียหายนะ..จะบอกให้
สร้างคน ให้ประสบความสำเร็จอย่าง Lenovo ทำได้อย่างไร?
การสร้างคน อย่าง Lenovo คือ การพัฒนาให้พนักงานทำงานได้ตามที่องค์กรคาดหวัง ซึ่งก็คือปรัชญาการทำงาน กลยุทธ์การทำธุรกิจ และการบริหารคนของ บริษัท เลอโนโว (Lenovo) จากประเทศ จีนที่เติบโตเป็นที่ 4 ของโลก แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาลสร้างคน ให้ประสบความสำเร็จอย่าง Lenovo...
คุณลักษณะอะไร ที่ทำ CEO ทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ
คุณลักษณะ ที่ทำบรรดา ซีอีโอ ประสบความสำเร็จ คือ คุณลักษณะที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า CEO ส่วนใหญ่มี แล้วทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 คุณลักษณะหลักๆ แปลโดย: ดร.สุมณฑา ตันวงศ์วาลคุณลักษณะอะไร ที่ทำ CEO ทั้งหลาย ประสบความสำเร็จที่มา: Elena Lytkina Botelho, Kim...
9 ความจำเป็นที่ธุรกิจต้อง วางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปี 2024
การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ คือ แนวทางกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อกำหนดทิศทางให้องค์กรมีทิศทางที่ชัดเจน ในการทำธุรกิจการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปี 2024 คืออะไรการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อความสำเร็จขององค์กร มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในทุกองค์กร...
5 เทคนิค การพัฒนาผู้นำในตนเอง 5 Techniques for Effective Self-Leadership
5 เทคนิค การพัฒนาผู้นำในตนเอง เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ให้มีภาวะผู้นำ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ เพื่อการเข้าใจตนเอง ควบคุมตนเอง มีความคิดเชิงบวก และสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้เป็นอย่างดี 5 เทคนิค การพัฒนาผู้นำในตนเอง 5 Techniques for Effective...
8 ขั้นตอนในการสร้างพนักงานต้นแบบภายในองค์กร Role Models in Company
การปล่อยให้พนักงานที่มีความสามารถทำงานในหน้าที่เท่านั้น ถือว่าเป็นความสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย เพราะความรู้ที่เขามีควรแบ่งปันให้คนอื่นเช่นกัน 8 ขั้นตอนในการสร้างพนักงานต้นแบบภายในองค์กร 8 steps to create role models within an organizationดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย...
10 คุณลักษณะสำคัญของการเป็น พนักงานต้นแบบภายในองค์กร
การปล่อยให้พนักงานที่มีความสามารถทำงานในหน้าที่เท่านั้น ถือว่าเป็นความสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย เพราะความรู้ที่เขามีควรแบ่งปันให้คนอื่นเช่นกัน 10 คุณลักษณะสำคัญของการเป็นพนักงานต้นแบบภายในองค์กร 10 key traits of role models within an organizationดร.สุรชัย...
เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กรที่ดี มีแต่ได้
เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กรที่ดี มีแต่ได้ เป็น เทคนิคให้พนักงานในองค์กร รู้จัดการสื่อสารภยในองค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้งานประสบความสำเร็จ และมีการทำงานเป็นทีม Teamwork รวมถึงการประสานงานได้เป็นอย่างดีเทคนิคการสื่อสารภายในองค์กรที่ดี...
เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กร อย่างนี้ ได้ดีทั้งองค์กร
หัวใจสำคัญที่สุดในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกัน คือ การสื่อสาร เพราะการสื่อสารทำให้งานรื่นไหล เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กร อย่างนี้ ได้ดีทั้งองค์กรดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย หัวใจสำคัญที่สุดในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกัน คือ การสื่อสาร...
เทคนิคการสอนผู้ใหญ่ ให้ตั้งใจเรียน
วิทยากร ไม่มีสิทธิ เลือกคนอบรม ถึงแม้คนอบรมจะเป็นผู้ใหญ่กว่า เทคนิคการสอนผู้ใหญ่ ให้ตั้งใจเรียนดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย อาชีพวิทยากร ไม่สามารถเลือกคนเรียนได้ ไม่ว่าคนเรียนจะเป็นประเภทใด มีความรู้มากน้อยเพียงใด หรือ ออายุมากน้อยแค่ไหน...
วิทยากรมืออาชีพ ทำอะไร ทำไมถึงเก่ง
อยากเป็นวิทยากรที่ประสบความสำเร็จ ต้องคิดอย่างวิทยากรที่ประสบความสำเร็จ "มืออาชีพ" วิทยากรมืออาชีพ ทำอะไร ทำไมถึงเก่งดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากเป็นวิทยากร แต่ไม่เคยรู้ว่าสิ่งที่วิทยากรทำในทุก ๆ วัน หรือต้องทำมีอะไรบ้าง...
อย่าเป็นวิทยากรเด็ดขาด ถ้าไม่มี 8 ข้อนี้
ถ้าคุณไม่รู้จักการให้ ก็อย่าคิดที่จะเป็นวิทยากร อย่าทำอาชีพวิทยากรเด็ดขาด ถ้าไม่มี 8 ข้อนี้ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย ในชีวิตประจำวันที่หลายคน อาจทำอาชีพสอน และคิดว่าตนเองนั้นเป็น ครู เป็นอาจารย์หรือเป็นวิทยากร ซึ่งจริงอยู่เมื่อยืนขึ้นสอน อาจมีคนฟังมากมาย...
8 เทคนิคจัดการ พนักงานอาวุโส หัวหมอ
การบริหารพนักงานอาวุโสหัวหมอถึงจะยาก แต่ถ้าบริหารพวกพนักงานอาวุโสได้ ก็คุ้มค่ามาก 8 เทคนิคจัดการ “พนักงานอาวุโสหัวหมอ”ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย เป็นเรื่องน่าปวดหัวของผู้จัดการหลายคน ที่ต้องบริหารลูกน้องที่มีประสบการณ์มากกว่า เช่นอายุมากกว่าหรือรู้งานมากกว่า...
6 ทักษะ ปิดการขายสินค้าอุตสาหกรรมทันที
"ถ้าคุณบอกแค่เข้าใจลูกค้าเพียงคนเดียว ไม่พอต่อการขายสินค้าอุตสาหกรรมแน่นอน เพราะคนตัดสินใจมีมากกว่า 1 คน" 6 ทักษะ ปิดการขายสินค้าอุตสาหกรรมทันที ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย การขายสินค้าอุตสาหกรรม เป็นการขายสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อนำไปผลิต แปรรูป...
10 พฤติกรรม ที่จะบ่งบอกว่าคุณมีจิตใจที่เข้มแข็งหรือไม่?
พฤติกรรม ที่จะบ่งบอกว่าคุณมีจิตใจที่เข้มแข็ง เป็น พฤติกรรมการแสดงออกของคนทุกคน เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนๆ นั้น มีจิตใจที่เข้มแข็งหรือไม่ ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ความเครียด ความกดดัน ที่ผ่านเข้ามา ใช้เพื่อสำรวจตนเองและทำความเข้าใจกับตนเองได้ดีที่สุด10 พฤติกรรม...
เพิ่มยอดขาย เป็น 2 เท่า ถ้าเข้าใจ 12 ข้อนี้
เพิ่มยอดขาย เป็น 2 เท่า ถ้าเข้าใจ 12 ข้อนี้ เป็น วิธีการช่วยให้พนักงานขาย หรือ ผู้จัดการฝ่ายขาย มีเทคนิคการขาย เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา การขาย การเข้าหาลูกค้า เพื่อสร้างความพอใจให้ลูกค้า ทำให้เพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้เพิ่มมากขึ้นเพิ่มยอดขาย เป็น 2 เท่า ถ้าเข้าใจ 12...
20 ข้อเรียกร้องจากลูกน้องถึงหัวหน้า
20 ข้อเรียกร้องจากลูกน้องถึงหัวหน้า เป็น เสียงสะท้อน จากลูกน้อง ที่มีความคาดหวังกับผู้จัดการ หรือ หัวหน้าของเขา และถ้าหัวหน้างานสามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของลูกน้องได้ จะทำให้ลูกน้อง ศรัทธาในตัวหัวหน้างานมากขึ้น 20...
คิดอย่างนี้ เจรจาต่อรองไม่เคยแพ้
คิดอย่างนี้ เจรจาต่อรองไม่เคยแพ้ เป็น การเทคนิคการเจรจาต่อรอง เพื่อให้พนักงานขาย วิศวกรฝ่ายขาย หรือ พนักงานจัดซื้อ มีเครื่องมือในการพัฒนาวิธีการในการเจรจาต่อรอง ทำให้เพิ่มโอกาสในการ ได้รับชัยชนะ ในการเจรจาต่อรอง แบบ Win-Win เพิ่มมากขึ้นคิดอย่างนี้...
เทคนิค การวางแผนกลยุทธ์ ให้กำไรเพิ่ม
" Bill Gate ผู้บริหาร Microsoft กล่าวไว้ว่า... คอมพิวเตอร์เกิดมาบนโลกมนุษย์. เมื่อประมาณ 4-50 ปีที่แล้ว และ.. มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่จากนี้ไปอีก 10 ปีข้างหน้าการพัฒนา ทางเทคโนโลยีจะรวดเร็วกว่า 40 ปีที่ผ่านมา" เทคนิคการวางแผนกลยุทธ์...
10 เทคนิคปลุกพนักงานหมดไฟ ให้ทำงานดีเหมือนเดิม
"พนักงานขายที่หมดไฟ ก็ไม่แตกต่างอะไรกับมีขอนไม้ผุ ๆ ที่ทำประโยชน์ไมได้ให้องค์กร" 10 เทคนิคปลุกพนักงาน "หมดไฟ" ให้ทำงานดีเหมือนเดิมดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย เชื่อว่าพนักงานทุกคน รวมถึงผู้จัดการเมื่อมาทำงานในวันแรก...
14 คำพูดที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดใน Storytelling
14 คำพูดที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดใน Storytelling เป็น คำพูด ที่ใช้ในการนำเสนอ ด้วยการเล่าเรื่อง Storytelling เพื่อใช้ในการดึง ความสนใจ ในการนำเสนอ ทำให้คนฟัง สนใจ ตั้งใจฟัง และอยากปฏิบัติตาม ตามทำพูดที่ทรงอิทธิพล14 คำพูดที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดใน Storytellingคำที่ 1...
ดิฉันทำงานเป็นผู้บริหาร และทุกปีต้องประเมินพนักงาน ขอบคุณอาจารย์ สำหรับข้อมูลดี ๆ เพื่อนำไปเป็นแนวทางการประเมินทีมงานคะ
การ ประเมินเกี่ยวกับความเป็นผู้จัดการจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ในการประเมิน การศึกษาแลกเปลี่ยนมุมมองของผู้จัดการกับพนักงาน แล้วก็ต้องมีความเชื่อฟังตั้งใจฟังซึ่งกันและกัน การมีท่าทางในการแสดงออกที่เป็นมิตรนั้น ได้ทั้งการพูดการสื่อสารภาษากายก็สำคัญเหมือนกันนะคะ แล้วก็การให้ข้อมูลแบบซื่อสัตย์ จริงใจ โดยไม่ลำเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนค่ะ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี แล้วก็ฝึกหัดทำความเข้าใจการประเมินพนักงาน เป็นตัวช่วยที่สำคัญในการประเมินทำให้ลดแรงกดดันระหว่างพนักงานและผู้จัดการให้เป็นอย่างดี ค่ะ
ปัญหาหลักในการประเมินพนักงาน
พนักงานไม่มั่นใจว่าผู้จัดการจะให้คะแนนอย่างยุติธรรม อาจมีอคติให้คะแนนคนใกล้ชิดมากกว่า
พนักงานรู้สึกผิดหวัง เพราะไม่มีเกณฑ์วัดผลที่ชัดเจน ทำให้ผลงานที่ทุ่มเทไม่ได้รับการยอมรับ
การประเมินที่ดีช่วยอะไรได้บ้าง
– เป็นเครื่องมือจูงใจให้พนักงานพัฒนาตัวเอง
– ช่วยให้พนักงานเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง
– ทำให้ผู้จัดการสามารถวางแผนพัฒนาทีมและองค์กรได้ดีขึ้น
– องค์ประกอบสำคัญของการประเมินที่มีประสิทธิภาพ
เกณฑ์วัดผลที่ชัดเจน
– ต้องมีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม เช่น ความรับผิดชอบ ทักษะการทำงาน ความคิดสร้างสรรค์
กระบวนการประเมินที่โปร่งใส
– มีการพูดคุยระหว่างผู้จัดการและพนักงาน เพื่อลดความขัดแย้ง
บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง
– ผู้ถูกประเมิน (พนักงาน)
– ผู้ประเมิน (ผู้จัดการ)
– ฝ่ายบุคคล (ช่วยจัดทำระบบที่เหมาะสม)
– ผู้บริหารระดับสูง (สนับสนุนให้การประเมินเป็นประโยชน์ต่อองค์กร)
การประเมิน 360 องศา
-วิธีลดอคติและเพิ่มความแม่นยำ
เป็นการประเมินที่ครอบคลุมหลายมุมมองได้แก่
– มุมมองของผู้บริหาร (ดูผลลัพธ์และเป้าหมาย)
– มุมมองจากเพื่อนร่วมงาน (ดูการทำงานเป็นทีม)
– มุมมองจากแผนกอื่น (ดูการประสานงาน)
– มุมมองจากลูกค้า (ดูการให้บริการและความสัมพันธ์ภายนอก)
บทสรุป
การประเมินที่ดีช่วยให้พนักงานรู้ว่าต้องปรับปรุงอะไร และผู้จัดการสามารถใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาองค์กร ไม่ใช่แค่ให้คะแนน ถ้าทำได้อย่างเหมาะสม จะช่วยลดความขัดแย้ง สร้างแรงจูงใจ และทำให้พนักงานเติบโตไปพร้อมกับองค์กร
เทคนิคการประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ
ประเด็นหลักในการประเมินพนักงานนั้น พนักงานทุกคนจะไม่คิดว่าผู้จัดการมีความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงต่อการประเมินการทำงานของพนักงานเพราะผู้จัดการมาจ้างให้คะแนนดีๆกับคนที่ใกล้ชิดมากกว่า พนักงานอาจจะรู้สึกผิดหวังต่อมุมมองของผู้จัดการที่ไม่ยอมรับผลงาน มีเขาทุ่มเทเต็มที่ พอผู้จัดการแบบไม่มีเกณฑ์วัดผลที่ชัดเจน
การประเมินพนักงานนั้นจะมี 2 เรื่องหลักๆคือความสามารถพนักงาน ความรับผิดชอบของพนักงาน คือคนเก่งกับคนขยัน
ประเมินพนักงานแบบ 360 องศา ถือว่าเป็นการประเมินที่ดีลดการขัดแย้งในการทำงานลดความไม่พอใจหรือมีข้อขัดแย้งหรือข้อสงสัยในการประเมินผลงานได้ระดับนึง เป็นการประเมินการทำงานของพนักงานกับคนหมู่มากการมีปฏิสัมพันธ์กันแบบทุกมิติ เพื่อนร่วมงานหัวหน้างานเพื่อนต่างแผนก ดังนั้นการประเมินผลงานก็ควรจะมองหลายๆมุมมองหลายๆมิติ เพื่อให้ได้เห็นการพัฒนาปรับปรุงศักยภาพของพนักงานในด้านต่างๆ และสามารถทราบถึงจุดอ่อนจุดแข็งข้อดีของเสียของพนักงานได้
สำหรับเทคนิคการประเมิน 8 เทคนิคที่อาจารย์ให้มานั้น ก็ถือว่าดีพอสมควรสามารถนำไปยกและปรับใช้
จากการเตรียมตัวการประเมินพนักงาน การสื่อสาร ตั้งใจฟังซึ่งกันและกัน เป็นมิตร ให้ข้อมูลที่ซื่อตรงและจริงใจต่อกัน กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินที่ชัดเจนใน เรื่องงานที่ต้องการประเมิน มีเอกสารการประเมินที่ชัดเจน แล้วต้องฝึกหัดหรือทำความเข้าใจก่อนการประเมิน ว่าเราจะประเมินพนักงานคนนี้เราต้องการแบบไหนถึงเป้าหมายเราเป็นยังไง การประเมินไม่ได้ทำบ่อยๆแล้วจะทำปีละ 1 ครั้งหรือ 2 ครั้งซึ่งมันจะมีผลต่อพนักงานคนนั้นโดยตรง เพราะว่าผลการประเมินแต่ละบุคคลจะไม่เท่ากัน เป้าหมายความสำเร็จเป็นที่ตั้ง ไม่ต้องกลัวว่าผู้ประเมินจะลำเอียง หรือไม่ยุติธรรม
สรุปบทความ เทคนิค การประเมินพนักงาน เพื่อให้พนักงานยอมรับ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นกุญแจสำคัญของผู้จัดการในหลายเรื่อง เช่นเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน เป็นการวัดผลการทำงานงานของพนักงาน ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะความรู้ด้านต่าง ๆ ของพนักงานทำให้การทำงานดีขึ้น
การประเมินเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ทั้งผู้จัดการและพนักงาน แต่ถ้านำมาใช้ผิดวิธีก็จะกลายเป็นผลเสียมากกว่า เพราะจะทำให้พนักงานหมดกำลังใจ ไม่อยากทำงานให้ดีขึ้น ละทิ้งความรับผิดชอบที่ควรมี แต่ถ้าองค์กรที่เข้าใจหลักการประเมินก็จะนำการประเมินเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างแรงจูงใจหรือปรับทัศนคติให้พนักงานมีความรู้สึกดีต่อการพัฒนาตนเอง เพื่อนำมาพัฒนาองค์กรรวมถึงผู้จัดการสามารถนำมาใช้ในการวางแผนงานในอนาคตได้
แต่ในทางปฏิบัติมีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อมั่นเรื่องการประเมินจากผู้จัดการของเขาเพราะจากการสำรวจพนักงานหลายร้อยคนพบว่าพวกเขามีความรู้สึกต่อผู้จัดการที่มีหน้าที่ประเมินได้เป็น 3 ประเด็นหลักในการประเมินพนักงาน
1.เขาไม่คิดว่าผู้จัดการจะมีความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงต่อการประเมินผลการทำงานของพนักงาน เพราะผู้จัดการมักจะให้คะแนนดี ๆ กับคนที่ใกล้ชิดมากกว่า
2.พนักงานรู้สึกผิดหวังต่อมุมมองของผู้จัดการที่ไม่ยอมรับผลงานที่พนักงานได้ทำ ทั้ง ๆ ที่เขาทุ่มเทอย่างเต็มที่ เพราะผู้จัดการไม่มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน
3.พนักงานไม่รู้ถึงความคาดหวังที่แท้จริงจากผู้จัดการว่าต้องการเป้าหมายอย่างไรในการทำงาน เปลี่ยนแปลงบ่อยจนสับสนว่าความต้องการที่แท้จริงคืออะไร
ดังนั้นจึงต้องมีเทคนิคในการประเมินผลการทำงานเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากพนักงาน 8 เทคนิคสำคัญดังนี้
1. การเตรียมการการประเมินพนักงาน
2. สื่อสารสองทางระหว่างผู้จัดการและพนักงาน
3. ตั้งใจฟังซึ่งกันและกัน
4. ท่าทีที่เป็นมิตรในการสื่อสาร
5. ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบซื่อสัตย์และจริงใจ
6. กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินชัดเจน
7. จัดทำเป็นเอกสารการประเมินพนักงาน
8. ฝึกหัดหรือทำความเข้าใจก่อนการประเมินพนักงาน
สิ่งที่ได้รับจากการอ่านบทความ : ได้ทำความเข้าใจและเรียนรู้ในเรื่องของการประเมินผลการทำงานที่ดี ที่จะไม่ทำให้พนักงานเกิดความขัดแย้งหรือหมดกำลังใจในการทำงาน และเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการประเมินผลงานของพนักงานในอนาคตต่อไป
หลังจากได้อ่านบทความแล้ว การประเมินพนักงานนั้น ทำให้ได้เห็นถึงความหมายและความสำคัญ ประโยชน์ของการประเมินมากขึ้น ว่าการประเมินในมุมมองของผู้จัดการนั้นสามารถนำไป สร้างแรงจูงใจหรือปรับทัศนคติให้พนักงานมีความรู้สึกดีต่อการพัฒนาตนเอง เพื่อนำมาพัฒนาองค์กรรวมถึงผู้จัดการสามารถนำมาใช้ในการวางแผนงานในอนาคตได้ ไม่ใช่แค่การประเมินทั่วๆไปอีกด้วย
รู้สึกว่า ต้องพูดยังไงให้เวลาประเมิน แล้ว คนประเมินไม่รู้สึกว่า เรา ลำเอียง หรือ ทำให้ สงสัยว่าไม่เป็นธรรม
ในการประเมินพนักงานนั้น บุคคลหลายคนที่ต้องมาเกี่ยวข้อง ต้องมีการทำงานเป็นระบบ ซึ่งสามารถสรุปเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องการประเมินผลงานพนักงาน มีอยู่ 4 คนที่สำคัญดังนี้
1) ผู้ถูกประเมิน คือพนักงานในตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะถูกประเมินจากผู้บริหารหรือหัวหน้างาน
2) ผู้ประเมิน คือ ผู้ที่มีหน้าที่ประเมินพนักงาน เช่นผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน
3) ผู้บริหารระดับสูงหรือบริษัทฯ คือ ผู้ให้การสนับสนุนการประเมินเพื่อนำผลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการสมดุลย์ของการประเมินของผู้จัดการที่มีต่อพนักงาน
4) ที่ปรึกษาหรือฝ่ายบุคคล คือ มีหน้าที่จัดทำการประเมินตามแนวความคิดทางหลักวิชาการเพื่อให้ได้ผลของการประเมินมีความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งในทางปฏิบัติอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งตำแหน่งนี้จะคอยให้คำแนะนำ วิธีการการใช้เครื่องมือการประเมินและอธิบายถึงขั้นตอนการประเมิน ทำให้การประเมินไม่มีปัญหาและอุปสรรค
:
1. ความกังวลของพนักงานต่อการประเมิน:
• พนักงานบางคนรู้สึกว่าผู้จัดการอาจไม่มีความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงในการประเมิน โดยให้คะแนนดี ๆ กับคนที่ใกล้ชิดมากกว่า
• พนักงานรู้สึกผิดหวังเมื่อผู้จัดการไม่ยอมรับผลงานที่พวกเขาทุ่มเท เนื่องจากไม่มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน
• พนักงานไม่ทราบถึงความคาดหวังที่แท้จริงจากผู้จัดการ เนื่องจากเป้าหมายเปลี่ยนแปลงบ่อยจนสับสน
2. บทบาทของการประเมินที่มีคุณภาพ:
• การประเมินที่ดีเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจและพัฒนาทักษะของพนักงาน
• สะท้อนภาพการทำงานของพนักงานและการบริหารจัดการของผู้จัดการ
• ช่วยวางแผนพัฒนาพนักงานและกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ
3. ความหมายของการประเมินพนักงาน:
• เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อวัดผลการทำงานหรือประสิทธิภาพของพนักงาน
• มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานพัฒนาตนเองและทุ่มเทในการทำงาน
4. ปัญหาที่พบในการประเมิน:
• พนักงานไม่เชื่อมั่นในความยุติธรรมของการประเมิน
• ขาดเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน
• การสื่อสารระหว่างผู้จัดการและพนักงานไม่เพียงพอ
การประเมินพนักงานเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาองค์กร การมีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจนและการสื่อสารที่เปิดเผยระหว่างผู้จัดการและพนักงานจะช่วยลดความเข้าใจผิดและสร้างความไว้วางใจ การประเมินที่ยุติธรรมและโปร่งใสไม่เพียงแต่ช่วยให้พนักงานยอมรับผลการประเมิน แต่ยังส่งเสริมให้มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองและทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในระยะยาวอีกด้วยค่ะ
เทคนิคการประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ
ประเด็นหลักในการประเมินพนักงานนั้น พนักงานทุกคนจะไม่คิดว่าผู้จัดการมีความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงต่อการประเมินการทำงานของพนักงานเพราะผู้จัดการมาจ้างให้คะแนนดีๆกับคนที่ใกล้ชิดมากกว่า พนักงานอาจจะรู้สึกผิดหวังต่อมุมมองของผู้จัดการที่ไม่ยอมรับผลงาน มีเขาทุ่มเทเต็มที่ พอผู้จัดการแบบไม่มีเกณฑ์วัดผลที่ชัดเจน
ประเมินพนักงานแบบ 360 องศา ถือว่าเป็นการประเมินที่ดีลดการขัดแย้งในการทำงานลดความไม่พอใจหรือมีข้อขัดแย้งหรือข้อสงสัยในการประเมินผฃงานได้ระดับนึง เป็นการประเมินการทำงานของพนักงานกับคนหมู่มากการมีปฏิสัมพันธ์กันแบบทุกมิติ เพื่อนร่วมงานหัวหน้างานเพื่อนต่างแผนก ดังนั้นการประเมินผลงานก็ควรจะมองหลายๆมุมมองหลายๆมิติ เพื่อให้ได้เห็นการพัฒนาปรับปรุงศักยภาพของพนักงานในด้านต่างๆ และสามารถทราบถึงจุดอ่อนจุดแข็งข้อดีของเสียของพนักงานได้
การประเมินพนักงานนั้นจะมี 2 เรื่องหลักๆคือความสามารถพนักงาน ความรับผิดชอบของพนักงาน คือคนเก่งกับคนขยัน
สำหรับเทคนิคการประเมิน 8 เทคนิคที่อาจารย์ให้มานั้น ก็ถือว่าดีพอสมควรสามารถนำไปยกและปรับใช้
จากการเตรียมตัวการประเมินพนักงาน การสื่อสาร ตั้งใจฟังซึ่งกันและกัน เป็นมิตร ให้ข้อมูลที่ซื่อตรงและจริงใจต่อกัน กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินที่ชัดเจนใน เรื่องงานที่ต้องการประเมิน มีเอกสารการประเมินที่ชัดเจน แล้วต้องฝึกหัดหรือทำความเข้าใจก่อนการประเมิน ว่าเราจะประเมินพนักงานคนนี้เราต้องการแบบไหนถึงเป้าหมายเราเป็นยังไง การประเมินไม่ได้ทำบ่อยๆแล้วจะทำปีละ 1 ครั้งหรือ 2 ครั้งซึ่งมันจะมีผลต่อพนักงานคนนั้นโดยตรง เพราะว่าผลการประเมินแต่ละบุคคลจะไม่เท่ากัน เป้าหมายความสำเร็จเป็นที่ตั้ง ไม่ต้องกลัวว่าผู้ประเมินจะลำเอียง หรือไม่ยุติธรรม
ชอบหลักเกณฑ์ที่เป็นพื้นฐานในการประเมิณ 6 ข้อ มากๆค่ะ เพราะเป็นแนวทางที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินผลพนักงานในองค์กรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการประเมิณที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีความรวดเร็ว แม่นยำ และโปร่งใส และผลเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ตลอดจนทั้งสองฝ่ายต้องมีความซื้อสัตย์ ทั้งผู้ประเมิณและผู้ถูกประเมิณ
-การประเมินพนักงาน เราต้องมีมาตราฐาน มีการวัดคะแนน สะท้อนภาพการทำงานของพนักงาน และยังสะท้อนภาพการบริหารจัดการ
-การเทียบเป้าหมายที่เคยกำหนดในอดีตและผลงานในปัจจุบัน
-ความคาดหวังของพนักงาน คือ ความไม่ลำเอียงในการประเมินงาน ซึ่งอาจวัดจาก KPI
-การประเมินไม่ได้ทำกันบ่อย อาจแค่ปีละครั้ง เพื่อให้พนักงานทราบผลงาน และปรับปรุง
การประเมินผลงานพนักงานให้ได้รับการยอมรับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร เพราะจะช่วยสร้างขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานได้เป็นอย่างดี ต่อไปนี้คือ 8 เทคนิคที่จะช่วยให้การประเมินผลงานเป็นไปอย่างราบรื่นและได้รับการยอมรับจากพนักงาน:
* กำหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนและเป็นธรรม:
* เกณฑ์การประเมินควรสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรและลักษณะงานของพนักงานแต่ละคน
* เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับร่วมกัน
* สื่อสารอย่างสม่ำเสมอและโปร่งใส:
* แจ้งให้พนักงานทราบถึงเกณฑ์การประเมินและกระบวนการประเมินอย่างชัดเจน
* ให้ข้อมูลป้อนกลับแก่พนักงานอย่างสม่ำเสมอระหว่างปี เพื่อให้พวกเขาทราบถึงผลการปฏิบัติงานของตนเอง
* ให้ข้อมูลป้อนกลับที่สร้างสรรค์และเฉพาะเจาะจง:
* ให้ข้อมูลป้อนกลับที่เน้นทั้งจุดแข็งและจุดที่ต้องปรับปรุงของพนักงาน
* ยกตัวอย่างสถานการณ์จริงที่แสดงให้เห็นถึงผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
* เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาตนเองให้กับพนักงาน
* รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน:
* เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการประเมินของตนเอง
* รับฟังข้อโต้แย้งของพนักงานอย่างตั้งใจและพิจารณาอย่างเป็นธรรม
* การรับฟังความคิดเห็นของพนักงานจะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมิน
* เน้นการพัฒนามากกว่าการตัดสิน:
* ใช้การประเมินผลงานเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
* ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตนเองให้กับพนักงาน
* การเน้นการพัฒนาจะช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าการประเมินผลงานเป็นโอกาสในการเติบโต
* ให้รางวัลและผลตอบแทนที่เป็นธรรม:
* เชื่อมโยงผลการประเมินผลงานกับรางวัลและผลตอบแทนที่เหมาะสม
* ให้รางวัลและผลตอบแทนที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
* สร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างและเป็นกันเอง:
* สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นกันเองในการประเมินผลงาน
* หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือการตัดสินส่วนตัวในการประเมิน
* การสร้างบรรยากาศที่ดีจะช่วยให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของตนเอง
* ฝึกอบรมผู้ประเมิน:
* ให้ความรู้และทักษะแก่ผู้ประเมินในการประเมินผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ
* เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้ข้อมูลป้อนกลับที่สร้างสรรค์และเป็นธรรม
* การฝึกอบรมผู้ประเมินจะช่วยให้กระบวนการประเมินผลงานเป็นไปอย่างมืออาชีพ
ประเด็นหลักของการประเมินคือ พนักงานคิดว่าผู้จัดการลำเอียง พนักงานคิดว่าตัวเองทุ่มเทแต่ผู้จัดการไม่มีเกณฑ์วัดผลที่ชัดเจน พนักงานไม่รู้ถึงความคาดหวังที่แท้จริงของผู้จัดการ
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการประเมินมีอยู่ 4 คนสำคัญ ได้แก่
1.ผู้ถูกประเมิน
2.ผู้ประเมิน
3.ผู้บริหารระดับสูงหรือบริษัท
4.ที่ปรึกษาหรือฝ่ายบุคคล
องค์ประกอบของการประเมินผลงานพนักงานที่สำคัญมีอยู่ 3 ส่วนดังนี้
1 ดัชนีชี้วัดหรือเป้าหมายในการทำงาน
2 กระบวนการในการประเมินพนักงาน
3 ผู้จัดการหรือผู้ประเมิน
การประเมินพนักงานนั้นมีอยู่ 2 เรื่องหลักๆคือ
1 ความสามารถของพนักงาน
2 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การทำงาน
การประเมินผลพนักงานแบบ 360 องศา เป็นแนวทางที่ถูกออกแบบมา เพื่อใช้แก้ปัญหาของการประเมิน ทำให้ลดความไม่พอใจของพนักงาน แล้วทำให้ไม่มีข้อขัดแย้งในการทำงาน
การวิเคราะห์การปฏิบัติงานของพนักงาน ควรมาจากมุมมองในหลายๆมิติ
1 มุมมองผู้บริหาร
2 มุมมองของเพื่อนร่วมงาน
3 มุมมองของพนักงานแผนกอื่นๆ
จุดเด่นของการประเมิน 360 องศา สามารถที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงศักยภาพของพนักงานในด้านต่างๆเช่น จะทราบจุดอ่อน จุดแข็ง ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรของพนักงาน
สำหรับวัตถุประสงค์ของการประเมิน 360 องศา มี 5 ข้อดังนี้
1 วัดผลและประเมินผลพนักงานให้มีความโปร่งใส
2 นำผลที่ได้มาใช้ต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
3 สร้างกลไกการทำงานให้มีระบบการทำงานที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มุ่งสู่การทำงานแบบทีมเวิร์ค
4 สร้างกลไกการสื่อสารแบบสองทางทั้งภายในส่วนงานและภายนอกส่วนงานรวมถึงภายนอกบริษัท
5 สามารถนำมาสร้างกลไกในการค้นหาพนักงานดีเด่น employee of the year เพื่อโปรโมท