14 คำพูดที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดใน Storytelling เป็น คำพูด ที่ใช้ในการนำเสนอ ด้วยการเล่าเรื่อง Storytelling เพื่อใช้ในการดึง ความสนใจ ในการนำเสนอ ทำให้คนฟัง สนใจ ตั้งใจฟัง และอยากปฏิบัติตาม ตามทำพูดที่ทรงอิทธิพล
14 คำพูดที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดใน Storytelling
คำที่ 1 “รู้สึกซาบซึ้งต่อการให้การช่วยเหลือของคุณ”
คำที่ 2 “ขอบคุณสำหรับการเสียสละเวลาอันมีค่า…”
คำที่ 3 “ขอบคุณ”
คำที่ 4 “ขออนุญาตสักครั้ง ที่จะให้โอกาสผมได้แนะนำตัวเอง ให้คุณได้รู้จัก”
คำที่ 5 “เรื่องต่อจากนี้มีความหมายสำหรับคุณ..” หรือ “บทสรุปเรื่องนี้เกี่ยวกับคุณที่ว่า……..”
คำที่ 6 “รู้สึกแคร์ต่อความรู้สึก จึงระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะ…..”
คำที่ 7 “เรามาเริ่มต้นที่ความกังวลใจของคุณก่อน แล้วตามด้วยแผนการจัดการ..”
คำที่ 8 “ผลการวิจัยของสถาบัน…พบว่า…”
คำที่ 9 “ผมอยู่ข้างเดียวกับคุณ…”
คำที่ 10 “ข้อมูลในอดีตแสดงให้เห็นว่า….”
คำที่ 11 “เราต่างมีเป้าหมายเดียวกัน” หรือ “เราต่างเผชิญความท้าทายเดียวกัน”
คำที่ 12 “สิ่งที่คุณกำลังคิด ขอให้เข้าใจว่า ผมเคารพต่อการตัดสินใจของคุณเสมอ”
คำที่ 13 “ผมเข้าใจมุมมองของคุณเป็นอย่างดี”
คำที่14 “ไม่อยากทิ้งใครไว้ข้างหลัง..”
14 คำพูดที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดใน Storytelling
วิทยากร สอน หลักสูตร เทคนิคการนำเสนอ Storytelling ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
หัวใจสำคัญของ Storytelling คือการดึงอารมรณ์ร่วมของคนฟัง ให้คล้อยตามคนเล่าเรื่อง ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการดึงอารมณ์ร่วมคือการใช้คำสำคัญที่ทรงพลังมารวมกับเรื่องที่ตนเองกำลังเล่า ก็จะส่งผลถึงคนฟังมากที่สุด
เช่น ถ้าคุณเป็นพนักงานขายกำลังใช้ เทคนิคการนำเสนอ ด้วยการเล่าเรื่องเพื่อปิดการขาย คำที่ทรงพลังก็จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น หรือถ้าพนักงานที่กำลังเล่าเรื่องเพื่อนำเสนอผลงานให้กับผู้จัดการได้รับรู้ คำที่ทรงพลังจะดึงอารมมณ์ร่วมของผู้จัดการได้ดีที่สุด ทำให้ผู้บริหารมองเห็นถึงผลงานของพนักงานคนนั้น
ถ้า Storytelling ดีพอ ความรู้สึกของคนฟังที่มีต่อการเล่าเรื่องของคุณเป็นเช่นไร ถึคนฟังรู้สึกศรัทธาในตัวคนเล่า ไว้ใจคนเล่าเรื่อง ก็จะทำให้อารมณ์ของคนฟังจะเข้าไปอยู่ใน Storytelling ที่คุณกำลังเล่าได้เป็นอย่างดี
คนฟังจะแสดงออกมาด้วยความรู้สึกที่เป็นตัวตนของตนเองที่มีต่อเรื่องราวที่ได้ฟังจากคนเล่านั่นเอง ตามแนวคิดที่ว่า เมื่อคนไว้ใจ ไม่สามารถซ่อนเร้นความรู้สึกได้ เช่นถ้าคนฟังไว้ใจคุณ เขาจะเปิดใจแชร์ประสบการณ์ให้คุณรู้เช่นกัน คนฟังจะเชื่อในสิ่งที่คนเล่ากลังเล่าเรื่อง และจะทำตามในสิ่งที่คุณกำลังเล่าเรื่อง
ดังนั้น ความสำคัญของการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling นอกจากการทำให้คนฟังประทับใจในเรื่องที่เล่าแล้ว ผู้เล่าเรื่องจำเป็นต้องทำให้คนฟังรู้สึกเชื่อถือนำไปสู่ความไว้วางใจผู้เล่า ก็จะทำให้เรื่องนั้น ๆ เป็นเรื่องที่มีความสมบูรณ์แบบ
ในความเป็นจริง มีเรื่องเล่ามากมาย ทั้งโซเชียลและการเล่าเรื่อง ที่เป็นไปในหลักสักษณะของคอนเทนต์ต่าง ๆ เช่นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ซึ่ง คนฟังจะตัดสินใจว่าตนเองควรจะเชื่อเรื่องราวหล่านั้นหรือไม่ หลักสำคัญที่ทำให้คนฟังเชื่อถือคือการรับรู้ข้อมูลนั้นว่ามีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อคนฟังเพียงใด
คนเล่าเรื่อง Storytelling 360 องศา จึงต้องมีการสื่อสารที่โปรงใส ตรงไปตรงมา เอาใจใส่อย่างแท้จริง และประการสุดท้ายคือเข้าใจคนฟังอย่างชัดเจน เช่น ความคาดหวังของพนักงานในการทำงานคือการได้รับการยอมรับจากผู้จัดการ
ซึ่งเป็นหน้าที่ของพนักงานที่จะต้องแสดงความสามารถให้ผู้จัดการยอมรับ ด้วยการทำให้ทุกคนในทีมงานเนถึงความสำคัฐของคุณไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้นำ การตัดสินใจ
หมายความว่า การนำเสนอด้วยการเล่าเรื่อง ผู้เล่าต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณพูดก่อน และเมื่อคุณเล่าเรื่องออกไป คนฟังเขาจะสัมผัสได้ถึงสิ่งที่ผู้เล่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และถ้าเขามีความเชื่อถือ เขาจะทำตามในสิ่งที่ผู้เล่าได้แนะนำ โดยมีข้อมูลที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนในสิ่งที่เล่าจะทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือขึ้นไปอีก
“หลักสูตร 360 องศา Storytelling”
การพัฒนา Storytelling ให้น่าเชื่อถือ มีผลต่อ การโน้มน้าวใจ เพื่อดึงอารมณ์ของคนเล่า มีหลายวิธีแต่หนึ่งในวิธีที่เป็นที่นิยมคือการใช้คำพูดที่โดนใจ เพราะคำพูดที่โดนใจจะกระตุ้นให้สมองคนฟัง หลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า โดพาฟิน จะช่วยทำให้คนฟังคล้อยตามและตัดสินใจเร็วขึ้น
จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนที่เล่าเรื่อง Storytelling ที่จะมีเป้าหมายหลักในการเล่าเรื่องคือการสร้างความสัมพันธ์กับคนฟัง ด้วยการสร้างศรัทธาให้คนฟังเกิดก่อนที่จะดำเนินการ ขั้นตอนต่อไปของ Storytelling คือ การทำให้คนฟังทำตามที่คนเล่าต้องการ
เช่น การปิดการขาย นักเล่าเรื่องมืออาชีพจึงมักใช้ วิธี การสื่อสารแบบ 360 องศา ด้วยการคำพูดหรือวลีที่มีผลต่อคนฟังนำ เพื่อโน้มน้าวจิตใจคนฟังให้เกิดความรู้สึกดี มีอารมณ์ร่วมทำให้คล้อยตามและศรัทธาต่อคนเล่าเรื่อง
ซึ่งคำเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นการกระตุ้นต่อมอารมณ์ให้คนฟังมีส่วนร่วมกับคนเล่าป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสมของการเล่าเรื่อง คราวนี้ลองมาดูว่ามีคำอะไรบ้าง ตามมา..
คำที่ 1 “รู้สึกซาบซึ้งต่อการให้การช่วยเหลือของคุณ”
ความรู้สึกเป็นบุญคุณที่มีต่อคนเล่า ทำให้คนฟังยิ่งเกรงใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งความรู้สึกเช่นนี้จะเกิดขึ้นกับคนฟังทันทีที่ได้ฟังว่าคนเล่าเรื่องรู้สึกถึงบุญคุณที่ คล้าย ๆ กับคำว่า
“ขอบคุณ” เช่น “ผมขอบคุณนะครับที่……” หรือถ้าจะใช้ร่วมกับคำว่าขอบคุณจะทำให้ทรงพลังในการเล่าเรื่องมากยิ่งขึ้น เช่น “ผมขอขอบคุณที่………………ผมรู้สึกซาบซึ้งต่อการช่วยเหลือของคุณ”
คำที่ 2 “ขอบคุณสำหรับการเสียสละเวลาอันมีค่า…”
เป็นเรื่องจริงของการใช้เวลาระหว่างคนเล่ากับคนฟัง เพราะคนเล่าเตรียมตัว เตรียมใจและเตรียมเวลามาเล่า ซึ่งแตกต่างจากคนฟัง ที่ไม่ได้เตรียมตัวเพื่อมาฟังอย่างตั้งใจ หมายความว่าถ้าเรื่องราวที่เล่าไม่น่าสนใจคนฟังก็สามารถที่จะกลับได้ทันที
ดังนั้นเวลาของคนฟังย่อมมีค่ามากกว่าคนเล่าเป็นอย่างมาก คำพูดที่ทรงพลังต่อคนฟัง จึงออกมาแนว ๆ การที่คนเล่าตระหนักดีถึงเวลาที่มีค่าของคนเล่า เช่น เวลาเป็นเรื่องสำคัญและมีค้ายิ่งสำหรับคนฟัง วันนี้ผมจะเล่าเรื่องเพื่อสื่อสารให้ทุกคนได้เข้าใจและคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป.. หรือ
ถ้าต้องเล่าเรื่องในห้องประชุมใหญ่ ก็สามารถใช้คำว่า “ผมขอขอบคุณทุกท่านในห้องนี้ สำหรับการตั้งใจฟังในเรื่องที่ผมเล่าให้ฟัง ผมรู้สึกซาบซึ่งต่อการสละเวลาอันมีค่าของทุกคน บางคนมาจากต่างจังหวัด เพื่อมาฟังเรื่องราวที่ผมเล่าในวันนี้” คำเช่นนี้จะทำให้คนฟังสนใจและเปิดใจที่จะรับฟัง ถือว่าเป็นคนที่ทรงพลังต่อคนฟังเป็นอย่างมาก
คำที่ 3 “ขอบคุณ”
คำง่าย ๆ ที่ทรงพลังต่อคนฟังมาก ๆ เพราะเป็นการสื่อสารที่แสดงให้เห็นว่าคนเล่านั้นมีความเคารพ มีกาละเทศะและมีกิริยาที่สุภาพต่อคนฟัง ทำให้คนฟังรู้สึกเกรงใจต่อคำขอบคุณของคนเล่าเรื่อง คำขอบคุณจะเป็นคำกระตุ้นความรู้สึกของคนฟังได้เป็นอย่างดี
ลองสังเกตเมื่อมีคนมาขอบคุณเรา เราจะหยุดเพื่อฟังในเรื่องที่ตามมา ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบเลยว่าเขากำลังขอบคุณเราเรื่องอะไร แสดงว่าคำ ขอบคุณ มีผลต่อความรู้สึกของคนฟังเป็นอย่างมาก
คำที่ 4 “ขออนุญาตสักครั้ง ที่จะให้โอกาสผมได้แนะนำตัวเอง ให้คุณได้รู้จัก”
ในการเล่าเรื่องนั้น การสร้างความน่าเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญ การแนะนำตัวเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคนฟัง และเมื่อคนฟังเชื่อมั่น มีศรัทธาต่อคนเล่าเรื่อง
การเล่าเรื่องหรือการโน้มน้าวใจก็จะเป็นเรื่องง่ายต่อคนเล่าเรือง แต่ในทางปฏิบัติการแนะนำตัวของคนเล่าเรื่องบางคนใช้การเล่าเรื่องแบบเปิดเผย ทันที จะทำให้คนฟังบางครั้งรู้สึกว่าคนเล่ากำลังอวดตัวเอง ทำให้มีความรู้สึกต่อต้านและไม่สนใจ
การสร้างคำพูดที่ทรงพลังเพื่อสร้างศรัทธาโดยคนเล่าเรื่องแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนจะทำให้คนฟังรู้สึกชอบและเปิดใจยอมรับคนเล่าเรื่องเพิ่มมากขึ้น เช่น การเริ่มต้นด้วยคำว่าขออนุญาตจะเป็นคำที่ทำให้คนฟังส่วนใหญ่จะตอบในใจว่าอนุญาต
เพราะสิ่งที่คนเล่าเรื่องขอนั้นไม่ใช่เป็นการร้องขอที่เกินความเป็นจริง เช่น “ขออนุญาตสักครั้ง เพื่อให้โอกาสผมแนะนำตัวเอง ให้คุณได้รู้จัก..” ซึ่งเนื้อหาต่อจากนี้ควรจะอธิบายที่มาที่ไปและความสัมพันธ์ว่าทำไมคุณถึงต้องขึ้นมายืนเพื่อเล่าเรื่องให้คนฟังได้ฟังในวันนี้
คำที่ 5 “เรื่องต่อจากนี้มีความหมายสำหรับคุณ..” หรือ “บทสรุปเรื่องนี้เกี่ยวกับคุณที่ว่า……..”
การทำให้คนฟังรู้สึกอยากมีส่วนร่วมกับคนเล่าเรื่องคือการสร้างความปรารถนาดีภายในจิตใจของผู้เล่าเรื่องที่อยากจะบอกให้คนฟังได้ทราบ ซึ่งความปรารถนาดีต้องมาจากความซื่อสัตย์และจริงใจที่มีต่อคนฟังเช่นพนักงานขายเล่าเรื่องเพื่อขายสินค้า ไม่ว่าจะสินค้าอะไรก็ตาม
คนขายมักจะบอกถึงคุณสมบัติของสินค้า และพูดร้องขอให้คนซื้อตัดสินใจซื้อ ซึ่งก็คือเทคนิคการปิดการขายนั่นเอง โดยไม่คิดจะบอกว่าผู้ซื้อจะได้ประโยชน์จากการซื้ออะไร หรือมีความหมายอย่างไรถ้าคนซื้อตัดสินใจซื้อไป
เมื่อคนขายบอกแค่คุณสมบัติของสินค้าคนฟังจะลังเลต่อการตัดสินใจ แต่ถ้าคนขายบอกถึงสินค้านี้มีความจำเป็นหรือมีความหมายต่อคนซื้ออย่างไร ก็จะทำให้คนซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
คำพูดที่ทรงพลังในการเล่าเรื่องจึงควรจะเป็นในลักษณะที่จะบอกว่าคนฟังจะได้อะไรในการตัดสินใจหลังฟังเรื่องราวไป
หนังสือแนะนำ
คำที่ 6 “รู้สึกแคร์ต่อความรู้สึก จึงระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะ…..”
คนบางคนที่เล่าเรื่องแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่มาจากมองว่าการเล่าเรื่องเป็นหน้าที่ที่ต้องทำ เช่นพนักงานขายต้องนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องหรือเล่าเรื่องเพื่อปิดการขาย
แต่ความเป็นจริงการเล่าเรื่องที่ดีไม่ใช่ผู้เล่าจะคิดว่าตนเองมีหน้าที่ที่ต้องขึ้นมาเล่าและเมื่อหน้าที่จบลงทุกอย่างก็สิ้นสุดลงเท่า นั้น ความซื่อสัตย์ที่มีต่อคนฟังจะทำให้คนฟังสัมผัสได้ถึงความโปร่งใสเชื่อมโยงไปยังความสัมพันธ์ส่วนตัวจะเป็นตัวช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้คนเล่าเรื่องได้เป็นอย่างดี
คนเล่าเรื่องจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้คนฟังเข้าใจความคิดของตนเองในการเล่าเรื่องและมองเรื่องที่เล่าไปในมุมเดียวกัน คนเล่าเรื่องต้องทำให้คนฟังเชื่อมั่นว่าคนเล่าเรื่องมีความพิถีพิถันในการเตรียมข้อมูลและเรื่องราวเพื่อคนฟังโดยเฉพาะ
คำพูดที่บ่งบอกถึงความพยายามที่ผู้เล่าเรื่องตั้งใจทำให้ดีที่สุดเพื่อคนฟัง คือ “ผมรู้สึกแคร์ต่อความรู้สึกของทุกที่กำลังฟังอยู่ ผมจึงมีการเตรียมการที่ระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ” เป็นต้น
คำที่ 7 “เรามาเริ่มต้นที่ความกังวลใจของคุณก่อน แล้วตามด้วยแผนการจัดการ..”
จิตวิทยาเรื่องของคน คือคนส่วนใหญ่มักอยากให้คนอื่นสนใจตัวเอง ซึ่งการแสดงออกว่าคนเล่าเรื่องให้ความสนใจต่อคนฟังจะทำให้คนฟังรู้สึกดี การแสดงออกของคนเล่าเรื่องอาจจะเริ่มต้นจากการ
สอบถามคนฟังว่าเป็นอย่างไร มีความเป็นอยู่เช่นไร และคนเล่าเรื่องก็แสดงออกถึงความสนใจในเรื่องราวคนฟัง โดยการให้คนฟังได้มีโอกาสพูดถึงความกังวลใจของเขาแล้วคนเล่าเรื่องตั้งใจฟังอย่างสนใจ
วิธีเช่นนี้จะส่งผลให้คนฟังรู้สึกมีศรัทธาในคนเล่าเรื่อง ซึ่งการแสดงออกถึงความกังวลใจต้องมีองค์ประกอบทั้งภาษากาย การใช้น้ำเสียงที่อ่อนนุ่มเพื่อแสดงให้เห็นถึงความกังวลใจที่มีต่อคนฟังนั่นเอง
คำที่ 8 “ผลการวิจัยของสถาบัน…พบว่า…”
เป็นที่นิยมในการเล่าเรื่อง เช่นโฆษณาต่าง ๆ มักนำมาใช้คือการใช้การอ้างอิงที่เป็นงานวิจัย ดังนั้นคำพูดที่ทรงพลังต่อคนฟัง คือการอ้างอิงผลการทดลอง ผลวิจัย จากสถาบันที่น่าเชื่อถือ หรือการรีวิวจากคนที่เคยใช้มาก่อน
ทำให้มีความน่าเชื่อถือและคนฟังจะเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลการวิจัยหรือผลการทดลองควรจะเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ มีตัวเลขที่ชี้ชัด
ผลการสำรวจ หรือข้อมูลที่ได้รับการรับรองแล้ว ดังนั้นในการเล่าเรื่องผู้เล่าเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลที่จะนำมาใช้ว่ามีข้อเท็จจริงอยู่จริง ทำให้เกิดพลังต่อคนเล่าเพิ่มขึ้นทันที
คำที่ 9 “ผมอยู่ข้างเดียวกับคุณ…”
ในชีวิตจริงคนทุกคนต้องการมีพรรคพวก คิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน เช่นมีคนที่คิดเหมือนกัน เผชิญชะตากรรมเดียวกันมาก่อน มีประสบการณ์เช่นเดียวกัน
ดังนั้นคำพูดที่ทรงพลังคือการที่ผู้เล่าเรื่องพูดว่า “ผมอยู่ข้างคุณตลอดเวลา เพราะปัญหาที่คุณเจอคือปัญหาเดียวกับที่ผมเคยเจอมาเช่นกัน…”
คำพูดเช่นนี้จะทรงอิทธิพลต่อคนฟังเป็นอย่างมาก คนฟังจะรู้สึกอบอุ่นใจเพราะมีคนเล่าเป็นเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกันมาก่อน จึงทำให้คล้อยตามต่อเรื่องเล่าทันที
คำที่ 10 “ข้อมูลในอดีตแสดงให้เห็นว่า….”
ในบางครั้งการเล่าเรื่องบางเรื่องก็ไม่มีข้อมูลที่ผ่านการค้นคว้าวิจัยมาก่อน แล้วคนเล่าเรื่องจะทำอย่างไรให้คำพูดของตนเองยังคงทรงพลังต่อคนฟัง
การใช้ข้อมูลอ้างอิงที่เป็นประสบการณ์ของคนเล่าเรื่องก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น ประสบการณ์ตรงของคนเล่าเรื่องในอดีต การรีวิวสินค้า
ประสบการณ์ตรงของคนที่เคยใช้มาก่อนก็ได้เช่นกัน ซึ่งถ้าประสบการณ์ของคนเล่าเรื่องคล้ายกับคนฟังก็จะทำให้คนฟังเชื่อมากขึ้น คำพูดเช่นนี้จะทรงพลังต่อคนฟังเป็นอย่างยิ่ง
คำที่ 11 “เราต่างมีเป้าหมายเดียวกัน” หรือ “เราต่างเผชิญความท้าทายเดียวกัน”
คนส่วนใหญ่มักมองสังคมมากกว่าตนเอง ซึ่งถ้าสังคมว่าเช่นไร ก็จะทำตามสังคน โดยไม่คำนึงว่าสิ่งนั้นจะถูกหรือผิด
การตัดสินใจของคนหมู่มากในสังคมจะส่งผลถึงคนในสังคมนั้นทันที ดังนั้นการที่คนหลายคนมีเป้าหมายเดียวกันจึงมีพลังมากกวว่าคนเพียงคนเดียว
คำพูดที่ทำให้คนฟังเชื่อมั่นคือการทำให้ทุกคนเห็นว่าเรามาแบ่งปันข้อมูลกันในสภาวะที่คนเล่าเรื่องมีความท้าทายที่เหมือน ๆ กันนั่นเอง จะประสบความสำเร็จไปด้วยกัน หรือ “เรามีความท้าทายเดียวกัน จึง……”
คำที่ 12 “สิ่งที่คุณกำลังคิด ขอให้เข้าใจว่า ผมเคารพต่อการตัดสินใจของคุณเสมอ”
คนทุกคนต้องการให้คนอื่นยอมรับเสมอ จิตวิทยาเช่นนี้ยังใช้ได้ในทุกโอกาส และได้สำหรับทุกคน การที่คนเล่าเรื่องแสดงให้เห็นว่าตนเองเคารพในความคิดของคนฟัง
ไม่ว่าหลังจากฟังเรื่องราวไปแล้วคนฟังจะตัดสินใจเช่นไร คนเล่าเรื่องก็ยินดีที่จะปฏิบัติตาม ซึ่งคำพูดเช่นนี้ทรงพลังต่อความรู้สึกของคนฟัง
ทำให้คนฟังรู้สึกไม่กดดันต่อคนเล่าเรื่อง เพราะคนเล่าเรื่องเข้าใจความรู้สึกของคนฟัง ทำให้อารมณ์ในขณะนั้นคนฟังยินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์ให้คนเล่าเรื่องที่เพิ่มมากขึ้น
คำที่ 13 “ผมเข้าใจมุมมองของคุณเป็นอย่างดี”
คนทุกคนเรียกร้องให้คนอื่นเข้าใจตนเองเสมอ เช่นคำที่มักพบบ่อย ๆ เช่น “ฟังฉันบ้างนะ”
คนทุกคนเป็นเช่นเดียวกันที่เรียกร้องให้คนอื่นเข้าใจ ดังนั้นการที่คนเล่าเรื่องใช้คำว่า “ผมเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่” หรือ “ผมเข้าใจในสิ่งที่คุณอธิบายออกมา”
คำพูดเช่นนี้จะมีพลังต่อคนฟังทันที ทำให้คนฟังมีความรู้สึกที่เป็นมิตร อยากพูดคุยและอยากเปิดใจด้วยในทันที และคล้อยตามคนเล่าเรื่องทันที
คำที่14 “ไม่อยากทิ้งใครไว้ข้างหลัง..”
ทุกคนจะมีความรู้สึกเมื่อถูกทอดทิ้ง คนฟังจะรู้สึกไม่มีใครเหลียวแล จึงอยากไปด้วยกัน
คำพูดที่ทรงพลังต่อคนคนฟังคือการที่คนเล่าเรื่องพยายามแสดงเจตนาดีถึงความปรารถนาที่จะให้ทุกคนที่ฟังเรื่องราวเติบโตไปด้วยกัน ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน
คนเล่าเรื่องจึงไม่อยากทิ้งใครไว้ คำพูดเช่นนี้จึงทรงพลังต่อคนฟังเป็นอย่างมาก
Storytelling เป็นทั้งศาสตร์และศิลป ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนในหลักสูตรอบรม Storytelling เพราะการที่คนจะเล่าเรื่องได้ดี ทำให้คนคล้อยตามได้ ต้องเข้าใจจิตวิทยาคนฟังให้มาก ๆ ซึ่งการเรียนรู้หรืออบรม Storytelling เพื่อการสื่อสารการขาย อย่างจริงจัง
เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะทำงานในตำแหน่งใดก็ตาม เช่น ถ้าทำงานในฝ่ายขายสามารถนำ Storytelling เพื่อปิดการขาย หรือ ถ้าเป็น ผู้จัดการ ก็สามารถที่จะนำ Storytelling เพื่อมาโน้มน้าวใจพนักงานให้คล้อยตามได้เช่นกัน
ถ้าเป็นพนักงานก็เข้าใจการเล่าเรื่องเพื่อนำเสนอผู้จัดการสร้างผลงานได้เป็นอย่างดี เมื่อไรก็ตามที่ศึกษาเรื่องStorytelling อย่างจริงจังจะทำให้เกิดประโยชน์มากมายต่อความสำเร็จของคนทุกคน ฝากไว้ให้คิด..
ในการเล่าเรื่อง Storytelling เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในเรื่องราวต้องเกิดจากความสัมพันธ์ในเรื่องราว เป็นการกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น
ดูเหมือนว่า คำพูดเหล่านี้ จะเป็นข้อสังเกต ที่นักนำเสนอ ด้วยการเล่าเรื่อง มักนำมาใช้ในการเล่าเรื่อง เพื่อให้คนฟังมีอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องราวอยู่เสมอ
แต่เมื่อผู้เล่าเรื่องใช้คำพูดที่มีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจ จากการเล่าเรื่อง ทำให้เรื่องราวที่ดำเนินเรื่องไปตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดผลกระทบที่ดึงดูดคนฟัง ทำให้การเล่าเรื่อง Storytelling น่าสนใจ ลองใช้ดูนะครับ..
วิทยากร สอน หลักสูตร เทคนิคการนำเสนอ Storytelling ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
ความรู้ และ เทคนิค ต่าง ๆ
9 ความจำเป็นที่ธุรกิจต้อง วางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปี 2024
การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ คือ แนวทางกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อกำหนดทิศทางให้องค์กรมีทิศทางที่ชัดเจน ในการทำธุรกิจการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปี 2024 คืออะไรการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อความสำเร็จขององค์กร มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในทุกองค์กร...
5 เทคนิค การพัฒนาผู้นำในตนเอง 5 Techniques for Effective Self-Leadership
5 เทคนิค การพัฒนาผู้นำในตนเอง เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ให้มีภาวะผู้นำ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ เพื่อการเข้าใจตนเอง ควบคุมตนเอง มีความคิดเชิงบวก และสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้เป็นอย่างดี 5 เทคนิค การพัฒนาผู้นำในตนเอง 5 Techniques for Effective...
8 ขั้นตอนในการสร้างพนักงานต้นแบบภายในองค์กร Role Models in Company
การปล่อยให้พนักงานที่มีความสามารถทำงานในหน้าที่เท่านั้น ถือว่าเป็นความสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย เพราะความรู้ที่เขามีควรแบ่งปันให้คนอื่นเช่นกัน 8 ขั้นตอนในการสร้างพนักงานต้นแบบภายในองค์กร 8 steps to create role models within an organizationดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย...
10 คุณลักษณะสำคัญของการเป็น พนักงานต้นแบบภายในองค์กร
การปล่อยให้พนักงานที่มีความสามารถทำงานในหน้าที่เท่านั้น ถือว่าเป็นความสูญเปล่าอย่างน่าเสียดาย เพราะความรู้ที่เขามีควรแบ่งปันให้คนอื่นเช่นกัน 10 คุณลักษณะสำคัญของการเป็นพนักงานต้นแบบภายในองค์กร 10 key traits of role models within an organizationดร.สุรชัย...
เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กรที่ดี มีแต่ได้
เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กรที่ดี มีแต่ได้ เป็น เทคนิคให้พนักงานในองค์กร รู้จัดการสื่อสารภยในองค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้งานประสบความสำเร็จ และมีการทำงานเป็นทีม Teamwork รวมถึงการประสานงานได้เป็นอย่างดีเทคนิคการสื่อสารภายในองค์กรที่ดี...
เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กร อย่างนี้ ได้ดีทั้งองค์กร
หัวใจสำคัญที่สุดในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกัน คือ การสื่อสาร เพราะการสื่อสารทำให้งานรื่นไหล เทคนิคการสื่อสารภายในองค์กร อย่างนี้ ได้ดีทั้งองค์กรดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย หัวใจสำคัญที่สุดในการทำงานหรือการอยู่ร่วมกัน คือ การสื่อสาร...
เทคนิคการสอนผู้ใหญ่ ให้ตั้งใจเรียน
วิทยากร ไม่มีสิทธิ เลือกคนอบรม ถึงแม้คนอบรมจะเป็นผู้ใหญ่กว่า เทคนิคการสอนผู้ใหญ่ ให้ตั้งใจเรียนดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย อาชีพวิทยากร ไม่สามารถเลือกคนเรียนได้ ไม่ว่าคนเรียนจะเป็นประเภทใด มีความรู้มากน้อยเพียงใด หรือ ออายุมากน้อยแค่ไหน...
วิทยากรมืออาชีพ ทำอะไร ทำไมถึงเก่ง
อยากเป็นวิทยากรที่ประสบความสำเร็จ ต้องคิดอย่างวิทยากรที่ประสบความสำเร็จ "มืออาชีพ" วิทยากรมืออาชีพ ทำอะไร ทำไมถึงเก่งดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากเป็นวิทยากร แต่ไม่เคยรู้ว่าสิ่งที่วิทยากรทำในทุก ๆ วัน หรือต้องทำมีอะไรบ้าง...
อย่าเป็นวิทยากรเด็ดขาด ถ้าไม่มี 8 ข้อนี้
ถ้าคุณไม่รู้จักการให้ ก็อย่าคิดที่จะเป็นวิทยากร อย่าทำอาชีพวิทยากรเด็ดขาด ถ้าไม่มี 8 ข้อนี้ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย ในชีวิตประจำวันที่หลายคน อาจทำอาชีพสอน และคิดว่าตนเองนั้นเป็น ครู เป็นอาจารย์หรือเป็นวิทยากร ซึ่งจริงอยู่เมื่อยืนขึ้นสอน อาจมีคนฟังมากมาย...
8 เทคนิคจัดการ พนักงานอาวุโสหัวหมอ
การบริหารพนักงานอาวุโสหัวหมอถึงจะยาก แต่ถ้าบริหารพวกพนักงานอาวุโสได้ ก็คุ้มค่ามาก 8 เทคนิคจัดการ “พนักงานอาวุโสหัวหมอ”ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย เป็นเรื่องน่าปวดหัวของผู้จัดการหลายคน ที่ต้องบริหารลูกน้องที่มีประสบการณ์มากกว่า เช่นอายุมากกว่าหรือรู้งานมากกว่า...
6 ทักษะ ปิดการขายสินค้าอุตสาหกรรมทันที
"ถ้าคุณบอกแค่เข้าใจลูกค้าเพียงคนเดียว ไม่พอต่อการขายสินค้าอุตสาหกรรมแน่นอน เพราะคนตัดสินใจมีมากกว่า 1 คน" 6 ทักษะ ปิดการขายสินค้าอุตสาหกรรมทันที ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย การขายสินค้าอุตสาหกรรม เป็นการขายสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อนำไปผลิต แปรรูป...
10 พฤติกรรม ที่จะบ่งบอกว่าคุณมีจิตใจที่เข้มแข็งหรือไม่?
พฤติกรรม ที่จะบ่งบอกว่าคุณมีจิตใจที่เข้มแข็ง เป็น พฤติกรรมการแสดงออกของคนทุกคน เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนๆ นั้น มีจิตใจที่เข้มแข็งหรือไม่ ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ความเครียด ความกดดัน ที่ผ่านเข้ามา ใช้เพื่อสำรวจตนเองและทำความเข้าใจกับตนเองได้ดีที่สุด10 พฤติกรรม...
เพิ่มยอดขาย เป็น 2 เท่า ถ้าเข้าใจ 12 ข้อนี้
เพิ่มยอดขาย เป็น 2 เท่า ถ้าเข้าใจ 12 ข้อนี้ เป็น วิธีการช่วยให้พนักงานขาย หรือ ผู้จัดการฝ่ายขาย มีเทคนิคการขาย เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา การขาย การเข้าหาลูกค้า เพื่อสร้างความพอใจให้ลูกค้า ทำให้เพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้เพิ่มมากขึ้นเพิ่มยอดขาย เป็น 2 เท่า ถ้าเข้าใจ 12...
20 ข้อเรียกร้องจากลูกน้องถึงหัวหน้า
20 ข้อเรียกร้องจากลูกน้องถึงหัวหน้า เป็น เสียงสะท้อน จากลูกน้อง ที่มีความคาดหวังกับผู้จัดการ หรือ หัวหน้าของเขา และถ้าหัวหน้างานสามารถตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของลูกน้องได้ จะทำให้ลูกน้อง ศรัทธาในตัวหัวหน้างานมากขึ้น 20...
คิดอย่างนี้ เจรจาต่อรองไม่เคยแพ้
คิดอย่างนี้ เจรจาต่อรองไม่เคยแพ้ เป็น การเทคนิคการเจรจาต่อรอง เพื่อให้พนักงานขาย วิศวกรฝ่ายขาย หรือ พนักงานจัดซื้อ มีเครื่องมือในการพัฒนาวิธีการในการเจรจาต่อรอง ทำให้เพิ่มโอกาสในการ ได้รับชัยชนะ ในการเจรจาต่อรอง แบบ Win-Win เพิ่มมากขึ้นคิดอย่างนี้...
เทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ ให้กำไรเพิ่ม
" Bill Gate ผู้บริหาร Microsoft กล่าวไว้ว่า... คอมพิวเตอร์เกิดมาบนโลกมนุษย์. เมื่อประมาณ 4-50 ปีที่แล้ว และ.. มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่จากนี้ไปอีก 10 ปีข้างหน้าการพัฒนา ทางเทคโนโลยีจะรวดเร็วกว่า 40 ปีที่ผ่านมา" เทคนิคการวางแผนกลยุทธ์...
10 เทคนิคปลุกพนักงานหมดไฟ ให้ทำงานดีเหมือนเดิม
"พนักงานขายที่หมดไฟ ก็ไม่แตกต่างอะไรกับมีขอนไม้ผุ ๆ ที่ทำประโยชน์ไมได้ให้องค์กร" 10 เทคนิคปลุกพนักงาน "หมดไฟ" ให้ทำงานดีเหมือนเดิมดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย เชื่อว่าพนักงานทุกคน รวมถึงผู้จัดการเมื่อมาทำงานในวันแรก...
เทคนิคการประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ
เทคนิค การประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ เป็น แนวทางการพัฒนาทักษะขของผู้จัดการในการประเมินผลงาน ของพนักงาน เพื่อให้พนักงานยอมรับ ผลการประเมินในครั้งนั้น ๆ ซึ่งมีขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนเทคนิค การประเมินพนักงานเพื่อให้พนักงานยอมรับ3 ประเด็นหลักในการประเมินพนักงาน...
12 เทคนิค บริหารทีมให้ทำงานถึงเป้าหมายด้วยกัน
12 เทคนิค บริหารทีมให้ทำงานถึงเป้าหมายด้วยกัน เป็น การสร้างแรงกระตุ้น ให้พนักงานอยากทำงานให้บรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน ทำให้มีความคิดในการทำงานเชิงรุก สร้างความแตกต่างที่โดดเด่นไปจากเดิม12 เทคนิค บริหารทีมให้ทำงานถึงเป้าหมายด้วยกัน12 เทคนิค...
10 เทคนิค การเจรจาต่อรอง ที่ง่าย ทำให้ชนะทุกครั้ง
10 เทคนิค การเจรจาต่อรอง ที่ง่าย ทำให้ชนะทุกครั้ง เป็น เทคนิค ที่ต้องใช้ในการเจรจาต่อรอง ไม่ว่าจะเป็น พนักงานฝ่ายจัดซื้อ หรือ เป็นพนักงานขาย เป็นการรวบรวมเทคนิควิธีที่จำเป็น เข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ ในการเจรจาต่อรองได้ทันที 10 เทคนิค การเจรจาต่อรอง ที่ง่าย...